ธนาคารกำลังมีสาขาน้อยลง พนักงานน้อยลง ตู้ ATM น้อยลง
18 ส.ค. 2019
ธุรกิจ ฟังเพลง ดูหนัง ออนไลน์ ได้ทำให้แผ่น CD และ DVD กลายเป็นสินค้าหายาก
กล้องดิจิทัล ได้ทำให้กล้องฟิล์ม เป็นเพียงสินค้าเฉพาะกลุ่ม
กล้องดิจิทัล ได้ทำให้กล้องฟิล์ม เป็นเพียงสินค้าเฉพาะกลุ่ม
ยังมีอีกหลายธุรกิจเลยทีเดียวที่ถูกเทคโนโลยี Disrupt
จนทำให้บางอย่างลดน้อยลง หรือหายสาบสูญไปเลยก็มี
จนทำให้บางอย่างลดน้อยลง หรือหายสาบสูญไปเลยก็มี
และหนึ่งในธุรกิจที่เราเห็นการปรับตัวครั้งใหญ่จากการถูก Disrupt ก็คือ “ธนาคาร”
เหตุผลเพราะเวลานี้ ธนาคาร ไม่ได้มีคู่แข่งในกลุ่มธนาคารด้วยกันเองเหมือนในอดีต
แต่มีคู่แข่งหน้าใหม่อย่างบริษัทเทคโนโลยี ที่ให้ลูกค้าสามารถทำสารพัดธุรกรรมการเงินออนไลน์ ที่มีค่าใช้จ่ายหลายอย่างถูกกว่าธนาคาร
แต่มีคู่แข่งหน้าใหม่อย่างบริษัทเทคโนโลยี ที่ให้ลูกค้าสามารถทำสารพัดธุรกรรมการเงินออนไลน์ ที่มีค่าใช้จ่ายหลายอย่างถูกกว่าธนาคาร
นี่เป็นอีกหนึ่งเหตุผลหลักที่ทำให้ ธนาคาร ต้องปรับโมเดลธุรกิจใหม่หมด
ที่น่าสนใจคือการปรับตัวครั้งนี้ ทำให้บางอย่างถูกเพิ่มขึ้น และบางอย่างถูกตัดทอน
จำนวนสาขาธนาคารพาณิชย์
ปี 2558 มีทั้งหมด 7,061 สาขา
ปี 2561 มีทั้งหมด 6,729 สาขา
ปี 2558 มีทั้งหมด 7,061 สาขา
ปี 2561 มีทั้งหมด 6,729 สาขา
การทำธุรกรรมการเงินผ่านสาขาลดลงหลายธนาคาร ตัวอย่างเช่น ธนาคารไทยพาณิชย์
ที่ธุรกรรมการเงินในช่องทางสาขาลดลง
โดยในปี 2559 อยู่ที่ 13 ล้านรายการ/เดือน มาในปี 2560 เหลือ 10 ล้านรายการ/เดือน
โดยในปี 2559 อยู่ที่ 13 ล้านรายการ/เดือน มาในปี 2560 เหลือ 10 ล้านรายการ/เดือน
เมื่อจำนวนสาขา และจำนวนลูกค้าใช้บริการน้อยลง หลายธนาคารจึงมีนโยบายลดจำนวนพนักงานลดลง
เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ประกาศจะลดจำนวนพนักงานจาก 27,000 คน เหลือ 15,000 คน ภายในปี 2564
เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ประกาศจะลดจำนวนพนักงานจาก 27,000 คน เหลือ 15,000 คน ภายในปี 2564
ขณะที่จำนวนตู้ ATM ก็น้อยลงเช่นกัน ในปี 2560 มีประมาณ 70,000 เครื่อง
ในปี 2561 จำนวนตู้ ATM เหลืออยู่ 57,554 เครื่อง
ในปี 2561 จำนวนตู้ ATM เหลืออยู่ 57,554 เครื่อง
เหตุผลคือ ในเวลานี้การทำสารพัดธุรกรรมการเงิน สามารถจบได้ใน Mobile Banking
ทั้งจ่ายเงิน - จ่ายบิลต่างๆ - โอนเงิน - แม้แต่ขอสินเชื่อ
ทั้งจ่ายเงิน - จ่ายบิลต่างๆ - โอนเงิน - แม้แต่ขอสินเชื่อ
ด้วยความสะดวกสบายในการทำธุรกรรมการเงินที่ธนาคารมอบให้ผ่านสมาร์ตโฟน
ทำให้ภายใน 2 ปีจำนวนผู้ใช้ Mobile Banking เติบโตมากกว่า 100%
ทำให้ภายใน 2 ปีจำนวนผู้ใช้ Mobile Banking เติบโตมากกว่า 100%
