GDP ของประเทศไทย ในไตรมาสที่ 3 หดตัว -6.4%
16 พ.ย. 2020
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เผย
GDP ไตรมาสที่ 3/2563 ลดลง 6.4%
ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลง 12.1% ในไตรมาสที่ 2/2563
GDP ไตรมาสที่ 3/2563 ลดลง 6.4%
ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลง 12.1% ในไตรมาสที่ 2/2563
ปัจจัยสำคัญ มาจากการส่งออกสินค้าและบริการ การลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชนปรับตัวดีขึ้น
ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล และการลงทุนของภาครัฐขยายตัวต่อเนื่อง
ด้านการผลิต
ภาคเกษตรลดลง 0.9% ตามผลผลิตพืชสำคัญที่ลดลง เช่น ข้าวเปลือก ยางพารา ปาล์มน้ำมัน
ภาคนอกเกษตรลดลง 6.8% ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลง 12.9% ในไตรมาสที่ 2/2563
ภาคเกษตรลดลง 0.9% ตามผลผลิตพืชสำคัญที่ลดลง เช่น ข้าวเปลือก ยางพารา ปาล์มน้ำมัน
ภาคนอกเกษตรลดลง 6.8% ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลง 12.9% ในไตรมาสที่ 2/2563
เป็นผลจากการผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตลอดจนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการเริ่มกลับมาดำเนินกิจกรรมการผลิตได้
โดยการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมลดลง 5.3% ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลง 14.6% ในไตรมาสก่อนหน้า
ภาคบริการลดลง 7.3% เทียบกับที่ลดลง 12.2% ในไตรมาสก่อนหน้า
โดยกิจกรรมหลักทางด้านบริการเริ่มมีสัญญาณของการฟื้นตัว เช่น สาขาการขายส่งและการขายปลีกฯ สาขาที่พักแรมและบริการ ด้านอาหาร สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ปรับตัวดีขึ้น
โดยกิจกรรมหลักทางด้านบริการเริ่มมีสัญญาณของการฟื้นตัว เช่น สาขาการขายส่งและการขายปลีกฯ สาขาที่พักแรมและบริการ ด้านอาหาร สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ปรับตัวดีขึ้น
ส่วนสาขาการก่อสร้าง และสาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง
ด้านการใช้จ่าย
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชนลดลง 0.6% ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลง 6.8% ในไตรมาสก่อนหน้า
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชนลดลง 0.6% ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลง 6.8% ในไตรมาสก่อนหน้า
โดยหมวดสินค้าไม่คงทน และการบริการสุทธิขยายตัว 2.7% และ 3.8% ตามลำดับ
ส่วนการอุปโภคในกลุ่มสินค้าคงทน และกลุ่มสินค้ากึ่งคงทน ลดลง 19.3% และ 14.0% ตามลำดับ
ส่วนการอุปโภคในกลุ่มสินค้าคงทน และกลุ่มสินค้ากึ่งคงทน ลดลง 19.3% และ 14.0% ตามลำดับ
การลงทุนรวม ลดลง 2.4% เทียบกับที่ลดลง 8.0% ในไตรมาสก่อนหน้า
โดยการลงทุนภาคเอกชนลดลง 10.7% เทียบกับการลดลง 15.0% ในไตรมาสก่อนหน้า
เป็นผลจากการลงทุนด้านเครื่องจักรเครื่องมือภาคเอกชนลดลง 14.0%
ส่วนการก่อสร้าง ภาคเอกชนขยายตัว 0.3%
โดยการลงทุนภาคเอกชนลดลง 10.7% เทียบกับการลดลง 15.0% ในไตรมาสก่อนหน้า
เป็นผลจากการลงทุนด้านเครื่องจักรเครื่องมือภาคเอกชนลดลง 14.0%
ส่วนการก่อสร้าง ภาคเอกชนขยายตัว 0.3%
การลงทุนภาครัฐขยายตัว 18.5% เร่งตัวขึ้นจากการขยายตัว 12.5% ในไตรมาสก่อนหน้า
เป็นผลจากการ ลงทุนด้านเครื่องจักรเครื่องมือขยายตัว 18.4% และการลงทุนด้านก่อสร้างขยายตัว 18.6% โดยเฉพาะการก่อสร้างรัฐบาลขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง
เป็นผลจากการ ลงทุนด้านเครื่องจักรเครื่องมือขยายตัว 18.4% และการลงทุนด้านก่อสร้างขยายตัว 18.6% โดยเฉพาะการก่อสร้างรัฐบาลขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง
การส่งออกและนำเข้าสินค้าและบริการ ลดลง 23.5% และ 20.3% ตามลำดับ
ดุลการค้าและบริการ ณ ราคาประจำปี
เกินดุล 257.2 พันล้านบาท โดยดุลการค้าเกินดุล 397.5 พันล้านบาท และดุลบริการขาดดุล 140.3 พันล้านบาท
เกินดุล 257.2 พันล้านบาท โดยดุลการค้าเกินดุล 397.5 พันล้านบาท และดุลบริการขาดดุล 140.3 พันล้านบาท
ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาลขยายตัว 3.4% ต่อเนื่องจากการขยายตัว 1.3% ในไตรมาสก่อนหน้า
โดยค่าตอบแทนแรงงานขยายตัว 1.6%
รายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น 7.8%
และการโอนเพื่อสวัสดิการสังคมที่ไม่เป็นตัวเงิน ขยายตัว 8.0%
โดยค่าตอบแทนแรงงานขยายตัว 1.6%
รายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น 7.8%
และการโอนเพื่อสวัสดิการสังคมที่ไม่เป็นตัวเงิน ขยายตัว 8.0%
หลังปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3/2563 ขยายตัว 6.5% (QoQ SA)