เราจะรู้ได้อย่างไร.. ว่าใช้งบการตลาดแค่ไหน ถึงเรียกว่าคุ้มค่า
13 ก.ค. 2022
อย่างที่เรารู้กันว่าปัจจุบัน พฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นมีแนวโน้มที่จะมีความจงรักภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) น้อยลงเรื่อย ๆ
เอาเฉพาะแค่ในประเทศไทย มีผลสำรวจระบุว่า 46% ของผู้บริโภคชาวไทยมีความเต็มใจที่จะทดลองใช้สินค้าและบริการจากแบรนด์อื่น ๆ นอกเหนือจากแบรนด์ที่ตัวเองเคยใช้อยู่เป็นประจำ..
ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงโอกาสและความท้าทายต่าง ๆ มากมาย
ในแง่ของธุรกิจขนาดเล็กที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจ ก็จะมีโอกาสแย่งชิงฐานลูกค้าจากผู้เล่นที่มาก่อนหรือรายใหญ่ ได้มากขึ้น
ส่วนในธุรกิจรายใหญ่ที่มีฐานลูกค้าเยอะอยู่แล้ว ก็ต้องเจอกับความท้าทายในการรักษาฐานลูกค้าของตัวเองไว้ รวมไปถึงยังต้องพยายามสร้างฐานลูกค้าใหม่ ๆ ให้เพิ่มขึ้นมาอีก..
ซึ่งการหา “ฐานลูกค้าใหม่” หรือดึงให้ “ฐานลูกค้าเก่า” กลับมาซื้อซ้ำนั้น ตัวเลือกแรก ๆ ที่หลายคนนึกถึงคงจะเป็น “การทำโปรโมชัน” หรือทุ่มงบของกิจการไปที่ด้านการทำการตลาด เช่น “การยิงแอด” บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เพื่อสร้างการรับรู้ และสร้างฐานลูกค้าให้ได้เยอะ ๆ
อย่างไรก็ตาม การทุ่มงบประมาณไปกับโปรโมชันหรืองบการตลาดต่าง ๆ ก็ต้องดูให้ดีว่าสิ่งที่ได้กลับมานั้นคุ้มค่าหรือไม่
คำถามต่อมาก็คือ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า เราควรทุ่มงบประมาณไปกับการตลาดของแบรนด์แค่ไหน ?
เรื่องนี้ต้องคำนวณจากสิ่งที่เรียกว่า CAC (Customer Acquisition Cost)
หมายถึง ต้นทุนเฉลี่ยในการหาหรือได้มาซึ่งลูกค้าใหม่ต่อคน โดยไม่รวมกับลูกค้าเก่า
หมายถึง ต้นทุนเฉลี่ยในการหาหรือได้มาซึ่งลูกค้าใหม่ต่อคน โดยไม่รวมกับลูกค้าเก่า
ยกตัวอย่างง่าย ๆ คือ สมมติแบรนด์ A มีฐานลูกค้าอยู่ที่ 100,000 คน
วันหนึ่งแบรนด์ A อยากได้ลูกค้าเพิ่ม เลยทุ่มงบ 1,000,000 บาทในการทำโปรโมชัน
ผลที่ได้คือ มีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น 2,000 คน
ผลที่ได้คือ มีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น 2,000 คน
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าแบรนด์ A มี CAC อยู่ที่ 1,000,000 / 2,000 = 500 บาทต่อคน
คำถามต่อมาคือ จะรู้ได้อย่างไรว่า CAC ที่ 500 บาทต่อคนนั้น คุ้มค่ากับการทำโปรโมชันหรือเปล่า..
