ผลสำรวจเผย คนรุ่นใหม่ตัดสินใจเปลี่ยนงานเร็วขึ้น ทำงานไม่ครบปี “ถ้าชีวิตไม่ดีก็พร้อมไป”
4 ต.ค. 2022
ผลการศึกษาล่าสุดจาก LinkedIn พบว่า คนในยุคนี้มีแนวโน้มการทำงานแบบ Fast Quitting หรือการเปลี่ยนงานเร็ว ทำงานไม่ครบปี ถ้าชีวิตไม่ดี ก็พร้อมลาออก
แม้จะอยู่ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอน แต่คนกลุ่มนี้ก็ยังเชื่อว่าตลาดแรงงานยังสดใส ลาออกได้ไม่เป็นไร เดี๋ยวก็ได้งานใหม่เอง
แม้จะอยู่ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอน แต่คนกลุ่มนี้ก็ยังเชื่อว่าตลาดแรงงานยังสดใส ลาออกได้ไม่เป็นไร เดี๋ยวก็ได้งานใหม่เอง
- Quiet Quitting ไม่ได้แปลว่าการ “ลาออกแบบเงียบ ๆ”
ในช่วงเดือนที่ผ่านมา หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินกันว่าคนในยุคนี้มีค่านิยมการทำงานแบบ Quiet Quitting กันมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่ง Quiet Quitting นี้ไม่ได้หมายถึงการลาออกจากงานแบบเงียบ ๆ โดยไม่ให้คนอื่นในบริษัทรู้
แต่หมายถึงการทำงานแบบเรื่อย ๆ ทำงานของตัวเองตามความรับผิดชอบใน Job Description แต่ไม่ได้ทุ่มเทจนสุดตัว หรือทำงานนอกเหนือจากที่ได้รับมอบหมาย
ค่านิยม Quiet Quitting นี้ได้รับความนิยมในกลุ่มคนทำงานจำนวนมาก จากการเก็บสถิติการทำงานของคนในสหรัฐอเมริกา โดย Gullup พบว่า กว่า 50% มีค่านิยมในการทำงานแบบเรื่อย ๆ ทำงานเสร็จตามที่ได้รับมอบหมาย แต่ไม่ได้ทุ่มเทจนสุดตัวจนเกินหน้าที่ เพราะลึก ๆ แล้วไม่ได้มีความสุขกับการทำงานมากเท่าไรนัก
ในอีกด้านหนึ่ง ค่านิยมในการทำงานที่กำลังมาแรงไม่แพ้กัน คือ Fast Quitting
ซึ่งแตกต่างจาก Quiet Quitting ตรงที่ Fast Quitting ไม่ใช่การปล่อยใจทำงานแบบสบาย ๆ แต่เป็นการลาออกของจริง หากพบว่าตัวเองไม่ได้มีความสุขกับการทำงานอย่างที่คิด โดยไม่จำเป็นต้องอดทนเพื่อรอเก็บประสบการณ์การทำงานนาน ๆ ก่อน
ซึ่งแตกต่างจาก Quiet Quitting ตรงที่ Fast Quitting ไม่ใช่การปล่อยใจทำงานแบบสบาย ๆ แต่เป็นการลาออกของจริง หากพบว่าตัวเองไม่ได้มีความสุขกับการทำงานอย่างที่คิด โดยไม่จำเป็นต้องอดทนเพื่อรอเก็บประสบการณ์การทำงานนาน ๆ ก่อน
ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว Fast Quitting จะหมายถึงกลุ่มคนที่ลาออกจากงานทั้งที่เพิ่งเข้ามาได้ไม่ถึง 1 ปี
ผลการศึกษาของ LinkedIn พบว่า สัดส่วนของตำแหน่งงานว่างจากการลาออกของคนที่เพิ่งเข้ามาทำงานในตำแหน่งนี้ได้ไม่ถึง 1 ปี เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 9.7% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
ตัวเลขนี้แสดงให้เห็นว่า เหล่ามนุษย์เงินเดือนในยุคปัจจุบัน มีแนวโน้มในการลาออกจากงานเร็วมากขึ้น
เทียบกับระยะเวลาที่มนุษย์เงินเดือนคนหนึ่ง จะทำงานในตำแหน่งเดิมเฉลี่ย 4.3 ปี สำหรับเพศชาย และ 3.8 ปี สำหรับเพศหญิง
เทียบกับระยะเวลาที่มนุษย์เงินเดือนคนหนึ่ง จะทำงานในตำแหน่งเดิมเฉลี่ย 4.3 ปี สำหรับเพศชาย และ 3.8 ปี สำหรับเพศหญิง
ซึ่งสายอาชีพที่มีสัดส่วนตำแหน่งงานว่าง จากการลาออกของคนที่เพิ่งเข้ามาทำงานได้ไม่ถึง 1 ปี เพิ่มขึ้นมากที่สุด 3 อันดับแรก เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ได้แก่
1. สายงานศิลปะ และการออกแบบ เพิ่มขึ้น 11.63%
2. สายงานเทคโนโลยี สารสนเทศ และสื่อ เพิ่มขึ้น 10.48%
3. สายงาน Admin เพิ่มขึ้น 8.87%
2. สายงานเทคโนโลยี สารสนเทศ และสื่อ เพิ่มขึ้น 10.48%
3. สายงาน Admin เพิ่มขึ้น 8.87%
- ทำไมคนรุ่นใหม่ทำงานกันแบบ Quiet Quitting และ Fast Quitting ?
