คุยกับ ทายาทรุ่น 3 ลายวิจิตร เบื้องหลัง “นวัตกรรมบันไดสำเร็จรูป” ที่ผู้พัฒนาอสังหาฯ รายใหญ่ เลือกใช้
19 เม.ย. 2024
รู้หรือไม่ว่า “ลายวิจิตร” คือแบรนด์ “บันได” ที่ติดตั้งอยู่ตามโครงการบ้านของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ในไทย ไม่ว่าจะเป็น AP, พฤกษา, สิวารมณ์, แสนสิริ , SC Asset และแบรนด์อื่นๆ อีกมากมาย
หลัก ๆ ก็เพราะบันไดของลายวิจิตร เป็นบันไดสำเร็จรูปที่เต็มไปด้วย “นวัตกรรม”
จนสามารถแก้ Pain Point ให้กับอุตสาหกรรมการสร้างบ้าน เช่น ช่วยลดต้นทุน และช่วยให้ผู้รับเหมาประสบความสำเร็จในการส่งมอบบ้านให้กับลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น
แล้วนวัตกรรมบันไดสำเร็จรูป ของลายวิจิตร คืออะไร ?
บทความนี้ MarketThink ชวนไปหาคำตอบกับ คุณพีระศิลป์ ตั้งกิจงามวงศ์ ทายาทรุ่นที่ 3 และกรรมการผู้จัดการบริษัท ลายวิจิตร จำกัด
จุดเริ่มต้นของลายวิจิตร เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2518 หรือเมื่อ 49 ปีที่แล้ว จากโรงงานไม้ที่มีชื่อว่า “เจี่ย เซ่ง ฮวด” ซึ่งทำธุรกิจปูพื้นไม้ และนำไม้มาแปรรูปจนกลายเป็นต้นกำเนิดของไม้ที่เราเรียกกันในทุกวันนี้ว่า “ไม้ปาร์เกต์”
อย่างไรก็ตาม จากผลพวงของวิกฤติต้มยำกุ้งที่ส่งผลกระทบกับการดำเนินธุรกิจของโรงไม้ เจี่ย เซ่ง ฮวด และยังส่งผลระยะยาวมาถึงปี 2550 ประกอบกับความต้องการไม้ปาร์เกต์ในประเทศที่น้อยลง เพราะผู้คนหันไปใช้ลามิเนตและกระเบื้องยาง
ในช่วงนั้นเป็นช่วงที่คุณพีระศิลป์เข้ามารับช่วงต่อได้ไม่นาน จึงกลายเป็นปัญหาที่ต้องเร่งหาทางออกเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้
นับว่าเป็นโชคดีที่ในตอนนั้นได้พาร์ตเนอร์อย่าง พฤกษา หนึ่งในผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ ให้โจทย์มาลองศึกษาเกี่ยวกับการทำบันไดสำเร็จรูป สำหรับบ้านทาวน์โฮม
ถึงแม้ว่าจะเป็นความท้าทายสำหรับ เจี่ย เซ่ง ฮวด ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านงานไม้แต่เพียงอย่างเดียว แต่ด้วยความพยายามลองผิดลองถูก ก็เกิดเป็น “บันไดสำเร็จรูป” ที่มาพร้อมกับนวัตกรรมและใช้งานได้จริง
ซึ่งจุดนี้เอง ที่ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนของจากโรงไม้ เจี่ย เซ่ง ฮวด สู่แบรนด์บันไดสำเร็จรูปที่มีชื่อว่า “ลายวิจิตร”
หากพูดถึงคำว่า นวัตกรรม หลายคนคงนึกภาพไม่ออกว่า บันไดกับนวัตกรรม จะเข้ามารวมกันได้อย่างไร
เรื่องนี้คุณพีระศิลป์ เล่าว่า นวัตกรรมบันไดสำเร็จรูปของลายวิจิตร อาจจะไม่ได้หมายถึงตัวสินค้าโดยตรง
แต่หมายถึง การเป็นบันไดที่เปลี่ยนกระบวนการ (Process) ในอุตสาหกรรมการสร้างบ้านอย่างสิ้นเชิง
แต่หมายถึง การเป็นบันไดที่เปลี่ยนกระบวนการ (Process) ในอุตสาหกรรมการสร้างบ้านอย่างสิ้นเชิง
ซึ่งนวัตกรรมที่เข้ามาเปลี่ยนอุตสาหกรรมการสร้างบ้าน ได้แก่
1. นวัตกรรมบันไดสำเร็จรูป ที่ลดระยะเวลาการติดตั้งจาก 14 วัน เหลือเพียง 3 วัน
ในอดีตการที่บ้านแต่ละหลังจะติดตั้งบันไดได้สำเร็จ ผู้พัฒนาอสังหาฯ ต้องดีลกับผู้รับเหมาถึง 5 เจ้า สำหรับทำงานโครงเหล็ก, งานบันไดไม้, งานราวบันได, งานติดตั้ง และงานทา-เคลือบสี
นอกจากจะดีลด้วยความยุ่งยากแล้ว ยังต้องใช้เวลาในการติดตั้งกว่า 14 วัน
แต่สำหรับบันไดของลายวิจิตร เป็นบันไดสำเร็จรูป ที่ผลิตทุกอย่างครบ จบในที่เดียว
