สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ลุ้นมาตรการรัฐ หนุน “ค้าปลีก” ดาวเด่นปี 68 ผลักดันจีดีพีไทยเติบโต
26 พ.ย. 2024
สมาคมผู้ค้าปลีกไทยเผยภาพรวมค้าปลีกตลอดปี 2567 พบว่าปรับตัวดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา
ผลจากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวและการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีจากภาครัฐ แต่เป็นการฟื้นตัวอย่างช้าๆและไม่สมดุล ทั้งประเภทร้านค้าปลีกและประเภทภูมิภาคเมื่อเทียกับปี 2566
ผลจากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวและการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีจากภาครัฐ แต่เป็นการฟื้นตัวอย่างช้าๆและไม่สมดุล ทั้งประเภทร้านค้าปลีกและประเภทภูมิภาคเมื่อเทียกับปี 2566
โดยร้านค้าปลีกประเภทแฟชั่น-ไลฟ์สไตล์, สเปเชียลตี้สโตร์,และเชนภัตตาคาร ร้านอาหารและเครื่องดื่ม เติบโต 3-7%, ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ตกแต่ง ซ่อมบำรุง เติบโต 2-5% ส่วนร้านค้าสะดวกซื้อ, ซูเปอร์มาร์เก็ต, ไฮเปอร์มาร์เก็ต และร้านค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภค โตน้อยสุด 1-3%โดยเป็นการเติบโตแบบกระจุกตัวในกรุงเทพปริมณฑล ภาคตะวันออก และในเมืองตามจังหวัดท่องเที่ยวเท่านั้น พร้อมชี้ค้าปลีกปี 2568 จะเป็นเครื่องยนต์กระตุ้นเศรษฐกิจไทยที่มีศักยภาพ ความหวังดันจีดีพีเข้าเป้า
นายณัฐ วงศ์พานิช ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า “ภาพรวมค้าปลีกปี 2567
ยังไม่สดใสเท่าที่ควรจากปัจจัยที่มีผลกระทบต่อภาคครัวเรือนและผู้ประกอบการค้าปลีก อาทิ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นตามที่ภาครัฐคาดการณ์ไว้ ทำให้ผู้ประกอบการค้าปลีกเกินกว่า 37% ผลิตหรือสต็อกสินค้าเกินความเหมาะสมไว้ก่อนแล้ว, การหดตัวด้านการลงทุน ที่ส่งผลต่ออัตราการจ้างงานและการบริโภค,หนี้ครัวเรือนสูง และภาระหนี้สินของเอสเอ็มอี รวมทั้งมาตรการแจกเงิน 1 หมื่นบาทให้กลุ่มเปราะบาง 14.5 ล้านคน
ยังไม่สดใสเท่าที่ควรจากปัจจัยที่มีผลกระทบต่อภาคครัวเรือนและผู้ประกอบการค้าปลีก อาทิ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นตามที่ภาครัฐคาดการณ์ไว้ ทำให้ผู้ประกอบการค้าปลีกเกินกว่า 37% ผลิตหรือสต็อกสินค้าเกินความเหมาะสมไว้ก่อนแล้ว, การหดตัวด้านการลงทุน ที่ส่งผลต่ออัตราการจ้างงานและการบริโภค,หนี้ครัวเรือนสูง และภาระหนี้สินของเอสเอ็มอี รวมทั้งมาตรการแจกเงิน 1 หมื่นบาทให้กลุ่มเปราะบาง 14.5 ล้านคน
ยังไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ชัดและยังต้องรอความชัดเจนในเฟสต่อไปที่จะแจกให้กับกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มอื่นๆ ประกอบกับเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจกว่า 5-6 หมื่นล้านบาท รวมทั้งอนาคตของเศรษฐกิจและการค้าโลกที่ไม่แน่นอนจากนโยบายภายใต้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ล้วนส่งผลต่อความเชื่อมั่นด้านการใช้จ่ายของประชาชน
อย่างไรก็ตาม สมาคมผู้ค้าปลีกไทยมองว่าทิศทางค้าปลีกปี 2568 คาดอาจจะเติบโตราว 3-5 % เมื่อเทียบกับจีดีพีของปี 2568 ที่คาดว่าจะเติบโต 2.3-3.3% ด้วยแรงหนุนจากภาคท่องเที่ยวและส่งออก รวมถึงการลงทุนของภาครัฐและเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศ
ท่ามกลางความท้าทายจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก สถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ กำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังไม่ฟื้น และปัญหาหนี้ครัวเรือน โดยสมาคมฯ เชื่อว่าภาคค้าปลีกจะเป็นหนึ่งในเครื่องยนต์สำคัญอันดับต้นๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตตามเป้าหมาย ด้วยมูลค่าค้าปลีกและบริการกว่า 4.4 ล้านล้านบาท หากได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ทั้งนี้สมาคมฯ ขอเสนอ ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐเพื่อร่วมกันกระตุ้นค้าปลีกไทยในปี 2568 อาทิ
เดินหน้าลงทุนและเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ ปี 2568
จากตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3 ปี 2567 ที่ขยายตัว 3% ส่วนใหญ่เกิดจากการลงทุนภาครัฐที่ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส โดยขยายตัวสูงถึง 25.9% ดังนั้นสมาคมผู้ค้าปลีกไทยจึงมองว่าการลงทุนของภาครัฐจะเป็นกลจักรสำคัญในการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2568
ขณะเดียวกันรัฐควรเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปี 2568 ให้ทันท่วงที และเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ภายหลังการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 ล่าช้าส่งเสริมให้เกิดการกระจายเม็ดเงินโดยภาครัฐ ทั้งการลงทุน การจัดซื้อจัดจ้าง และการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้รุดหน้า
2. เสริมแกร่งผู้ประกอบการเอสเอ็มอี
เอสเอ็มอีในประเทศไทยมีมากถึง 3.2 ล้านราย คิดเป็น 99.5% ของสถานประกอบการทั้งหมด ดังนั้นภาครัฐจึงควรสนับสนุนเอสเอ็มอี โดยเฉพาะไมโครเอสเอ็มอีที่มีอยู่กว่า 2 ล้านรายให้เติบโตอย่างเข้มแข็ง เช่น
ส่งเสริมการเข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำหรือแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการรายย่อย,
การเพิ่มโอกาสทางการค้า การขยายช่องทางการตลาด การจำหน่ายสินค้า โดยในปี 2568
สมาคมผู้ค้าปลีกไทย เดินหน้าช่วยเหลือไมโครเอสเอ็มอีทั่วประเทศ ตามนโยบาย “TRA
GREAT”
การเพิ่มโอกาสทางการค้า การขยายช่องทางการตลาด การจำหน่ายสินค้า โดยในปี 2568
สมาคมผู้ค้าปลีกไทย เดินหน้าช่วยเหลือไมโครเอสเอ็มอีทั่วประเทศ ตามนโยบาย “TRA
GREAT”
โดยจัดงาน ตลาดนัด SME สัญจร เปิดพื้นที่ให้ไมโครเอสเอ็มอี นำสินค้ามาจำหน่ายภายในห้างร้านของสมาชิกฯ เช่น แม็คโคร,โลตัส, เซ็นทรัล, โกโฮลเซลล์, ไทวัสดุ ตลอดปี 2568 เป็นต้น
ออกมาตรการในการป้องกันการทะลักของสินค้าจีนราคาถูกที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ เอสเอ็มอีไทยในทุกแพลต์ฟอร์ม
3. เพิ่มการอัดฉีดมาตรการกระตุ้นการบริโภคและเศรษฐกิจในประเทศ
คลอดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ ทั่วถึง และตรงกลุ่มเป้าหมาย
สร้างโมเมนตัมการใช้จ่ายอย่างได้ผล เช่น ช้อปดีมีคืน, Easy E-Receipt
สร้างโมเมนตัมการใช้จ่ายอย่างได้ผล เช่น ช้อปดีมีคืน, Easy E-Receipt
ขับเคลื่อนการลงทุนภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ
ส่งเสริมการลงทุนในภาคเอกชนทั้งนักลงทุนไทยและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการขยายตัวของภาคผลิต ด้วยนโยบายจูงใจต่างๆ เพื่อให้เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพ ซึ่งปัจจุบันภาครัฐกำลังเร่งเครื่องทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง
4. ยกระดับไทยเป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยว
กระตุ้นการท่องเที่ยวโดยโฟกัสกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูง เช่น
พิจารณาลดภาษีสินค้าเพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยว
พิจารณาลดภาษีสินค้าเพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยว
ยกตัวอย่างกรณีประเทศญี่ปุ่นเริ่มมีแผนยกเลิกเพดานภาษีหรือ Tax Free
ทำให้สามารถซื้อสินค้าปลอดภาษีมูลค่าเพิ่มเกิน 500,000 เยนต่อวันได้ ขณะที่ประเทศไทยอาจเริ่มต้นมาตรการ Tax Free (การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม) กับยอดซื้อสินค้าทั่วไปที่มีมูลค่ารวมในการซื้อต่อท่านต่อวันในร้านเดียวกันเกิน 5,000 บาทขึ้นไป เป็นต้น
ทำให้สามารถซื้อสินค้าปลอดภาษีมูลค่าเพิ่มเกิน 500,000 เยนต่อวันได้ ขณะที่ประเทศไทยอาจเริ่มต้นมาตรการ Tax Free (การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม) กับยอดซื้อสินค้าทั่วไปที่มีมูลค่ารวมในการซื้อต่อท่านต่อวันในร้านเดียวกันเกิน 5,000 บาทขึ้นไป เป็นต้น
ส่งเสริมให้ไทยเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของต่างชาติด้วยเสน่ห์ซอฟต์เพาเวอร์ไทย
ด้านอาหาร วัฒนธรรมไทย ควบคู่กับการเป็นสวรรค์แห่งการช้อปปิ้ง มุ่งสู่เป้าหมายนักท่องเที่ยว 40 ล้านคนในปี 2568
ด้านอาหาร วัฒนธรรมไทย ควบคู่กับการเป็นสวรรค์แห่งการช้อปปิ้ง มุ่งสู่เป้าหมายนักท่องเที่ยว 40 ล้านคนในปี 2568
สมาคมผู้ค้าปลีกไทยตอกย้ำเจตนารมณ์ที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตทุกระดับ พร้อมสนับสนุนให้รัฐบาลเดินหน้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มสูบเพื่ออนาคตของเศรษฐกิจไทยที่จะกลับมาเข้มแข็งอีกครั้ง