ทำไม “ธุรกิจเครือข่าย” ถึงชอบจำหน่ายอาหารเสริม
30 เม.ย. 2022
เคยสงสัยไหมว่า ทำไมธุรกิจเครือข่าย มักมาพร้อมกับสินค้าจำพวกอาหารเสริม หรือผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพ ?
ตัวอย่างธุรกิจที่มีลักษณะแบบนี้ ก็เช่น Amway, Giffarine, Zhulian, Herbalife Nutrition
โดยลักษณะของธุรกิจเครือข่าย หรือที่เรียกว่าโมเดล MLM (Multi-Level Marketing) เป็นการทำธุรกิจที่อาศัยการขายในปริมาณมาก ๆ เพื่อรับส่วนแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์จากปริมาณยอดขาย
ซึ่งอาศัยการทำตลาดจากเครือข่ายลูกค้า (Network Marketing) ในการขายของให้กับคนนอกเครือข่าย แล้วชักชวนเข้ามาเป็นสมาชิกเครือข่าย หรือที่เรียกว่าดาวน์ไลน์ (Downline) เพื่อมาเป็นนักธุรกิจร่วมกัน ในลักษณะการขายตรง (Direct Selling)
และในบางบริษัท จะมีการจัดตั้งเป็นคอมมิวนิตี ฝึกอบรมด้านผลิตภัณฑ์และการขาย รวมถึงวาดฝันให้เห็นเส้นทางการเติบโตที่สวยงาม ปูเส้นทางให้นักธุรกิจสามารถเกษียณได้เร็วกว่าปกติ
แต่คำถามก็คือ ทำไมธุรกิจเครือข่ายส่วนมาก ถึงชอบขายอาหารเสริม เครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค ที่ใช้แล้วหมดไป ?
จริง ๆ เรื่องนี้มีเหตุผลอยู่เบื้องหลัง ซึ่งสามารถแบ่งเป็นประเด็นหลัก ๆ ได้ตามนี้
- เหตุผลตั้งต้นก็คงจะเป็น ลักษณะของสินค้า ที่ต้องอาศัย “ความเชื่อใจในการซื้อ”
ลองมายกตัวอย่างจากนางสาว A ที่เป็นพนักงานออฟฟิศธรรมดา ๆ คนหนึ่ง ที่เหนื่อยจากการทำงาน และอยากได้ตัวช่วยในการดูแลรูปร่าง แต่ไม่รู้จะซื้อแบรนด์ไหน จึงไปปรึกษาเพื่อน
เพื่อนของนางสาว A ชื่อว่า B จึงมาแนะนำผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่งให้กับ A
พร้อมกับบอกว่าตัว B ใช้อยู่จริง ๆ แล้ว B ก็เป็นคนรูปร่างดี ประกอบกับความเป็นเพื่อน ทำให้ A ไม่คิดว่า B จะเอาอะไรไม่ดีมาแนะนำให้เธอ
พร้อมกับบอกว่าตัว B ใช้อยู่จริง ๆ แล้ว B ก็เป็นคนรูปร่างดี ประกอบกับความเป็นเพื่อน ทำให้ A ไม่คิดว่า B จะเอาอะไรไม่ดีมาแนะนำให้เธอ
หลังจากที่ A เปิดใจ B จึงมาสาธิตผลิตภัณฑ์ให้ดู พร้อมกับอธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ เสมือนว่าเธอเป็นนักวิชาการคนหนึ่ง
พอ A เห็นแบบนี้ ก็เกิดความเชื่อใจในตัวผลิตภัณฑ์ (รวมถึงเชื่อในตัว B) จนยอมเสียเงินสมัครสมาชิก และซื้อผลิตภัณฑ์ในฐานะดาวน์ไลน์ของ B
อีกทั้ง ถ้า A ใช้แล้วดี เธอสามารถบอกต่อคนอื่น ให้มาต่อหางเป็นดาวน์ไลน์ของเธอ เธอก็จะได้ส่วนแบ่งเล็กน้อย จากการซื้อสินค้าของดาวน์ไลน์ที่เธอหามาได้
ลองคิดดูเล่น ๆ ว่าถ้าหากนางสาว A เดินเข้าไปในห้างสรรพสินค้า เธอจะต้องพบกับโซนอาหารเสริมเป็นสิบ ๆ แบรนด์ ต้องไปยืนเปรียบเทียบเอง ทั้ง ๆ ที่ความรู้เรื่องโภชนาการก็ไม่ได้แน่น
แล้วเธอจะมั่นใจได้อย่างไร ว่าจะไม่ตกเป็นทาสการตลาด ?
