ทำไม แบรนด์สินค้ารักษ์โลก ถึงต้องขายแพงกว่าปกติ ?
26 มี.ค. 2022
เคยสังเกตไหมว่า แบรนด์รุ่นใหม่ที่ขายสินค้าประเภท Eco-friendly หรือ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
มักจะวาง Position ของแบรนด์ไว้สูง ๆ หรือตั้งราคาขายสินค้าแพงกว่า สินค้าชนิดเดียวกัน ที่ไม่ได้มีจุดยืนในเรื่องการรักษ์โลก
มักจะวาง Position ของแบรนด์ไว้สูง ๆ หรือตั้งราคาขายสินค้าแพงกว่า สินค้าชนิดเดียวกัน ที่ไม่ได้มีจุดยืนในเรื่องการรักษ์โลก
แต่ในขณะเดียวกัน หลายคนก็อาจรู้สึกว่า
ถ้าหากว่าอยากให้ทุกคนหันมารักษ์โลก
ถ้าหากว่าอยากให้ทุกคนหันมารักษ์โลก
ทำไมสินค้ารักษ์โลก ถึงต้องขายแพง ๆ
จนอาจทำให้คนจำนวนมาก เอื้อมไม่ถึง ?
จนอาจทำให้คนจำนวนมาก เอื้อมไม่ถึง ?
กลายเป็นว่า ไม่ว่าจะเป็นอาหาร Vegan, รถยนต์ไฟฟ้า, เสื้อผ้าที่ทำมาจากวัสดุรีไซเคิล, แพ็กเกจจิงที่ทำจากชานอ้อย และสินค้ารักษ์โลกอื่น ๆ มักมีราคาสูงกว่าปกติ
ซึ่งก็ถึงกับมีข้อมูลที่บอกว่า สินค้ารักษ์โลก
สามารถทำราคาได้สูงกว่าสินค้าปกติในตลาด ถึง 50% เลยทีเดียว..
สามารถทำราคาได้สูงกว่าสินค้าปกติในตลาด ถึง 50% เลยทีเดียว..
แล้วทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
เหตุผลที่นำมาอธิบายเรื่องนี้ในเชิงธุรกิจหลัก ๆ ได้แก่
เหตุผลที่นำมาอธิบายเรื่องนี้ในเชิงธุรกิจหลัก ๆ ได้แก่
1. ความต้องการสินค้ารักษ์โลก ยังไม่มากพอ (Lack of Demand)
ถึงแม้ว่าจะมีธุรกิจที่ผุดคอนเซปต์สินค้ารักษ์โลก และสินค้าเพื่อความยั่งยืนขึ้นมามากมาย
ซึ่งส่วนหนึ่งก็เพื่อสร้างเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ด้วย
ซึ่งส่วนหนึ่งก็เพื่อสร้างเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ด้วย
แต่ในทางตรงข้าม ตลาดนี้กลับยังไม่มีความต้องการซื้อมากพอ ที่จะสามารถขายในราคาปกติ (แล้วไม่ขาดทุน) ได้
ดังนั้น เป็นเรื่องปกติของกฎแห่งความต้องการ (Law of Demand) ที่เมื่อตลาดยังเล็ก ความต้องการยังน้อย จึงต้องขายในราคาสูง เพื่อให้ส่วนของกำไรนั้นครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
เพราะยังไม่สามารถขายในปริมาณที่มาก ๆ ได้นั่นเอง
เพราะยังไม่สามารถขายในปริมาณที่มาก ๆ ได้นั่นเอง
และเมื่อไรก็ตาม ที่ความต้องการสินค้ารักษ์โลกมากขึ้น
ก็จะส่งผลให้ปริมาณขายเพิ่มขึ้นได้
และนำไปสู่การลดราคา หรืออัตรากำไรลงมาได้
ก็จะส่งผลให้ปริมาณขายเพิ่มขึ้นได้
และนำไปสู่การลดราคา หรืออัตรากำไรลงมาได้
หรือพูดง่าย ๆ คือ ปริมาณความต้องการและปริมาณขายที่มากขึ้น
จะทำให้ถึงจุดคุ้มทุนของธุรกิจได้ แม้ว่าจะตั้งราคาขายที่ต่ำลงมา
จะทำให้ถึงจุดคุ้มทุนของธุรกิจได้ แม้ว่าจะตั้งราคาขายที่ต่ำลงมา
ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ที่ข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่งบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า
