ประเมินวิกฤติยูเครน จับตามาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย กระทบส่งออกและการฟื้นตัวของไทย
28 ก.พ. 2022
นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า
ผลกระทบกับภาคการส่งออกของประเทศไทย จากสถานการณ์กองทัพรัสเซียเข้าโจมตียูเครน ขึ้นอยู่กับการขยายวงความรุนแรง และมาตรการตอบโต้โดยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ (Economic Sanctions) จากนานาประเทศ
ผลกระทบกับภาคการส่งออกของประเทศไทย จากสถานการณ์กองทัพรัสเซียเข้าโจมตียูเครน ขึ้นอยู่กับการขยายวงความรุนแรง และมาตรการตอบโต้โดยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ (Economic Sanctions) จากนานาประเทศ
สำหรับผลกระทบต่อประเทศไทยในขณะนี้คือ ราคาน้ำมัน
ยิ่งสถานการณ์มีความตึงเครียด ยิ่งส่งผลต่อต้นทุนพลังงาน ต้นทุนธุรกิจ ราคาสินค้าและอัตราเงินเฟ้อ
ซึ่งเป็นด้านที่กระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากที่สุด
ยิ่งสถานการณ์มีความตึงเครียด ยิ่งส่งผลต่อต้นทุนพลังงาน ต้นทุนธุรกิจ ราคาสินค้าและอัตราเงินเฟ้อ
ซึ่งเป็นด้านที่กระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากที่สุด
ขณะที่ตลาดเงินตลาดทุนของไทยมีความผันผวนสูงขึ้น
ทำให้นักลงทุนอาจย้ายไปสู่สินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูง
ทำให้นักลงทุนอาจย้ายไปสู่สินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูง
สำหรับลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ของธนาคารกสิกรไทย ที่มีการค้าขายกับคู่ค้าในรัสเซียและยูเครน
ส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับการเกษตร อุปกรณ์ก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์
ส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับการเกษตร อุปกรณ์ก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์
อย่างไรก็ตามมูลค่าการค้าขายกับคู่ค้าในรัสเซียและยูเครน มีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับมูลค่าการค้าต่างประเทศทั้งหมด
โดยธนาคารได้ติดตามสถานการณ์ระหว่างยูเครนและรัสเซียอย่างใกล้ชิด รวมถึงให้คำแนะนำกับลูกค้าให้ระมัดระวังเรื่องการทำธุรกรรมการค้าต่างประเทศกับทั้ง 2 ประเทศในช่วงนี้ เนื่องจากสถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอน
กรณีมีการนำเข้า-ส่งออก หรือธุรกรรมโอนเงินกับทั้ง 2 ประเทศ อาจมีความเสี่ยงได้รับเงินล่าช้า ทั้งกรณีคู่ค้าที่อยู่ในประเทศไทย รัสเซีย ยูเครน
สิ่งที่ต้องติดตามคือ สถานการณ์ดังกล่าวจะยกระดับความรุนแรงมากยิ่งขึ้นหรือไม่ รวมถึงประเด็นสำคัญคือ มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ (Economic Sanctions) จากประเทศต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้กับรัสเซีย
ซึ่งจะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจและตลาดเงินของรัสเซีย และส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานในยุโรป
ซึ่งจะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจและตลาดเงินของรัสเซีย และส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานในยุโรป
รวมถึงสถาบันการเงินและภาคธุรกิจของยุโรปที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจในรัสเซีย ซึ่งอาจทำให้การค้าระหว่างไทย-รัสเซีย-ยูเครน มีอุปสรรคในการทำธุรกรรมทางการเงิน
ทั้งการหาธนาคารรับรอง การเปิดบัญชีธุรกิจข้ามชาติ (แอล/ซี) การชำระเงิน การโอนเงินต่าง ๆ เป็นต้น
ทั้งการหาธนาคารรับรอง การเปิดบัญชีธุรกิจข้ามชาติ (แอล/ซี) การชำระเงิน การโอนเงินต่าง ๆ เป็นต้น
และหากสถานการณ์พลิกผันไปสู่สงครามที่ขยายวงกว้าง เศรษฐกิจโลกอาจจะเข้าสู่ภาวะหดตัว และเกิดภาวะเงินเฟ้อในระดับสูงจากราคาพลังงานที่พุ่ง (Stagflation)
แต่เชื่อว่าหลายฝ่ายมีความพยายามที่จะเจรจาให้มีข้อยุติโดยเร็ว
ทั้งนี้ ในปี 2564 ไทยส่งออกไปรัสเซียมีมูลค่าประมาณ 1,028 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 33,690 ล้านบาท)
เติบโตสูงถึง 42% โดยการส่งออกไปรัสเซียคิดเป็นสัดส่วนราว 0.4% ของมูลค่าการส่งออกไทยไปตลาดโลก
เติบโตสูงถึง 42% โดยการส่งออกไปรัสเซียคิดเป็นสัดส่วนราว 0.4% ของมูลค่าการส่งออกไทยไปตลาดโลก
ขณะที่สินค้าส่งออกหลักของไทยไปตลาดรัสเซีย ได้แก่
1)รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 10,520 ล้านบาท
2)ผลิตภัณฑ์ยาง 3,507 ล้านบาท
3)เครื่องจักรและส่วนประกอบ 1,770 ล้านบาท
4)ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 1,508 ล้านบาท
5)เม็ดพลาสติก 1,409 ล้านบาท
6)เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 1,409 ล้านบาท
7)อากาศยาน ยานอวกาศและส่วนประกอบ 1,376 ล้านบาท
8)ยางพารา 1,081 ล้านบาท
2)ผลิตภัณฑ์ยาง 3,507 ล้านบาท
3)เครื่องจักรและส่วนประกอบ 1,770 ล้านบาท
4)ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 1,508 ล้านบาท
5)เม็ดพลาสติก 1,409 ล้านบาท
6)เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 1,409 ล้านบาท
7)อากาศยาน ยานอวกาศและส่วนประกอบ 1,376 ล้านบาท
8)ยางพารา 1,081 ล้านบาท
ซึ่งสินค้าเหล่านี้หลายรายการเป็นการส่งออกภายใต้สิทธิ GSP ที่ไทยได้รับจากกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช หรือ CIS (Commonwealth of Independent States มีสมาชิก 12 ประเทศ รวมรัสเซีย)
ส่วนยูเครนนั้น ในปี 2564 ไทยส่งออกไปเป็นมูลค่าประมาณ 135 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 4,424 ล้านบาท)
เติบโตสูง 35.7% เช่นกัน แต่สัดส่วนยังน้อยอยู่มาก
เติบโตสูง 35.7% เช่นกัน แต่สัดส่วนยังน้อยอยู่มาก
โดยสินค้าส่งออกหลัก ได้แก่
1)รถยนต์และชิ้นส่วน 1,081 ล้านบาท
2)ผลิตภัณฑ์ยาง 708 ล้านบาท
3)ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 567 ล้านบาท
4)อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 295 ล้านบาท
5)เม็ดพลาสติก 275 ล้านบาท
6)เครื่องจักรและส่วนประกอบ 184 ล้านบาท
7)ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ 177 ล้านบาท
8)ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ 144 ล้านบาท
2)ผลิตภัณฑ์ยาง 708 ล้านบาท
3)ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 567 ล้านบาท
4)อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 295 ล้านบาท
5)เม็ดพลาสติก 275 ล้านบาท
6)เครื่องจักรและส่วนประกอบ 184 ล้านบาท
7)ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ 177 ล้านบาท
8)ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ 144 ล้านบาท