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดค่านิยม Quiet Quitting และ Fast Quitting ก็หนีไม่พ้นความรู้สึกที่ไม่ได้ Happy กับการทำงานจริง ๆ และรู้สึกว่าไม่ได้พร้อมแลกชีวิตทั้งหมดให้กับการทำงานเพียงอย่างเดียว
ผลจึงออกมาเป็นการทำงานแบบเรื่อย ๆ ให้งานเสร็จ แต่ไม่ได้ทุ่มเทจนสุดตัว
หรือในอีกทางหนึ่งก็คือการตัดสินใจลาออกอย่างรวดเร็ว ทั้งที่ยังทำงานในตำแหน่งนั้นมาได้ไม่นาน
หรือในอีกทางหนึ่งก็คือการตัดสินใจลาออกอย่างรวดเร็ว ทั้งที่ยังทำงานในตำแหน่งนั้นมาได้ไม่นาน
ยิ่งไปกว่านั้น ความรู้สึก “ไม่ Happy” กับการทำงาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการหมดไฟ (Burnout) และนำไปสู่การตัดสินใจลาออกจากงานในที่สุด..
ซึ่งจากผลสำรวจของ Microsoft พบว่าคน Gen Z กว่า 54% มีแนวโน้มที่จะตัดสินใจลาออกจากงาน เช่นเดียวกับผลสำรวจที่รวบรวมโดย McKinsey ที่พบว่าคนทั่วโลกกว่า 40% มีความต้องการที่จะเปลี่ยนงานภายในระยะเวลา 3 - 6 เดือนนับจากนี้
และหากเจาะลึกไปที่มุมมองความต้องการของคน Gen Z ที่มีต่อการทำงาน จะพบว่า คนกลุ่มนี้ต้องการทำงานที่มีความหมายมากกว่าเดิม ไม่ใช่การทำงานที่ทุ่มเทจนสุดตัว จนไม่เหลือเวลาให้ทำสิ่งอื่นในชีวิต
อย่างเช่น การทำงานแบบฟรีแลนซ์ ซึ่งให้อิสระในชีวิตมากกว่า เช่นเดียวกับคน Gen X ที่ต้องการหารูปแบบการทำงานใหม่ ๆ และตัดสินใจเป็นนายของตัวเอง
อ้างอิง :
-https://www.entrepreneur.com/business-news/so-long-quiet-quitting-fast-quitting-has-taken-over/436482
-https://www.linkedin.com/pulse/forget-quiet-quitting-many-workers-still-outright-jobs-george-anders/
-https://www.bls.gov/news.release/pdf/tenure.pdf
-https://www.gallup.com/workplace/398306/quiet-quitting-real.aspx
-https://www.weforum.org/agenda/2022/08/mckinsey-quitting-workers-attrition/
-https://www.weforum.org/agenda/2022/09/tiktok-quiet-quitting-explained/
-https://www.entrepreneur.com/business-news/so-long-quiet-quitting-fast-quitting-has-taken-over/436482
-https://www.linkedin.com/pulse/forget-quiet-quitting-many-workers-still-outright-jobs-george-anders/
-https://www.bls.gov/news.release/pdf/tenure.pdf
-https://www.gallup.com/workplace/398306/quiet-quitting-real.aspx
-https://www.weforum.org/agenda/2022/08/mckinsey-quitting-workers-attrition/
-https://www.weforum.org/agenda/2022/09/tiktok-quiet-quitting-explained/