SF Cinema อาณาจักรโรงภาพยนตร์ ที่ก่อสร้างขึ้นจาก ชายอายุ 17 ปี
15 เม.ย. 2021
ในธุรกิจโรงภาพยนตร์ของเมืองไทย มีผู้เล่นหลัก ๆ อยู่ 2 ราย คือ Major และ SF
ซึ่งทั้งสองครองส่วนแบ่งการตลาดรวมกันกว่า 95%
ซึ่งทั้งสองครองส่วนแบ่งการตลาดรวมกันกว่า 95%
ที่น่าสนใจคือ SF มีจุดเริ่มต้นมาจาก อดีตข้าราชการ คือ คุณสมาน ทองร่มโพธิ์
โดยเมื่อปี พ.ศ. 2512 คุณสมาน ได้ลาออกจากงานราชการที่กรุงเทพฯ แล้วพาครอบครัวย้ายไปอยู่ จ.ตราด
โดยเมื่อปี พ.ศ. 2512 คุณสมาน ได้ลาออกจากงานราชการที่กรุงเทพฯ แล้วพาครอบครัวย้ายไปอยู่ จ.ตราด
ส่วนตัวแล้ว คุณสมาน เป็นคนที่หลงใหลเรื่องภาพยนตร์มาก
และในสมัยนั้น จ.ตราด ยังไม่มีโรงภาพยนตร์ที่ทันสมัย
ด้วยความชื่นชอบส่วนตัว บวกกับเห็นช่องทางธุรกิจว่ายังไม่ค่อยมีคู่แข่ง
และในสมัยนั้น จ.ตราด ยังไม่มีโรงภาพยนตร์ที่ทันสมัย
ด้วยความชื่นชอบส่วนตัว บวกกับเห็นช่องทางธุรกิจว่ายังไม่ค่อยมีคู่แข่ง
เขาจึงตัดสินใจเริ่มต้นกิจการโรงภาพยนตร์ขึ้น ในรูปแบบ Stand-alone หรือโรงหนังเดี่ยว
ภายใต้ชื่อ “ศรีตราดราม่า”
โดยการไปเช่าที่ดินส่วนหนึ่ง บริเวณหน้าตลาดสดขนาดใหญ่ “ตลาดเทพอุดร”
ซึ่งนับเป็นโรงภาพยนตร์ที่ทันสมัย แห่งแรกของจังหวัด
ภายใต้ชื่อ “ศรีตราดราม่า”
โดยการไปเช่าที่ดินส่วนหนึ่ง บริเวณหน้าตลาดสดขนาดใหญ่ “ตลาดเทพอุดร”
ซึ่งนับเป็นโรงภาพยนตร์ที่ทันสมัย แห่งแรกของจังหวัด
หลังจากนั้น คุณสมาน ก็บริหารธุรกิจโรงภาพยนตร์ด้วยความเอาใจใส่
จนกิจการเติบโต และมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการกันมากขึ้น
จนกิจการเติบโต และมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการกันมากขึ้น
แต่เมื่อปี พ.ศ. 2525 ก็เกิดความโชคร้าย
คุณสมาน ได้ประสบอุบัติเหตุจนเสียชีวิต
ดังนั้น ลูกชายคนโตจากลูกทั้งหมด 5 คน อย่าง คุณสุวัฒน์ ทองร่มโพธิ์ ซึ่งในตอนนั้นมีอายุเพียง 17 ปี และกำลังเรียน มศ.5
คุณสมาน ได้ประสบอุบัติเหตุจนเสียชีวิต
ดังนั้น ลูกชายคนโตจากลูกทั้งหมด 5 คน อย่าง คุณสุวัฒน์ ทองร่มโพธิ์ ซึ่งในตอนนั้นมีอายุเพียง 17 ปี และกำลังเรียน มศ.5
จึงตัดสินใจว่า อยากจะรักษาและสานต่อสิ่งที่พ่อรัก เลยมารับหน้าที่ดูแลกิจการต่อจากคุณสมาน
และในขณะนั้น กิจการมีพนักงานกว่า 100 ชีวิต ที่คุณสุวัฒน์ ต้องรับผิดชอบดูแล
และในขณะนั้น กิจการมีพนักงานกว่า 100 ชีวิต ที่คุณสุวัฒน์ ต้องรับผิดชอบดูแล
แม้อายุยังน้อย แต่ด้วยความมุ่งมั่น และได้รับการสนับสนุนจากลูกน้องเก่าของพ่อ
ทำให้ คุณสุวัฒน์ สามารถบริหารธุรกิจโรงภาพยนตร์ได้ด้วยดี
และสามารถเปิดสาขาเพิ่ม จนครอบคลุมภาคตะวันออก ตั้งแต่ ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ปราจีนบุรี, ฉะเชิงเทรา, นครนายก และสระแก้ว
ทำให้ คุณสุวัฒน์ สามารถบริหารธุรกิจโรงภาพยนตร์ได้ด้วยดี
และสามารถเปิดสาขาเพิ่ม จนครอบคลุมภาคตะวันออก ตั้งแต่ ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ปราจีนบุรี, ฉะเชิงเทรา, นครนายก และสระแก้ว
ซึ่งมีช่วงหนึ่ง ที่อุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ กำลังประสบกับภาวะซบเซา
แต่การเข้ามาของผู้เล่นในตลาดอย่าง EGV และ Major ในปี พ.ศ. 2537 ได้ช่วยให้อุตสาหกรรมกลับมาคึกคักอีกครั้ง
แต่การเข้ามาของผู้เล่นในตลาดอย่าง EGV และ Major ในปี พ.ศ. 2537 ได้ช่วยให้อุตสาหกรรมกลับมาคึกคักอีกครั้ง
อย่างไรก็ดี แม้ภาพรวมตลาดจะดีขึ้น แต่คุณสุวัฒน์ ก็ไม่นิ่งนอนใจ
เขาได้พิจารณาว่า หากธุรกิจของตัวเองไม่ปรับตัวหรือทำอะไรสักอย่าง สุดท้ายก็ต้องแพ้คู่แข่งรายใหญ่ที่มีเงินทุนหนากว่า
เขาได้พิจารณาว่า หากธุรกิจของตัวเองไม่ปรับตัวหรือทำอะไรสักอย่าง สุดท้ายก็ต้องแพ้คู่แข่งรายใหญ่ที่มีเงินทุนหนากว่า
ดังนั้นจุดเปลี่ยนของธุรกิจก็มาถึง..
