ภูริต ภิรมย์ภักดี วิธีการ “สร้างคน” เมื่อต้องหาจุดสมดุลให้ธุรกิจระหว่าง “ดูแลคนแบบครอบครัว” และ “ปั้นให้เป็นมืออาชีพ” เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืน
14 พ.ย. 2022
ความท้าทายสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโต คือความสามารถในการ “สร้างคน” โดยเฉพาะการสร้างให้ทุกคนในองค์กรมีความเป็นทีมเดียวกัน มีเป้าหมายเดียวกัน และมองเห็นทิศทางที่องค์กรจะขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างเป็นภาพเดียวกัน แต่ท่ามกลางบริบททางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานั้น จึงค่อนข้างเป็นไปได้ยากและอาจนำมาซึ่งปัญหาช่องว่างระหว่างวัย หรือ Generation Gap ได้
มุมมองของ คุณภูริต ภิรมย์ภักดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด ในฐานะผู้นำองค์กร ได้ฉายให้เห็นถึงภาพใหญ่ที่ต้องการให้ทุกคนในบุญรอดมองตรงกัน คือ การขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืน จนสามารถเติบโตสู่การเป็นองค์กร 100 ปี หรือ 200 ปี พร้อมทั้งส่งต่อความแข็งแกร่งของธุรกิจให้ได้รับการยอมรับจากทั้งลูกค้าและสังคมอย่างต่อเนื่อง ทำให้แบรนด์สิงห์ ที่สะท้อนได้ถึงความเป็นบุญรอดกลายเป็น Heritage ที่สามารถรักษาและส่งต่อความเชื่อมั่นที่ลูกค้าและสังคมมีต่อแบรนด์ไปได้แบบรุ่นสู่รุ่น
ซึ่งการที่ธุรกิจจะยืนหยัดอยู่ให้ได้หลาย ๆ ศตวรรษนั้น คงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ เพราะมีตัวอย่างให้เห็นอยู่ในหลาย ๆ ประเทศ ที่บริษัทซึ่งเริ่มต้นมาจากธุรกิจครอบครัว แต่ยังคงเป็นแบรนด์ที่มีความขลัง ยังมีคนชื่นชมศรัทธาอยู่ แม้จะต้องเผชิญกับความท้าทายรอบด้าน ทั้งปัจจัยภายนอกหรือภายใน แต่ก็ยังสามารถเติบโตมาได้จนถึงปัจจุบันนี้
ส่วนการรับมือกับปัญหา Generation Gap ซึ่งบุญรอดเองก็ไม่ต่างจากหลาย ๆ องค์กรที่มีปัญหาในเรื่องเหล่านี้อยู่บ้างเช่นกัน โดย คุณภูริต มองว่า สิ่งสำคัญอันดับแรก คือทุกคนต้องเปิดใจและกล้าที่จะเผชิญกับความ เปลี่ยนแปลง เพื่อนำมาซึ่งความสามารถในการขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนตามมาได้
“องค์กรจะเติบโตได้อย่างยั่งยืนต้องมาจากทีมที่ดี ซึ่งทุกคนในทีมต้องมีความร่วมมือร่วมใจกัน เพราะไม่มีใครคนใดคนหนึ่งมีความสามารถมากพอที่จะทำให้องค์กรดี หรือแข็งแรงได้เพียงคนเดียว แม้แต่ผมเองก็ตาม ดังนั้น ทุกคนจึงล้วนมีความสำคัญต่อองค์กรไม่น้อยไปกว่ากัน ไม่ว่าจะอยู่องค์กรมาก่อน หรืออาจจะเพิ่งเข้ามา จะเป็นผู้บริหาร หรือพนักงานทั่วไป ทุกคนล้วนเป็นทีมเดียวกันทั้งหมด และต่างเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยให้บริษัทเติบโตตามบทบาทและหน้าที่ของตัวเอง โดยเฉพาะคนที่เป็นหัวหน้า ยิ่งต้องเป็นผู้ฟังที่ดี ฟังให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถเข้าใจคนอื่นภายในทีมได้ดีและขับเคลื่อนทีมไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น”
“แต่ละคนมีความเก่งและความชำนาญ ในแต่ละด้านที่แตกต่างกันออกไป
