Facebook ประกาศพัฒนาฟีเจอร์ “แช็ตด้วยเสียง” เลียนแบบแอป Clubhouse
11 ก.พ. 2021
เมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา Facebook ได้ออกมาประกาศว่า กำลังจัดตั้งทีมเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาฟีเจอร์ “แช็ตด้วยเสียง” โดยต้องการเป็นคู่แข่งกับแอปพลิเคชัน ที่เพิ่งโด่งดังขึ้นจากการที่ อีลอน มัสก์ หันไปใช้งานอย่าง “Clubhouse”
Facebook ยอมรับในความสำเร็จของการแช็ตด้วยเสียงเพียงอย่างเดียว ของแอป Clubhouse
ที่สามารถเพิ่มตัวเลขผู้ใช้งานได้ถึง 2 ล้านคน ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
ที่สามารถเพิ่มตัวเลขผู้ใช้งานได้ถึง 2 ล้านคน ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
นั่นแสดงให้เห็นว่า ผู้คนเริ่มเปิดรับวิถีใหม่ของการแช็ตด้วยเสียง
ซึ่งหลังจากนี้ มันอาจจะเริ่มกลายเป็นความเคยชินของผู้คน และธุรกิจที่มีศักยภาพ
แน่นอนว่า เจ้าพ่อแห่งโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook ถ้าเห็นโอกาสอะไรแล้ว คงไม่ยอมปล่อยไปง่ายๆ
ซึ่งหลังจากนี้ มันอาจจะเริ่มกลายเป็นความเคยชินของผู้คน และธุรกิจที่มีศักยภาพ
แน่นอนว่า เจ้าพ่อแห่งโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook ถ้าเห็นโอกาสอะไรแล้ว คงไม่ยอมปล่อยไปง่ายๆ
แล้วแอป Clubhouse คืออะไร
ทำไมถึงได้กลายเป็นจุดสนใจของ Facebook ?
ทำไมถึงได้กลายเป็นจุดสนใจของ Facebook ?
Clubhouse คือ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ที่มีฟีเจอร์หลักคือ การแช็ตด้วยเสียง แบบไม่เห็นหน้า
ถือกำเนิดขึ้นในปี 2020
ถือกำเนิดขึ้นในปี 2020
ลักษณะการใช้งานคือ ใน 1 ห้องแช็ต จะมีอยู่ 3 บทบาท
-Moderator เจ้าของห้องแช็ต ผู้ที่สามารถกำหนดบทบาท ทั้ง 2 อย่างด้านล่างได้
-Speaker ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ให้ส่งแช็ตเสียงได้
-Audience ผู้ชมที่สามารถรับฟังได้เพียงอย่างเดียว
-Moderator เจ้าของห้องแช็ต ผู้ที่สามารถกำหนดบทบาท ทั้ง 2 อย่างด้านล่างได้
-Speaker ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ให้ส่งแช็ตเสียงได้
-Audience ผู้ชมที่สามารถรับฟังได้เพียงอย่างเดียว
โดยกลุ่มตลาดในตอนแรกของแอปนี้ คือ กลุ่มดารา และ ศิลปินชื่อดังต่างๆ
จนต่อมา ก็เริ่มมีการใช้งานขยายกว้างขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มตลาดของคนมีฐานะ ในสหรัฐอเมริกา
จนต่อมา ก็เริ่มมีการใช้งานขยายกว้างขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มตลาดของคนมีฐานะ ในสหรัฐอเมริกา
ก่อนที่ อีลอน มัสก์ จะเข้ามาพูดถึงการใช้งานแอปนี้ เพื่อเผยแพร่อัปเดตเกี่ยวกับโปรเจกต์ของ Neurlalink และทำให้แอป Clubhouse กลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกในทันที
สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษก็คือ ผู้ที่จะเข้าร่วมใช้งาน ในห้องแช็ตด้วยเสียงบนแอป Clubhouse
จะไม่สามารถทำได้จากการสมัครสมาชิกเพียงธรรมดา
แต่ต้องมาจากการเชิญชวน ของผู้ที่มีสิทธิ์การใช้งานแพลตฟอร์มนี้อยู่แล้วเท่านั้น (Invitation only)
จะไม่สามารถทำได้จากการสมัครสมาชิกเพียงธรรมดา
แต่ต้องมาจากการเชิญชวน ของผู้ที่มีสิทธิ์การใช้งานแพลตฟอร์มนี้อยู่แล้วเท่านั้น (Invitation only)
โดยในช่วง 8 เดือนแรกของการเปิดตัว
Clubhouse สามารถเรียกเงินระดมทุน ได้ประมาณ 3,000 ล้านบาท
Clubhouse สามารถเรียกเงินระดมทุน ได้ประมาณ 3,000 ล้านบาท
แต่อย่างไรก็ดี ในขณะนี้ ฟังก์ชันของการเชิญผู้ใช้งานใหม่ ยังได้กำหนดโควต้าในการเชิญชวนไว้เพียงแค่ 1 บัญชีผู้ใช้งาน ให้สามารถเชิญได้มากสุดเพียงแค่ 2 บัญชีผู้ใช้งานใหม่เท่านั้น