เราจึงต้องมาดูที่ตัวชี้วัดอีกอัน คือ CLV (Customer Lifetime Value)
หมายถึง มูลค่าที่ลูกค้าแต่ละคน สร้างให้กับแบรนด์ ในตลอดช่วงเวลาที่พวกเขาเป็นลูกค้าอยู่
ซึ่งวิธีการคิดก็คือ การเฉลี่ย “รายได้” จากลูกค้าแต่ละคน ที่สร้างให้กับแบรนด์
หมายถึง มูลค่าที่ลูกค้าแต่ละคน สร้างให้กับแบรนด์ ในตลอดช่วงเวลาที่พวกเขาเป็นลูกค้าอยู่
ซึ่งวิธีการคิดก็คือ การเฉลี่ย “รายได้” จากลูกค้าแต่ละคน ที่สร้างให้กับแบรนด์
ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์ A มีการเก็บข้อมูลต่อเนื่องตลอดปี แล้วพบว่าลูกค้าของพวกเขา เฉลี่ยแล้วจะมีโอกาสซื้อหรือบริโภคสินค้าของแบรนด์อยู่ที่ 1,000 บาทต่อคนต่อปี
ซึ่งเฉลี่ยแล้ว แต่ละคน ก็จะเป็นลูกค้าของแบรนด์ประมาณ 3 ปี
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า CLV ของแบรนด์ A คือ 1,000 * 3 = 3,000 บาทนั่นเอง
ซึ่งเฉลี่ยแล้ว แต่ละคน ก็จะเป็นลูกค้าของแบรนด์ประมาณ 3 ปี
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า CLV ของแบรนด์ A คือ 1,000 * 3 = 3,000 บาทนั่นเอง
พอเราได้ตัวแปรสองอย่างนี้มาแล้ว เราจะสามารถคำนวณได้ว่า โปรโมชันที่เราทำเพื่อเรียกลูกค้า มันคุ้มค่าหรือไม่
ด้วยการนำ CAC (ต้นทุนในการหาลูกค้าใหม่ 1 คน) มาเทียบกับ CLV (มูลค่าที่ลูกค้าแต่ละคน สร้างให้กับแบรนด์)
ซึ่งในกรณีดังกล่าว จะเห็นได้ว่า CAC/CLV ของแบรนด์ A จะเท่ากับ 500 : 3,000 หรือ 1 : 6
โดยส่วนใหญ่อัตราส่วนที่ดีของค่า CAC/CLV นั้น ควรมากกว่า 1 : 3 และมีตัวเลขในอุดมคติอยู่ที่ 1 : 5 นั่นเอง..
โดยส่วนใหญ่อัตราส่วนที่ดีของค่า CAC/CLV นั้น ควรมากกว่า 1 : 3 และมีตัวเลขในอุดมคติอยู่ที่ 1 : 5 นั่นเอง..
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การตลาดที่ใช้งบได้อย่างคุ้มค่านั้น ก็คือการลด CAC ให้เหลือน้อยที่สุด และเพิ่ม CLV ให้ได้มากที่สุด..
เรามาดูตัวอย่างของแบรนด์ที่บริหาร CAC และ CLV ได้ดีมาก ๆ แบรนด์หนึ่ง นั่นก็คือ “Starbucks”
ที่ทางแบรนด์ได้ใช้งบทางการตลาดมาจัดโปรโมชัน ซื้อ 1 แถม 1
ซึ่งเป็นโปรโมชันที่มีจุดเด่น สามารถเข้าถึงลูกค้ารายใหม่ได้เยอะ
ที่ทางแบรนด์ได้ใช้งบทางการตลาดมาจัดโปรโมชัน ซื้อ 1 แถม 1
ซึ่งเป็นโปรโมชันที่มีจุดเด่น สามารถเข้าถึงลูกค้ารายใหม่ได้เยอะ
อย่างไรก็ตาม ลูกค้าที่ได้มาจากการจัดโปรโมชัน ซื้อ 1 แถม 1 นั้น มักเป็นลูกค้าที่มี CLV ต่ำ เนื่องจากลูกค้ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าขาจร และมักรอซื้อสินค้าเฉพาะช่วงโปรโมชันเท่านั้น..
