VISA เห็นโอกาสอะไร? ในยุคหลังโควิด-19
17 ส.ค. 2020
“ทุกวิกฤต ย่อมมีโอกาสซ่อนอยู่” ประโยคนี้ทุกคนรู้จักกันดีแต่ในสถานการณ์โควิด-19 ที่ความท้าทายต่างๆ ได้ถาโถมเข้ามา จนผู้ประกอบการหลายรายรู้สึกว่า หรือจริงๆ แล้ววิกฤตครั้งนี้ อาจไม่มีโอกาสอยู่..
ในงานสัมมนา NEXT IS NOW “พลิกวิกฤต ปรับกลยุทธ์ในยุคเศรษฐกิจใหม่” ในรูปแบบ Virtual Conference เมื่อวันที่ 31 ก.ค. ที่ผ่านมา ที่จัดขึ้นโดยธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน)
ที่เป็นการรวม CEO แนวหน้าของเมืองไทย มาเผยมุมมอง ผลกระทบ และโอกาสที่ธุรกิจต่างๆ สามารถไขว่คว้าได้ในยุคหลังโควิด-19
ที่เป็นการรวม CEO แนวหน้าของเมืองไทย มาเผยมุมมอง ผลกระทบ และโอกาสที่ธุรกิจต่างๆ สามารถไขว่คว้าได้ในยุคหลังโควิด-19
ซึ่ง คุณสุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นวิทยากรคนที่ 4 ได้เผยว่า ช่วงโควิด-19 แม้แต่ธุรกิจตัวกลางการชำระเงินอย่าง VISA ก็ได้รับผลกระทบไม่น้อย
เนื่องจาก การล็อกดาวน์ ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ เข้ามาเที่ยวและใช้จ่ายในไทยไม่ได้ รวมถึงลูกค้าในประเทศ ก็ออกเดินทางท่องเที่ยวนอกประเทศไม่ได้เช่นกัน
ซึ่งสุดท้ายแล้วกระทบต่อยอดการใช้จ่ายผ่านบัตร VISA ในที่สุด
ซึ่งสุดท้ายแล้วกระทบต่อยอดการใช้จ่ายผ่านบัตร VISA ในที่สุด
อย่างไรก็ตาม โควิด-19 ก็มีข้อดีอย่างเพราะมันช่วยเร่งปฏิกิริยาให้เกิด Cashless Society หรือสังคมไร้เงินสด เร็วและแพร่หลายมากขึ้นจากเดิมที่อาจต้องใช้เวลาหลายปีในการเปลี่ยนผ่าน
ซึ่งที่ผ่านมา Cashless Society เป็นวิสัยทัศน์ที่ VISA ได้พยายามผลักดันมาโดยตลอด
โดยช่วงล็อกดาวน์ที่ผู้บริโภคต้องหันใช้บริการ ฟู้ด เดลิเวอรี และอีคอมเมิร์ซ เพราะความจำเป็น
โดยช่วงล็อกดาวน์ที่ผู้บริโภคต้องหันใช้บริการ ฟู้ด เดลิเวอรี และอีคอมเมิร์ซ เพราะความจำเป็น
หรือหันมาใช้วิธีการจ่ายชำระเงินผ่านบัตรแบบ Contactless หรือวิธีอื่นๆ เช่น Garmin Pay, Rabbit เพื่อลดการสัมผัสเงินสด เพราะกลัวการแพร่เชื้อ
ล้วนเป็นจิกซอว์สำคัญที่ทำให้ภาพของ Cashless Society ใกล้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ล้วนเป็นจิกซอว์สำคัญที่ทำให้ภาพของ Cashless Society ใกล้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
แล้วในสถานการณ์เช่นนี้ สำหรับผู้ประกอบการแล้ว อะไรคือโอกาส ?
