ราคาแบตเตอรี่รถ EV ปรับตัวสูงขึ้น เป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี กดดันผู้ผลิตขึ้นราคา ภาระตกที่ผู้บริโภค
8 ธ.ค. 2022
BloombergNEF ซึ่งเป็นหน่วยงานวิเคราะห์ข้อมูลด้านพลังงานของ Bloomberg ได้ทำการเก็บรวบรวมสถิติราคาแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า มาตั้งแต่ปี 2010
พบว่าราคาของแบตเตอรี่นี้ลดลงเรื่อย ๆ จาก 1,200 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลวัตต์ (ราว 41,700 บาท) ในปี 2010 ลดลงเหลือ 141 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลวัตต์ (ราว 4,900 บาท) ในปี 2021
แต่ในปีนี้ ราคาของแบตเตอรี่ที่ใช้กับรถยนต์ไฟฟ้า กลับมีการปรับตัวสูงขึ้น เป็น 151 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลวัตต์ (ราว 5,250 บาท) สูงขึ้น 7% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
ซึ่งนับเป็นการปรับราคาเพิ่มสูงขึ้นเป็นครั้งแรก ในรอบ 12 ปี ตั้งแต่ BloombergNEF เริ่มเก็บข้อมูลสถิติเป็นครั้งแรก ในปี 2010
ส่วนในปี 2023 นั้น คาดการณ์ว่า ราคาแบตเตอรี่จะยังไม่ลดลง และจะคงอยู่ที่ระดับราคาเดียวกันกับปีนี้ต่อไป และคาดว่า ราคาแบตเตอรี่ จะปรับตัวลดลงอีกครั้ง ในปี 2024
โดยสาเหตุที่ทำให้ราคาแบตเตอรี่ปรับตัวสูงขึ้น เกิดจากต้นทุนของวัตถุดิบ และส่วนประกอบสำคัญในแบตเตอรี่ที่มีราคาแพง
อย่างแร่ลิเธียม มีราคาเพิ่มสูงขึ้นนับ 10 เท่า ตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมา
แร่โคบอลต์ มีราคาที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบ 2 เท่า นับตั้งแต่ปี 2020
และแร่นิกเกิล ก็มีราคาแพงขึ้นราว 75%
แร่โคบอลต์ มีราคาที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบ 2 เท่า นับตั้งแต่ปี 2020
และแร่นิกเกิล ก็มีราคาแพงขึ้นราว 75%
ซึ่งสาเหตุที่ทำให้แร่เหล่านี้ มีราคาแพงขึ้น เกิดจากกำลังในการผลิตที่ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ที่มีอย่างมหาศาล รวมถึงปัญหาทางด้านความตึงเครียดทางการค้า ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้อีกด้วย
อย่างในปัจจุบัน ความต้องการใช้งานแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้านั้น อยู่ที่ราว 603 กิกะวัตต์ ในปี 2022 เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และปริมาณความต้องการนี้ ก็เพิ่มขึ้นจนทำลายสถิติใหม่แทบทุกปี
และเมื่อความต้องการแบตเตอรี่เพิ่มสูงขึ้น นั่นก็หมายความว่า ความต้องการวัตถุดิบต่าง ๆ ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
- แบตเตอรี่ราคาแพงขึ้น กระทบอะไรบ้าง ?
เมื่อราคาแบตเตอรี่ Lithium-Ion สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า จำเป็นที่จะต้องใช้แบตเตอรี่ชนิดอื่น ทดแทนแบตเตอรี่ Lithium-Ion โดยเฉพาะแบตเตอรี่ Lithium-Ion Phosphate ซึ่งไม่ได้มีโคบอลต์ และนิกเกิล เป็นส่วนประกอบ
จึงมีราคาที่ถูกกว่า แต่ต้องแลกมาด้วยระทางวิ่งที่น้อยกว่า ต่อการชาร์จไฟ 1 ครั้ง
จึงมีราคาที่ถูกกว่า แต่ต้องแลกมาด้วยระทางวิ่งที่น้อยกว่า ต่อการชาร์จไฟ 1 ครั้ง
รวมถึงส่งผลต่อราคาขายของรถยนต์ไฟฟ้าที่อาจสูงขึ้น หากผู้ผลิตต่าง ๆ เลือกที่จะไม่แบกรับภาระต้นทุนในส่วนนี้ไว้เอง แต่เลือกที่จะขึ้นราคาขายรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งแน่นอนว่าผลเสีย ย่อมตกอยู่กับผู้บริโภคทั่วไป
โดย BloombergNEF เคยประเมินไว้ว่า การที่ผู้ผลิตต่าง ๆ จะสามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในระดับ Mass ในราคาที่ไม่ต่างจากรถยนต์เครื่องยนต์สันดาป โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการอุดหนุนจากภาครัฐนั้น
ราคาของแบตเตอรี่ ต้องอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลวัตต์ (ราว 3,470 บาท) และคาดว่าระดับราคาของแบตเตอรี่นี้ จะเป็นจริงได้ในปี 2024
แต่จากสถานการณ์ในปัจจุบัน ทำให้ BloombergNEF ปรับการณ์คาดการณ์ใหม่ ว่าราคาแบตเตอรี่จะลดลงจนมีราคาต่ำกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลวัตต์ ได้ในปี 2026 หรือช้ากว่าเดิม 2 ปี
และในขณะนี้ BloombergNEF เริ่มเห็นสัญญาณของรถยนต์ไฟฟ้า มีต้นทุนที่สูงขึ้น จนมีการปรับราคาเพิ่มขึ้นแล้ว
และนอกจากอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า จะได้รับผลกระทบจากราคาแบตเตอรี่ ที่ปรับตัวสูงขึ้นในปีนี้แล้ว
ภาคการผลิตพลังงานไฟฟ้า ก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน จากความต้องการแบตเตอรี่ ที่ใช้สำหรับการกักเก็บพลังงานทดแทนที่สูงขึ้นในปัจจุบัน
ภาคการผลิตพลังงานไฟฟ้า ก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน จากความต้องการแบตเตอรี่ ที่ใช้สำหรับการกักเก็บพลังงานทดแทนที่สูงขึ้นในปัจจุบัน