รู้จักกลยุทธ์ที่ช่วยธุรกิจ “เพิ่มยอดขาย” โดยไม่ต้องขึ้นราคาสินค้า..
1 ต.ค. 2022
“รับขนมจีบ ซาลาเปา เพิ่มไหมคะ ?”
คือประโยคยอดฮิตในอดีต ที่พนักงานร้าน 7-Eleven มักจะถามเราตอนเวลาชำระเงิน
จนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่หลายคนจำได้ขึ้นใจ
คือประโยคยอดฮิตในอดีต ที่พนักงานร้าน 7-Eleven มักจะถามเราตอนเวลาชำระเงิน
จนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่หลายคนจำได้ขึ้นใจ
รู้หรือไม่ว่า กลยุทธ์เสนอขายสินค้าเพิ่มเติมของ 7-Eleven สามารถเพิ่มยอดขายได้เป็นอย่างดี
สังเกตได้จากหลาย ๆ ครั้ง ที่ลูกค้าตั้งใจเข้าไปซื้อน้ำเปล่า หรือขนม
แต่สุดท้ายกลับได้ ขนมจีบ หรือซาลาเปา ติดไม้ติดมือกลับมาด้วย..
สังเกตได้จากหลาย ๆ ครั้ง ที่ลูกค้าตั้งใจเข้าไปซื้อน้ำเปล่า หรือขนม
แต่สุดท้ายกลับได้ ขนมจีบ หรือซาลาเปา ติดไม้ติดมือกลับมาด้วย..
ซึ่งกลยุทธ์นี้ มีชื่อเรียกว่า “Cross-Selling”
ถ้าให้อธิบายง่าย ๆ กลยุทธ์ Cross-Selling ก็คือ การเสนอขายสินค้าหรือบริการต่าง ๆ เพิ่มเติมจากสินค้าหลัก โดยเป็นสินค้าหรือบริการที่อยู่คนละหมวดหมู่กัน แต่มีความเกี่ยวเนื่องกัน
เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้สินค้าหลัก ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้สินค้าหลัก ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น
- เวลาซื้อสมาร์ตโฟน ก็จะมีการเสนอขายผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น หูฟังไร้สาย และเคสโทรศัพท์
- ร้านเช่าชุดราตรี ที่มีสินค้าประเภทอื่น ๆ เช่น กระเป๋า, เครื่องประดับ และรองเท้าส้นสูง ให้เช่าด้วย
- บริษัท A เป็นบริษัทขายรถยนต์ แต่ก็นำเสนอประกันรถยนต์ให้ลูกค้าด้วย
- ซูเปอร์มาร์เก็ต จัดสินค้าที่ต้องใช้ด้วยกันไว้ใกล้กัน เพื่อให้ลูกค้าหยิบได้สะดวก เช่น น้ำยาล้างเล็บ และสำลี
- ร้านเช่าชุดราตรี ที่มีสินค้าประเภทอื่น ๆ เช่น กระเป๋า, เครื่องประดับ และรองเท้าส้นสูง ให้เช่าด้วย
- บริษัท A เป็นบริษัทขายรถยนต์ แต่ก็นำเสนอประกันรถยนต์ให้ลูกค้าด้วย
