คาด GDP ไทยปีนี้ โตเหลือ 0.5% แนะควรเร่งจัดหาวัคซีน mRNA ที่มีหลักฐานสนับสนุนป้องกันสายพันธุ์เดลต้า ให้เร็วที่สุด - KKP Research
22 ก.ค. 2021
KKP Research โดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าการระบาดระลอกใหม่ของโควิด 19
อาจมีแนวโน้มยืดเยื้อกว่าที่หลายฝ่ายประเมิน การระบาดของโควิด 19 ในรอบนี้ อาจจะไม่สามารถจบได้เร็วแบบเดียวกับปีก่อน
อาจมีแนวโน้มยืดเยื้อกว่าที่หลายฝ่ายประเมิน การระบาดของโควิด 19 ในรอบนี้ อาจจะไม่สามารถจบได้เร็วแบบเดียวกับปีก่อน
ทั้งจากไวรัสที่ระบาดเป็นสายพันธุ์ใหม่ คือ สายพันธุ์เดลต้า ที่มีความสามารถในการระบาดสูงกว่าเดิมมาก
ประกอบกับมาตรการล็อกดาวน์ที่เริ่มต้นช้า, นโยบายจำนวนการตรวจโรคที่เป็นข้อจำกัด ที่อาจทำให้เราประเมินสถานการณ์ต่ำกว่าความจริง
ประกอบกับมาตรการล็อกดาวน์ที่เริ่มต้นช้า, นโยบายจำนวนการตรวจโรคที่เป็นข้อจำกัด ที่อาจทำให้เราประเมินสถานการณ์ต่ำกว่าความจริง
และสัดส่วนของคนที่มีภูมิคุ้มมีน้อยมาก จากอัตราการฉีดวัคซีนที่ทำได้ช้า และวัคซีนมีประสิทธิผลในการป้องกันต่อเชื้อเดลต้าต่ำ
KKP Research ประเมินว่า การระบาดระลอกปัจจุบันของไทย จะต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์อย่างน้อย 3 เดือน กว่าสถานการณ์จะบรรเทาความรุนแรงลง ซึ่งจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจจากการบริโภคและการลงทุนที่จะลดลงในช่วงไตรมาส 3 ซึ่งจะส่งผลให้การเติบโตของการบริโภคทั้งปีติดลบ
และกระทบต่อการคาดการณ์ GDP ในปี 2021 จากการเติบโตที่ 1.5% เหลือเพียง 0.5% แม้ว่าการส่งออกจะสามารถขยายตัวได้ดีขึ้นก็ตาม
เมื่อนับรวมกับบตัวเลขการคาดการณ์ GDP ในปี 2022 ที่ 4.6% ทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจในปีนี้ รวมกับปีหน้าที่ระดับ 5.1% ไม่เพียงพอชดเชยการหดตัวของเศรษฐกิจในปี 2020 ที่หดตัวลง 6.1%
และเศรษฐกิจไทยต้องใช้เวลาถึงช่วงครึ่งแรกของปี 2023 ในการกลับเข้าสู่ระดับก่อนการระบาดของโควิด
อย่างไรก็ตามในกรณีเลวร้าย หากจำเป็นต้องมีการล็อกดาวน์ที่ยาวนานกว่าสามเดือน หรือต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์ที่มีข้อจำกัดมากขึ้น กระทบต่อภาคการผลิตและการส่งออก ซึ่งเป็นความหวังสุดท้ายของเศรษฐกิจไทย
KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย จะถูกกระทบเพิ่มเติมอีก -1.3% และทำให้เศรษฐกิจในปีนี้ -0.8%
KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย จะถูกกระทบเพิ่มเติมอีก -1.3% และทำให้เศรษฐกิจในปีนี้ -0.8%
-การแพร่ระบาดรอบปัจจุบันอาจลากยาว
จากสถิติการระบาดใหญ่ในต่างประเทศ การแพร่ระบาดหนึ่งรอบกินระยะเวลาเฉลี่ย 120-150 วัน สำหรับกรณีประเทศไทย เมื่อพิจารณาปัจจัยอื่นประกอบ อาทิ ประสิทธิผลของวัคซีนที่ลดลงต่อเชื้อสายพันธุ์เดลต้า,แผนการจัดหาวัคซีน และสถานการณ์ระบบสาธารณสุขในปัจจุบัน
KKP Research ประเมินว่า การแพร่ระบาดอาจจะเกิดขึ้นยาวนานต่อเนื่องในอีก 6 เดือนข้างหน้า
จากสถิติการระบาดใหญ่ในต่างประเทศ การแพร่ระบาดหนึ่งรอบกินระยะเวลาเฉลี่ย 120-150 วัน สำหรับกรณีประเทศไทย เมื่อพิจารณาปัจจัยอื่นประกอบ อาทิ ประสิทธิผลของวัคซีนที่ลดลงต่อเชื้อสายพันธุ์เดลต้า,แผนการจัดหาวัคซีน และสถานการณ์ระบบสาธารณสุขในปัจจุบัน
KKP Research ประเมินว่า การแพร่ระบาดอาจจะเกิดขึ้นยาวนานต่อเนื่องในอีก 6 เดือนข้างหน้า
-แผนวัคซีนที่ล่าช้าและไม่แน่นอน เพิ่มต้นทุนต่อเศรษฐกิจจากการล็อกดาวน์เพิ่มเติม