ดังนั้น การขายสินค้าที่ต้องการความเชื่อใจหรือไว้วางใจ จึงเหมาะสมกับรูปแบบการขายตรง หรือ Direct Selling มากเป็นพิเศษ
นอกจากนี้ ลักษณะเฉพาะของการขายตรง ช่วยเปิดโอกาสให้คนขาย สามารถเลือกเข้าไปเสนอผลิตภัณฑ์ให้กับคนคนหนึ่งได้โดยตรง ทำให้เราสามารถคัดเลือกลูกค้าที่มีโอกาสในการซื้อสูงกว่าปกติด้วย
ซึ่งส่งผลให้พลังงานที่เสียไปกับการอธิบายข้อมูลผลิตภัณฑ์ มีแนวโน้มจะสูญเปล่าน้อยลงกว่าการโฆษณาด้วยสื่อมวลชน ที่เข้าถึงคนหมู่มาก แต่มีคนที่เปิดใจให้ผลิตภัณฑ์จริง ๆ น้อยมากนั่นเอง
พูดอีกนัยหนึ่ง คือต้นทุนในการขายต่อ 1 คน จะลดลงได้
ถ้าหากเราเลือกลูกค้าที่มีโอกาสซื้อสูงตั้งแต่แรก
ถ้าหากเราเลือกลูกค้าที่มีโอกาสซื้อสูงตั้งแต่แรก
- เหตุผลต่อมาคือ กลยุทธ์ที่ทำให้เกิดการซื้อซ้ำได้ง่าย นำไปสู่ “ความภักดีในแบรนด์”
ต่อเนื่องจากที่นางสาว A ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ครบ 1 เดือน ซึ่ง B เพื่อนของเธอ ก็คอยประกบอย่างดี ว่าถ้าหมดแล้วเธอต้องใช้ต่อ เพื่อความต่อเนื่องและผลลัพธ์ที่ชัดเจน
ดังนั้น A จึงไม่ลังเลที่จะซื้อผลิตภัณฑ์นี้ใช้ต่อไป ครั้นเมื่อถึงเวลาที่เริ่มเห็นผลแม้แต่เพียงเล็กน้อย ก็จะทำให้ A รู้สึกดีที่เชื่อใจ B และมีโอกาสสูงที่เธอจะ
- มองหาผลิตภัณฑ์ตัวอื่น ๆ ในเครือเดียวกันมาใช้อีก เพราะเธอเชื่อมั่นในแบรนด์นี้แล้ว
- บอกต่อคนที่มีปัญหาแบบเดียวกัน เพื่อให้คนอื่น ๆ ได้รับสิ่งที่เธอเห็นว่าดีด้วย
- บอกต่อคนที่มีปัญหาแบบเดียวกัน เพื่อให้คนอื่น ๆ ได้รับสิ่งที่เธอเห็นว่าดีด้วย
ลองคิดกลับกันว่า ถ้าหากเราซื้ออาหารเสริมจากอินเทอร์เน็ต หรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป พอครบ 1 เดือนไม่มีใครมาโน้มน้าว หรือชักจูงเราต่อ เราก็อาจจะหันไปซื้อแบรนด์อื่นแทนก็ได้
แต่พอเป็นธุรกิจเครือข่าย เรามีอัปไลน์เป็นเหมือนที่ปรึกษา และยังมีคอมมิวนิตี ที่เป็นเหมือนสถานที่เชียร์อัป ให้เรารู้สึกภาคภูมิใจ และเชื่อมั่นในตัวธุรกิจ
นี่จึงเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการสร้างความภักดีในสินค้า (Loyalty) ที่ก็ต้องยอมรับว่า มันแยบยล จนหลาย ๆ คนมองแทบไม่ออก ว่าตกไปเป็นหนึ่งในสาวกของธุรกิจเครือข่ายแล้ว
- เหตุผลสุดท้าย อาหารเสริมในคราบธุรกิจเครือข่าย ทำให้หลายคนมองมันเป็น “การลงทุน”
หากเรามามองกันดี ๆ ว่าธุรกิจอะไร ที่เมื่อคนอยู่ไปเรื่อย ๆ ยิ่งมีความต้องการมากขึ้นไปทุกวัน
ก็คงหนีไม่พ้นผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ที่พอยิ่งอายุเพิ่มขึ้น ก็มีแต่จะต้องบำรุงเพิ่มตามส่วนที่สึกหรอมากขึ้นทุกวัน
ทีนี้ ก็ถึงตาของ A ที่จะมองว่า การบอกต่อให้กับคนใกล้ตัว หรือคนรู้จัก
ไม่ใช่แค่การบอกต่อสิ่งดี ๆ แต่คือการลงทุน เพื่อให้เธอมีโอกาสได้ใช้สินค้าที่เชื่อว่าดีฟรี ๆ รวมถึงผลตอบแทนในอนาคต
ไม่ใช่แค่การบอกต่อสิ่งดี ๆ แต่คือการลงทุน เพื่อให้เธอมีโอกาสได้ใช้สินค้าที่เชื่อว่าดีฟรี ๆ รวมถึงผลตอบแทนในอนาคต
เพราะยิ่งเธอบอกต่อ จนมีคนมาสมัครสมาชิก, นักธุรกิจหรือดาวน์ไลน์ (Downline) มาต่อท้ายเธอมากเท่าไร ยอดสะสมจากการซื้อของดาวน์ไลน์ ก็จะกลับมาหาเธอ ในรูปแบบของโบนัสเงินคืน ตามเปอร์เซ็นต์และเงื่อนไขที่แต่ละบริษัทกำหนด
ซึ่งนับเป็นวิธีการเสนอแรงจูงใจ (Incentive) ไปยังเหล่านักธุรกิจ ให้รู้สึกว่าถ้าหากเราทำได้ และสามารถขึ้นตำแหน่งสูง ๆ ก็จะยิ่งได้รับส่วนแบ่ง ทั้งค่าตำแหน่ง และโบนัสไปได้ทุก ๆ เดือน
อีกทั้ง ถ้านางสาว A สามารถขายสินค้าให้กับคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิก เธอก็จะได้ส่วนกำไรจากราคาขายปลีก (Retail Price) ที่มักจะมากกว่า 20-50% เลยทีเดียว..