แต่สำหรับบันไดของลายวิจิตร เป็นบันไดสำเร็จรูป ที่ผลิตทุกอย่างครบ จบในที่เดียว
โดยผู้พัฒนาอสังหาฯ ไม่ต้องดีลกับผู้รับเหมาถึง 5 เจ้าให้ยุ่งยาก เพราะลายวิจิตรสามารถผลิตทุกขั้นตอนได้จากโรงงาน และติดตั้งเสร็จภายในระยะเวลาเพียง 3 วัน
เรียกง่าย ๆ ว่า ลายวิจิตรเป็น One Stop Service ที่ช่วยผู้พัฒนาอสังหาฯ ลดต้นทุนได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ต้นทุนด้านเวลา หรือต้นทุนในการบริหารจัดการ
2. นวัตกรรมที่แก้ปัญหาให้ลูกค้าโดยเฉพาะ
หนึ่งในปัญหาที่งานติดตั้งบันไดต้องเจอคือ หลังจากบ้านทุกหลังตกแต่งเสร็จสมบูรณ์ แต่พบว่า บันไดที่ติดตั้งกลับมีสภาพเก่า ไม่เงางามเหมือนใหม่
นั่นก็เพราะบันไดเป็นส่วนที่ผู้รับเหมาในส่วนอื่น ๆ ต้องเดินขึ้น-ลงตลอดเวลา จึงทำให้เกิดความเสียหาย แม้เจ้าของบ้านยังไม่ทันได้ใช้งานก็ตาม
ด้วยเหตุนี้ ลายวิจิตรจึงต้องมีการส่งพนักงานเข้าไปเก็บงานในทุก ๆ ครั้ง
จุดนี้เองจึงกลายเป็นที่มาของ “นวัตกรรม Protection Film” ซึ่งจะติดอยู่ตามขั้นบันได โดยหลังจากที่ผู้รับเหมาในทุก ๆ ส่วนทำงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็เพียงแค่ลอกฟิล์มออก บันไดก็กลับมาเหมือนใหม่ราวกับเพิ่งออกมาจากโรงงาน
คุณพีระศิลป์เล่าว่า ฟิล์มดังกล่าว ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก อุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งตัวฟิล์มจะติดอยู่บริเวณชายบันได หรือทางเข้าออกรถยนต์ ที่ต่อให้เราจะเดินเข้าเดินออกเท่าไร สีของรถยนต์ก็จะไม่ได้รับความเสียหายนั่นเอง
อีกหนึ่งนวัตกรรมที่น่าสนใจเพื่อแก้ปัญหาให้ลูกค้าโดยเฉพาะก็คือ “นวัตกรรม SPC”
สำหรับบันไดสำเร็จรูปของลายวิจิตรทุกวันนี้ ใช้ “ไม้ยางพารา” เป็นไม้หลักในการผลิต ซึ่งต้องบอกว่า การเลือกใช้ไม้ยางพารา ทำให้ธุรกิจของลายวิจิตรตอบโจทย์เทรนด์ความยั่งยืนในปัจจุบัน
เพราะต้นยางพาราต้นหนึ่ง จะมีอายุในการกรีดยางได้เพียง 20-25 ปี หลังจากกรีดยางหมดแล้ว ก็จะกลายเป็น Waste หรือขยะสำหรับอุตสาหกรรมยางพารา ซึ่งโดยปกติก็จะถูกโค่น เพื่อนำไปทำเป็นฟืนต่อไป
ซึ่งลายวิจิตรเลือกที่จะใช้ไม้ยางพาราที่หมดอายุขัยในอุตสาหกรรมยางพารานี้เอง มาสร้าง Value ต่อ กลายเป็นบันไดสำเร็จรูป ที่สามารถใช้ต่อได้อีกนานนับสิบปี
อย่างไรก็ตาม สำหรับลูกค้าที่กังวลเรื่องปลวก ที่จะเข้ามาสร้างความเสียหายให้กับไม้ ปัจจุบัน ลายวิจิตร จึงมีการพัฒนานำกระเบื้องยางลายไม้ หรือ SPC ซึ่งทำมาจากพลาสติกผสมกับหิน มาใช้กับงานบันได เพื่อช่วยแก้ปัญหาเรื่องปลวกกินไม้อีกด้วย
ทั้งหมดนี้ก็คือ นวัตกรรมบันไดสำเร็จรูปของลายวิจิตร ที่โดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่น ๆ
แต่ลำพังการแตกต่างจากคู่แข่ง อาจไม่ทำให้ธุรกิจยั่งยืนได้อย่างยาวนาน
คุณพีระศิลป์ สังเกตเห็นว่า ในอดีตลูกค้าไม่ได้จดจำตัวแบรนด์จริง ๆ แต่จดจำที่ตัวบุคคล เช่น เรียกบันไดลายวิจิตรว่า บันไดคุณพีระศิลป์ บันไดคุณเอ ซึ่งเป็นชื่อเล่นของคุณพีระศิลป์ หรือแม้แต่จดจำด้วยชื่อคุณพ่อของคุณพีระศิลป์
ในปี 2563 คุณพีระศิลป์จึงจ้าง Brand Consultant ให้มาดูเรื่องการสร้างแบรนด์อย่างจริงจัง จึงเกิดเป็นชื่อแบรนด์ “ลายวิจิตร” ที่เรียกกันในทุกวันนี้
อย่างไรก็ตาม ตัวคุณพีระศิลป์เองก็เคยเกิดคำถามว่า ทำไมธุรกิจ B2B ถึงสร้างต้องแบรนด์ ?
