กระทรวงพลังงาน ตั้งเป้า ต้องมีสถานีชาร์จรถไฟฟ้า เพิ่มอีก 567 แห่ง ภายในปี 2030
21 ก.พ. 2022
หลังจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า โดยมีเงินอุดหนุน คันละ 70,000 - 150,000 บาทต่อคัน รวมถึงลดภาษีสรรพสามิตรและภาษีนำเข้าด้วย
ล่าสุด สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ได้จัดสัมมนาโครงการจัดทำแผนการพัฒนาสถานีประจุแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อรองรับเป้าหมายการส่งเสริมยานยนต์ของประเทศ และให้สอดคล้องกับนโยบาย 30@30 ของคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้า
ซึ่งหนึ่งในนโยบายนี้ กำหนดให้ภายในปี 2030 หรือในอีก 8 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะต้องมี
-สถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าสาธารณะแบบ Fast Charge จำนวน 12,000 หัวจ่าย
-สถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่สำหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า จำนวน 1,450 สถานี
-สถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าสาธารณะแบบ Fast Charge จำนวน 12,000 หัวจ่าย
-สถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่สำหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า จำนวน 1,450 สถานี
ทั้งนี้ สถานีอัดประจุสาธารณะต้องเข้าถึงง่าย ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความต้องการใช้สูง และต้องมีต้นทุนที่เหมาะสม เช่น ที่ดิน และค่าไฟฟ้า รวมถึงต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ
ซึ่งในงานสัมมนาครั้งนี้ สนพ. ได้ข้อสรุปเรื่องตำแหน่งที่ตั้ง และจำนวนเครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าแบบ Fast Charge ที่เหมาะสมสำหรับแผนพัฒนาสถานีอัดประจุสาธารณะภายในปี 2030 พบว่า
-ควรมีสถานีชาร์จไฟฟ้า อีกจำนวน 567 แห่ง จากเดิมมีอยู่แล้ว 827 แห่ง รวมเป็น 1,304 แห่ง
-ควรมีเครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้ารวมจำนวน 13,251 เครื่อง
-ควรมีสถานีชาร์จไฟฟ้า อีกจำนวน 567 แห่ง จากเดิมมีอยู่แล้ว 827 แห่ง รวมเป็น 1,304 แห่ง
-ควรมีเครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้ารวมจำนวน 13,251 เครื่อง
โดยแบ่งเป็น
-สถานีอัดประจุสาธารณะ ในเขตพื้นที่หัวเมืองใหญ่ จำนวน 505 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพฯ นนททบุรี สมุทรปราการ 20 แห่ง, ภาคเหนือ 158 แห่ง, ภาคใต้ 104 แห่ง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 147 แห่ง และภาคกลาง 76 แห่ง ซึ่งจะต้องมีเครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า เพิ่มอีกทั้งหมดจำนวน 8,227 เครื่อง
-สถานีอัดประจุสาธารณะ ในเขตพื้นที่หัวเมืองใหญ่ จำนวน 505 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพฯ นนททบุรี สมุทรปราการ 20 แห่ง, ภาคเหนือ 158 แห่ง, ภาคใต้ 104 แห่ง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 147 แห่ง และภาคกลาง 76 แห่ง ซึ่งจะต้องมีเครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า เพิ่มอีกทั้งหมดจำนวน 8,227 เครื่อง
-สถานีอัดประจุสาธารณะเขตพื้นที่ทางหลวง จำนวน 62 แห่ง โดยมีต้องเครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า เพิ่มอีกจำนวน 5,024 เครื่อง
ส่วนในเรื่องของต้นทุนนั้น เนื่องด้วยธุรกิจบริการสถานีอัดประจุนั้น ต้องใช้ต้นทุนสูง ทั้งค่าที่ดิน ค่าปรับปรุงที่ดิน ค่าติดตั้งเครื่องอัดประจุ และค่าดำเนินการคือ ค่าไฟฟ้า
ดังนั้น เพื่อให้ธุรกิจสถานีอัดประจุไฟฟ้า มีต้นทุนที่เหมาะสมและเป็นธุรกิจที่น่าลงทุน
จึงมีการเสนอแนวทางในการสนับสนุนในช่วง 2 ปีแรก คือ การอุดหนุนค่าเครื่องอัดประจุ
จึงมีการเสนอแนวทางในการสนับสนุนในช่วง 2 ปีแรก คือ การอุดหนุนค่าเครื่องอัดประจุ
นอกจากนี้ อาจจะมีการขยายระยะเวลาของการปรับใช้อัตราค่าไฟฟ้าแบบ Low Priority
มีการจัดสรรพื้นที่สำหรับการสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้า และมีการกำหนดจำนวน หรือขนาดพื้นที่จอดรถ เพื่อรองรับการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับอาคารประเภทต่าง ๆ เป็นต้น
มีการจัดสรรพื้นที่สำหรับการสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้า และมีการกำหนดจำนวน หรือขนาดพื้นที่จอดรถ เพื่อรองรับการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับอาคารประเภทต่าง ๆ เป็นต้น
ซึ่งหลังจากนี้ ทาง สนพ. จะนำผลดังกล่าวนี้ เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำแผนการพัฒนาสถานีประจุแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศต่อไป
อ้างอิง :
-สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
-สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน