ทำไม KBank ถึงได้ชื่อว่าเป็นธนาคารสีเขียวชั้นนำ ที่พร้อมผลักดันสังคม และสิ่งแวดล้อม ให้เติบโตอย่างยั่งยืน
29 พ.ย. 2022
ในช่วงที่ผ่านมา หลายคนคงได้ยินคำว่า ESG บ่อยขึ้น
เพราะ ESG หมายถึง กรอบการพัฒนา ที่เป็นมาตรฐานการดำเนินธุรกิจ ที่ธุรกิจและนักลงทุนทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ
เพราะ ESG หมายถึง กรอบการพัฒนา ที่เป็นมาตรฐานการดำเนินธุรกิจ ที่ธุรกิจและนักลงทุนทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ
ซึ่งการดำเนินงานแบบ ESG คือการที่ธุรกิจคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Society) ภายใต้การดำเนินงานที่โปร่งใส และเป็นธรรม (Governance)
แล้วถ้าถามว่า ในประเทศไทย มีบริษัทไหนบ้างที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานแบบ ESG เป็นอันดับต้น ๆ
คำตอบคงหนีไม่พ้น “ธนาคารกสิกรไทย” หรือ KBank อย่างแน่นอน
เพราะ KBank ไม่เพียงขึ้นชื่อว่าเป็นธนาคารชั้นนำของประเทศไทย ที่ให้ความสำคัญกับการเติบโตแบบยั่งยืน แต่ KBank ยังคอยผลักดันสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เติบโตควบคู่กัน
ที่น่าสนใจคือ KBank เป็นธนาคารไทยแห่งแรกที่ได้ประกาศความมุ่งมั่น ที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ หรือ “Net Zero Commitment” พร้อมเจตนารมณ์ที่จะพาลูกค้าปรับตัวเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero Economy ด้วยกัน
เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ KBank ได้อัดฉีดสินเชื่อ และสนับสนุนการลงทุน เพื่อความยั่งยืนไปแล้วใน 3 ไตรมาสที่ผ่านมากว่า 16,000 ล้านบาท และตั้งเป้าหมาย ที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 200,000 ล้านบาท ภายในปี 2573
มาวันนี้ KBank ตอกย้ำความมุ่งมั่นอีกครั้ง ด้วยการแถลงกลยุทธ์ ESG Strategy 2023
ที่จะแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ของ KBank ที่จะมาผลักดันให้สังคมและสิ่งแวดล้อมเติบโตได้อย่างยั่งยืน พร้อมมุ่งสู่การเป็นผู้นำด้าน ESG ของกลุ่มธนาคารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่จะแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ของ KBank ที่จะมาผลักดันให้สังคมและสิ่งแวดล้อมเติบโตได้อย่างยั่งยืน พร้อมมุ่งสู่การเป็นผู้นำด้าน ESG ของกลุ่มธนาคารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แล้วยุทธศาสตร์ ESG Strategy 2023 จาก KBank น่าสนใจอย่างไร ?
จุดที่น่าสนใจ คือ ธนาคารมีการกำหนดกลยุทธ์การทำงานบนหลัก ESG ที่เป็นระบบ โดยเน้นการวัดผลที่เป็นรูปธรรม
เพราะการทำเรื่องความยั่งยืน มีหลายปัจจัยที่ต้องคำนึงและรักษาสมดุล ธนาคารจึงต้องหมั่นเช็กผลการทำงาน และพร้อมปรับตัวอยู่เสมอ
เพราะการทำเรื่องความยั่งยืน มีหลายปัจจัยที่ต้องคำนึงและรักษาสมดุล ธนาคารจึงต้องหมั่นเช็กผลการทำงาน และพร้อมปรับตัวอยู่เสมอ
นอกจากนี้ KBank ในฐานะผู้นำด้าน ESG เชื่อว่าการสร้าง Sustainable Ecosystem และการบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนในมิติต่าง ๆ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากการทำงานของธนาคารเพียงลำพัง แต่จะเกิดขึ้นต่อเมื่อทุกฝ่ายร่วมใจ ลงมือทำกันอย่างจริงจังไปด้วยกัน
โดย KBank จะทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ที่คอยติดปีกทุก ๆ ฝ่าย ด้วยความรู้ ความช่วยเหลือ และความร่วมมือในทุกมิติ เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ในวงกว้าง และนำไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง
ทีนี้เราลองมาดูความสำเร็จที่ผ่านมาของ KBank ในการสร้าง Sustainable Ecosystem
รวมถึงเป้าหมายของธนาคาร ที่จะเติมเต็มแต่ละภาคส่วนของการเติบโตแบบ ESG เป็นอย่างไรบ้าง ?
