ทำไม Netflix ในไทย ไม่มี Harry Potter แต่ประเทศอื่นมี ?
30 ม.ค. 2024
รู้ไหมว่าตอนนี้ ผู้ใช้งาน Netflix ที่ประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น สามารถดูภาพยนตร์เรื่อง Harry Potter ได้ด้วย
แต่กลับกัน ถ้าเราเปิดดู Netflix ที่ประเทศไทยตอนนี้ เราจะดูภาพยนตร์เรื่อง Harry Potter ไม่ได้..
และนอกจาก Harry Potter แล้ว ยังมีภาพยนตร์และซีรีส์อีกหลายเรื่อง ที่เราไม่สามารถเปิดดูได้ในประเทศไทย แต่เปิดดูที่ต่างประเทศได้
หรือบางเรื่องที่เราเปิดดูที่ไทยได้ แต่เปิดดูที่ต่างประเทศไม่ได้..
คำถามคือ ในเมื่อเราจ่ายเงินสมัคร Netflix เหมือนกัน ทำไมคอนเทนต์ที่เราดูได้ในแต่ละประเทศถึงไม่เหมือนกัน ?
บทความนี้ MarketThink ขออาสาสรุปข้อสงสัย ที่อาจจะค้างคาใจใครหลายคนมานาน
ว่าทำไม Netflix ถึงมีคอนเทนต์ที่ไม่เหมือนกัน ในแต่ละประเทศ ?
ว่าทำไม Netflix ถึงมีคอนเทนต์ที่ไม่เหมือนกัน ในแต่ละประเทศ ?
Netflix เป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการอยู่กว่า 190 ประเทศทั่วโลก มีฐานลูกค้าอยู่มากกว่า 260 ล้านบัญชี
มันจึงเป็นเรื่องยากมากที่ Netflix จะสามารถทำคอนเทนต์ให้ถูกใจคนทุกประเทศได้
Netflix เลยมีการใช้โมเดลที่เรียกว่า “Open Ecosystem”
คือการไปเป็นพันธมิตรกับสตูดิโอ หรือผู้ผลิตคอนเทนต์ต่าง ๆ ในแต่ละประเทศ ที่ Netflix ไปทำตลาด
คือการไปเป็นพันธมิตรกับสตูดิโอ หรือผู้ผลิตคอนเทนต์ต่าง ๆ ในแต่ละประเทศ ที่ Netflix ไปทำตลาด
ทำแบบนี้เพื่อซื้อลิขสิทธิ์ซีรีส์หรือภาพยนตร์ที่มีอยู่แล้ว ให้มาลงบนแพลตฟอร์ม Netflix
รวมไปถึงร่วมมือกันผลิตคอนเทนต์เพื่อเป็น Netflix Original Series ให้ออกมาถูกใจคนในพื้นที่นั้น ๆ มากที่สุด
พอเป็นแบบนี้ คอนเทนต์บน Netflix เลยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ
- อย่างแรกคือ Netflix Original Series คือคอนเทนต์ที่ Netflix ผลิตเอง โดยการร่วมมือกับสตูดิโอต่าง ๆ ในแต่ละประเทศ
อย่างที่ไทย Netflix ก็มีการไปร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ เช่น เครือ GMM Grammy ในการสร้างคอนเทนต์ Netflix Original มาลงบนแพลตฟอร์ม
จนออกมาเป็นผลงานเรื่อง Girl From Nowhere The Series (แนนโน๊ะ), เคว้ง และอีกหลาย ๆ เรื่อง ที่ได้รับความนิยมสูงในบ้านเรา
โดยส่วนใหญ่แล้ว Netflix จะเป็นเจ้าของสิทธิ์ Netflix Original Series ทั่วโลกด้วยตัวเอง
ดังนั้น Netflix Original ส่วนใหญ่ จึงสามารถดูได้บน Netflix เหมือนกันหมดทั่วโลก
- อย่างต่อมาคือ คอนเทนต์ที่ Netflix ไปซื้อลิขสิทธิ์มาลงในแพลตฟอร์ม
ยกตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์เรื่อง Harry Potter, Spider-Man, การ์ตูนเรื่อง One Piece และอีกหลาย ๆ เรื่องที่ Netflix ไม่ได้เป็นคนลงทุนสร้างเอง
ตรงนี้แหละที่ทำให้คอนเทนต์ Netflix ในแต่ละพื้นที่นั้น “ไม่เหมือนกัน” ได้มากที่สุด
เพราะต้องเข้าใจว่าในฐานะผู้สร้างคอนเทนต์ ที่ต้องลงทุนลงแรงมหาศาล กว่าจะได้เป็นคอนเทนต์แต่ละเรื่อง
ซึ่งมันก็แน่นอนว่า ตัวผู้สร้างก็อยากจะสร้างรายได้กลับมาให้ได้มากที่สุดเหมือนกัน
พอเป็นแบบนี้ สตูดิโอหลายแห่งจึงมักจะเลือกขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ โดยแบ่งออกเป็นรายพื้นที่ไป เพื่อให้ได้รายได้เยอะที่สุด
เช่น
พื้นที่ไหนมีแนวโน้มชอบคอนเทนต์ของตัวเอง ก็อาจจะเสนอขายในราคาที่แพงหน่อย
พื้นที่ไหนที่คอนเทนต์ของตัวเองไม่ค่อยได้รับความนิยม ราคาก็อาจจะถูกลงมา..