ดังนั้น Starbucks จึงได้มีการออกโปรแกรม “Rewards Program” ซึ่งเป็นกลยุทธ์ CRM ของแบรนด์ที่เปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถสะสมมูลค่าการใช้จ่าย แล้วเปลี่ยนเป็นสิทธิพิเศษต่าง ๆ
และมีโอกาสที่จะเปลี่ยนลูกค้าขาจร ให้เป็นขาประจำได้..
และมีโอกาสที่จะเปลี่ยนลูกค้าขาจร ให้เป็นขาประจำได้..
ซึ่งมันก็ได้ผล เพราะมีการสำรวจแล้วพบว่า กลุ่มลูกค้าที่เป็นสมาชิกของ Rewards Program ของ Starbucks นั้น มีแนวโน้มที่จะสร้างมูลค่าให้กับแบรนด์ (CLV) สูงกว่าจริง ๆ
เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า แม้บางครั้งแบรนด์อาจจะใช้งบการตลาดสูง แล้วได้ฐานลูกค้าจำนวนมากกลับมา
แต่หากลูกค้าที่ได้กลับมานั้นมี CLV ต่ำ
การลงทุนด้านการตลาดนั้น ก็อาจไม่คุ้มค่าเสมอไป
แต่หากลูกค้าที่ได้กลับมานั้นมี CLV ต่ำ
การลงทุนด้านการตลาดนั้น ก็อาจไม่คุ้มค่าเสมอไป
ในขณะเดียวกัน หากแบรนด์รู้จักใช้งบการตลาดในทางที่ชาญฉลาด
มีการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ดี รวมไปถึงสามารถส่งมอบประสบการณ์ดี ๆ ให้กับลูกค้าได้
ก็มีโอกาสสูงที่ลูกค้าเหล่านั้น จะมีค่า CLV เพิ่มขึ้นในอนาคตได้..
มีการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ดี รวมไปถึงสามารถส่งมอบประสบการณ์ดี ๆ ให้กับลูกค้าได้
ก็มีโอกาสสูงที่ลูกค้าเหล่านั้น จะมีค่า CLV เพิ่มขึ้นในอนาคตได้..
สุดท้ายนี้ เรื่องนี้ไม่ได้นำไปประยุกต์ใช้ได้กับแค่ร้านกาแฟเท่านั้น
เพราะตั้งแต่การจ้างดาราชื่อดังมาเป็นพรีเซนเตอร์ ของคลินิกเสริมความงาม, การยิงแอด ของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ, การซื้อบิลบอร์ดโฆษณา ของผู้ผลิตรถยนต์ ฯลฯ
ก็ล้วนเป็นการลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งลูกค้ารายใหม่ทั้งสิ้น
ก็ล้วนเป็นการลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งลูกค้ารายใหม่ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ เจ้าของแบรนด์ควรเลือกกลุ่มเป้าหมายที่จะสื่อสารให้ดี เพื่อควบคุมงบ (CAC) ให้ได้มากที่สุด รวมไปถึงการพยายามสร้างมูลค่าจากลูกค้า (CLV) ที่ได้มา ให้มากที่สุด
และนั่นแหละคือคำตอบของคำถามที่ว่า
“เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าใช้งบการตลาดแค่ไหน ถึงเรียกว่าคุ้มค่า”
“เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าใช้งบการตลาดแค่ไหน ถึงเรียกว่าคุ้มค่า”
อ้างอิง:
-https://retina.ai/blog/ufaqs/what-should-your-clv-to-cac-ratio-be/
-https://katalyst.kasikornbank.com/th/blog/Pages/3-startups-obstacles-and-solutions.html
-https://www.wynnsoft/-solution.com/
-https://adage.com/article/cmo-strategy/starbucks-adds-extra-shot-afternoon-marketing-push/313290
-https://retina.ai/blog/ufaqs/what-should-your-clv-to-cac-ratio-be/
-https://katalyst.kasikornbank.com/th/blog/Pages/3-startups-obstacles-and-solutions.html
-https://www.wynnsoft/-solution.com/
-https://adage.com/article/cmo-strategy/starbucks-adds-extra-shot-afternoon-marketing-push/313290
Tag:งบการตลาด