รวมถึงเป้าหมายของธนาคาร ที่จะเติมเต็มแต่ละภาคส่วนของการเติบโตแบบ ESG เป็นอย่างไรบ้าง ?
1. มิติสิ่งแวดล้อม (Environment)
- ปรับกระบวนการทำงานของธนาคาร เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
นอกจาก KBank จะเตรียมทยอยเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของธนาคารแล้ว ยังเดินหน้าแผนการติดตั้งโซลาร์รูฟ บนอาคารสำนักงาน และสาขาที่ธนาคารเป็นเจ้าของพื้นที่ เพื่อเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาด
ซึ่งจากการปรับเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในครั้งนี้ ทำให้ในปีนี้ KBank สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินการของธนาคารได้ถึง 13.52% เมื่อเทียบกับ ปีฐาน 2563 และตั้งเป้าหมายจะเป็น Net Zero ในการดำเนินการของธนาคารภายในปี 2573
- สนับสนุนสินเชื่อ และการลงทุนเพื่อความยั่งยืน
ใน 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2565 KBank ได้สนับสนุนสินเชื่อ และการลงทุนเพื่อความยั่งยืนไปแล้วกว่า 16,000 ล้านบาท
และในอนาคตธนาคารยังได้ตั้งเป้าสนับสนุนเงินทุนเพื่อความยั่งยืน เพื่อรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวอีก 200,000 ล้านบาท ภายในปี 2573
และในอนาคตธนาคารยังได้ตั้งเป้าสนับสนุนเงินทุนเพื่อความยั่งยืน เพื่อรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวอีก 200,000 ล้านบาท ภายในปี 2573
- ผสานเทคโนโลยี และความร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อเชื่อมต่อความร่วมมือตลอดห่วงโซ่อุปทาน
พร้อมเปิดตัวโครงการที่เป็นมากกว่าบริการทางการเงิน เพื่อช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงไลฟ์สไตล์กรีนได้ง่ายยิ่งขึ้น อย่างโครงการ SolarPlus ที่จะมาติดตั้งโซลาร์รูฟให้คนไทยแบบฟรี ๆ เพื่อผลิตและขายไฟฟ้าส่วนเกินจากการใช้งานในบ้านเรือน เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
หรือโครงการส่งเสริมการเช่าใช้งานรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า EV Bike ที่สนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าให้แพร่หลาย และช่วยให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อย อย่างเช่น ไรเดอร์ ได้เข้าถึงโอกาสในการประกอบอาชีพง่ายขึ้น
นอกจากนี้ KBank ยังได้ศึกษา และประเมินก๊าซเรือนกระจกในพอร์ตโฟลิโอสินเชื่อของธนาคาร เพื่อจัดทำแผนการเปลี่ยนผ่าน เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกรายอุตสาหกรรมที่มีความเร่งด่วน เช่น กลุ่มโรงไฟฟ้า กลุ่มน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และกลุ่มเหมืองถ่านหิน ร่วมกับลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมนั้น ๆ อีกด้วย
2. มิติสังคม (Society)
ต้องบอกว่า KBank ให้ความสำคัญกับการเติบโตของเศรษฐกิจชุมชน และผู้ประกอบการรายเล็ก ที่เปรียบเสมือนฟันเฟืองหลักของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รวมทั้งยังคำนึงถึงความปลอดภัย และความเสี่ยงของลูกค้าเมื่อทำธุรกรรมผ่านดิจิทัลแบงกิง
โดย KBank จะเน้นการปรับปรุงกระบวนการพิจารณาสินเชื่อ โดยใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณาจากความเสี่ยง และการประเมินความสามารถในการชำระเงิน เพื่อลดโอกาสในการผิดนัดชำระหนี้ และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของลูกค้ารายเล็ก
