ย้อนรอยความยิ่งใหญ่ของ Spotify จากสตาร์ตอัปที่ค่ายเพลงไม่สนใจ ทำอย่างไร ค่ายเพลงถึงยอมร่วมมือด้วย ?
8 พ.ย. 2022
Spotify ยักษ์ใหญ่แห่งวงการสตรีมมิงเพลง เป็นผู้บุกเบิกวิธีการฟังเพลงในรูปแบบใหม่ ตั้งแต่ยุคที่คนบางส่วนยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการฟังเพลงแบบถูกลิขสิทธิ์
ในวันนี้ Spotify เรียกได้ว่าเป็นเบอร์ 1 ของแพลตฟอร์มสตรีมมิงเพลง ด้วยส่วนแบ่งตลาดที่เอาชนะคู่แข่งไปได้อย่างขาดลอย
- Spotify ครองส่วนแบ่งตลาด 31%
- Apple Music ครองส่วนแบ่งตลาด 15%
- Amazon Music ครองส่วนแบ่งตลาด 13%
- Tencent Music ครองส่วนแบ่งตลาด 13%
- YouTube Music ครองส่วนแบ่งตลาด 8%
- Spotify ครองส่วนแบ่งตลาด 31%
- Apple Music ครองส่วนแบ่งตลาด 15%
- Amazon Music ครองส่วนแบ่งตลาด 13%
- Tencent Music ครองส่วนแบ่งตลาด 13%
- YouTube Music ครองส่วนแบ่งตลาด 8%
นอกจากนี้ Spotify ยังมีผู้ใช้งานแบบเสียเงินสมัครสมาชิกรายเดือน มากกว่า 195 ล้านคน
ด้วยความยิ่งใหญ่นี้ ทำให้ในแต่ละปี Spotify จ่ายส่วนแบ่งจากการสตรีมเพลง ให้กับศิลปิน นักแต่งเพลง และเจ้าของลิขสิทธิ์ ไปแล้วมากกว่า 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.7 แสนล้านบาท)
แต่รู้หรือไม่ว่า ก่อนที่ Spotify จะก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ของแพลตฟอร์มสตรีมมิงเพลง อย่างในทุกวันนี้ Spotify เคยผ่านช่วงเวลาอันยากลำบาก และถูกตั้งคำถามจากค่ายเพลงต่าง ๆ ถึงความเหมาะสมในการหารายได้จากเพลง ซึ่ง Spotify ไม่ได้มีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของนั้น อย่างที่ค่ายเพลงมี..
ในบทความนี้ MarketThink จะพาไปย้อนรอย ก้าวที่ยิ่งใหญ่ของ Spotify ตั้งแต่เป็นสตาร์ตอัป ที่ใคร ๆ ก็ไม่เข้าใจ และไม่คิดว่าจะมีวันที่ยิ่งใหญ่เหมือนในปัจจุบัน..
ย้อนกลับไปช่วงต้นทศวรรษ 2000 ในช่วงเวลานั้นอินเทอร์เน็ต พัฒนามาจนมีความเร็วที่เพียงพอต่อการดาวน์โหลดเพลงสักเพลงมาฟังได้แล้ว
แต่การดาวน์โหลดนี้เอง เป็นการดาวน์โหลดจากเว็บไซต์เถื่อน ซึ่งนำไฟล์เพลงจากแผ่น CD มาแจกฟรีให้คนทั่วโลก โดยที่นักร้อง นักแต่งเพลง หรือค่ายเพลง ไม่เคยได้รับค่าลิขสิทธิ์ หรือส่วนแบ่งที่พวกเขาสมควรจะได้รับเลย
ในเวลานั้น รายได้ของอุตสาหกรรมเพลงทั่วโลก ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากจุดสูงสุดที่เคยทำได้เมื่อปี 1999 ที่ 24,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 9.1 แสนล้านบาท) เหลือเพียง 19,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 7.4 แสนล้านบาท) เมื่อปี 2006
ซึ่งหากนับเฉพาะรายได้จากการขายเทป และแผ่น CD อุตสาหกรรมเพลงทั่วโลก มีรายได้ 16,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น (ราว 6.3 แสนล้านบาท)
และลดลงจนถึงจุดต่ำสุด เมื่อปี 2014 ด้วยรายได้ 14,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 5.4 แสนล้านบาท)
เพราะปัญหานี้เอง Spotify จึงถือกำเนิดขึ้น เพื่อแก้ปัญหานี้โดยเฉพาะ..
