ทฤษฎีให้เบ็ดตกปลาของ “เซ็นทรัล ทำ” กำลังสร้าง Social Impact อย่างยั่งยืน
1 เม.ย. 2022
“เราไม่ได้ให้ปลาเขาสักตัว แต่เราให้เบ็ดตกปลา เพื่อให้เขาอยู่ได้ด้วยตัวเอง”
พิชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร กลุ่มเซ็นทรัล และผู้ดูแลโครงการ “เซ็นทรัล ทำ” บอกถึงวิธีคิดของโครงการ
พิชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร กลุ่มเซ็นทรัล และผู้ดูแลโครงการ “เซ็นทรัล ทำ” บอกถึงวิธีคิดของโครงการ
แม้จะเป็นประโยคสั้น ๆ แต่กลับเป็นแนวคิดอันทรงพลังในการสร้างสังคมที่ยั่งยืน ผ่านโครงการที่จัดตั้งขึ้นมาอย่าง “เซ็นทรัล ทำ”
เพราะด้วยแนวคิดนี้ได้ทำให้ “เซ็นทรัล ทำ” สามารถสร้าง Social Impact ในหลายมิติเลยทีเดียว
ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2564 ที่ผ่านมา ทางทีมงานมีการลงพื้นที่ช่วยเหลือครอบครัว กว่า 100,000 ครัวเรือนใน 44 จังหวัด เพื่อให้เพาะปลูกผักผลไม้, เลี้ยงสัตว์, ผลิตสินค้าชุมชน ที่มีมาตรฐานสูง จนถึงการให้ความรู้ในกระบวนการผลิตต่าง ๆ
จากนั้นผลผลิตและสินค้าที่ได้ ก็จะนำมาขายผ่านร้านค้าในเครือของเซ็นทรัล
โดยสร้างรายได้ในปีที่แล้ว มากกว่า 1,500 ล้านบาท ส่งผลให้ครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ มีรายได้เพิ่มขึ้นราว ๆ 3 เท่า
โดยสร้างรายได้ในปีที่แล้ว มากกว่า 1,500 ล้านบาท ส่งผลให้ครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ มีรายได้เพิ่มขึ้นราว ๆ 3 เท่า
เหตุผลเพราะ “เซ็นทรัล ทำ” ตัดวงจรต้นทุนให้แก่กลุ่มเกษตรกรเหล่านี้
เมื่อไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ไม่ต้องเสียค่าขนส่งสินค้า เพราะทางกลุ่มเซ็นทรัลมีรถขนส่งมารับถึงที่
เพื่อนำมาขายผ่านร้านค้าในเครือเซ็นทรัล เช่น ท็อปส์ ที่มีสาขาครอบคลุมทั่วประเทศได้ทันที
เมื่อไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ไม่ต้องเสียค่าขนส่งสินค้า เพราะทางกลุ่มเซ็นทรัลมีรถขนส่งมารับถึงที่
เพื่อนำมาขายผ่านร้านค้าในเครือเซ็นทรัล เช่น ท็อปส์ ที่มีสาขาครอบคลุมทั่วประเทศได้ทันที
ขณะเดียวกัน ก็มีการสร้างโมเดล ตลาดจริงใจ ที่เป็นการแบ่งพื้นที่ศูนย์การค้าให้แก่เกษตรกร สามารถนำสินค้ามาขายได้เอง ทำให้คนเมืองได้ซื้อสินค้าราคาถูกมีคุณภาพ
แน่นอนว่าโมเดลธุรกิจนี้ช่วยลดต้นทุนให้แก่เกษตรกร และย่อมทำให้ผลผลิต 1 ชิ้นสร้างกำไรได้มากกว่าเดิม
จะเห็นว่า “เซ็นทรัล ทำ” ใช้แนวคิด CSV หรือ Creating Shared Value ให้สามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้าและสร้างผลประโยชน์ให้ครบทุกฝ่ายทั้งเกษตรกร, ลูกค้าที่เดินในศูนย์การค้า และธุรกิจของตัวเอง
ความน่าสนใจมันอยู่ที่ว่า แนวคิดนี้ไม่ได้จำกัดแค่สร้างอาชีพเพื่อให้เศรษฐกิจชุมชนแข็งแกร่ง
แต่ยังมีอีก 6 แนวทางที่ “เซ็นทรัล ทำ” ให้ความสำคัญเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
แต่ยังมีอีก 6 แนวทางที่ “เซ็นทรัล ทำ” ให้ความสำคัญเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
1. ส่งเสริมเศรษฐกิจ ชุมชน สร้างอาชีพ
สนับสนุน 1 แสนครัวเรือน กว่า 44 จังหวัด เพื่อพัฒนา ผลิตผลทางการเกษตร เลี้ยงสัตว์ ผลิตสินค้าชุมชน พร้อมนำสินค้า มาขายผ่านในพื้นที่ของกลุ่มเซ็นทรัล
สนับสนุน 1 แสนครัวเรือน กว่า 44 จังหวัด เพื่อพัฒนา ผลิตผลทางการเกษตร เลี้ยงสัตว์ ผลิตสินค้าชุมชน พร้อมนำสินค้า มาขายผ่านในพื้นที่ของกลุ่มเซ็นทรัล
2. ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคอย่างเท่าเทียม โดยเรื่องนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลัก ๆ
รู้หรือไม่ว่า ธุรกิจในเครือเซ็นทรัล สร้างงานให้คนพิการมากกว่า 600 คน
ซึ่งนอกจากสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มคนพิการแล้วนั้น ก็ยังสร้างกำไรในหัวใจ ที่จะทำให้คนพิการที่อยู่ในโครงการนี้รู้สึกว่าพวกเขาก็มีความสามารถ ไม่ได้แตกต่างหรือด้อยกว่าคนธรรมดาทั่วไป
ซึ่งนอกจากสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มคนพิการแล้วนั้น ก็ยังสร้างกำไรในหัวใจ ที่จะทำให้คนพิการที่อยู่ในโครงการนี้รู้สึกว่าพวกเขาก็มีความสามารถ ไม่ได้แตกต่างหรือด้อยกว่าคนธรรมดาทั่วไป
ส่วนอีกประเด็น คือ เรื่องการศึกษา ที่โครงการนี้ได้เข้าไปร่วมมือกับโรงเรียนต่าง ๆ ในชนบท
เพื่อร่วมวางแผนพัฒนาทั้งคุณครูและนักเรียน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ไปจนถึงระดับอุดมศึกษา เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกที่เปลี่ยนไป
เรื่องนี้ถือว่าสำคัญ เมื่อเวลานี้สิ่งที่จำเป็นและขาดหายไปในระบบการศึกษาไทย ก็คือเด็กต้องรู้จักปรับตัวต่อโลกที่เปลี่ยนไป พร้อมกับคิดวิเคราะห์เพื่อนำมาต่อยอดและใช้ได้จริง
เพื่อร่วมวางแผนพัฒนาทั้งคุณครูและนักเรียน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ไปจนถึงระดับอุดมศึกษา เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกที่เปลี่ยนไป
เรื่องนี้ถือว่าสำคัญ เมื่อเวลานี้สิ่งที่จำเป็นและขาดหายไปในระบบการศึกษาไทย ก็คือเด็กต้องรู้จักปรับตัวต่อโลกที่เปลี่ยนไป พร้อมกับคิดวิเคราะห์เพื่อนำมาต่อยอดและใช้ได้จริง
3. พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
กลุ่มเซ็นทรัลมีการพัฒนาทักษะในการใช้ชีวิตและการทำงานให้แก่พนักงานทุกฝ่าย
เป้าหมายก็เพื่อให้พนักงานมีการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ในโลกการทำงานและธุรกิจ ซึ่งจะทำให้ได้เปรียบในเชิงการแข่งขันนั่นเอง
กลุ่มเซ็นทรัลมีการพัฒนาทักษะในการใช้ชีวิตและการทำงานให้แก่พนักงานทุกฝ่าย
เป้าหมายก็เพื่อให้พนักงานมีการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ในโลกการทำงานและธุรกิจ ซึ่งจะทำให้ได้เปรียบในเชิงการแข่งขันนั่นเอง
4. เศรษฐกิจหมุนเวียน บริหารจัดการขยะมูลฝอย
โครงการ Journey to Zero เพื่อลดการสร้างขยะมูลฝอยให้เป็นศูนย์ (Zero Waste) และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)
โครงการ Journey to Zero เพื่อลดการสร้างขยะมูลฝอยให้เป็นศูนย์ (Zero Waste) และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)
โดยสามารถลดการใช้พลาสติกไปได้มากกว่า 5,000 ตัน
5. ลดการสูญเสียอาหารในกระบวนการผลิตและลดปริมาณขยะอาหาร
ไม่ใช่แค่ขยะพลาสติกที่กำลังเป็นปัญหาของโลก แต่ขยะจากเศษอาหารก็กำลังเป็นปัญหาเช่นกัน
ทั้ง ๆ ที่เศษอาหารเหล่านี้สามารถนำไปทำประโยชน์ในเชิงการเกษตรได้
ไม่ใช่แค่ขยะพลาสติกที่กำลังเป็นปัญหาของโลก แต่ขยะจากเศษอาหารก็กำลังเป็นปัญหาเช่นกัน
ทั้ง ๆ ที่เศษอาหารเหล่านี้สามารถนำไปทำประโยชน์ในเชิงการเกษตรได้
หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า “เซ็นทรัล ทำ” มีการนำเศษอาหารที่อยู่ในวงจรธุรกิจของตัวเอง