พร้อมสร้างภูมิคุ้มกันด้านการเงินและภัยทางไซเบอร์ให้กับลูกค้าและประชาชนทั่วไป ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของธนาคาร
รวมทั้งการทำงานด้วยการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตร และประสานความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่งมอบบริการสินเชื่อควบคู่การให้ความรู้ ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของลูกค้าสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
ซึ่งความสำเร็จของ KBank ในการผลักดันรากฐานเศรษฐกิจ มีดังนี้
- สร้างการเข้าถึงบริการทางการเงิน แก่ลูกค้ารายเล็ก
KBank จะสนับสนุนสินเชื่อให้แก่ลูกค้าบุคคลที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อเดือน ไปจนถึงกลุ่มลูกค้าธุรกิจที่มีรายได้ไม่เกิน 2.5 ล้านบาทต่อปี
ซึ่งลูกค้าไม่ต้องมีบัญชีเงินเดือน หรือเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่มีเอกสารยืนยันรายได้ ก็สามารถกู้ได้
ซึ่งลูกค้าไม่ต้องมีบัญชีเงินเดือน หรือเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่มีเอกสารยืนยันรายได้ ก็สามารถกู้ได้
พอเป็นแบบนี้ จึงทำให้ผ่านไป 3 ไตรมาสของปี 2565 KBank ได้ให้สินเชื่อแก่ลูกค้ารายเล็กไปแล้วมากกว่า 500,000 ราย คิดเป็นมูลค่าสินเชื่อกว่า 23,000 ล้านบาท
พร้อมตั้งเป้าหมายที่จะให้สินเชื่อแก่ลูกค้ารายเล็ก 1,900,000 ราย ภายในปี 2568
พร้อมตั้งเป้าหมายที่จะให้สินเชื่อแก่ลูกค้ารายเล็ก 1,900,000 ราย ภายในปี 2568
- ให้ความรู้ทางการเงิน และความปลอดภัยทางไซเบอร์ ผ่านการออกแคมเปญสื่อสารที่จะสร้างความเข้าใจ และตระหนักรู้ พร้อมตั้งเป้าหมายให้เข้าถึงลูกค้าได้เกิน 10 ล้านราย ภายในปี 2566
3. มิติธรรมาภิบาล (Governance)
นอกจากการสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อม และสังคมแล้ว KBank ยังขึ้นชื่อว่าเป็นธนาคารที่คำนึงถึงการดำเนินงานด้วยหลักธรรมาภิบาลที่ดี เพราะ KBank จะคอยดูแลและตรวจสอบสินเชื่อที่ปล่อยไป เพื่อไม่ให้สร้างผลกระทบเชิงลบแก่เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
โดยทุก ๆ สินเชื่อโครงการ และเครดิตเชิงพาณิชย์ของผู้ประกอบการขนาดกลางขึ้นไป จะต้องเข้าสู่กระบวนการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG ทั้ง 100%
ซึ่ง ณ ไตรมาส 3 ปี 2565 มีสินเชื่อที่ผ่านกระบวนการประเมินนี้ มากกว่า 340,000 ล้านบาท
ซึ่ง ณ ไตรมาส 3 ปี 2565 มีสินเชื่อที่ผ่านกระบวนการประเมินนี้ มากกว่า 340,000 ล้านบาท
สุดท้ายแล้ว ที่ KBank ทำทั้งหมดนี้ ก็เพื่อที่จะเป็นต้นแบบให้ทุก ๆ ฝ่ายหันมาสนใจการดูแลสิ่งแวดล้อม และสังคมมากขึ้น เพราะถ้าทุกคนยังคงกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบเดิม ๆ โดยไม่คำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้ ประเทศคงไม่สามารถเติบโตได้
KBank จึงอยากจะเชิญทุกภาคส่วน มาช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อม และสังคม เพื่อสร้าง Sustainable Ecosystem ให้ทุกฝ่ายสามารถเดินหน้าสู่การเติบโตแบบยั่งยืนไปด้วยกันนั่นเอง