อินโดนีเซีย กำลังจะเป็นประเทศรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง ภายในปี 2020
15 พ.ค. 2019
ในแต่ละปี ธนาคารโลก (World Bank) จะทำการทบทวนเพื่อจัดกลุ่มประเทศต่างๆ ในโลก
จากการประเมินรายได้ประชาชาติต่อหัว (GNI per capita) โดยใช้วิธีที่เรียกว่า Atlas method
จากการประเมินรายได้ประชาชาติต่อหัว (GNI per capita) โดยใช้วิธีที่เรียกว่า Atlas method
โดยในปี 2018
ธนาคารโลก (World Bank) ได้แบ่งกลุ่มประเทศต่างๆ เป็นดังนี้
ธนาคารโลก (World Bank) ได้แบ่งกลุ่มประเทศต่างๆ เป็นดังนี้
กลุ่มประเทศรายได้สูง (High Income Country)
มีรายได้ประชาชาติต่อหัวต่อปีมากกว่า 12,235 ดอลลาร์สหรัฐ (387,850 บาท)
มีรายได้ประชาชาติต่อหัวต่อปีมากกว่า 12,235 ดอลลาร์สหรัฐ (387,850 บาท)
กลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Country) แบ่งเป็น
กลุ่มประเทศรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง (Upper Middle Income Country)
มีรายได้ประชาชาติต่อหัวต่อปีอยู่ระหว่าง 3,996 - 12,235 ดอลลาร์สหรัฐ
(126,670 - 387,850 บาท)
มีรายได้ประชาชาติต่อหัวต่อปีอยู่ระหว่าง 3,996 - 12,235 ดอลลาร์สหรัฐ
(126,670 - 387,850 บาท)
กลุ่มประเทศรายได้ปานกลางค่อนข้างต่ำ (Lower Middle Income Country)
มีรายได้ประชาชาติต่อหัวต่อปีอยู่ระหว่าง 1,006 - 3,995 ดอลลาร์สหรัฐ
(31,890 - 126,640 บาท)
มีรายได้ประชาชาติต่อหัวต่อปีอยู่ระหว่าง 1,006 - 3,995 ดอลลาร์สหรัฐ
(31,890 - 126,640 บาท)
กลุ่มประเทศรายได้ต่ำ (Low Income Country)
มีรายได้ประชาชาติต่อหัวต่อปีต่ำกว่า 1,005 ดอลลาร์สหรัฐ (31,860 บาท)
มีรายได้ประชาชาติต่อหัวต่อปีต่ำกว่า 1,005 ดอลลาร์สหรัฐ (31,860 บาท)
โดยในปี 2017 ประเทศอินโดนีเซียมีรายได้ประชาชาติต่อหัวอยู่ที่ 3,540 ดอลลาร์สหรัฐ (112,220 บาท)
จัดอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางค่อนข้างต่ำ
แต่หากพิจารณาถึงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วของอินโดนีเซียที่ 5.1% ต่อปี
ก็มีแนวโน้มว่าในอนาคตอันใกล้ ภายในปี 2020 ประเทศนี้จะพาตัวเองก้าวมาอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางค่อนข้างสูงได้เป็นผลสำเร็จ
จัดอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางค่อนข้างต่ำ
แต่หากพิจารณาถึงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วของอินโดนีเซียที่ 5.1% ต่อปี
ก็มีแนวโน้มว่าในอนาคตอันใกล้ ภายในปี 2020 ประเทศนี้จะพาตัวเองก้าวมาอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางค่อนข้างสูงได้เป็นผลสำเร็จ
ส่วนประเทศไทย ปัจจุบันถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง
โดยมีรายได้ประชาชาติต่อหัวในปี 2017 อยู่ที่ 5,960 ดอลลาร์สหรัฐ (188,930 บาท)
โดยมีรายได้ประชาชาติต่อหัวในปี 2017 อยู่ที่ 5,960 ดอลลาร์สหรัฐ (188,930 บาท)
ซึ่งประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางค่อนข้างสูงมาตั้งแต่ปี 2011
และเข้าเป็นกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางนับตั้งแต่ปี 1976
ซึ่งหากนับมาถึงปี 2019 ก็เป็นเวลากว่า 43 ปีแล้ว..
และเข้าเป็นกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางนับตั้งแต่ปี 1976
ซึ่งหากนับมาถึงปี 2019 ก็เป็นเวลากว่า 43 ปีแล้ว..
สิ่งที่ทั้งไทย และ อินโดนีเซีย กำลังเผชิญอยู่ คือการอยู่ในสถานะของ กลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง มาเป็นเวลาหลายทศวรรษ ในขณะที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลง
ส่งผลให้การก้าวไปสู่การเป็นประเทศรายได้สูงมีแนวโน้มช้าลง
ส่งผลให้การก้าวไปสู่การเป็นประเทศรายได้สูงมีแนวโน้มช้าลง
ซึ่งหากไม่สามารถพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับทางเศรษฐกิจได้
ประเทศก็จะต้องติดอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า “กับดักรายได้ปานกลาง” (Middle Income Trap)
ประเทศก็จะต้องติดอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า “กับดักรายได้ปานกลาง” (Middle Income Trap)
สำหรับกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางค่อนข้างสูงยังมีอีกหลายประเทศ
(รายได้ประชาชาติปี 2017) เช่น
มาเลเซีย 9,650 ดอลลาร์สหรัฐ (305,900 บาท)
จีน 8,690 ดอลลาร์สหรัฐ (275,470 บาท)
(รายได้ประชาชาติปี 2017) เช่น
มาเลเซีย 9,650 ดอลลาร์สหรัฐ (305,900 บาท)
จีน 8,690 ดอลลาร์สหรัฐ (275,470 บาท)
ซึ่งประเทศเหล่านี้มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง
จึงมีแนวโน้มที่จะได้รับการขยับเป็นกลุ่มประเทศรายได้สูงในอนาคตอันใกล้..
จึงมีแนวโน้มที่จะได้รับการขยับเป็นกลุ่มประเทศรายได้สูงในอนาคตอันใกล้..
ที่มา : World Bank Group, IDNFinancials, Bank of Thailand