ทั้งในกลุ่มโรงแรมและศูนย์การค้า มาแปรสภาพเป็นปุ๋ยอินทรีย์และก๊าซชีวภาพ
ตัวอย่างเช่นในศูนย์การค้า เซ็นทรัล เฟสติวัล สมุย และในโรงแรมเซ็นทารา ก็มีการคัดแยกขยะ ติดตั้งเครื่องผลิตปุ๋ยหมักและก๊าซชีวภาพ
ทั้งในกลุ่มโรงแรมและศูนย์การค้า มาแปรสภาพเป็นปุ๋ยอินทรีย์และก๊าซชีวภาพ
ตัวอย่างเช่นในศูนย์การค้า เซ็นทรัล เฟสติวัล สมุย และในโรงแรมเซ็นทารา ก็มีการคัดแยกขยะ ติดตั้งเครื่องผลิตปุ๋ยหมักและก๊าซชีวภาพ
6. ฟื้นฟูสภาพอากาศ ลดมลภาวะ และผลักดันให้ใช้พลังงานหมุนเวียน
ในกลุ่มธุรกิจเซ็นทรัล ได้มีการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์บนหลังคา
ที่นอกจากจะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าแล้วนั้น ยังถือเป็นการใช้พลังงานสะอาด ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
ในกลุ่มธุรกิจเซ็นทรัล ได้มีการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์บนหลังคา
ที่นอกจากจะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าแล้วนั้น ยังถือเป็นการใช้พลังงานสะอาด ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
หรือแม้แต่ธุรกิจในเครือเช่น ท็อปส์ เดลี่, แฟมิลี่มาร์ท ทั่วประเทศไทย ก็มีการติดตั้งเครื่องทำน้ำร้อนที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์
จนถึงโครงการ “เซ็นทรัล ทำ” ที่ได้ร่วมมือกับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
มีการปลูกป่า เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองไทยไปแล้ว กว่า 2,000 ไร่ เพื่อสร้างอากาศบริสุทธิ์และธรรมชาติที่สวยงามให้แก่คนรุ่นหลังได้สัมผัส
มีการปลูกป่า เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองไทยไปแล้ว กว่า 2,000 ไร่ เพื่อสร้างอากาศบริสุทธิ์และธรรมชาติที่สวยงามให้แก่คนรุ่นหลังได้สัมผัส
จะเห็นว่าโครงการ “เซ็นทรัล ทำ” ไม่ได้ลงมือทำแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่พยายามลงมือทำให้ทุก ๆ ภาคส่วนดีขึ้นกว่าเดิม
ไม่ว่าจะเป็น ความเป็นอยู่ของผู้คน, สิ่งแวดล้อม, และธุรกิจทั้งหมดในเครือของตัวเอง
ไม่ว่าจะเป็น ความเป็นอยู่ของผู้คน, สิ่งแวดล้อม, และธุรกิจทั้งหมดในเครือของตัวเอง
วิธีคิดนี้ก็คือ “โมเดลธุรกิจความยั่งยืน” ที่เราได้ยินบ่อย ๆ ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา
เพียงแต่ความไม่ธรรมดาของเรื่องนี้ก็คือ ใครจะคิดว่ากลุ่มเซ็นทรัลคิดเรื่องนี้ตั้งแต่เมื่อ 75 ปีที่แล้ว
นับตั้งแต่วันที่เริ่มต้นทำธุรกิจ เมื่อผู้ก่อตั้งบริษัทอย่างคุณ เตียง จิราธิวัฒน์ มีความเชื่อที่ว่า
“ในการดำรงอยู่นั้น เราต้องมีแนวทางใช้ชีวิตร่วมกัน เพื่อให้การอยู่ร่วมกันมีความสุขตลอดไป”
นับตั้งแต่วันที่เริ่มต้นทำธุรกิจ เมื่อผู้ก่อตั้งบริษัทอย่างคุณ เตียง จิราธิวัฒน์ มีความเชื่อที่ว่า
“ในการดำรงอยู่นั้น เราต้องมีแนวทางใช้ชีวิตร่วมกัน เพื่อให้การอยู่ร่วมกันมีความสุขตลอดไป”
เป็นการสะท้อนสิ่งหนึ่งที่เป็นความจริงที่ว่า ไม่ว่าโลกใบนี้จะเปลี่ยนไปแค่ไหน
“ไม่มีใครที่จะเติบโตได้เพียงคนเดียว หากสิ่งรอบข้างอยู่ในภาวะวิกฤติ”
“ไม่มีใครที่จะเติบโตได้เพียงคนเดียว หากสิ่งรอบข้างอยู่ในภาวะวิกฤติ”
สามารถรับชมภาพยนตร์โฆษณาได้ที่
อ้างอิง: งานแถลงข่าวโครงการ เซ็นทรัล ทำ