ตั้งราคาสินค้าอย่างไร ให้ดู “แพง” แต่คนยังอยากซื้อ
18 มิ.ย. 2022
กลยุทธ์การตั้งสินค้าราคาถูก, ตั้งราคาสินค้าให้ลงท้ายด้วยเลข 9
โปรโมชันลดราคา, ซื้อ 1 แถม 1 หรือซื้อชิ้นที่สองในราคา 1 บาท
โปรโมชันลดราคา, ซื้อ 1 แถม 1 หรือซื้อชิ้นที่สองในราคา 1 บาท
ทั้งหมดนี้เป็นกลยุทธ์ที่สามารถดึงดูดผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี
เพราะเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าสินค้าเหล่านี้มีราคาถูก คุ้มค่าคุ้มราคา และเป็นฝ่ายได้รับประโยชน์
เพราะเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าสินค้าเหล่านี้มีราคาถูก คุ้มค่าคุ้มราคา และเป็นฝ่ายได้รับประโยชน์
อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ว่าทุกแบรนด์จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ดึงดูดลูกค้า ด้วยสินค้าราคาถูกเสมอไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แบรนด์หรือธุรกิจเล็ก ๆ ที่ไม่ได้มีทุนหนา ไม่ได้มีโรงงานขนาดใหญ่พอที่จะแข่งขัน เพื่อทำสงครามราคากับบริษัทยักษ์ใหญ่ได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แบรนด์หรือธุรกิจเล็ก ๆ ที่ไม่ได้มีทุนหนา ไม่ได้มีโรงงานขนาดใหญ่พอที่จะแข่งขัน เพื่อทำสงครามราคากับบริษัทยักษ์ใหญ่ได้
ซึ่งคำถามต่อมาก็คือ แล้วถ้าไม่ตั้งสินค้าราคาถูก หรือ ลด-แลก-แจก-แถม
เราจะสามารถตั้งราคาสินค้าอย่างไรได้บ้าง ?
เราจะสามารถตั้งราคาสินค้าอย่างไรได้บ้าง ?
จริง ๆ แล้ว การตั้งราคาสินค้าก็มีหลากหลายวิธี เช่น
- ตั้งราคาสินค้าจากต้นทุน คือ การคำนวณต้นทุนทั้งหมด แล้วค่อยคิดว่าอยากบวกกำไรเพิ่มอีกเท่าไร
- ตั้งราคาสินค้าจากตลาด คือ ทำการสำรวจว่าสินค้าในท้องตลาด ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสินค้าของเรา มีราคาเท่าไร แล้วนำมาตั้งตาม โดยอาจจะมีการปรับราคาขึ้นหรือลดลงเล็กน้อย
- ตั้งราคาสินค้าจากต้นทุน คือ การคำนวณต้นทุนทั้งหมด แล้วค่อยคิดว่าอยากบวกกำไรเพิ่มอีกเท่าไร
- ตั้งราคาสินค้าจากตลาด คือ ทำการสำรวจว่าสินค้าในท้องตลาด ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสินค้าของเรา มีราคาเท่าไร แล้วนำมาตั้งตาม โดยอาจจะมีการปรับราคาขึ้นหรือลดลงเล็กน้อย
แต่รู้หรือไม่ว่า เราสามารถตั้งราคาสินค้าให้แพงได้ด้วยเช่นกัน โดยไม่จำเป็นต้องยึดแนวทางข้างต้น
โดยกลยุทธ์การตั้งสินค้าราคาแพงก็มีอยู่หลายทฤษฎี ยกตัวอย่างเช่น
โดยกลยุทธ์การตั้งสินค้าราคาแพงก็มีอยู่หลายทฤษฎี ยกตัวอย่างเช่น
- กลยุทธ์การตั้งราคาแบบพรีเมียม (Premium Pricing)
การตั้งราคาผลิตภัณฑ์หรือบริการให้สูงกว่าคู่แข่ง โดยมีจุดมุ่งหมายคือ เพื่อสร้างการรับรู้ว่า ผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้น ๆ มีคุณภาพ มีความหรูหรา และมีความแตกต่างกว่าแบรนด์อื่น ๆ
นั่นก็คือ การเน้นไปที่ความพรีเมียมของผลิตภัณฑ์และบริการ
มากกว่าการเน้นไปที่ประโยชน์ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ หรือต้นทุนในการผลิต
มากกว่าการเน้นไปที่ประโยชน์ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ หรือต้นทุนในการผลิต