- ซูเปอร์มาร์เก็ต จัดสินค้าที่ต้องใช้ด้วยกันไว้ใกล้กัน เพื่อให้ลูกค้าหยิบได้สะดวก เช่น น้ำยาล้างเล็บ และสำลี
ทีนี้ลองมาดูเคสตัวอย่างจริงกันบ้าง
ในปีนี้ หนึ่งในกลยุทธ์การขยายสาขาของ After You ก็คือ การสร้างร้านแบบ Multi-Brand ที่จะรวมแบรนด์ทั้งหมดในเครือมาไว้ด้วยกัน
ได้แก่ After You แบรนด์ขนมหวาน, Mikka แบรนด์เครื่องดื่ม และลูกก๊อ แบรนด์ขายผลไม้สด
ได้แก่ After You แบรนด์ขนมหวาน, Mikka แบรนด์เครื่องดื่ม และลูกก๊อ แบรนด์ขายผลไม้สด
ซึ่งข้อดีของการรวม 3 แบรนด์ในเครือไว้ด้วยกัน
หลัก ๆ ก็คือ ช่วยในเรื่องของการเพิ่มยอดขายด้วยกลยุทธ์ Cross-Selling
หลัก ๆ ก็คือ ช่วยในเรื่องของการเพิ่มยอดขายด้วยกลยุทธ์ Cross-Selling
ลองคิดภาพว่า จากเดิมเวลาเดินเข้าไปในร้าน After You เราจะได้ทานแค่ของหวาน หรือบิงซู
แต่ถ้า After You มารวมร่างกับ Mikka และลูกก๊อ
เราอาจจะได้ดื่มกาแฟจาก Mikka หลังทานของหวาน
แถมยังมีผลไม้สด ๆ จากลูกก๊อ มาเป็นท็อปปิงให้บิงซูได้อีกด้วย
แต่ถ้า After You มารวมร่างกับ Mikka และลูกก๊อ
เราอาจจะได้ดื่มกาแฟจาก Mikka หลังทานของหวาน
แถมยังมีผลไม้สด ๆ จากลูกก๊อ มาเป็นท็อปปิงให้บิงซูได้อีกด้วย
ซึ่งในกรณีนี้ นอกจากลูกค้าจะมีตัวเลือกในการรับประทานมากขึ้นแล้ว
ทางแบรนด์เอง ก็มีโอกาสเสนอขายสินค้ามากขึ้น และมียอดขายเพิ่มขึ้นด้วย
ทางแบรนด์เอง ก็มีโอกาสเสนอขายสินค้ามากขึ้น และมียอดขายเพิ่มขึ้นด้วย
จากเดิมร้านของหวาน อาจสร้างรายได้เฉลี่ยต่อหัว (Average Check) อยู่ที่ 200 บาท
ก็อาจได้ยอดขายจากร้านกาแฟ และร้านผลไม้ มาช่วยเพิ่มขึ้นอีกหลักสิบ หรือหลักร้อยบาท นั่นเอง
ก็อาจได้ยอดขายจากร้านกาแฟ และร้านผลไม้ มาช่วยเพิ่มขึ้นอีกหลักสิบ หรือหลักร้อยบาท นั่นเอง
นอกจากนี้ เชื่อว่าหลาย ๆ คนรู้จักร้าน After You กันดีอยู่แล้ว
แต่ถามว่า คนเหล่านี้เคยลองเครื่องดื่มจากร้าน Mikka หรือรู้จัก ลูกก๊อ ซึ่งเป็นแบรนด์ใหม่ในเครือหรือไม่ ?
แต่ถามว่า คนเหล่านี้เคยลองเครื่องดื่มจากร้าน Mikka หรือรู้จัก ลูกก๊อ ซึ่งเป็นแบรนด์ใหม่ในเครือหรือไม่ ?
คำตอบที่ได้คือ อาจจะยังไม่เคยลอง หรืออาจจะยังไม่รู้จักเท่าไรนัก..