สิ่งที่เกิดขึ้นแน่ๆ คือ พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป โดยหันมาใช้บริการดิลิเวอรี และอีคอมเมิร์ซเป็นกิจวัตรประจำวัน
และผู้บริโภคหลายคน ก็จะไม่เลิกใช้บริการเหล่านี้ไปโดยสิ้นเชิง แม้สถานการณ์โควิด-19 จะจบลง
เพราะพวกเขาต่างรู้สึกติดใจในความสะดวกสบาย
เพราะพวกเขาต่างรู้สึกติดใจในความสะดวกสบาย
ซึ่งจากการสำรวจพบว่า ผู้บริโภคเกิน 70% ตอบว่าในอนาคตจะยังคงใช้เดลิเวอรี, อีคอมเมิร์ซ และ E-Payment ต่อไป แม้โรคระบาดโควิด-19 สิ้นสุดลง
ดังนั้น จึงอยู่ที่ธุรกิจและผู้ประกอบการแล้วว่า จะปรับตัวเข้ากับเรื่องนี้ได้อย่างไร
อย่างเช่น ทุกวันนี้ผู้บริโภคสามารถใช้บัตรเครดิต-เดบิต จ่ายค่าอาหารตามสั่ง หรือสินค้าราคาไม่กี่บาทได้ผ่านแอป
ร้านอาหาร หรือ ร้านค้าเล็กๆ ที่มีตัวเลือกให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าและบริการผ่านออนไลน์ได้ไม่ว่าจะเป็นบนเว็บไซต์-แอปของตัวเอง หรือผ่านแพลตฟอร์ม เช่น Shopee, Lazada, Grab, Line Man
รวมถึงมีตัวเลือกให้ลูกค้าสามารถจ่ายค่าสินค้าและบริการ ด้วยบัตรเครดิต-เดบิตได้
ธุรกิจนั้นๆ ก็จะมีโอกาสฟื้นตัวจากวิกฤตได้เร็ว หรือมีโอกาสเติบโตต่อไปได้ในยุคอนาคต
อีกทั้งช่องทางออนไลน์เหล่านี้ จะช่วยเป็นเกราะป้องกันความเสี่ยงที่ไม่คาดคิดของธุรกิจในอนาคตได้เป็นอย่างดี ดังเช่นการเกิดโรคระบาด หรือล็อกดาวน์ที่ผ่านมา
ที่สำคัญ “ตลาดออนไลน์” เป็นตลาดที่เปิดกว้างมหาศาล ทั่วโลกมีคนใช้งานและเข้าถึงโลกออนไลน์ ดังนั้น ตลาดนี้จึงไม่จำกัดเพียงเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น
อย่าง VISA เองก็มีฐานลูกค้ากว่า 3,000 ล้านคนทั่วโลก หรือก็คือ ผู้ประกอบการไทย สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มนี้ได้บนโลกออนไลน์
เพียงแค่มีตัวเลือกให้ลูกค้าสามารถชำระเงินผ่านบัตรที่มีสัญลักษณ์ของ VISA ได้
เพียงแค่มีตัวเลือกให้ลูกค้าสามารถชำระเงินผ่านบัตรที่มีสัญลักษณ์ของ VISA ได้
ในโลกปัจจุบันที่โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีทุกอย่างพร้อมแล้วดังนั้นโจทย์สำคัญที่ผู้ประกอบการต้องคิดก็มีเพียงแต่ว่า
ธุรกิจจะเข้าไปเจาะตลาดนี้ได้อย่างไร ?
ธุรกิจจะเข้าไปเจาะตลาดนี้ได้อย่างไร ?
ในส่วนของทิศทางในอนาคต 3-5 ปีข้างหน้าที่คุณสุริพงษ์ อยากจะเห็นและพยายามทำให้ VISA ไปจุดนั้นคือโลกที่ลูกค้าจะได้รับประสบการณ์ชำระเงินแบบไร้รอยต่อ
ที่ลูกค้ารู้สึกสะดวกและง่ายที่สุด เวลาจ่ายซื้อสินค้าและบริการอะไรก็ตาม จนไม่ต้องมาคิดว่าจะยื่นจ่ายด้วยเงินอะไร หรือบัตรใบไหน
สรุปคือ มีการตัดขั้นตอนการจ่ายเงินออกไป ในกระบวนการซื้อสินค้าและบริการ ทำให้การจ่ายเงินเกิดขี้นด้วยตัวของมันเอง โดยฝังอยู่ในทุกกิจกรรมหลัก
เช่น เวลาเราสั่งอาหารจากแอปฟู้ด ดิลิเวอรี หรือใช้บริการเรียกรถจากแอป แล้วถึงจุดหมายปลางทางแล้ว
แอปเหล่านี้ก็จะตัดเงินจากบัตรเครดิตที่เราผูกไว้กับแอปโดยอัตโนมัติ โดยที่เราไม่ต้องยกมือถือขึ้นมากดจ่ายเงินอีก
แอปเหล่านี้ก็จะตัดเงินจากบัตรเครดิตที่เราผูกไว้กับแอปโดยอัตโนมัติ โดยที่เราไม่ต้องยกมือถือขึ้นมากดจ่ายเงินอีก
แต่ในอนาคต การชำระเงินแบบไร้รอยต่อนี้ จะยิ่งครอบคลุมบริการและกิจกรรมต่างๆมากขึ้นไปอีก เช่น การขึ้นรถไฟฟ้า
ไม่จำเป็นต้องไปเคาน์เตอร์ รอต่อคิวซื้อบัตรโดยสาร
ไม่จำเป็นต้องไปเคาน์เตอร์ รอต่อคิวซื้อบัตรโดยสาร
แต่สามารถใช้บัตรที่มีสัญลักษณ์ VISA หรืออุปกรณ์อื่น เช่น Garmin Pay แตะแทนบัตรโดยสารได้เลย