Google เผยพฤติกรรมการค้นหาของผู้บริโภค เป็นแนวทางการตลาดปี 2023 พบการค้นหา “Work-life Balance” เพิ่มขึ้น 100%
26 ม.ค. 2023
Google ประเทศไทย เผยผลวิเคราะห์พฤติกรรมจากการค้นหาของผู้บริโภคไทย ตลอดทั้งปี จากรายงาน Year in Search ของประเทศไทย ประจำปี 2022 (Year in Search 2022 - Thailand report)
ศารณีย์ บุญฤทธิ์ธงไชย หัวหน้าฝ่ายการตลาด Google ประเทศไทย กล่าวว่า
“Google Search เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่คนไทยหลายล้านคนเลือกใช้ในค้นหาข้อมูลตามความสนใจ
ซึ่งในทุก ๆ ปีเราจะเห็นถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค จากการวิเคราะห์ข้อมูลการค้นหาบน Google Search นับพันล้านครั้ง และได้มีการประมวลออกมาเป็นเทรนด์ต่าง ๆ
“Google Search เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่คนไทยหลายล้านคนเลือกใช้ในค้นหาข้อมูลตามความสนใจ
ซึ่งในทุก ๆ ปีเราจะเห็นถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค จากการวิเคราะห์ข้อมูลการค้นหาบน Google Search นับพันล้านครั้ง และได้มีการประมวลออกมาเป็นเทรนด์ต่าง ๆ
จากรายงาน Year in Search ของประเทศไทย ประจำปี 2022 นี้ เราได้สรุปออกมาเป็น 3 เทรนด์พฤติกรรมของคนไทยจากการค้นหาของผู้บริโภคตลอดทั้งปี
เพื่อช่วยให้นักการตลาด และผู้ประกอบการ นำไปใช้เป็นแนวทางในการทำการตลาด และวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจในปี 2023 ให้สอดรับกับพฤติกรรมและเทรนด์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
1) การค้นหาตัวตนที่แท้จริง
หลังช่วงเวลา 3 ปีแห่งความไม่แน่นอนที่ผ่านมา คนไทยเริ่มมีมุมมองใหม่ ๆ ที่ค้นหาว่าตัวเองเป็นใครและมีความสามารถอะไรบ้าง การยอมรับความเป็นตัวตนที่หลากหลาย และไม่ถูกจำกัดด้วยปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความคาดหวังจากสังคมและที่ทำงาน
ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเรื่องค่านิยมด้านวัฒนธรรม ค่านิยมส่วนบุคคล และค่านิยมด้านการงาน
ทำให้ความสนใจในการค้นหา “สมรสเท่าเทียม” เพิ่มขึ้น 800%
ควบคู่ไปกับการค้นหา “LGBTQ” ที่เพิ่มขึ้น 110% สะท้อนการยอมรับความเป็นตัวตนที่หลากหลาย
ควบคู่ไปกับการค้นหา “LGBTQ” ที่เพิ่มขึ้น 110% สะท้อนการยอมรับความเป็นตัวตนที่หลากหลาย
ในขณะเดียวกัน ผู้คนมีความต้องการที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว เห็นได้จากการค้นหา “Work-life Balance” ที่เพิ่มขึ้น 100%
นอกจากนี้ คนไทยยังเข้าถึงเทรนด์โลกและหวนคิดถึงความหลัง ด้วยการค้นหาเทรนด์ย้อนยุคอย่าง “Y2K” ที่เพิ่มขึ้น 370%
แนวทางการทำการตลาด : แบรนด์อาจใช้กลยุทธ์การตลาดแบบไม่แบ่งแยก (Inclusive Marketing) ที่ต้องอาศัยความเข้าใจที่ลึกซึ้ง ไม่ใช่เป็นเพียงกลยุทธ์ที่จัดว่า “ต้องทำ”
และใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการตอบสนองเรื่องตัวตน และความต้องการที่หลากหลายของผู้คน
และใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการตอบสนองเรื่องตัวตน และความต้องการที่หลากหลายของผู้คน
2) การค้นหาคุณค่า
ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ทำให้คนไทยเริ่มเปลี่ยนมุมมองและให้ความสำคัญเกี่ยวกับแนวโน้มของเศรษฐกิจ และค่าครองชีพที่สูงขึ้น
โดยการค้นหา “เงินเฟ้อ” เพิ่มขึ้น 140% และการค้นหา “ค่าครองชีพ” เพิ่มขึ้น 40%