เมื่อคุณสุวัฒน์ เลือกที่จะผันตัวธุรกิจโรงภาพยนตร์ของตัวเอง จากแบบ Stand-alone ที่ทำมาตลอด
มามุ่งเน้นการทำโรงภาพยนตร์แบบมัลติเพล็กซ์ (Multiplex) ซึ่งตอบโจทย์ตลาดมากกว่า
เมื่อคุณสุวัฒน์ เลือกที่จะผันตัวธุรกิจโรงภาพยนตร์ของตัวเอง จากแบบ Stand-alone ที่ทำมาตลอด
มามุ่งเน้นการทำโรงภาพยนตร์แบบมัลติเพล็กซ์ (Multiplex) ซึ่งตอบโจทย์ตลาดมากกว่า
โรงภาพยนตร์ Multiplex หมายถึงโรงภาพยนตร์เต็มรูปแบบ ที่จะมีหลายโรงใน 1 สาขา
รวมทั้งมีองค์ประกอบการฉายภาพยนตร์ครบครัน ทั้งพื้นที่ที่กว้างขวาง ภาพและเสียงคมชัด
ซึ่งโรงภาพยนตร์ Multiplex มักตั้งอยู่บนศูนย์การค้า
รวมทั้งมีองค์ประกอบการฉายภาพยนตร์ครบครัน ทั้งพื้นที่ที่กว้างขวาง ภาพและเสียงคมชัด
ซึ่งโรงภาพยนตร์ Multiplex มักตั้งอยู่บนศูนย์การค้า
โดยคุณสุวัฒน์ ได้ทุ่มทุนกว่า 600 ล้านบาท เพื่อพัฒนาและเปิดตัวโรงภาพยนตร์ Multiplex ที่แรกขึ้น บนชั้น 7 ของศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ ในชื่อ “SF Cinema City” เมื่อปี พ.ศ. 2542
ซึ่ง SF ย่อมาจากคำว่า สมานฟิล์ม หรือชื่อคุณพ่อของคุณสุวัฒน์ นั่นเอง
ซึ่ง SF ย่อมาจากคำว่า สมานฟิล์ม หรือชื่อคุณพ่อของคุณสุวัฒน์ นั่นเอง
บนพื้นที่ 25,000 ตร.ม. ภายใต้แนวคิด “One Floor Entertainment”
ศูนย์รวมความบันเทิงครบวงจร ทั้งโรงภาพยนตร์ โบว์ลิง คาราโอเกะ ร้านอาหาร และร้านค้า มารวมไว้ในชั้นเดียว ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จากชาวกรุงเทพฯ
ศูนย์รวมความบันเทิงครบวงจร ทั้งโรงภาพยนตร์ โบว์ลิง คาราโอเกะ ร้านอาหาร และร้านค้า มารวมไว้ในชั้นเดียว ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จากชาวกรุงเทพฯ
หลังจากนั้น คุณสุวัฒน์ ก็เห็นโอกาสทางธุรกิจในแถบชานเมืองกรุงเทพฯ
ในปี พ.ศ. 2542 จึงขยายสาขาเพิ่ม ด้วยการเปิดตัวโรงภาพยนตร์พร้อมกัน 3 สาขา ที่ศูนย์การค้าในเครือเดอะมอลล์ ได้แก่ สาขาบางกะปิ, บางแค และงามวงศ์วาน
ในปี พ.ศ. 2542 จึงขยายสาขาเพิ่ม ด้วยการเปิดตัวโรงภาพยนตร์พร้อมกัน 3 สาขา ที่ศูนย์การค้าในเครือเดอะมอลล์ ได้แก่ สาขาบางกะปิ, บางแค และงามวงศ์วาน
ซึ่งตั้งแต่นั้นมา SF ได้ขยายธุรกิจและสาขาไปทั่วประเทศเรื่อยมา ตามศูนย์การค้าที่ขยายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ในแต่ละจังหวัด
จนถึงปัจจุบัน ธุรกิจโรงภาพยนตร์ของ SF มีกว่า 60 สาขา
แบ่งเป็นอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 20 สาขา และต่างจังหวัด 40 สาขา
ภายใต้ชื่อ SF World Cinema, SFX Cinema, SF Cinema และ Emprive Cineclub
จนถึงปัจจุบัน ธุรกิจโรงภาพยนตร์ของ SF มีกว่า 60 สาขา
แบ่งเป็นอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 20 สาขา และต่างจังหวัด 40 สาขา
ภายใต้ชื่อ SF World Cinema, SFX Cinema, SF Cinema และ Emprive Cineclub
แล้ว SF มีผลประกอบการเป็นอย่างไร ?
บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ปี 2562 มีรายได้ 4,671 ล้านบาท กำไร 365 ล้านบาท
ปี 2562 มีรายได้ 4,671 ล้านบาท กำไร 365 ล้านบาท
ซึ่งถ้าเทียบกับคู่แข่งอย่าง Major
บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน)
ปี 2562 มีรายได้ 11,141 ล้านบาท กำไร 1,170 ล้านบาท
และมีโรงภาพยนตร์รวมกว่า 172 สาขา
ปี 2562 มีรายได้ 11,141 ล้านบาท กำไร 1,170 ล้านบาท
และมีโรงภาพยนตร์รวมกว่า 172 สาขา
สรุปแล้ว ทั้งในเรื่องผลประกอบการและจำนวนสาขาของโรงภาพยนตร์
Major ยังทิ้งห่าง SF อยู่พอสมควร
Major ยังทิ้งห่าง SF อยู่พอสมควร
แต่ถ้าในเรื่องของคุณภาพโรงภาพยนตร์ คอนเทนต์ และการบริการ
SF ก็อยู่ในระดับที่ไม่แพ้ Major
SF ก็อยู่ในระดับที่ไม่แพ้ Major
ทั้งนี้ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้น ซึ่งมีมูลค่าบริษัท 20,300 ล้านบาท
ส่วน บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น ไม่ได้จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้น
ส่วน บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น ไม่ได้จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้น
นอกจากนี้ SF ยังมีธุรกิจอื่นนอกจากโรงภาพยนตร์
อาทิ MAYA Chiang Mai ศูนย์การค้าใน จ.เชียงใหม่
ที่มีมูลค่าโครงการกว่า 3,000 ล้านบาท บนพื้นที่กว่า 80,000 ตร.ม.
ซึ่งบริหารโดย บริษัท มายา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ในเครือของ SF
อาทิ MAYA Chiang Mai ศูนย์การค้าใน จ.เชียงใหม่
ที่มีมูลค่าโครงการกว่า 3,000 ล้านบาท บนพื้นที่กว่า 80,000 ตร.ม.
ซึ่งบริหารโดย บริษัท มายา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ในเครือของ SF
บริษัท มายา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด
ปี 2562 มีรายได้ 520 ล้านบาท กำไร 114 ล้านบาท
ปี 2562 มีรายได้ 520 ล้านบาท กำไร 114 ล้านบาท
ในปัจจุบัน ธุรกิจโรงภาพยนตร์ กำลังเจอความท้าทายอยู่ไม่น้อย
ทั้งในระยะสั้น เช่น สถานการณ์โควิด, คอนเทนต์ฟอร์มยักษ์ ที่ชะลอการฉายออกไป
ทั้งในระยะสั้น เช่น สถานการณ์โควิด, คอนเทนต์ฟอร์มยักษ์ ที่ชะลอการฉายออกไป
และในระยะยาว เช่น พฤติกรรมของผู้บริโภคที่อาจเปลี่ยนไป
เพราะมีตัวเลือกในการเสพคอนเทนต์มากขึ้น อาทิ แพลตฟอร์มสตรีมมิง
ทำให้ผู้บริโภคเลือกเดินเข้าโรงภาพยนตร์น้อยลง หรือไม่ถี่เท่าเมื่อก่อน
เพราะมีตัวเลือกในการเสพคอนเทนต์มากขึ้น อาทิ แพลตฟอร์มสตรีมมิง
ทำให้ผู้บริโภคเลือกเดินเข้าโรงภาพยนตร์น้อยลง หรือไม่ถี่เท่าเมื่อก่อน
หลังจากนี้ ผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์ และ SF
จะงัดกลยุทธ์อะไร มาใช้เพื่อปรับตัวให้ทันต่อ พฤติกรรมของผู้บริโภคและโลกที่เปลี่ยนไป
ก็นับเป็นสิ่งที่น่าจับตามองไม่น้อย ในวงการธุรกิจและบันเทิง..
จะงัดกลยุทธ์อะไร มาใช้เพื่อปรับตัวให้ทันต่อ พฤติกรรมของผู้บริโภคและโลกที่เปลี่ยนไป
ก็นับเป็นสิ่งที่น่าจับตามองไม่น้อย ในวงการธุรกิจและบันเทิง..