ทรูบิสิเนส รุกตลาด ดิจิทัลโซลูชัน สำหรับภาคอุตสาหกรรม รับตลาดมูลค่า 7,400 ล้านบาท
15 มิ.ย. 2023
คุณพิชิต ธันโยดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจองค์กร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยข้อมูลว่า ในปัจจุบัน ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทย มีมูลค่ากว่า 740,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 15% ของ GDP ทั้งประเทศ
ในขณะที่ตลาดดิจิทัลโซลูชัน สำหรับภาคอุตสาหกรรมในไทย มีมูลค่า 7,400 ล้านบาท
และคาดว่าจะมีการเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จากความต้องการในการผลักดันนวัตกรรม สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า ลดต้นทุน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ของผู้ประกอบการโรงงาน และอุตสาหกรรมการผลิต
ทำให้คุณพิชิต มองว่า ทรูบิสิเนส ยังมีโอกาสในการเข้าถึงผู้ประกอบการ ในภาคอุตสาหกรรมอีกเป็นจำนวนมาก ที่มีความต้องการทำ “ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน” ไปสู่อุตสาหกรรม 4.0
โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ทรูบิสิเนส ให้ความสำคัญ คือ อุตสาหกรรมขนส่ง โรงงานอัจฉริยะ และอุตสาหกรรมพลังงาน โดยมีดิจิทัลโซลูชัน ของทรูบิสิเนส ได้แก่
- 5G Infrastructure
เชื่อมต่อการสื่อสารบนเครือข่าย 5G ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ รับส่งข้อมูลได้แบบเรียลไทม์
พร้อมเทคโนโลยีเครือข่าย ที่รองรับได้ทุกรูปแบบการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม
พร้อมเทคโนโลยีเครือข่าย ที่รองรับได้ทุกรูปแบบการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม
- Cloud Infrastructure
บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านคลาวด์ ด้วยความร่วมมือกับอาลีบาบา คลาวด์
รองรับการจัดเก็บฐานข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ และประมวลผล มาพร้อมมาตรฐานความปลอดภัยระดับโลก เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับองค์กรในการสร้างสรรค์ พัฒนา และใช้งานแอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่
- TRUE BIZ-TECH (ทรูบิสเทค)
ศูนย์รวมโซลูชัน ตอบโจทย์ทุกธุรกิจ ด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรมระดับโลก
นอกจากนี้ คุณพิชิต ได้เน้นย้ำว่า การเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 นั้น นอกจากปัจจัยทางด้านเทคโนโลยีจะมีความสำคัญแล้ว
อีกหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน ก็คือ “บุคลากร” ที่จะต้องมี Digital Literacy นั่นก็คือความเข้าใจทางด้านดิจิทัลเสียก่อน
ซึ่งทรูบิสิเนส มีความร่วมมือกับ True Digital Academy หลักสูตรพัฒนาศักยภาพ และเพิ่มพูนทักษะทางด้านดิจิทัล ของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ให้มีทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการขององค์กร และตลาดแรงงาน
รวมถึงปัจจัยทางด้าน “ความปลอดภัย” ทางเทคโนโลยีไซเบอร์ ที่ทรูบิสิเนส ชูเป็นจุดแข็งที่สร้างความแตกต่าง
โดยมีบริการ Cyber Security ที่ยกระดับการตรวจสอบความปลอดภัย และเฝ้าระวังภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ โดยเฉพาะ
ตั้งแต่การให้คำแนะนำ การสร้างความตระหนักในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ การทดสอบระบบ การมอนิเตอร์ความปลอดภัย รวมถึงการให้คำแนะนำเพื่อปฎิบัติตามกฎหมายต่าง ๆ เช่น PDPA