ข้อดีของกลยุทธ์นี้ก็คือ ช่วยสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ว่า เป็นแบรนด์หรู หรือเน้นขายสินค้าที่มีคุณภาพ
ซึ่งอาจช่วยสร้างความรู้สึกภาคภูมิใจให้กลุ่มลูกค้า ที่ได้ใช้สินค้าและบริการ และทำให้มีความภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) จนแบรนด์อื่น ๆ ยากที่จะเข้ามาเป็นคู่แข่ง
นอกจากนี้ ยังช่วยให้แบรนด์มีความสามารถในการทำกำไรได้มากขึ้นด้วย
ซึ่งอาจช่วยสร้างความรู้สึกภาคภูมิใจให้กลุ่มลูกค้า ที่ได้ใช้สินค้าและบริการ และทำให้มีความภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) จนแบรนด์อื่น ๆ ยากที่จะเข้ามาเป็นคู่แข่ง
นอกจากนี้ ยังช่วยให้แบรนด์มีความสามารถในการทำกำไรได้มากขึ้นด้วย
ยกตัวอย่างเช่น Apple ที่ขาย iPhone และ iPad ในราคาสูงกว่าคู่แข่ง
ซึ่งทำให้ลูกค้าเชื่อว่า สินค้าที่ได้รับ เป็นสินค้าที่มีคุณภาพมากกว่าแบรนด์อื่น ๆ
ซึ่งทำให้ลูกค้าเชื่อว่า สินค้าที่ได้รับ เป็นสินค้าที่มีคุณภาพมากกว่าแบรนด์อื่น ๆ
แต่ข้อควรระวังในการใช้กลยุทธ์นี้ ทางแบรนด์ต้องมั่นใจว่า สินค้าและบริการที่มอบให้ลูกค้า มีคุณภาพหรือคุณค่าสำหรับลูกค้าจริง ๆ
ไม่เช่นนั้น สุดท้ายแล้วลูกค้าก็จะมองว่า เป็นราคาที่ไม่สมเหตุสมผล และหันไปซื้อแบรนด์อื่นแทน
ไม่เช่นนั้น สุดท้ายแล้วลูกค้าก็จะมองว่า เป็นราคาที่ไม่สมเหตุสมผล และหันไปซื้อแบรนด์อื่นแทน
- กลยุทธ์การตั้งราคาลงท้ายด้วยเลขคู่ (Even Pricing)
กลยุทธ์นี้เป็นกลยุทธ์ที่เล่นกับจิตวิทยาคือ การตั้งราคาสินค้าให้ลงท้ายด้วยเลขคู่ อย่างเลข 0 หรือตั้งราคาเต็มจำนวน เช่น
ตั้งราคา 280 บาท แทนการตั้งราคา 279 บาท
ตั้งราคา 30,000 บาท แทนการตั้งราคา 29,999 บาท
ตั้งราคา 30,000 บาท แทนการตั้งราคา 29,999 บาท
กลยุทธ์การตั้งราคาแบบนี้ จะทำให้สินค้าดูมีค่า และมีราคา จึงเป็นกลยุทธ์ที่นิยมใช้กับแบรนด์หรูในทุก ๆ อุตสาหกรรม
ในทางตรงกันข้ามคือ กลยุทธ์การตั้งราคาลงท้ายด้วยเลขคี่ (Odd Pricing) ที่นิยมก็คือ การตั้งราคาลงท้ายด้วยเลข 9
จะทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าสินค้ามีราคาถูกลง เช่น สินค้าราคา 49 บาท จะรู้สึกว่าถูกกว่า 50 บาท
จะทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าสินค้ามีราคาถูกลง เช่น สินค้าราคา 49 บาท จะรู้สึกว่าถูกกว่า 50 บาท
ซึ่งทั้ง 2 กลยุทธ์นี้ สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎี Left-Digit Effect ที่บอกว่า
คนเรามักจะอ่านและตีความข้อมูลจากซ้ายไปขวา
เมื่อเราเห็นว่า เลข 3 มีค่ามากกว่าเลข 2 จึงรู้สึกว่า 30,000 บาท แพงกว่า 29,999 บาท
แม้จะต่างกันเพียง 1 บาทก็ตาม
คนเรามักจะอ่านและตีความข้อมูลจากซ้ายไปขวา
เมื่อเราเห็นว่า เลข 3 มีค่ามากกว่าเลข 2 จึงรู้สึกว่า 30,000 บาท แพงกว่า 29,999 บาท
แม้จะต่างกันเพียง 1 บาทก็ตาม
คำถามสำคัญต่อมาก็คือ ในเมื่อสินค้ามีราคาแพงแล้ว ทำไมลูกค้ายังอยากซื้อ
ไม่ใช่ว่าการตั้งสินค้าราคาแพง จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อยากขึ้นหรอกเหรอ ?
ไม่ใช่ว่าการตั้งสินค้าราคาแพง จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อยากขึ้นหรอกเหรอ ?