ปัจจุบันมีคนไทยได้รับวัคซีนครบสองโดสแล้วเพียง 3.5 ล้านคน หรือคิดเพียง 5% ของประชากร และเกือบทั้งหมดได้รับวัคซีน Sinovac (3.3 ล้านคน) ที่มีงานวิจัยพบว่ามีประสิทธิผลจำกัดต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้า และมีแนวโน้มที่ภูมิคุ้มกันลดลงเรื่อย ๆ
ปัจจุบันมีคนไทยได้รับวัคซีนครบสองโดสแล้วเพียง 3.5 ล้านคน หรือคิดเพียง 5% ของประชากร และเกือบทั้งหมดได้รับวัคซีน Sinovac (3.3 ล้านคน) ที่มีงานวิจัยพบว่ามีประสิทธิผลจำกัดต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้า และมีแนวโน้มที่ภูมิคุ้มกันลดลงเรื่อย ๆ
ความไม่แน่นอนในการจัดหาวัคซีน กำลังสร้างความเสี่ยงต่อสร้างภูมิคุ้มกันโดยรวม
KKP Research คาดว่าภายในสิ้นปีนี้ เพียง 35% ของประชากรจะได้รับวัคซีนครบสองโดส
KKP Research คาดว่าภายในสิ้นปีนี้ เพียง 35% ของประชากรจะได้รับวัคซีนครบสองโดส
การฉีดวัคซีนที่ล่าช้า เพิ่มต้นทุนทางเศรษฐกิจผ่านการปิดเมืองเพิ่มเติม จากการศึกษาของกลุ่มประเทศ OECD พบว่าการมีสัดส่วนประชากรที่ฉีดวัคซีนแล้วครบ 2 โดส สามารถลดการแพร่ระบาดได้เทียบเท่ามาตรการล็อกดาวน์บางมาตการ
เช่น หาก 7% ของประชากรได้รับฉีดวัคซีนครบสองโดส จะลดโอกาสการแพร่ระบาดเฉลี่ยได้เทียบเท่ามาตรการปิดโรงเรียน คำสั่งห้ามออกนอกเคหะสถาน หรือการห้ามเดินทางระหว่างประเทศ
แต่ถ้าหากมีประชากรได้รับวัคซีนครบสองโดส ในระดับมากกว่า 13% ของประชากร ก็จะสามารถลดการแพร่ระบาดได้ผลเทียบเท่ามาตรการปิดสถานที่ทำงาน
สำหรับประเทศไทยที่สัดส่วนประชากรที่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว ยังอยู่ในระดับต่ำมาก ทางออกที่เหลืออยู่จึงเป็นมาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นการเพิ่มต้นทุนทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล
-ล็อกดาวน์ต้องทำอย่างเป็นระบบ เพราะประสิทธิผลอยู่ได้ไม่เกิน 2 เดือน
ไทยปิดเมืองมากไปปีที่แล้วและช้าไปในปีนี้ ในการระบาดรอบแรกเมื่อปีที่แล้ว ที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่อยู่ในระดับต่ำ (ยอดผู้ติดเชื้อต่อวันสูงสุดเพียง 188 คน) แต่ไทยเลือกที่จะใช้มาตรการอย่างเข้มงวดในการปิดเมืองทั่วประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรง
ไทยปิดเมืองมากไปปีที่แล้วและช้าไปในปีนี้ ในการระบาดรอบแรกเมื่อปีที่แล้ว ที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่อยู่ในระดับต่ำ (ยอดผู้ติดเชื้อต่อวันสูงสุดเพียง 188 คน) แต่ไทยเลือกที่จะใช้มาตรการอย่างเข้มงวดในการปิดเมืองทั่วประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรง
ในขณะที่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ติดเชื้อที่รักษาตัวในโรงพยาบาล (Active case) สูงขึ้นมาก แต่มาตรการกลับมีความผ่อนคลายค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับการระบาดครั้งก่อน จนทำให้สถานการณ์เกิดการระบาดอย่างรุนแรง
งานศึกษามหาวิทยาลัย Harvard ใน 152 ประเทศชี้ว่า มาตรการล็อกดาวน์มีข้อจำกัดสำคัญ คือ ผลของมาตรการจะมีประสิทธิผลสูงสุดไม่เกินช่วง 2 เดือนแรก โดยหลังจากบังคับใช้มาตรการผ่านไป 60 วัน ผลที่ได้จะไม่ดีมาก เนื่องจากความร่วมมือต่อมาตรการจะลดลงอย่างมาก (lockdown fatigue)
ด้วยข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้การล็อกดาวน์ให้ประสบผลสำเร็จ จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายและต้องแข่งกับเวลา และในขณะเดียวกันถึงแม้จะมีการล็อกดาวน์ที่เข้มข้น แต่สิ่งสำคัญต้องทำควบคู่กันไปด้วยเพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายได้เร็วยิ่งขึ้น คือ