ปี 2559 ประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้ Mobile Banking อยู่ที่ 20.9 ล้านราย
สิ้นปี 2561 มีจำนวนผู้ใช้ Mobile Banking อยู่ที่ 41.2 ล้านราย
สิ้นปี 2561 มีจำนวนผู้ใช้ Mobile Banking อยู่ที่ 41.2 ล้านราย
ขณะที่อัตราการทำธุรกรรมการเงินบน Mobile Banking ก็เติบโตแบบก้าวกระโดดเช่นกัน
ปี 2559 มีจำนวนการทำธุรกรรมการเงินผ่าน Mobile Banking จำนวน 585 ล้านครั้ง
ปี 2561 มีจำนวนการทำธุรกรรมการเงินผ่าน Mobile Banking จำนวน 2,718 ล้านครั้ง
ปี 2559 มีจำนวนการทำธุรกรรมการเงินผ่าน Mobile Banking จำนวน 585 ล้านครั้ง
ปี 2561 มีจำนวนการทำธุรกรรมการเงินผ่าน Mobile Banking จำนวน 2,718 ล้านครั้ง
แม้การเติบโตของ Mobile Banking ทั้งจำนวนผู้ใช้และจำนวนครั้งเพิ่มมากขึ้น
และเกือบทุกธนาคารเองก็มีนโยบายลดทั้งจำนวน สาขา,พนักงาน, และตู้ ATM
และเกือบทุกธนาคารเองก็มีนโยบายลดทั้งจำนวน สาขา,พนักงาน, และตู้ ATM
แต่ก็มีสิ่งแปลกใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในวงการธุรกิจการเงินในบ้านเรามาก่อน
นั่นคือ “แบงก์กิ้ง เอเยนต์” ที่จะทำหน้าที่ รับฝากเงิน - ถอนเงิน ให้แก่ธนาคารต่างๆ
ที่น่าสนใจ “แบงก์กิ้ง เอเยนต์” มีจำนวนสาขาที่เข้าถึงลูกค้าได้ครอบคลุมอย่างน่าเหลือเชื่อ
นั่นคือ “แบงก์กิ้ง เอเยนต์” ที่จะทำหน้าที่ รับฝากเงิน - ถอนเงิน ให้แก่ธนาคารต่างๆ
ที่น่าสนใจ “แบงก์กิ้ง เอเยนต์” มีจำนวนสาขาที่เข้าถึงลูกค้าได้ครอบคลุมอย่างน่าเหลือเชื่อ
เพราะนับแค่ 2 รายใหญ่อย่าง 7-Eleven กับ ไปรษณีย์ไทย ก็มีสาขาร่วมกันเกือบๆ 12,000 สาขา
โดยเป้าหมายหลักทางธุรกิจของ “แบงก์กิ้ง เอเยนต์” คือเพื่อรองรับลูกค้าที่ยังไม่ใช้ Mobile Banking ของแต่ละธนาคารนั้นเอง
โดยเป้าหมายหลักทางธุรกิจของ “แบงก์กิ้ง เอเยนต์” คือเพื่อรองรับลูกค้าที่ยังไม่ใช้ Mobile Banking ของแต่ละธนาคารนั้นเอง
คำถามสุดท้ายก็คือ อะไรทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้
การมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามานำเสนออยู่ตลอดเวลา หากเราไม่สนใจมันสักอย่าง เทคโนโลยีนั้นก็จะไร้ค่า แต่ที่มันมีค่าได้ก็เพราะ ผู้บริโภค ทุกคนนั่นเอง
สรุปแล้ว ตัวเร่งที่ทำให้เกิดการ Disrupt ให้หายไปนั้น ไม่ใช่เทคโนโลยี แต่เป็นผู้บริโภคอย่างเรา ต่างหาก..
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย, ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, กรุงเทพธุรกิจ
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย, ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, กรุงเทพธุรกิจ