รวมถึงมีการตัดสินใจที่รอบคอบมากขึ้น เห็นได้จากการค้นหา “จ่ายทีหลัง” ที่เพิ่มขึ้น 100% และการค้นหา "ถูกที่สุด" เพิ่มขึ้น 100%
เพื่อเปรียบเทียบตัวเลือกต่าง ๆ ในการซื้อ เนื่องจากราคาสินค้าสูงขึ้น
เพื่อเปรียบเทียบตัวเลือกต่าง ๆ ในการซื้อ เนื่องจากราคาสินค้าสูงขึ้น
นอกจากเรื่องราคาแล้ว ความเชื่อมั่นในตัวแบรนด์ ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญต่อผู้บริโภค เห็นได้จากการค้นหา "น่าเชื่อถือ" ที่เพิ่มขึ้น 30%
และในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคไทยยังคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและใส่ใจเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น
จากการค้นหา “Net zero” (การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์) ที่เพิ่มขึ้นถึง 330%
และการค้นหา “รถยนต์ไฟฟ้า” ที่เพิ่มขึ้น 90%
จากการค้นหา “Net zero” (การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์) ที่เพิ่มขึ้นถึง 330%
และการค้นหา “รถยนต์ไฟฟ้า” ที่เพิ่มขึ้น 90%
แนวทางการทำการตลาด : นำแนวทาง tried-and-new มาใช้ โดยผสมผสานแนวปฏิบัติแบบดั้งเดิมเข้ากับโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI เช่น การใช้ Value-based Bidding ร่วมกับ Broad Match
3) การค้นหาความสุข
จากการที่คนไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนและอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย ทำให้พวกเขาเริ่มตระหนักถึงการใช้ชีวิต เพื่อหาความสุขให้ตัวเอง
เห็นได้จากการค้นหาวิธีการปรนนิบัติตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นด้วยการทวงคืนอิสรภาพในการจับจ่าย หลังจากที่ต้องทนอัดอั้นมานาน
เห็นได้จากการค้นหาวิธีการปรนนิบัติตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นด้วยการทวงคืนอิสรภาพในการจับจ่าย หลังจากที่ต้องทนอัดอั้นมานาน
จากการค้นหา “ปิ้งย่าง ใกล้ฉัน” ที่เพิ่มขึ้นถึง 110%
ตามมาด้วยการค้นหา “สนามกอล์ฟ ใกล้ฉัน” เพิ่มขึ้น 80%
ตามมาด้วยการค้นหา “สนามกอล์ฟ ใกล้ฉัน” เพิ่มขึ้น 80%
รวมทั้งผู้คนที่ต้องการออกเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ โดยการค้นหา “ทัวร์ต่างประเทศ” เพิ่มขึ้นถึง 100%
นอกจากนี้ ผู้คนยังได้ผสานชีวิตออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน เพื่อช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้น และทำให้ทุกช่วงเวลาของชีวิตมีคุณค่ามากที่สุด
ซึ่งเห็นได้จากการค้นหา "Telemedicine" เพิ่มขึ้น 50%
“จองร้านอาหาร” เพิ่มขึ้น 70% ส่วนการค้นหา “จองคิว” ได้เพิ่มขึ้น 60% โดยเฉพาะการค้นหาการจองคิวต่ออายุหนังสือเดินทาง และใบขับขี่ล่วงหน้า
“จองร้านอาหาร” เพิ่มขึ้น 70% ส่วนการค้นหา “จองคิว” ได้เพิ่มขึ้น 60% โดยเฉพาะการค้นหาการจองคิวต่ออายุหนังสือเดินทาง และใบขับขี่ล่วงหน้า
แนวทางการทำการตลาด : ตีกรอบโลกออนไลน์และออฟไลน์ใหม่ เพื่อเข้าถึงนักช็อปในทุก ๆ ที่
ใช้แคมเปญ Performance Max เพื่อโปรโมตผลิตภัณฑ์หรือบริการในช่องทางต่าง ๆ ในแคมเปญเดียว
ใช้แคมเปญ Performance Max เพื่อโปรโมตผลิตภัณฑ์หรือบริการในช่องทางต่าง ๆ ในแคมเปญเดียว
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากรายงานฉบับเต็ม > https://bit.ly/yearinsearchthailand