ดังนั้น After You นี่แหละ ที่จะทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อม ให้คนได้ทดลอง และรู้จักกับแบรนด์ใหม่ ๆ ในเครือได้มากขึ้น ผ่านการขยายสาขาแบบ Multi-Brand
เช่นเดียวกับบริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG ของเครือเซ็นทรัล
ที่มีกลยุทธ์ Shop in Shop ก็คือ นำร้านชานม Brown มาอยู่ในร้านคัตสึยะ
และนำแบรนด์กาแฟ อาริกาโตะ มาอยู่ในร้าน Mister Donut
ที่มีกลยุทธ์ Shop in Shop ก็คือ นำร้านชานม Brown มาอยู่ในร้านคัตสึยะ
และนำแบรนด์กาแฟ อาริกาโตะ มาอยู่ในร้าน Mister Donut
ซึ่งการนำ 2 แบรนด์ในเครือมาอยู่ร่วมกัน ส่วนหนึ่งก็เพื่อช่วยเพิ่มยอดขาย ด้วยกลยุทธ์ Cross-Selling ที่ลูกค้าสามารถซื้อชานมไข่มุกดื่ม ระหว่างทานอาหารญี่ปุ่น
หรือสามารถซื้อกาแฟดื่ม คู่กับการทานโดนัท นั่นเอง
หรือสามารถซื้อกาแฟดื่ม คู่กับการทานโดนัท นั่นเอง
นอกจากกลยุทธ์ Cross-Selling แล้ว
หลาย ๆ คนก็อาจจะเคยได้ยินคำว่า “Up-Selling” มาเคียงคู่กัน
แล้วกลยุทธ์ Up-Selling คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร ?
หลาย ๆ คนก็อาจจะเคยได้ยินคำว่า “Up-Selling” มาเคียงคู่กัน
แล้วกลยุทธ์ Up-Selling คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร ?
สำหรับกลยุทธ์ Up-Selling ก็คือ การเสนอขายสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ที่มีราคาสูงขึ้นกว่าเดิม แต่เพิ่มเติมด้วยคุณสมบัติที่ดีกว่า หรือคุ้มค่ามากกว่า
ทำให้ลูกค้ารู้สึก “ไม่เสียดาย” หากต้องจ่ายเงินเพิ่มอีกสักเล็กน้อย เพื่อให้ได้ของที่ดีกว่า
ทำให้ลูกค้ารู้สึก “ไม่เสียดาย” หากต้องจ่ายเงินเพิ่มอีกสักเล็กน้อย เพื่อให้ได้ของที่ดีกว่า
ยกตัวอย่างเช่น
- iPhone 14 ที่มากับดิไซน์และสเป็กที่ไม่ต่างกับ iPhone 13 เท่าไร และเริ่มต้นที่ราคา 32,900 บาท
ในขณะที่ iPhone 14 Pro มากับดิไซน์และสเป็กใหม่ ซึ่งขายในราคาเริ่มต้น 41,900 บาท
ทำให้มีหลาย ๆ คนยอมจ่ายเพิ่มอีก 9,000 บาท เพื่อให้ได้เทคโนโลยีใหม่ และดิไซน์ที่ใหม่กว่า
ในขณะที่ iPhone 14 Pro มากับดิไซน์และสเป็กใหม่ ซึ่งขายในราคาเริ่มต้น 41,900 บาท
ทำให้มีหลาย ๆ คนยอมจ่ายเพิ่มอีก 9,000 บาท เพื่อให้ได้เทคโนโลยีใหม่ และดิไซน์ที่ใหม่กว่า
- โรงแรม A มีราคาห้องพัก 2,000 บาทต่อคืน
แต่มีตัวเลือกให้ลูกค้าจ่ายเพิ่ม 500 บาทต่อคืน
จะได้ห้องที่กว้างขึ้น มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และที่สำคัญ มีวิวติดทะเล หรือภูเขาด้วย
แต่มีตัวเลือกให้ลูกค้าจ่ายเพิ่ม 500 บาทต่อคืน
จะได้ห้องที่กว้างขึ้น มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และที่สำคัญ มีวิวติดทะเล หรือภูเขาด้วย
- ร้านบุฟเฟต์ B มีหลากหลายราคาให้เลือก
โดยราคาเริ่มต้น 299 บาท จะได้แค่ เมนูหมู
แต่ถ้าราคาแพงขึ้นอีกหน่อยเป็น 349 บาท จะได้ เมนูหมู เนื้อ ทะเล เพิ่มขึ้นด้วย
โดยราคาเริ่มต้น 299 บาท จะได้แค่ เมนูหมู
แต่ถ้าราคาแพงขึ้นอีกหน่อยเป็น 349 บาท จะได้ เมนูหมู เนื้อ ทะเล เพิ่มขึ้นด้วย
อ่านมาถึงตรงนี้ ก็น่าจะพอเห็นความแตกต่างระหว่าง Cross-Selling และ Up-Selling กันบ้างแล้ว
แต่ถ้ายังเห็นภาพไม่ชัดเจน ลองมาดูตัวอย่างจากร้าน McDonald’s ที่แทบทุกคนเคยทานกัน
แต่ถ้ายังเห็นภาพไม่ชัดเจน ลองมาดูตัวอย่างจากร้าน McDonald’s ที่แทบทุกคนเคยทานกัน
กรณี Cross-Selling เช่น เวลาที่เราสั่งเบอร์เกอร์
แล้วพนักงานถามว่า รับเฟรนช์ฟรายส์ หรือพายสักชิ้น ไว้ทานคู่กันไหม ?
