อธิบายคำศัพท์ Brain Rot ปรากฏการณ์สมองเน่า ในยุคโซเชียล คอนเทนต์ที่นักการตลาด ควรหลีกเลี่ยง
7 ม.ค. 2025
- Brain Rot แปลตรง ๆ ก็คือ สมองเน่าหรือสมองเสื่อม
คือคำศัพท์ที่สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (Oxford University Press) ประกาศให้เป็น Word of the Year ประจำปี 2024
คือคำศัพท์ที่สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (Oxford University Press) ประกาศให้เป็น Word of the Year ประจำปี 2024
ซึ่งคำศัพท์คำนี้ เพิ่งเป็นที่พูดถึงอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ควบคู่กับเทรนด์การทำวิดีโอสั้นที่มาแรงและเติบโตอย่างรวดเร็ว
แล้ว Brain Rot คืออะไร ? ทำไมถึงเป็นคำศัพท์ที่มาคู่กับเทรนด์การทำวิดีโอสั้น ?
Brain Rot เป็นคำที่ถูกนำมาใช้ในการอธิบายถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้คนใช้เวลาเสพคอนเทนต์บนโลกออนไลน์มากจนเกินไป
โดยเฉพาะการเสพคอนเทนต์ที่ไม่ท้าทายความคิด คอนเทนต์ที่ไม่มีคุณภาพ บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย
เช่น คอนเทนต์วิดีโอสั้น มีมต่าง ๆ ที่ไม่มีประโยชน์ ไม่ได้นำไปสู่การสร้างความรู้ หรือความคิดสร้างสรรค์แต่อย่างใด
รู้หรือไม่ว่า ทุกวันนี้มีคนดูไถดู Instagram Reels เฉลี่ย 150,000 ล้านวิวต่อวัน
ส่วน YouTube Shorts มียอดวิวเฉลี่ย 70,000 ล้านวิวต่อวัน
ส่วน YouTube Shorts มียอดวิวเฉลี่ย 70,000 ล้านวิวต่อวัน
รวมถึงยังมีอีกสถิติที่บอกว่า ทุกวันนี้คนทั่วโลกถูกสมาร์ตโฟนหรือคอมพิวเตอร์ ดึงดูดเวลาในชีวิตประจำวันไป เฉลี่ย 6 ชั่วโมง 35 นาทีต่อวัน
เมื่อผู้คนเสพคอนเทนต์ที่ไม่มีประโยชน์ หรือไม่มีคุณค่าบ่อย ๆ และเป็นเวลานาน
จึงทำให้เกิดการเสื่อมถอยของสภาพจิตใจหรือสติปัญญา กลายเป็นที่มาของคำสแลงอย่างคำว่า Brain Rot หรือปรากฏการณ์ “สมองเน่า”
จึงทำให้เกิดการเสื่อมถอยของสภาพจิตใจหรือสติปัญญา กลายเป็นที่มาของคำสแลงอย่างคำว่า Brain Rot หรือปรากฏการณ์ “สมองเน่า”
ที่น่าสนใจคือ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดบอกว่า ในช่วงปี 2023 และปี 2024 ที่ผ่านมา คำว่า Brain Rot มีอัตราการใช้งานเพิ่มขึ้นถึง 230%
โดยกลุ่มคนที่ใช้คำนี้บ่อย ๆ คือ กลุ่มวัยรุ่น Gen Z และ Gen Alpha
ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว มักจะใช้ในการแซวตัวเอง อย่างเช่น “เล่นโซเชียลนาน จน Brain Rot ไปหมดแล้ว”
ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว มักจะใช้ในการแซวตัวเอง อย่างเช่น “เล่นโซเชียลนาน จน Brain Rot ไปหมดแล้ว”
ถึงแม้คำว่า Brain Rot จะเป็นคำศัพท์ที่เพิ่งถูกใช้งานเป็นอย่างมาก
แต่จริง ๆ แล้ว คำนี้มีขึ้นตั้งแต่ปี 1854 หรือเมื่อ 171 ปีก่อน ในหนังสือที่ชื่อว่า Walden ของคุณ Henry David Thoreau นักเขียนชื่อดังชาวอเมริกัน
ที่ใช้คำคำนี้เป็นครั้งแรก เพื่อวิพากษ์วิจารณ์สภาพสังคมในสมัยนั้น และเพิ่งถูกนำกลับมาใช้งานอีกครั้งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
ที่ใช้คำคำนี้เป็นครั้งแรก เพื่อวิพากษ์วิจารณ์สภาพสังคมในสมัยนั้น และเพิ่งถูกนำกลับมาใช้งานอีกครั้งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
ทีนี้ถ้าถามว่า แล้วคำศัพท์แห่งปี 2024 เกี่ยวข้องกับการตลาดอย่างไร ?