ซึ่งเงินตรงนี้ ก็จะถูกวาดฝันไว้ว่าทำให้เราสามารถเกษียณได้เร็ว
หรือจะได้สิ่งที่เรียกว่า Passive Income เข้ามาทุก ๆ เดือนนั่นเอง
หรือจะได้สิ่งที่เรียกว่า Passive Income เข้ามาทุก ๆ เดือนนั่นเอง
ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ ก็คือเหตุผลที่เชื่อมโยงกันระหว่างธุรกิจเครือข่าย และเหตุผลว่าทำไมถึงต้องเป็นอาหารเสริม, เครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
อย่างไรก็ดี มีการศึกษาบนเว็บไซต์ Loanstreet บริษัทเปรียบเทียบสินเชื่อของมาเลเซีย ที่บอกว่า ในธุรกิจเครือข่ายนั้น ผู้ที่สามารถทำกำไรได้จากมันจริง ๆ มีเพียง 25% เท่านั้น
และจากสถิติในการศึกษาเดียวกัน บอกว่าผู้เข้าร่วมธุรกิจเครือข่ายกว่า 44% ตัดสินใจทำธุรกิจได้ไม่ถึงปี ก็ตัดสินใจโบกมือลาธุรกิจเครือข่าย เพราะรู้สึกว่าตัวเองกำลังใช้จ่ายมากเกินไป สำหรับธุรกิจนี้อยู่ดี
นั่นก็เป็นเพราะธุรกิจประเภทนี้ มีรูปแบบการทำเงินจาก
1. ขายสินค้า นั่นแปลว่า คุณจะต้องขายสินค้าในราคาขายปลีกเพื่อทำกำไร
2. หาคนมาสมัครสมาชิก เพื่อให้เขาซื้อสินค้าใช้ หรือไปขายสินค้าให้คนอื่นต่อ เพื่อรับส่วนแบ่ง
3. ทางเลือกสุดท้าย หากว่าคุณขายของไม่ได้ แต่อยากได้ยอด ก็คือ ต้องซื้อสินค้าไปดองไว้เอง
2. หาคนมาสมัครสมาชิก เพื่อให้เขาซื้อสินค้าใช้ หรือไปขายสินค้าให้คนอื่นต่อ เพื่อรับส่วนแบ่ง
3. ทางเลือกสุดท้าย หากว่าคุณขายของไม่ได้ แต่อยากได้ยอด ก็คือ ต้องซื้อสินค้าไปดองไว้เอง
ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หลายคน มักจะจบลงที่ข้อสุดท้าย..
อ้างอิง:
-https://www.investopedia.com/terms/m/multi-level-marketing.asp
-https://psychology.fandom.com/wiki/Multi-level_marketing
-https://loanstreet.com.my/learning-centre/multi-level-marketing-explained
-https://sites.google.com/site/herbalifeaorn/home/herbalife-founder/herbalife-compensation-plan
-https://www.quora.com/Why-do-MLM-companies-like-to-sell-nutritional-supplements
-https://d1io3yog0oux5.cloudfront.net/_94aca77f9a8dcd4ab01dbe3aca527bb0/herbalife/db/1168/10510/annual_report/2021+HLF+Annual+Report.pdf
-https://www.investopedia.com/terms/m/multi-level-marketing.asp
-https://psychology.fandom.com/wiki/Multi-level_marketing
-https://loanstreet.com.my/learning-centre/multi-level-marketing-explained
-https://sites.google.com/site/herbalifeaorn/home/herbalife-founder/herbalife-compensation-plan
-https://www.quora.com/Why-do-MLM-companies-like-to-sell-nutritional-supplements
-https://d1io3yog0oux5.cloudfront.net/_94aca77f9a8dcd4ab01dbe3aca527bb0/herbalife/db/1168/10510/annual_report/2021+HLF+Annual+Report.pdf