แล้วพนักงานถามว่า รับเฟรนช์ฟรายส์ หรือพายสักชิ้น ไว้ทานคู่กันไหม ?
ส่วนกรณี Up-Selling เช่น เวลาที่เราสั่งเมนูเซต
แล้วพนักงานถามว่า จะอัปไซซ์น้ำและเฟรนช์ฟรายส์ไหม ในราคา 10 บาท ?
แล้วพนักงานถามว่า จะอัปไซซ์น้ำและเฟรนช์ฟรายส์ไหม ในราคา 10 บาท ?
สรุปง่าย ๆ ว่า
Cross-Selling ก็คือ การนำเสนอขายสินค้าอื่น ๆ เพิ่มเติมจากสินค้าหลัก
Up-Selling ก็คือ การนำเสนอขายสินค้าเดิม ที่มีคุณภาพดีขึ้น แต่ก็มีราคาแพงขึ้นด้วยเช่นกัน มาให้ลูกค้าเทียบแล้วรู้สึกว่า ยอมจ่ายเพิ่มแล้วคุ้มกว่า
Cross-Selling ก็คือ การนำเสนอขายสินค้าอื่น ๆ เพิ่มเติมจากสินค้าหลัก
Up-Selling ก็คือ การนำเสนอขายสินค้าเดิม ที่มีคุณภาพดีขึ้น แต่ก็มีราคาแพงขึ้นด้วยเช่นกัน มาให้ลูกค้าเทียบแล้วรู้สึกว่า ยอมจ่ายเพิ่มแล้วคุ้มกว่า
ทั้งหมดนี้ก็คือ กลยุทธ์การเพิ่มยอดขายง่าย ๆ ที่ทุก ๆ ธุรกิจก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
อย่างไรก็ตาม การใช้ทั้ง 2 กลยุทธ์ก็ควรอยู่ในความพอดี ไม่นำเสนอในสิ่งที่ลูกค้าไม่ต้องการ หรือไม่รบเร้าลูกค้ามากจนเกินไป
ซึ่งจะเป็นเช่นนั้นได้ ก็ต้องศึกษาพฤติกรรม หรืออินไซต์ของกลุ่มลูกค้าเสียก่อน ว่าชอบอะไร ไม่ชอบอะไร
รวมถึงสินค้าและบริการของเรา ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายไหน
รวมถึงสินค้าและบริการของเรา ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายไหน
จากนั้นก็ต้องหาวิธีการสื่อสาร เน้นให้ลูกค้าเห็นคุณค่าของสิ่งที่จะได้รับเพิ่มขึ้น จากการซื้อสินค้าหรือบริการเพิ่มเติม..
อ้างอิง:
-https://blog.hubspot.com/sales/cross-selling
-https://www.brandbuffet.in.th/2022/09/after-you-expands-multi-brand-stores/
-https://positioningmag.com/1325415
-https://blog.hubspot.com/sales/cross-selling
-https://www.brandbuffet.in.th/2022/09/after-you-expands-multi-brand-stores/
-https://positioningmag.com/1325415