
เจาะแนวคิด โลโกใหม่ ของ Xiaomi ที่ใช้สมการ |X|^N + |Y|^N = 1
31 มี.ค. 2021
หลังจากโลโกใหม่ของ Xiaomi ได้เปิดตัวไปเมื่อคืนนี้ ก็ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในเชิงลบจากคนทั่วไป ว่ารูปลักษณ์ของโลโก ดูไม่ต่างจากเดิมเท่าไรนัก
แต่ถ้าฟังแนวคิดและกระบวนการในการออกแบบ ของคุณเคนยะ ฮาระ
กว่าที่จะออกมาเป็นโลโกนี้ จะพบว่าที่จริงแล้ว มันมีรายละเอียดที่ลึกซึ้ง และมีที่มาที่ไปมากกว่าที่เราคิด..
กว่าที่จะออกมาเป็นโลโกนี้ จะพบว่าที่จริงแล้ว มันมีรายละเอียดที่ลึกซึ้ง และมีที่มาที่ไปมากกว่าที่เราคิด..
โดยประวัติคร่าว ๆ ของคุณเคนยะ ฮาระ ปัจจุบันเป็นผู้กำกับศิลป์หรือ Art Director ของแบรนด์ Muji ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 และเป็นตัวแทนของ Nippon Design Centre
อีกทั้งยังเป็นอาจารย์ที่ มหาวิทยาลัย Musashino Art อีกด้วย
อีกทั้งยังเป็นอาจารย์ที่ มหาวิทยาลัย Musashino Art อีกด้วย
สิ่งที่คุณเคนยะ ต้องการจะสื่อผ่านโลโกใหม่ของ Xiaomi
คือการเปลี่ยนอัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity) ที่ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนโลโก
แต่สะท้อนถึง ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยี ที่กำลังจะมาบรรจบกันอย่างกลมกลืน
คือการเปลี่ยนอัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity) ที่ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนโลโก
แต่สะท้อนถึง ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยี ที่กำลังจะมาบรรจบกันอย่างกลมกลืน
จนเกิดเป็นคอนเซปต์ “Alive” ที่หมายถึงการดำรงอยู่ ของมนุษย์และเทคโนโลยีที่เติบไปพร้อม ๆ กัน
ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาการทำธุรกิจของ Xiaomi ที่กล่าวว่า “Innovation for Everyone”
ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาการทำธุรกิจของ Xiaomi ที่กล่าวว่า “Innovation for Everyone”
ที่น่าสนใจคือ ความโค้งมนที่เกิดขึ้นบนโลโก Xiaomi เกิดจากการใช้สมการ |X|^N + |Y|^N = 1
โดยนำเอาสีเหลี่ยมที่หมายถึงเทคโนโลยี และวงกลมที่หมายถึงมนุษย์ มาผสมผสานกันจนเกิดเป็นความโค้งถึง 24 รูปแบบ จนสุดท้ายคุณเคนยะ ก็ค้นพบว่าสมการคณิตศาสตร์ ที่วาดความโค้งมนได้ลงตัวที่สุดคือ n:3
โดยนำเอาสีเหลี่ยมที่หมายถึงเทคโนโลยี และวงกลมที่หมายถึงมนุษย์ มาผสมผสานกันจนเกิดเป็นความโค้งถึง 24 รูปแบบ จนสุดท้ายคุณเคนยะ ก็ค้นพบว่าสมการคณิตศาสตร์ ที่วาดความโค้งมนได้ลงตัวที่สุดคือ n:3
สิ่งที่เรียนรู้ได้จากกรณีศึกษานี้คือ บางครั้งสิ่งเดิมที่ดีอยู่แล้ว เราไม่จำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนอะไรมาก อย่างคุณเคนยะ ก็เพียงแค่ปรับโลโกให้มีความทันสมัยเข้ากับเทรนด์ในอนาคต
และในขณะเดียวก็กันสอดคล้องไปกับปรัชญาของบริษัท
และในขณะเดียวก็กันสอดคล้องไปกับปรัชญาของบริษัท
และที่สำคัญคือ เราไม่สามารถตัดสินอะไร จากแค่ภายนอกที่เราเห็นได้
เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่า เบื้องหลังนั้น มีความหมายและรายละเอียดอะไรที่ซ่อนอยู่ รอให้เราค้นพบ..
เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่า เบื้องหลังนั้น มีความหมายและรายละเอียดอะไรที่ซ่อนอยู่ รอให้เราค้นพบ..