1) เร่งเพิ่มศักยภาพในการตรวจหาเชื้อ เช่น การแจกหรือการอุดหนุน rapid antigen test และ facility สำหรับ home isolation
2) จัดหาวัคซีนที่มีประสิทธิผลสูงต่อสายพันธุ์เดลต้า
2) จัดหาวัคซีนที่มีประสิทธิผลสูงต่อสายพันธุ์เดลต้า
KKP Research ประเมินว่าหากมาตรการที่ไทยใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่สามารถควบคุมการระบาดได้
มีความเป็นไปได้ที่ต้องใช้มาตรการที่เข้มข้นขึ้น เช่น มาตรการปิดสถานที่ทำงาน
แต่มาตรการเหล่านี้ ต้องมีการวางแผนและประสานงานเพื่อลดผลกระทบ และความสับสน
และทำให้บังคับใช้มาตรการได้อย่างมีประสิทธิผลมากที่สุด
มีความเป็นไปได้ที่ต้องใช้มาตรการที่เข้มข้นขึ้น เช่น มาตรการปิดสถานที่ทำงาน
แต่มาตรการเหล่านี้ ต้องมีการวางแผนและประสานงานเพื่อลดผลกระทบ และความสับสน
และทำให้บังคับใช้มาตรการได้อย่างมีประสิทธิผลมากที่สุด
-นโยบายรัฐต้องเพียงพอและลดความไม่แน่นอน
KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร มองว่ามีหลายมาตรการ ที่รัฐบาลควรเร่งปรับปรุงนโยบาย และออกมาตรการเพื่อควบคุมสถานการณ์ ลดผลกระทบ ได้แก่
KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร มองว่ามีหลายมาตรการ ที่รัฐบาลควรเร่งปรับปรุงนโยบาย และออกมาตรการเพื่อควบคุมสถานการณ์ ลดผลกระทบ ได้แก่
1) ควรมีการประเมินสถานการณ์และสื่อสารกับประชาชนอย่างโปร่งใสและตรงไปตรงมา เพื่ออธิบายถึงสถานการณ์อย่างตรงไปตรงมา และขอความร่วมมือจากประชาชนอย่างชัดเจน
2) ควรจัดทำแผนมาตรการล็อกดาวน์ที่มองไปข้างหน้า สอดคล้องกับสถานการณ์ และสมเหตุสมผล และสื่อสารแผนการบังคับใช้และผ่อนคลายไว้ล่วงหน้า
3) เร่งเพิ่มศักยภาพในการตรวจหาโรค การสอบสวนโรค การแยกผู้ป่วย และการรักษา และปรับปรุงนโยบายที่เป็นอุปสรรคต่อศักยภาพในการตรวจโรค
4) เร่งจัดหาวัคซีน mRNA ที่หลักฐานสนับสนุนในการป้องกันไวรัสสายพันธุ์เดลต้าให้เร็วที่สุด เพื่อเร่งสร้างภูมิคุ้มกันของประชาชน
5) จัดเตรียมนโยบายเยียวยาประชาชนและธุรกิจที่เหมาะสมต่อระดับ และระยะเวลามาตรการล็อกดาวน์
เพื่อสนับสนุนให้มาตรการใช้ได้ผลจริง ลดผลกระทบต่อประชาชน
เพื่อสนับสนุนให้มาตรการใช้ได้ผลจริง ลดผลกระทบต่อประชาชน
และป้องกันไม่ให้เกิดแผลเป็นถาวรทางเศรษฐกิจ และรักษาเศรษฐกิจให้สามารถฟื้นตัวกลับมาได้โดยเร็ว เมื่อสถานการณ์การระบาดปรับตัวดีขึ้น
6) แม้ระดับหนี้สาธารณะมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น แต่ด้วยอัตราดอกเบี้ยปรับลดลงทำให้รายจ่ายดอกเบี้ยเป็นภาระต่องบประมาณน้อยลง เราเชื่อว่าประเทศยังมีศักยภาพในการสร้างหนี้เพิ่ม หากมีความจำเป็น
เพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและประชาชน โดยจำเป็นต้องมีแผนในการลดการขาดดุลในอนาคต และต้องจัดลำดับความสำคัญของการใช้งบประมาณ ให้มีประสิทธิภาพที่สุด
7) นโยบายการคลังและนโยบายการเงิน ควรต้องมีการประสานงานและมีบทบาทมากขึ้น เพื่อจัดหามาตรการเพื่อแก้ปัญหาการหยุดชะงักของเศรษฐกิจ กระแสเงินสด และความสามารถในการจ่ายคืนหนี้ของครัวเรือนและธุรกิจ
และรักษาการทำงานของภาคการเงิน และเสถียรภาพของระบบการเงินของประเทศ
*อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ > https://advicecenter.kkpfg.com/th/money-lifestyle/money/economic-trend/gdp-cut-due-to-lockdown-in-2021
Tag:KKP Research