กลุ่มคน Gen Z คือกลุ่มที่มีความตระหนักเรื่องภาวะโลกร้อน และจะยอมจ่ายเพิ่มขึ้นหากสินค้าดังกล่าว ดีต่อโลกมากกว่า
กลุ่มคน Gen Z คือกลุ่มที่มีความตระหนักเรื่องภาวะโลกร้อน และจะยอมจ่ายเพิ่มขึ้นหากสินค้าดังกล่าว ดีต่อโลกมากกว่า
อย่างไรก็ดี เพียงแค่ความต้องการที่มากขึ้น ก็ยังคงไม่น่าพอที่จะทำให้สินค้า Eco-friendly นั้นมีราคาถูกได้เท่ากับสินค้าปกติ เพราะยังมีในเรื่องของ “ต้นทุนสินค้า” เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
2. ต้นทุนการผลิตยังสูงกว่าสินค้าทั่วไป (High Manufacturing Costs)
ลองคิดดูเล่น ๆ ว่า หากเราจะผลิตเสื้อผ้าที่ทำจากฝ้ายออร์แกนิก ที่ไม่ใช้สารเคมีในการปลูกฝ้าย
เราจะต้องทำอะไรบ้าง ?
เราจะต้องทำอะไรบ้าง ?
สิ่งที่เราต้องแลกคือ เราไม่สามารถทำให้มันเป็นการผลิตจำนวนมาก ๆ หรือ Mass Production ได้
เพราะในกระบวนการปลูก ย่อมต้องอาศัยความใส่ใจในการกำจัดวัชพืช และทำความสะอาด แทนการใช้ปุ๋ย หรือสารเคมี
ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณแรงงาน และสิ่งต่าง ๆ ที่จะเข้ามาดูแล ซึ่งก็หมายถึงต้นทุนการดำเนินงานที่สูงกว่าด้วย
หรือแม้แต่การผลิตช้อนส้อมสักคู่ การผลิตในรูปแบบพลาสติก ย่อมง่ายและเป็นที่นิยม
แต่พอเป็นสินค้า Eco-friendly ที่จะต้องเป็นวัสดุรีไซเคิล อย่างไม้ไผ่
กลับทำให้ จำเป็นต้องมีกระบวนการก่อนหน้านั้น ในการจัดหาวัตถุดิบ (Raw Materials) ที่มากขึ้น
แต่พอเป็นสินค้า Eco-friendly ที่จะต้องเป็นวัสดุรีไซเคิล อย่างไม้ไผ่
กลับทำให้ จำเป็นต้องมีกระบวนการก่อนหน้านั้น ในการจัดหาวัตถุดิบ (Raw Materials) ที่มากขึ้น
รวมไปถึงเรื่องเทคโนโลยีการผลิตที่ยังไม่แพร่หลาย หรือเป็นที่นิยมมากนัก
ทำให้หลาย ๆ อย่าง ยังคงมีต้นทุนที่สูง และยากต่อการหาซัปพลายเออร์ด้วย
ทำให้หลาย ๆ อย่าง ยังคงมีต้นทุนที่สูง และยากต่อการหาซัปพลายเออร์ด้วย
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของต้นทุนในการขอใบรับรองสินค้าออร์แกนิก (Organic Certifications) ที่ก็สูงไม่แพ้ต้นทุนด้านอื่น ๆ อีกด้วย
3. การพยายามรักษ์โลกทั้งระบบซัปพลายเชนของธุรกิจ ก็ดันต้นทุนให้สูงเช่นกัน
เนื่องจากธุรกิจที่เน้นขายสินค้า Eco-friendly ที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมนั้น ไม่ได้มองแค่ว่าสินค้าที่ขาย จะต้องดีต่อโลก แต่รวมไปถึงกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ
อย่างเช่น ถ้าหากเราขายแก้วน้ำแบบใช้ซ้ำได้
แทนที่จะเลือกแพ็กเกจจิงพลาสติก หรือกระดาษลังทั่วไปแบบที่ใช้กันปกติ
แทนที่จะเลือกแพ็กเกจจิงพลาสติก หรือกระดาษลังทั่วไปแบบที่ใช้กันปกติ