พื้นที่ไหนมีแนวโน้มชอบคอนเทนต์ของตัวเอง ก็อาจจะเสนอขายในราคาที่แพงหน่อย
พื้นที่ไหนที่คอนเทนต์ของตัวเองไม่ค่อยได้รับความนิยม ราคาก็อาจจะถูกลงมา..
ทำให้ Netflix ต้องพิจารณาให้ดีว่าคอนเทนต์แบบไหนลงทุนแล้วคุ้มค่ามากที่สุด เป็นรายพื้นที่ไป
ยกตัวอย่างเช่น เคสของภาพยนตร์เรื่อง Harry Potter
ถ้าลองวิเคราะห์ดูจะเห็นได้ว่า ตัวหนังที่มีเซตอัปบางฉากอยู่ที่ประเทศอังกฤษ แถมตัวคนแต่งอย่าง เจ.เค. โรว์ลิง เองก็เป็นคนอังกฤษ
คนอังกฤษเลยนิยม Harry Potter เอามาก ๆ
ทาง Netflix เลยพิจารณาว่าการลงทุนกับ Harry Potter นั้น น่าจะคุ้มค่ามากในประเทศอังกฤษ แต่อาจไม่คุ้มค่าในประเทศอื่น ๆ
ก็เลยทำให้ Netflix อาจเลือกซื้อลิขสิทธิ์มาฉายแค่ที่ประเทศอังกฤษ ก็เป็นท่าที่พอจะเป็นไปได้
นี่ก็เป็นสาเหตุที่คอนเทนต์บน Netflix แต่ละประเทศ มีคอนเทนต์ไม่เหมือนกัน
เพราะประเด็นเรื่องของ “ลิขสิทธิ์” และ “ความนิยม” ในพื้นที่นั้น ๆ
เพราะประเด็นเรื่องของ “ลิขสิทธิ์” และ “ความนิยม” ในพื้นที่นั้น ๆ
โดยในอนาคต คอนเทนต์ที่ฉายบนแพลตฟอร์มสตรีมมิง ไม่ใช่แค่ Netflix ก็อาจจะต่างกันยิ่งกว่านี้อีก ในแต่ละประเทศ
เพราะในช่วงหลัง ๆ ก็มีรายงานว่า สตูดิโอผู้สร้างหนังเริ่มที่จะขึ้นราคาของตัวเองมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามการเติบโตของธุรกิจสตรีมมิง
แถมสตูดิโอผู้ผลิตหนังดัง ยังไม่นิยมทำสัญญาแบบ Exclusive กับผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่งอีกแล้ว
เพราะไม่ว่าอย่างไร การขายให้ลูกค้าหลายราย เช่น ขายให้ทั้ง Netflix, Disney Plus, Prime Video
ก็สามารถสร้างรายได้ได้มากกว่า การเจาะจงว่าขายให้แพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งอยู่แล้ว
จนทำให้คอนเทนต์บางเรื่อง อาจจะมีอยู่ในผู้ให้บริการสตรีมมิงหลายรายได้ในเวลาเดียวกัน
ก็สามารถสร้างรายได้ได้มากกว่า การเจาะจงว่าขายให้แพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งอยู่แล้ว
จนทำให้คอนเทนต์บางเรื่อง อาจจะมีอยู่ในผู้ให้บริการสตรีมมิงหลายรายได้ในเวลาเดียวกัน
และนี่เองจึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมช่วงหลัง ๆ Netflix รวมถึงแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิงอื่น ๆ เลยเน้นไปที่การทุ่มงบมหาศาล
มาสร้างความแตกต่างด้วย Original Content มากขึ้นทุกปี ๆ นั่นเอง..
Tag:Netflix