บางทักษะเขาอาจจะยังไม่เก่ง และอาจติดปัญหาอะไรนิด ๆ หน่อย ๆ
บางทักษะเขาอาจจะยังไม่เก่ง และอาจติดปัญหาอะไรนิด ๆ หน่อย ๆ
“เราต้องช่วยเขาแก้ปัญหาตรงนี้ให้ได้ หรือทำให้มองเห็นภาพที่มันชัดเจนขึ้น
ผมเชื่อว่าคนทุกคนมีศักยภาพในตัวเอง เราแค่ช่วยเพิ่มทักษะการทำงาน
สุดท้ายเขาก็จะเป็นพนักงานที่เปล่งประกายมากขึ้นกว่าเดิม”
ผมเชื่อว่าคนทุกคนมีศักยภาพในตัวเอง เราแค่ช่วยเพิ่มทักษะการทำงาน
สุดท้ายเขาก็จะเป็นพนักงานที่เปล่งประกายมากขึ้นกว่าเดิม”
มุมมองของ คุณภูริต การบริหารคนจำเป็นต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ เพราะแต่ละคนคิดไม่เหมือนกัน การจะทำให้ใครเชื่อใจเรา เราก็ต้องเข้าใจเขาก่อน อยากให้เขาฟังเรา เราต้องฟังเขาก่อน พยายามมองในมุมเขา หาเหตุผลในสิ่งที่เขาทำ เพื่อร่วมกันสร้าง ร่วมกันพัฒนา รวมทั้งร่วมฝ่าฟันปัญหาต่าง ๆ ไปด้วยกัน ซึ่งการจะเข้าใจปัญหาของพนักงาน ก็ต้องเข้าใจงานที่พนักงานทำและมองเห็นงานภาพกว้างให้ได้ทั้งหมด ซึ่งคุณภูริตเองก็มีประสบการณ์ในการทำงานในบริษัทมาแล้วเกือบทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานล้างถังเบียร์ หรือขับรถโฟล์คลิฟขนของในโรงงาน รวมทั้งเรียนรู้เรื่องกระบวนการผลิตเบียร์ เป็น Brew Master เพราะในครอบครัวจะต้องมี 1 คนของรุ่นที่ไปเรียน ซึ่งคุณภูริตเองก็เป็นตัวแทนของ generation 4 เพื่อสามารถเข้าใจทั้งคนทำงานและทุกกระบวนการในการทำงานได้อย่างแท้จริง
โดยเฉพาะการหาวิธีทำให้พนักงานสามารถทำงานได้ด้วย Passion มีความสุขในการทำงาน อยากตื่นขึ้นมาทำงานในแต่ละวัน มากกว่าแค่การทำไปตามหน้าที่ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากคนที่มีความสุขและสนุกกับงาน ย่อมแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับคนที่ทำตามหน้าที่เพียงอย่างเดียว และถือเป็นหน้าที่ของผู้นำที่ดีเช่นกันที่ต้องมองให้ออกว่าลูกน้องแต่ละคนชอบอะไร หรือถนัดอะไร และเปิดโอกาสให้เขาได้ทำในสิ่งที่ชอบ ซึ่งจะทำให้เขาสามารถพัฒนาตัวเองและพร้อมจะเดินไปข้างหน้าร่วมกันองค์กรได้ในระยะยาว
ทำธุรกิจครอบครัว แบบมืออาชีพ
อีกหนึ่งในความเป็นบุญรอด คือการดูแลพนักงานทุกคนเหมือนเป็นครอบครัว แต่เป็นครอบครัวที่ทำงานด้วยความเป็นมืออาชีพ จึงให้ความสำคัญต่อการเติมทักษะให้แก่พนักงาน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทักษะเดิม (Upskill) และเพิ่มเติมทักษะใหม่ (Reskill) เพื่อให้ทันต่อการแข่งขันและความเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี วิธีคิดและองค์ความรู้ใหม่ ๆ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงและมีสิ่งใหม่ที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา เพราะทักษะหรือความรู้ทุกอย่างที่มีอยู่ในวันนี้ สามารถล้าหลังหรืออาจจะกลายเป็นเรื่องเก่าได้ภายในเวลาเพียงแค่ไม่กี่วัน
