
บสย. ทุบสถิติค้ำประกันสินเชื่อ เป็นประวัติการณ์ พุ่งแตะ 240,000 ล้านบาท
30 ธ.ค. 2021
บสย. หรือบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ทำหน้าที่ค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีศักยภาพแต่ขาดหลักประกันหรือหลักประกันไม่เพียงพอ ได้รับวงเงินที่เพียงพอกับความต้องการ ล่าสุดได้สร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์การค้ำประกัน นับตั้งแต่ก่อตั้ง บสย. มาเกือบ 30 ปี
ซึ่งคาดว่าภายในสิ้นปีนี้ บสย. จะมียอดค้ำประกันสินเชื่อทะลุ 240,000 ล้านบาท
โดยตัวเลขค้ำประกันล่าสุด ณ วันที่ 13 ธันวาคม อยู่ที่ 234,922 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อนถึง 66%
นอกจากตัวเลขค้ำประกันแล้ว ผลการดำเนินงานส่วนอื่น ๆ ก็เติบโตเช่นเดียวกัน เช่น ยอดอนุมัติหนังสือค้ำประกันสินเชื่อล่าสุดอยู่ที่ 224,104 ฉบับ
คิดเป็นการเติบโต 29% จากปีก่อนหน้าที่มีตัวเลข 173,660 ฉบับ
คิดเป็นการเติบโต 29% จากปีก่อนหน้าที่มีตัวเลข 173,660 ฉบับ
รวมทั้งจำนวนผู้ประกอบการ SMEs ที่เข้าถึงสินเชื่อล่าสุดเอง ก็อยู่ที่ 207,537 ราย คิดเป็นการเติบโต 25% จากปีก่อนหน้าที่มีตัวเลข 166,419 ราย
เรียกได้ว่า บสย. ประสบความสำเร็จด้านการค้ำประกันสินเชื่อในทุกมิติ
โดยโครงการค้ำประกันสินเชื่อที่โดดเด่น 3 โครงการ มีดังนี้
โดยโครงการค้ำประกันสินเชื่อที่โดดเด่น 3 โครงการ มีดังนี้
1. โครงการค้ำประกันสินเชื่อตาม พ.ร.ก. สินเชื่อฟื้นฟู วงเงินค้ำประกัน 124,912 ล้านบาท
สามารถช่วย SMEs จำนวน 36,776 ราย ก่อให้เกิดการจ้างงานรวม 1.2 ล้านราย สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจรวมแล้ว 515,885 ล้านบาท
ซึ่งธุรกิจที่ค้ำประกันสินเชื่อสูงสุด 3 ลำดับ ได้แก่ ธุรกิจบริการ 28%, ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 10% และธุรกิจยานยนต์ 9%
2. โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS9 วงเงินค้ำประกัน 78,799 ล้านบาท
3. โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Micro 4 วงเงินค้ำประกัน 19,257 ล้านบาท
หากนับโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS9 และ โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Micro 4 และโครงการอื่น ๆ ของ บสย. จะมีวงเงินค้ำประกันที่ 110,080 ล้านบาท
ซึ่งสามารถช่วย SMEs จำนวน 176,525 ราย และก่อให้เกิดการจ้างงานรวม 1.3 ล้านราย สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจรวม 454,634 ล้านบาท
โดยธุรกิจที่ค้ำประกันสินเชื่อสูงสุด 3 ลำดับ ได้แก่ ธุรกิจบริการ 29%, ธุรกิจการผลิตสินค้าและการค้าอื่น ๆ 16% และเกษตรกรรม 10%
ทีนี้ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน ลองมาเทียบกันว่า งบประมาณแต่ละบาทจากโครงการ บสย. ข้างต้น จะส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมอย่างไรบ้าง
เริ่มต้นที่ โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS9 ตัวเงิน 1 บาทจากงบประมาณโครงการ จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ตามมาดังนี้
1. วงเงินค้ำประกัน 6.25 บาท
2. สินเชื่อในระบบ 9.38 บาท
3. ช่วยผู้ประกอบการ SMEs 1.77 ราย
4. รักษาการจ้างงาน 46.04 ราย
5. สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 25.81 บาท
2. สินเชื่อในระบบ 9.38 บาท
3. ช่วยผู้ประกอบการ SMEs 1.77 ราย
4. รักษาการจ้างงาน 46.04 ราย
5. สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 25.81 บาท

โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Micro 4 ตัวเงิน 1 บาทจากงบประมาณโครงการ จะก่อให้เกิดผลตามมาดังนี้
1. วงเงินค้ำประกัน 4.35 บาท
2. สินเชื่อในระบบ 4.35 บาท
3. ช่วยผู้ประกอบการ SMEs 17.39 ราย
4. รักษาการจ้างงาน 34.78 ราย
5. สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 17.96 บาท
2. สินเชื่อในระบบ 4.35 บาท
3. ช่วยผู้ประกอบการ SMEs 17.39 ราย
4. รักษาการจ้างงาน 34.78 ราย
5. สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 17.96 บาท
จะเห็นได้ว่า การใช้งบประมาณผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. สามารถสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้ดีเยี่ยม
อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ส่งผลให้ภาคธุรกิจต้องเจอกับปัญหามากมาย จนบางรายไม่สามารถชำระหนี้ได้ และต้องปิดกิจการลงในที่สุด
บสย. จึงเพิ่มบทบาท “เพื่อนคู่คิด” ให้กับธุรกิจที่กำลังประสบปัญหาด้านเงินทุน
ด้วยการจัดตั้งศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs หรือ บสย. F.A. Center เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาต่าง ๆ เช่น การเงิน ปรับโครงสร้างหนี้ พัฒนาธุรกิจ และจัดอบรมหลักสูตรต่าง ๆ
ปัจจุบันมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการรวมแล้วกว่า 7,200 ราย
นอกจากนี้บสย. ยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ในการให้คำปรึกษาทางการเงิน เช่น โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน ที่ดำเนินการโดยธนาคารแห่งประเทศไทย โครงการจับคู่กู้เงิน ร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์
นอกจากนี้บสย. ยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ในการให้คำปรึกษาทางการเงิน เช่น โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน ที่ดำเนินการโดยธนาคารแห่งประเทศไทย โครงการจับคู่กู้เงิน ร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์
รวมถึง การเข้าร่วมมือในโครงการส่งเสริมการลงทุนและบริการทางการเงินในพื้นที่ EEC หรือโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจผ่านการค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการ SMEs อีกด้วย



แล้วถ้าถามว่าในอนาคต บสย. จะเดินหน้าเคียงข้างผู้ประกอบการไทยต่อไปอย่างไรนั้น
คุณวสุกานต์ วิศาลสวัสดิ์ รักษาการผู้จัดการทั่วไปของ บสย. สรุปใจความสำคัญว่า
“ปีนี้นับว่าเป็นปีที่ยากของทุกภาคส่วน ในฐานะที่ บสย. เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วย SMEs ให้เข้าถึงสินเชื่อ จึงได้ทุ่มสุดกำลังเพื่อให้ธุรกิจเหล่านี้ได้ไปต่อ.. ซึ่งในปีหน้า บสย. จะยังคงเดินหน้าภารกิจนี้ต่อไป เพื่อช่วยประคองและสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจรายย่อยหลังการฟื้นประเทศ”
สอบถามข้อมูลโครงการค้ำประกันสินเชื่อของบสย. ได้ที่ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs หรือ บสย. F.A. Center โทร. 02-890-9999