ในปี 2006 Daniel Ek และ Martin Lorentzon จึงร่วมกันก่อตั้งบริษัทสตาร์ตอัปที่ชื่อว่า Spotify ขึ้นมา ในยุคที่การดาวน์โหลดเพลงเถื่อน ได้รับความนิยมจากคนทั่วโลก
ทั้ง 2 ผู้ก่อตั้ง มีแนวคิดที่ต้องการทำให้คนทั่วโลก เข้าถึงเพลงได้แบบฟรี ๆ อย่างถูกลิขสิทธิ์ ผ่านแนวคิดที่เรียกว่า Freemium โดยแลกกับการฟังโฆษณาที่ฝังอยู่ในแพลตฟอร์ม โดยไม่ต้องเสียเงินเพื่อซื้อเทปเพลง หรือแผ่น CD และไม่ต้องเสียเวลาในการดาวน์โหลดไฟล์เพลงมาลงคอมพิวเตอร์อีกต่อไป
แม้ Spotify จะดูเหมือนว่าเป็น “ฮีโร” ที่เข้ามาช่วยกอบกู้อุตสาหกรรมเพลง ในยุคที่รายได้ตกต่ำ แต่กลายเป็นว่า ค่ายเพลงอาจไม่ได้เห็นด้วยกับ Spotify มากเท่าใดนัก..
เพราะค่ายเพลงใหญ่ในเวลานั้น มองว่า Spotify จะยิ่งซ้ำเติมวิกฤติการละเมิดลิขสิทธิ์ ที่ค่ายเพลงกำลังเผชิญอยู่ และไม่เห็นด้วยกับแนวคิด Freemium ที่จะให้ผู้ใช้งานฟังเพลงได้แบบฟรี ๆ โดยแลกกับการฟังโฆษณา แล้วค่ายเพลงจึงจะได้รับส่วนแบ่งรายได้จากการฟังโฆษณานั้นอีกทอดหนึ่ง
ด้วยเหตุผลนี้เอง ทำให้ค่ายเพลงต่าง ๆ ปฏิเสธ ที่จะนำเพลงของตัวเองเข้ามาอยู่ใน Spotify
และหาก Spotify ไม่มีเพลง นั่นก็หมายความว่า ความพยายามของ 2 ผู้ก่อตั้ง ที่ต้องการให้คนทั่วโลกเข้าถึงเพลงถูกลิขสิทธิ์ได้แบบฟรี ๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น
- Spotify ทำอย่างไร จึงได้ลิขสิทธิ์จากค่ายเพลง ?
แม้ในตอนแรก Spotify ต้องการที่จะให้ผู้ใช้งานฟังเพลงได้แบบฟรี ๆ แลกกับโฆษณาที่มี แต่เมื่อค่ายเพลงไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ Spotify จึงต้องยอมอ่อนข้อลงอย่างเลี่ยงไม่ได้
หลังจากเจรจากับค่ายเพลง โดยใช้เวลาราว 2 ปี ในที่สุดแล้วค่ายเพลงก็ตกลงที่จะนำเพลงของตัวเองมาไว้บน Spotify แต่มีเงื่อนไขว่า Spotify จะต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจใหม่ ไม่ใช่แค่การให้ผู้ใช้งานฟังเพลงได้ฟรี แลกกับการมีโฆษณาเพียงรูปแบบเดียว
นั่นจึงทำให้ Spotify มีรูปแบบของบริการ 2 แบบ นั่นคือ Freemium ที่ผู้ใช้งานสามารถฟังเพลงได้โดยมีข้อจำกัด พร้อมกับมีโฆษณาแทรกระหว่างการฟังเพลง และแบบ Premium ที่ผู้ใช้งานเสียค่าบริการ แต่สามารถฟังเพลงได้ทั้งหมด โดยไม่มีข้อจำกัด และไม่มีโฆษณามากวนใจ
พร้อมทั้งต้องยอมให้ 3 ค่ายเพลงใหญ่ของโลก เข้าถือหุ้นบางส่วนของ Spotify ด้วย
โดยสัดส่วนการถือหุ้น Spotify ของค่ายเพลงใหญ่ เมื่อปี 2009 เป็นดังนี้
โดยสัดส่วนการถือหุ้น Spotify ของค่ายเพลงใหญ่ เมื่อปี 2009 เป็นดังนี้
Sony BMG ถือหุ้นในสัดส่วน 5.8%
Universal Music Group ถือหุ้นในสัดส่วน 4.8%
Warner Music Group ถือหุ้นในสัดส่วน 3.8%
Universal Music Group ถือหุ้นในสัดส่วน 4.8%
Warner Music Group ถือหุ้นในสัดส่วน 3.8%
- สตรีมมิง แหล่งรายได้ใหม่ ของวงการเพลง
แม้ในช่วงแรกของการเริ่มทำธุรกิจ Spotify จะถูกตั้งคำถามว่า จะยื่นมือเข้ามาช่วยอุตสาหกรรมเพลง ที่กำลังอยู่ในภาวะวิกฤติ จากความนิยมในการดาวน์โหลดเพลงจากเว็บไซต์ผิดลิขสิทธิ์ หรือจะเป็นการซ้ำเติมให้สถานการณ์แย่ลงกว่าเดิม
แต่ในวันนี้ Spotify กลายเป็นอีกหนึ่งแหล่งรายได้สำคัญ ของอุตสาหกรรมเพลงทั่วโลก โดยในปี 2021 ที่ผ่านมา Spotify ได้สร้างรายได้ ให้กับค่ายเพลง ศิลปิน และนักแต่งเพลง มากกว่า 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.7 แสนล้านบาท) ผ่านการจ่ายส่วนแบ่งจากการสตรีมเพลงของคนทั่วโลก
ในขณะเดียวกัน แม้ Spotify จะยังมีผลประกอบการ “ขาดทุน” และยังไม่สามารถสร้างกำไรได้ในปัจจุบัน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Spotify เป็นผู้บุกเบิก และวางรากฐานสำคัญ ให้กับการฟังเพลงแบบสตรีมมิง จนมีคู่แข่งเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ทั้ง Apple Music, Amazon Music, Tencent Music หรือ YouTube Music เป็นต้น