ต้องบอกว่า คำศัพท์ที่ได้รับการยกย่องในแต่ละปี ไม่ได้เป็นแค่คำศัพท์ธรรมดา ๆ
แต่คำศัพท์แห่งปี ยังสะท้อนถึงแนวโน้ม ทิศทาง หรือความกังวลเรื่องต่าง ๆ ในสังคมด้วย
แต่คำศัพท์แห่งปี ยังสะท้อนถึงแนวโน้ม ทิศทาง หรือความกังวลเรื่องต่าง ๆ ในสังคมด้วย
ยกตัวอย่างเช่น
- คำศัพท์แห่งปี 2019 Climate Emergency สะท้อนถึงความกังวลด้านภาวะอากาศอย่างโลกร้อน
- คำศัพท์แห่งปี 2021 Vax หรือวัคซีน สะท้อนถึงความกังวลด้านโรคระบาด
- คำศัพท์แห่งปี 2019 Climate Emergency สะท้อนถึงความกังวลด้านภาวะอากาศอย่างโลกร้อน
- คำศัพท์แห่งปี 2021 Vax หรือวัคซีน สะท้อนถึงความกังวลด้านโรคระบาด
ตัดภาพกลับมาที่คำว่า Brain Rot ในปี 2024 นี้
สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลในการอยู่บนหน้าจอสมาร์ตโฟนของกลุ่มเด็กและกลุ่มวัยรุ่นที่มากเกินไป ท่ามกลางคอนเทนต์ที่ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ หรือความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เกิดการเสื่อมถอยของสภาพจิตใจและสติปัญญา
เมื่อเห็นแนวโน้มหรือสภาพสังคมแบบนี้แล้ว สิ่งที่นักการตลาดจะทำได้ คือ
- หลีกเลี่ยงการทำคอนเทนต์แนว Brain Rot
โดยหันมาทำแคมเปญการตลาด หรือ Content Marketing ที่เน้นใช้ความคิดสร้างสรรค์ และทำให้สังคมได้ประโยชน์มากขึ้น
โดยหันมาทำแคมเปญการตลาด หรือ Content Marketing ที่เน้นใช้ความคิดสร้างสรรค์ และทำให้สังคมได้ประโยชน์มากขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น คอนเทนต์แนว “Edutainment” หรือคอนเทนต์ที่ให้ทั้งความรู้และความบันเทิงควบคู่กัน ไม่ว่าจะเป็น
- การทำคลิปสั้นที่สอนเทคนิค หรือเคล็ดลับต่าง ๆ
- การทำวิดีโอเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์
- การทำวิดีโอให้ความรู้ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการเงิน การพัฒนาทักษะ
- การทำวิดีโอเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์
- การทำวิดีโอให้ความรู้ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการเงิน การพัฒนาทักษะ
ตัวอย่างช่องที่ประสบความสำเร็จในด้านนี้ เช่น Farose ที่เล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ หรือบุคคลสำคัญ โดยที่ยังสนุก ดูเพลิน จนมีผู้ติดตามบน YouTube กว่า 830,000 บัญชี
ซึ่งการที่แบรนด์ทำคอนเทนต์แนว Edutainment ไม่เพียงแต่หลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบของ Brain Rot
แต่ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ในฐานะ “ผู้ให้” และทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
แต่ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ในฐานะ “ผู้ให้” และทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
ทั้งหมดนี้คือ เรื่องราวเกี่ยวกับ Brain Rot คำที่ได้รับการยกย่องให้เป็นคำศัพท์แห่งปี 2024 จาก Oxford
ซึ่งนอกจากคำว่า Brain Rot แล้ว ในปี 2024 ยังมีคำศัพท์มาแรง ซึ่งเป็นคู่แข่งที่น่าสนใจอีกด้วย เช่น
- Demure หมายถึง การเป็นคนถ่อมตัว สุภาพเรียบร้อย ไม่ส่งเสียงดัง ไม่หวือหวา ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ และสุภาพ
- Dynamic Pricing เป็นกลยุทธ์การตั้งราคาแบบยืดหยุ่น ที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาขึ้น ๆ ลง ๆ ตามความต้องการในตลาด เช่น ธุรกิจที่พัก, ธุรกิจเรียกรถ
หรือแม้แต่ปี 2024 ที่ผ่านมาก็ยังมีตั๋วคอนเสิร์ตที่ใช้กลยุทธ์การตั้งราคาแบบขึ้น ๆ ลง ๆ ด้วย
- Slop เป็นคำสแลงที่ในปี 2024 นี้ถูกใช้เพิ่มขึ้น 332% เพื่อพูดถึงคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ ที่สร้างขึ้นด้วย AI แต่เป็นคอนเทนต์ที่ไม่มีคุณภาพ หรือให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
อ้างอิง:
-https://corp.oup.com/news/brain-rot-named-oxford-word-of-the-year-2024/
-https://corp.oup.com/word-of-the-year/#shortlist-2024
-https://en.wikipedia.org/wiki/Instagram_Reels
-https://adamconnell.me/youtube-shorts-statistics/
-https://www.demandsage.com/tiktok-user-statistics/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Word_of_the_year
-https://corp.oup.com/news/brain-rot-named-oxford-word-of-the-year-2024/
-https://corp.oup.com/word-of-the-year/#shortlist-2024
-https://en.wikipedia.org/wiki/Instagram_Reels
-https://adamconnell.me/youtube-shorts-statistics/
-https://www.demandsage.com/tiktok-user-statistics/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Word_of_the_year