ธุรกิจเหล่านี้ อาจจะเลือกจากซัปพลายเออร์ที่ผลิตแพ็กเกจจิงมาจากผลิตภัณฑ์รีไซเคิล หรือเป็นวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ง่าย
รวมไปถึงการเลือกซัปพลายเออร์ที่มีจริยธรรม
เช่น การเลือกซัปพลายเออร์ที่ไม่ปล่อยน้ำเสียลงคลอง มีกระบวนการกำจัดของเสียที่ถูกต้องตามกฎหมาย และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
เช่น การเลือกซัปพลายเออร์ที่ไม่ปล่อยน้ำเสียลงคลอง มีกระบวนการกำจัดของเสียที่ถูกต้องตามกฎหมาย และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
ถึงแม้ว่าจะต้องขายวัตถุดิบแพงกว่าปกติ แต่ธุรกิจที่มีความพยายามในการรักษาสิ่งแวดล้อม ก็จะยอมจ่ายให้กับซัปพลายเออร์รายนี้
และสุดท้าย เป็นเหตุผลด้านการตลาด ในการใส่ “คุณค่า ที่เหนือความคาดหวังของลูกค้า” ลงไปในสินค้า
เพราะการที่แค่สินค้าของเรา ขึ้นชื่อว่าดีต่อสิ่งแวดล้อม ก็ทำให้ผู้บริโภคเต็มใจที่จะจ่ายเพิ่มขึ้นทันที
โดยมีผลสำรวจจาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย หรือ KResearch บอกว่า
“ผู้บริโภคชาวไทย ยินดีที่จะจ่ายสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ถ้าหากว่าสินค้าหรือบริการนั้น ๆ มีราคาแพงไม่เกินกว่า 20% ของราคาสินค้าปกติ ที่ไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม”
ถ้าหากว่าสินค้าหรือบริการนั้น ๆ มีราคาแพงไม่เกินกว่า 20% ของราคาสินค้าปกติ ที่ไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม”
และทั้งหมดนี้ก็คือเหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้สินค้า Eco-friendly ยังคงราคาสูงอยู่ ถึงแม้ว่าการตระหนักรู้จะเพิ่มมากขึ้นแล้วในช่วงปีที่ผ่าน ๆ มา
แต่ทว่าก็ยังมีคนตระหนักรู้ส่วนหนึ่ง ที่ต้องการและเต็มใจจะจ่ายเพื่อสินค้ารักษ์โลก
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นให้เกิดความต้องการ
ที่ทำให้การซื้อสินค้า Eco-friendly กลายเป็นเรื่องปกติ
และผลักดันให้สามารถเข้าถึงทุก ๆ คนอย่างเท่าเทียม..
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นให้เกิดความต้องการ
ที่ทำให้การซื้อสินค้า Eco-friendly กลายเป็นเรื่องปกติ
และผลักดันให้สามารถเข้าถึงทุก ๆ คนอย่างเท่าเทียม..
อ้างอิง:
-https://thesustainablelivingguide.com/why-are-eco-friendly-products-expensive/
-https://www.greenmatters.com/p/are-sustainable-products-more-expensive
-https://www.kasikornresearch.com/en/analysis/k-econ/business/Pages/Eco-Product-z3194.aspx
-https://thesustainablelivingguide.com/why-are-eco-friendly-products-expensive/
-https://www.greenmatters.com/p/are-sustainable-products-more-expensive
-https://www.kasikornresearch.com/en/analysis/k-econ/business/Pages/Eco-Product-z3194.aspx