อีกหนึ่งในความเป็นบุญรอด คือการดูแลพนักงานทุกคนเหมือนเป็นครอบครัว แต่เป็นครอบครัวที่ทำงานด้วยความเป็นมืออาชีพ จึงให้ความสำคัญต่อการเติมทักษะให้แก่พนักงาน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทักษะเดิม (Upskill) และเพิ่มเติมทักษะใหม่ (Reskill) เพื่อให้ทันต่อการแข่งขันและความเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี วิธีคิดและองค์ความรู้ใหม่ ๆ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงและมีสิ่งใหม่ที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา เพราะทักษะหรือความรู้ทุกอย่างที่มีอยู่ในวันนี้ สามารถล้าหลังหรืออาจจะกลายเป็นเรื่องเก่าได้ภายในเวลาเพียงแค่ไม่กี่วัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสามารถผสมผสาน ต่อยอดจากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของพนักงานที่ทำงานมานานกว่า กับมุมมองและรูปแบบการทำงานที่สอดคล้องกับโลกที่ไม่แน่นอนและผันผวนอยู่ตลอดเวลาของคนรุ่นใหม่ เมื่อนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันก็จะกลายเป็นจุดแข็งและช่วยสร้างแต้มต่อให้บริษัทสามารถเผชิญกับทุกวิกฤตที่ไม่สามารถคาดเดาซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตได้อย่างแข็งแกร่ง
รวมไปถึงการปลูกฝังทัศนคติ ปลูกฝัง Mindset ที่ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของสังคมควบคู่ไปด้วย เนื่องจากนโยบายการ “สร้างคน” เพื่อให้เป็นทั้งคนเก่งและคนดี เป็นสิ่งที่บุญรอดฯ ยึดถือมาตลอด 89 ปี กลายเป็น DNA ของบุญรอดฯ ที่ไม่ได้เน้นแค่การสร้างธุรกิจที่แข็งแกร่งเพียงอย่างเดียว แต่เป้าหมายสูงสุดที่สำคัญไม่แพ้กัน และเป็นเจตนารมณ์ที่ส่งต่อกันมาตั้งแต่ยุคก่อตั้งบริษัทก็คือ ความสามารถในการส่งต่อความสุขและสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนไปยังผู้คนและสังคมโดยรอบ เพื่อส่งต่อความสุขผ่านการให้ได้อย่างไม่สิ้นสุด
ถึงตรงนี้ ทำให้คิดย้อนกลับไปถึงคำพูดข้างต้นของคุณภูริต ภิรมย์ภักดี
ที่ต้องการให้ บุญรอดฯ เป็นองค์กรที่ยั่งยืน
ที่ต้องการให้ บุญรอดฯ เป็นองค์กรที่ยั่งยืน
ตรงนี้เองที่ทำให้การ “สร้างคน” ของบริษัท ไม่ใช่แค่พัฒนาทักษะการทำงานให้ยอดเยี่ยม และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกใบนี้เท่านั้น แต่แนวคิดจากเมื่อ 89 ปีของ พระยาภิรมย์ภักดี ผู้ก่อตั้งบริษัท ที่ต้องการให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมช่วยเหลือสังคม ก็ยังถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น
แต่หากคนในประเทศไม่มีความสุขในการใช้ชีวิต
ฉากสุดท้ายประเทศไทยก็อาจ “ไม่ยั่งยืน” ธุรกิจของตัวเองก็จะไม่มีลมหายใจด้วยเช่นกัน
ฉากสุดท้ายประเทศไทยก็อาจ “ไม่ยั่งยืน” ธุรกิจของตัวเองก็จะไม่มีลมหายใจด้วยเช่นกัน
ธุรกิจและผู้คนในสังคมจึงต้องเติบโตไปพร้อม ๆ กัน
และความเชื่อนี้เอง ที่ถูกถ่ายทอดจากรุ่นแรกมาสู่รุ่นที่ 4
ที่มีคุณภูริต ภิรมย์ภักดี เป็นผู้ขับเคลื่อน นั่นเอง
และความเชื่อนี้เอง ที่ถูกถ่ายทอดจากรุ่นแรกมาสู่รุ่นที่ 4
ที่มีคุณภูริต ภิรมย์ภักดี เป็นผู้ขับเคลื่อน นั่นเอง