เพราะลูกค้าของลายวิจิตรเอง ไม่ใช่ลูกค้าทั่ว ๆ ไป แต่เป็นลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่
เพราะลูกค้าของลายวิจิตรเอง ไม่ใช่ลูกค้าทั่ว ๆ ไป แต่เป็นลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่
จนถึงปัจจุบันหลังสร้างแบรนด์ลายวิจิตรมา 4 ปี คุณพีระศิลป์ก็สามารถตอบคำถามข้อนี้ได้เป็นอย่างดีว่า
“การสร้างแบรนด์ ก็เปรียบเสมือนการหยอดกระปุก ค่อย ๆ สะสมไปเรื่อย ๆ
แล้ววันหนึ่งเมื่อลูกค้าทั่ว ๆ ไปรู้จักและเชื่อมั่นแบรนด์ลายวิจิตร เมื่อนั้นลูกค้าองค์กร ซึ่งเป็นลูกค้าหลักของลายวิจิตร ก็จะสามารถขายบ้านได้ เพราะลายวิจิตร”
ฟังดูอาจจะไม่เห็นภาพ คุณพีระศิลป์จึงยกตัวอย่างให้ฟังว่า
เวลาที่เราเลือกซื้อบ้าน นอกจากบ้านจะต้องตอบโจทย์แล้ว ของใช้และของตกแต่งบ้านก็ต้องเป็นแบรนด์ที่ถูกใจด้วย เช่น เครื่องครัวต้องเป็นแบรนด์ A จากเยอรมนี และสุขภัณฑ์ต้องเป็นแบรนด์ B จากสหรัฐอเมริกา
ในหลักการเดียวกัน เมื่อไรที่ลูกค้ารู้จักและมั่นใจในลายวิจิตร การเลือกซื้อบ้าน ก็ต้องอยากได้บันไดแบรนด์ลายวิจิตร
และถ้าโครงการไหนใช้บันไดของลายวิจิตร ก็จะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อบ้านจากโครงการนั้น ๆ ได้ง่ายขึ้นนั่นเอง..
ในมุมของคุณพีระศิลป์ การสร้างแบรนด์ไม่ใช่เพียงแค่ การตั้งชื่อแบรนด์หรือการมีโลโก้
การสร้างแบรนด์ของลายวิจิตรยังลงลึกไปถึง “พนักงาน” ที่ต้องสะท้อนถึงตัวตนของแบรนด์ (Brand Identity) ซึ่งก็คือ การโฟกัสไปที่การพัฒนาสินค้าและบริการ ที่เข้าไปแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้กับลูกค้า
และนำพาลูกค้าไปสู่ความสำเร็จ ตามสโลแกนของแบรนด์ที่ว่า “Leading Stairs to People's Success”
ซึ่งการที่สินค้าและบริการช่วยลูกค้าแก้ไขปัญหา และนำพาไปสู่ความสำเร็จ จึงทำให้เกิดการบอกต่อ
สอดคล้องกับที่คุณพีระศิลป์บอกว่า ลูกค้า 80% ของลายวิจิตรเป็นลูกค้าที่มาจากการบอกต่อ กลายเป็นจุดที่ทำให้แบรนด์ลายวิจิตรเป็นที่รู้จัก และเป็นแบรนด์บันไดสำเร็จรูปที่ผู้พัฒนาอสังหาฯ กว่า 50 รายในไทยเลือกใช้
มาถึงตรงนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ว่า ทำไมบริษัท ลายวิจิตร จำกัด ถึงเหมาะสมที่จะได้รับรางวัลในหลายมิติ ได้แก่
- องค์กรที่มีการสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovation Enterprise)
- การบริการจัดการด้านสินค้าและบริการที่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า (Customer-Focused Product and Service)
- การบริหารจัดการด้านการสร้างตราสินค้าและการตลาด (Branding and Marketing)
- การบริการจัดการด้านสินค้าและบริการที่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า (Customer-Focused Product and Service)
- การบริหารจัดการด้านการสร้างตราสินค้าและการตลาด (Branding and Marketing)
จากเวที Bai Po Business Awards by Sasin ครั้งที่ 19 ที่จัดขึ้นในปีนี้
#BaiPo #บริษัทลายวิจิตร#บันไดสำเร็จรูป
#BaiPo #บริษัทลายวิจิตร#บันไดสำเร็จรูป