โดยในปี 2021 อุตสาหกรรมเพลงทั่วโลก มีแนวโน้มฟื้นตัว และกลับมามีรายได้ 25,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 9.8 แสนล้านบาท) มากกว่าปี 1999 ซึ่งเป็นปีที่อุตสาหกรรมเพลงทั่วโลก ยืนอยู่ในจุดสูงสุด ก่อนที่จะมีรายได้ลดลงอย่างต่อเนื่องในปีถัดมา
นอกจากนี้ รายได้ของอุตสาหกรรมเพลงทั่วโลกในปี 2021 ยังมีสัดส่วนมาจากแพลตฟอร์มสตรีมมิง มากถึง 16,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 6.4 แสนล้านบาท) ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 65% ของรายได้ทั้งหมด
ในขณะที่รายได้จากการขายเทป และแผ่น CD ที่เคยเป็นรายได้หลักในช่วง 10 กว่าปีก่อนหน้านี้ กลับมีสัดส่วนลดลงเหลือเพียง 19.2% เท่านั้น
และนี่คือเรื่องราวทั้งหมดของ Spotify บริษัทสตาร์ตอัป ผู้บุกเบิกการฟังเพลงแบบสตรีมมิง ต่อต้านการดาวน์โหลดเพลงแบบผิดลิขสิทธิ์ ที่ค่ายเพลงไม่เข้าใจ
แต่กลับให้ผลตอบแทนกับค่ายเพลง หลักแสนล้านบาทในปีที่แล้ว และเป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้อุตสาหกรรมเพลงทั่วโลก กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง ในรอบ 20 ปี..
อ้างอิง :
-https://www.ifpi.org/wp-content/uploads/2022/04/IFPI_Global_Music_Report_2022-State_of_the_Industry.pdf
-https://s29.q4cdn.com/175625835/files/doc_financials/2022/q3/Q3-2022-Shareholder-Deck-FINAL-LOCKED.pdf
-https://www.midiaresearch.com/blog/music-subscriber-market-shares-q2-2021
-https://startuptalky.com/spotify_success_story/
-https://medium.com/@Pjparson/spotify-the-impossible-success-story-316a1062d79e
-https://techcrunch.com/2017/03/18/dictate-top-40/
-https://seekingalpha.com/article/4451577-spotify-a-long-term-story
-https://www.bbvaopenmind.com/en/articles/the-music-industry-in-an-age-of-digital-distribution/
-https://www.musicbusinessworldwide.com/heres-exactly-how-many-shares-the-major-labels-and-merlin-bought-in-spotify-and-what-we-think-those-stakes-are-worth-now/
-https://www.rollingstone.com/pro/news/who-really-owns-spotify-955388/
-https://variety.com/2022/digital/news/spotify-7-billion-music-industry-labels-publishers-2021-1235212986/
-https://www.ifpi.org/wp-content/uploads/2022/04/IFPI_Global_Music_Report_2022-State_of_the_Industry.pdf
-https://s29.q4cdn.com/175625835/files/doc_financials/2022/q3/Q3-2022-Shareholder-Deck-FINAL-LOCKED.pdf
-https://www.midiaresearch.com/blog/music-subscriber-market-shares-q2-2021
-https://startuptalky.com/spotify_success_story/
-https://medium.com/@Pjparson/spotify-the-impossible-success-story-316a1062d79e
-https://techcrunch.com/2017/03/18/dictate-top-40/
-https://seekingalpha.com/article/4451577-spotify-a-long-term-story
-https://www.bbvaopenmind.com/en/articles/the-music-industry-in-an-age-of-digital-distribution/
-https://www.musicbusinessworldwide.com/heres-exactly-how-many-shares-the-major-labels-and-merlin-bought-in-spotify-and-what-we-think-those-stakes-are-worth-now/
-https://www.rollingstone.com/pro/news/who-really-owns-spotify-955388/
-https://variety.com/2022/digital/news/spotify-7-billion-music-industry-labels-publishers-2021-1235212986/