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ลูกค้าหรือผู้บริโภค มีอยู่ 4 ประเภท
1. ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้า เพราะราคาถูก
2. ผู้บริโภคที่ยอมซื้อสินค้าราคาแพง เพราะต้องการความเชื่อมั่น เช่น เป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ใช้งานได้นาน
3. ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้า เพราะประสบการณ์ เช่น เลือกทานโอมากาเสะ หรือร้านที่ได้ Michelin Star
4. ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้า ที่แสดงความเป็นตัวของตัวเอง
2. ผู้บริโภคที่ยอมซื้อสินค้าราคาแพง เพราะต้องการความเชื่อมั่น เช่น เป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ใช้งานได้นาน
3. ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้า เพราะประสบการณ์ เช่น เลือกทานโอมากาเสะ หรือร้านที่ได้ Michelin Star
4. ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้า ที่แสดงความเป็นตัวของตัวเอง
เพราะฉะนั้น เราจะเห็นว่า มีผู้บริโภคถึง 3 ประเภท คือผู้บริโภคประเภทที่ 2, 3 และ 4
ที่อาจจะ “ยอมจ่ายแพง” เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ
หรือพูดง่าย ๆ ว่า ยอมจ่ายแพง แลกกับคุณค่าของผลิตภัณฑ์และบริการ
ที่อาจจะ “ยอมจ่ายแพง” เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ
หรือพูดง่าย ๆ ว่า ยอมจ่ายแพง แลกกับคุณค่าของผลิตภัณฑ์และบริการ
ซึ่งคุณค่าที่ว่านี้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
- คุณค่าสามัญ เช่น เป็นสินค้า Handmade, เป็นสินค้าที่มีน้อย หายาก หรือต้องใช้เวลาในการทำนาน, มีผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้สร้างสรรค์, มีประวัติยาวนาน, เป็นสิ่งที่ชนชั้นสูง บุคคลในประวัติศาสตร์ หรือคนที่มีชื่อเสียงใส่, ต้องแสวงหาด้วยความยากลำบาก, มีความลับอยู่เบื้องหลังการพัฒนา หรือเป็นสิ่งที่ไม่มีอะไรมาทดแทนได้
- คุณค่าเฉพาะตัว ก็คือ เป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการส่วนตัวของผู้บริโภคได้
แน่นอนว่า ผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้น สามารถมีคุณค่าสามัญหลาย ๆ ข้อได้
หรืออาจจะมีทั้งคุณค่าสามัญ และคุณค่าเฉพาะตัวก็ได้
หรืออาจจะมีทั้งคุณค่าสามัญ และคุณค่าเฉพาะตัวก็ได้
ซึ่งเมื่อผลิตภัณฑ์มีคุณค่า แล้วแบรนด์ได้ทำการบอกเล่าเรื่องราวของคุณค่านั้น ๆ ออกไปให้ผู้บริโภครับรู้ได้สำเร็จ
แบรนด์ก็จะสามารถตั้งราคาผลิตภัณฑ์และบริการ ให้สูงกว่าราคาตลาดได้ โดยที่ผู้บริโภคเต็มใจยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อมาครอบครอง
แบรนด์ก็จะสามารถตั้งราคาผลิตภัณฑ์และบริการ ให้สูงกว่าราคาตลาดได้ โดยที่ผู้บริโภคเต็มใจยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อมาครอบครอง
สุดท้ายนี้ ไม่ใช่ว่าบริษัทใหญ่ ๆ ที่มีทุนหนาเท่านั้น ที่จะสามารถสร้างคุณค่าเหล่านี้ได้
แต่แบรนด์ทั่ว ๆ ไป ก็สามารถสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการของตัวเองได้เช่นกัน
หรือบางที แบรนด์เหล่านี้อาจจะมีคุณค่าอยู่แล้ว เพียงแต่ถูกซ่อนอยู่ หรือถูกมองข้ามไปเท่านั้นเอง..
แต่แบรนด์ทั่ว ๆ ไป ก็สามารถสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการของตัวเองได้เช่นกัน
หรือบางที แบรนด์เหล่านี้อาจจะมีคุณค่าอยู่แล้ว เพียงแต่ถูกซ่อนอยู่ หรือถูกมองข้ามไปเท่านั้นเอง..
อ้างอิง:
-หนังสือ ขายดีเพราะขึ้นราคา เขียนโดย อิชิฮาระ อากิระ
-https://www.investerest.co/business/how-to-set-product-prices/
-https://www.economicshelp.org/blog/glossary/premium-pricing
-หนังสือ ขายดีเพราะขึ้นราคา เขียนโดย อิชิฮาระ อากิระ
-https://www.investerest.co/business/how-to-set-product-prices/
-https://www.economicshelp.org/blog/glossary/premium-pricing