ทำไม YouTube ถึงทำปุ่ม “ข้ามโฆษณา” ทั้งที่ตัวเองก็หารายได้จากโฆษณา - TechBite
24 ธ.ค. 2022
เชื่อหรือไม่ว่า YouTube มีรายได้จากการโฆษณาเพียงอย่างเดียว ก็มากพอ ๆ กับรายได้ของ Netflix ทั้งบริษัทแล้ว..
โดยการสร้างรายได้จากโฆษณาของ YouTube ก็เรียบง่ายมาก เพียงแค่ให้คนดูโฆษณาที่แทรกอยู่ในวิดีโอให้นานที่สุด แล้วรอรับเงินก้อนโตจากลูกค้าหรือแบรนด์ ที่มาลงโฆษณา ไม่ต่างจากเสือนอนกิน
หมายความว่า ยิ่งคนดูโฆษณานานเท่าไร รายได้ของ YouTube ก็จะมากขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง
แต่รู้หรือไม่ว่า ในช่วงแรก ๆ ที่ YouTube เริ่มทำโฆษณาลงแพลตฟอร์ม เรายังไม่สามารถ “กดข้าม” หรือ “ซื้อ YouTube Premium” เพื่อแก้ปัญหาได้เหมือนทุกวันนี้
ทำให้เราต้องทนดูโฆษณาความยาวประมาณ 1-2 นาทีให้จบเท่านั้น ถึงจะรับชมคอนเทนต์ต่อได้
ทำให้เราต้องทนดูโฆษณาความยาวประมาณ 1-2 นาทีให้จบเท่านั้น ถึงจะรับชมคอนเทนต์ต่อได้
อย่างไรก็ตาม ในภายหลัง YouTube เองนี่แหละ ที่เป็นคนเพิ่มปุ่ม “ข้ามโฆษณา” ทำให้คนไม่ต้องทนดูโฆษณายาว ๆ อีกต่อไป แต่การทำแบบนี้มันไม่ต่างจากการตัดรายได้ของบริษัทด้วยน้ำมือของตัวเองเลย
แล้ว YouTube ทำไปเพื่อใคร ? มีจุดประสงค์อะไร ? เรื่องนี้ TechBite มีคำตอบ
ในปี 2002 มีผลการศึกษาของคุณเอ็ดวาร์ดส์ นักจิตวิทยาผู้บริโภค ได้บอกไว้ว่า
การบังคับให้คนดูโฆษณาพ็อปอัป (แบบกดข้ามไม่ได้)
จะทำให้ผู้บริโภครู้สึกถูกคุกคามถึงสิทธิเสรีภาพในการเลือกรับชมสื่อของตัวเอง
จะทำให้ผู้บริโภครู้สึกถูกคุกคามถึงสิทธิเสรีภาพในการเลือกรับชมสื่อของตัวเอง
ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้ จะสามารถเปลี่ยนเป็นความรู้สึก “ต่อต้านแบรนด์” ได้ในที่สุด
ยกตัวอย่างง่าย ๆ คือ เมื่อเรากำลังเสพคอนเทนต์กันอย่างเมามัน แต่ดันมีโฆษณาที่ไม่สามารถกดข้ามได้ขึ้นมาขัดจังหวะ
แบรนด์เจ้าของโฆษณาหรือแม้แต่พรีเซนเตอร์ของแบรนด์ จะดูเป็นผู้ร้ายในสายตาเราทันที..
แบรนด์เจ้าของโฆษณาหรือแม้แต่พรีเซนเตอร์ของแบรนด์ จะดูเป็นผู้ร้ายในสายตาเราทันที..
ทำให้โฆษณาเรียกยอดขาย อาจเปลี่ยนเป็นโฆษณาลดยอดขายได้ง่าย ๆ
เรื่องนี้ YouTube เองก็เข้าใจดีว่าไม่มีแบรนด์ไหน อยากเป็นตัวร้ายในสายตาผู้บริโภค
และก็ไม่อยากขัดขาผู้ใช้เวลาดูคลิปด้วย
และก็ไม่อยากขัดขาผู้ใช้เวลาดูคลิปด้วย
จึงได้มีการเพิ่มปุ่ม “ข้ามโฆษณา” ให้ผู้ใช้เลือกได้ว่า จะดูโฆษณาต่อหรือไม่ หลังจากผ่านไป 5 วินาที
ให้ผู้ใช้ไม่รู้สึกถูกลิดรอนเสรีภาพ ในขณะที่แบรนด์ก็ยังได้โอกาสสร้างการรับรู้อย่างน้อยก็ 5 วินาที โดยที่ไม่ถูกมองเป็นตัวร้ายอีกแล้ว
แล้วผลลัพธ์ก็ออกมาดีเกินคาด..