ซึ่งคาดว่าในอนาคตอันใกล้ อาจจะมีการอัปเดตเพิ่มโควต้าให้มากกว่านี้
ซึ่งคาดว่าในอนาคตอันใกล้ อาจจะมีการอัปเดตเพิ่มโควต้าให้มากกว่านี้
และอีกข้อจำกัดของแอป Clubhouse ในตอนนี้คือ
การเปิดให้ใช้บริการ ที่ยังจำกัดเพียงแค่ผู้ใช้งาน iOS เท่านั้น
การเปิดให้ใช้บริการ ที่ยังจำกัดเพียงแค่ผู้ใช้งาน iOS เท่านั้น
ถึงแม้วันนี้ Clubhouse อาจยังไม่เป็นที่คุ้นเคยในประเทศไทยมากเท่าไร
แต่ในอนาคตอันใกล้ เหล่าอินฟลูเอนเซอร์ หรือ กลุ่มคอนเท้น ครีเออเตอร์ อาจจะเริ่มทยอยมาใช้งานแพลตฟอร์มของ Clubhouse กันมากขึ้น
แต่ในอนาคตอันใกล้ เหล่าอินฟลูเอนเซอร์ หรือ กลุ่มคอนเท้น ครีเออเตอร์ อาจจะเริ่มทยอยมาใช้งานแพลตฟอร์มของ Clubhouse กันมากขึ้น
เพราะสิ่งนี้ จะทำให้พวกเขาสามารถเชื่อมต่อกับเหล่าแฟนๆ ได้แบบใกล้ชิดในเวลาจริง
รวมถึงสามารถขยายช่องทางรายได้ ด้วยบริการในรูปแบบ Subscription model ก็ได้อีกเช่นกัน
รวมถึงสามารถขยายช่องทางรายได้ ด้วยบริการในรูปแบบ Subscription model ก็ได้อีกเช่นกัน
ส่วนในฝั่งของ Facebook
เรื่องราวของการลอกเลียนแบบฟีเจอร์แช็ตด้วยเสียง นี้
ไม่ได้เป็นที่ถกเถียงกันในด้านลบ มากเท่าไร
เพราะว่า มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ได้ออกมายอมรับเองเลยว่า
Facebook คือ แพลตฟอร์มนักลอกเลียนแบบชั้นยอด แต่สิ่งที่พวกทำได้ดีกว่าคือ รวมทุกความสะดวกสบายของเทคโนโลยีเหล่านี้ ให้อยู่ใน “แพลตฟอร์มเดียว”
เรื่องราวของการลอกเลียนแบบฟีเจอร์แช็ตด้วยเสียง นี้
ไม่ได้เป็นที่ถกเถียงกันในด้านลบ มากเท่าไร
เพราะว่า มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ได้ออกมายอมรับเองเลยว่า
Facebook คือ แพลตฟอร์มนักลอกเลียนแบบชั้นยอด แต่สิ่งที่พวกทำได้ดีกว่าคือ รวมทุกความสะดวกสบายของเทคโนโลยีเหล่านี้ ให้อยู่ใน “แพลตฟอร์มเดียว”
ซึ่งอาจกลายเป็นว่า เทคโนโลยีไหนที่ Facebook เริ่มหันมาทำตาม
ก็จะกลาย Benchmark ที่จะคอนเฟิร์มไปในตัวว่า
เทคโนโลยี หรือ นวัตกรรม อันนั้นใช้งานได้ดี และกำลังเป็นที่นิยม
ก็จะกลาย Benchmark ที่จะคอนเฟิร์มไปในตัวว่า
เทคโนโลยี หรือ นวัตกรรม อันนั้นใช้งานได้ดี และกำลังเป็นที่นิยม
ยกตัวอย่าง ฟีเจอร์ต่างๆ ของ Facebook เช่น
Messaging Rooms ได้แรงบันดาลใจมาจาก ZOOM
Facebook / Instagram Stories ได้แรงบันดาลใจมาจาก Snapchat
Facebook Gaming ได้แรงบันดาลใจมาจาก Twitch
Workplace Chat ได้แรงบันดาลใจมาจาก Slack
Facebook Dating ได้แรงบันดาลใจมาจาก Tinder
Facebook / Instagram Live ได้แรงบันดาลใจมาจาก Periscope
Facebook Places ได้แรงบันดาลใจมาจาก Foursquare
Messaging Rooms ได้แรงบันดาลใจมาจาก ZOOM
Facebook / Instagram Stories ได้แรงบันดาลใจมาจาก Snapchat
Facebook Gaming ได้แรงบันดาลใจมาจาก Twitch
Workplace Chat ได้แรงบันดาลใจมาจาก Slack
Facebook Dating ได้แรงบันดาลใจมาจาก Tinder
Facebook / Instagram Live ได้แรงบันดาลใจมาจาก Periscope
Facebook Places ได้แรงบันดาลใจมาจาก Foursquare
น่าสนใจว่า หาก Facebook พัฒนาด้วยการลอกเลียนแบบคนอื่น แต่ทำออกมาได้ดีกว่า
คนอื่นๆ ที่เป็นผู้คิดค้นริเริ่ม ก็จะกลายเป็นเพียงคนที่เสี่ยงทดลองตลาดก่อน
แล้วให้ Facebook รอดูผลลัพธ์ว่า อะไรน่าจะเวิร์ก หรือ ไม่เวิร์ก แล้วค่อยนำไปพัฒนาต่อยอด..
คนอื่นๆ ที่เป็นผู้คิดค้นริเริ่ม ก็จะกลายเป็นเพียงคนที่เสี่ยงทดลองตลาดก่อน
แล้วให้ Facebook รอดูผลลัพธ์ว่า อะไรน่าจะเวิร์ก หรือ ไม่เวิร์ก แล้วค่อยนำไปพัฒนาต่อยอด..