เพราะมีผลสำรวจของบริษัท TNS (Taylor Nelson Sofres) บอกว่าผู้ใช้ YouTube มีระดับความพึงพอใจในการใช้งานสูงถึง 68% เมื่อสามารถกดข้ามโฆษณาได้
ส่วนภาพลักษณ์ของแบรนด์ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้กดข้ามโฆษณาได้ ก็มีระดับความพึงพอใจอยู่ที่ 51%
ซึ่งวันนี้กาลเวลาก็ได้พิสูจน์แล้วว่า การเพิ่มปุ่มข้ามโฆษณาเข้ามา
ในภาพรวม น่าจะสร้างผลตอบแทนให้กับแพลตฟอร์ม ได้มากกว่าการบังคับให้คนมานั่งทนดูโฆษณา
ในภาพรวม น่าจะสร้างผลตอบแทนให้กับแพลตฟอร์ม ได้มากกว่าการบังคับให้คนมานั่งทนดูโฆษณา
สะท้อนให้เห็นจากรายได้จาก YouTube Ads ของ Alphabet บริษัทแม่ของ YouTube ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องมาหลายปีแล้ว
ปี 2019 มีรายได้ 0.5 ล้านล้านบาท
ปี 2020 มีรายได้ 0.7 ล้านล้านบาท
ปี 2021 มีรายได้ 1.0 ล้านล้านบาท
9 เดือนแรก ปี 2022 มีรายได้ 0.7 ล้านล้านบาท..
ปี 2020 มีรายได้ 0.7 ล้านล้านบาท
ปี 2021 มีรายได้ 1.0 ล้านล้านบาท
9 เดือนแรก ปี 2022 มีรายได้ 0.7 ล้านล้านบาท..
สุดท้ายนี้ แม้ YouTube จะมีปุ่มให้กดข้ามโฆษณาได้นานแล้ว
แต่หลัง ๆ มานี้ “ความถี่” ของโฆษณาต่างหาก ที่กำลังทำให้ผู้ใช้ YouTube หลายคนรู้สึกเหมือนถูกลิดรอนเสรีภาพอีกครั้ง..
ซึ่งคราวนี้ YouTube ก็ได้เพิ่มช่องทางใหม่ ที่เอาไว้ข้ามโฆษณาที่ “ทั้งถี่ ทั้งนาน” ไว้เรียบร้อยแล้วเช่นกัน
เพียงแค่ครั้งนี้มันไม่ฟรีเหมือนเดิม
และชื่อของมันคือ “YouTube Premium” นั่นเอง..
และชื่อของมันคือ “YouTube Premium” นั่นเอง..
อ้างอิง:
-https://abc.xyz/investor/static/pdf/2021_alphabet_annual_report.pdf?cache=3a96f54
-https://abc.xyz/investor/
-https://abc.xyz/investor/static/pdf/2022Q3_alphabet_earnings_release.pdf?cache=4156e7f
-https://abc.xyz/investor/static/pdf/2022Q2_alphabet_earnings_release.pdf?cache=ed395cc
-https://abc.xyz/investor/static/pdf/2022Q1_alphabet_earnings_release.pdf?cache=d9e9d97
-https://abc.xyz/investor/static/pdf/2021_alphabet_annual_report.pdf?cache=3a96f54
-https://abc.xyz/investor/
-https://abc.xyz/investor/static/pdf/2022Q3_alphabet_earnings_release.pdf?cache=4156e7f
-https://abc.xyz/investor/static/pdf/2022Q2_alphabet_earnings_release.pdf?cache=ed395cc
-https://abc.xyz/investor/static/pdf/2022Q1_alphabet_earnings_release.pdf?cache=d9e9d97