สามแม่ครัว เจ้าตลาดปลากระป๋องเมืองไทย
29 มิ.ย. 2020
ตลาดปลากระป๋องในเมืองไทย มีมูลค่าประมาณ 8,000-9,000 ล้านบาทต่อปี
โดยเจ้าตลาดที่ครองส่วนแบ่งมากที่สุดคือ ปลากระป๋องที่มาพร้อมกับโลโก้ 3 สาว กำลังยืนทำอาหารอยู่
หรือ “สามแม่ครัว” ซึ่งกินส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 40%
โดยเจ้าตลาดที่ครองส่วนแบ่งมากที่สุดคือ ปลากระป๋องที่มาพร้อมกับโลโก้ 3 สาว กำลังยืนทำอาหารอยู่
หรือ “สามแม่ครัว” ซึ่งกินส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 40%
แต่รู้ไหมว่า ผู้ให้กำเนิดแบรนด์ปลากระป๋องนี้ไม่ใช่ 3 สาวเหมือนในโลโก้
แต่เป็นคุณสุวัฒน์ อุดมบัณฑิตกุล กับเพื่อนๆ อดีตกลุ่มเซลล์แมนด้วยกันอีก 5 คน
ร่วมใจกันลาออกจากงานประจำ เพื่อมาก่อสร้างธุรกิจในปี พ.ศ. 2516
แต่เป็นคุณสุวัฒน์ อุดมบัณฑิตกุล กับเพื่อนๆ อดีตกลุ่มเซลล์แมนด้วยกันอีก 5 คน
ร่วมใจกันลาออกจากงานประจำ เพื่อมาก่อสร้างธุรกิจในปี พ.ศ. 2516
ซึ่งตอนนั้น พวกเขาแทบจะไม่มีทั้งประสบการณ์การทำธุรกิจ และเงินทุน
แต่ด้วยความคิดที่ว่า ถ้าไม่ลาออก ก็อาจต้องเป็นลูกจ้างเขาตลอดไป และไม่มีวันเติบโต
และในวันข้างหน้า ก็อาจเสี่ยงถูกเลิกจ้างได้
แต่ด้วยความคิดที่ว่า ถ้าไม่ลาออก ก็อาจต้องเป็นลูกจ้างเขาตลอดไป และไม่มีวันเติบโต
และในวันข้างหน้า ก็อาจเสี่ยงถูกเลิกจ้างได้
ถ้าให้รอถึงวันถูกเลิกจ้าง สู้ยอมเสี่ยงออกมาทำธุรกิจของตัวเองน่าจะดีกว่า
จึงตัดสินใจแน่วแน่ ว่าต้องออกมาเป็นเถ้าแก่ตัวเองให้ได้
จึงตัดสินใจแน่วแน่ ว่าต้องออกมาเป็นเถ้าแก่ตัวเองให้ได้
โดยช่วงเริ่มแรกของการก่อตั้งธุรกิจ พวกเขาได้รับเงินเดือนเพียงคนละ 3,000 บาทเท่านั้น
แต่ปรากฏว่า ธุรกิจปลากระป๋องดำเนินไปได้ด้วยดี
พวกเขาจึงได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัท รอแยลฟู้ดส์ จำกัด ขึ้นในปี พ.ศ. 2517
และหลักจากนั้น ปลากระป๋องตราสามแม่ครัว ก็เติบโต และอยู่คู่กับชาวไทยตลอดมา
พวกเขาจึงได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัท รอแยลฟู้ดส์ จำกัด ขึ้นในปี พ.ศ. 2517
และหลักจากนั้น ปลากระป๋องตราสามแม่ครัว ก็เติบโต และอยู่คู่กับชาวไทยตลอดมา
ทั้งนี้ ที่มาของชื่อแบรนด์ “สามแม่ครัว” นายเกรียงสิน เต็มสุนทร ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด ของบริษัท รอแยลฟู้ดส์ จำกัด เปิดเผยว่า แต่เดิมใช้ชื่อแบรนด์ว่า “แม่ครัว” เพื่อสื่อถึงการทำอาหาร
แต่ต่อมาเห็นว่า เลข 3 เป็นเลขที่ดี จีงเปลี่ยนชื่อแบรนด์เป็น สามแม่ครัว
แต่ต่อมาเห็นว่า เลข 3 เป็นเลขที่ดี จีงเปลี่ยนชื่อแบรนด์เป็น สามแม่ครัว
นอกจากนี้ การมี 3 แม่ครัว ยังช่วยสื่ออีกว่า ผลิตภัณฑ์นั้น ต้องอร่อยกว่าการมีแม่ครัวคนเดียวทำ..
ซึ่งตอนนี้ก็ผ่านมา 46 ปีแล้ว นับตั้งแต่สร้างบริษัท
แล้วปัจจุบัน สามแม่ครัว มีรายได้ขนาดไหน ?
แล้วปัจจุบัน สามแม่ครัว มีรายได้ขนาดไหน ?
บริษัท รอแยลฟู้ดส์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายปลากระป๋องตรา “สามแม่ครัว”
ปี 2561 มีรายได้ 2,929 ล้านบาท กำไร 152 ล้านบาท
ปี 2562 มีรายได้ 3,687 ล้านบาท กำไร 272 ล้านบาท
ปี 2561 มีรายได้ 2,929 ล้านบาท กำไร 152 ล้านบาท
ปี 2562 มีรายได้ 3,687 ล้านบาท กำไร 272 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัทเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปลากระป๋องแบบครบวงจร
โดยทำตั้งแต่ปลูกมะเขือเทศ ผลิตซอส จนถึงมีโรงงานผลิตกระป๋องหรือบรรจุภัณฑ์ในเครือ
โดยทำตั้งแต่ปลูกมะเขือเทศ ผลิตซอส จนถึงมีโรงงานผลิตกระป๋องหรือบรรจุภัณฑ์ในเครือ
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ของบริษัท เช่น ปลาแมกเคอเรลในซอสมะเขือเทศ, ปลาซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศ
ฉู่ฉี่ปลาแมกเคอเรล, น้ำพริกปลาแมกเคอเรล, คั่วกลิ้งปลาแมกเคอเรล, ห่อหมกปลาแมกเคอเรล
ซีอิ๊วขาว, ซอสหอยนางรม, น้ำปลาไส้ตันแท้, ซอสปรุงรส
ฉู่ฉี่ปลาแมกเคอเรล, น้ำพริกปลาแมกเคอเรล, คั่วกลิ้งปลาแมกเคอเรล, ห่อหมกปลาแมกเคอเรล
ซีอิ๊วขาว, ซอสหอยนางรม, น้ำปลาไส้ตันแท้, ซอสปรุงรส
ปัจจุบันบริษัท มีการจำหน่ายสินค้าออกไปกว่า 20 ประเทศ
โดยมีสัดส่วนรายได้จากภายในประเทศ 90% และต่างประเทศ 10%
โดยมีสัดส่วนรายได้จากภายในประเทศ 90% และต่างประเทศ 10%
นอกจากประเทศไทยแล้ว สามแม่ครัวยังเป็นเบอร์หนึ่งด้านปลากระป๋องในเวียดนามอีกด้วย
โดยสามแม่บริษัทได้เข้าไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท และโรงงานที่เวียดนาม
โดยสามแม่บริษัทได้เข้าไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท และโรงงานที่เวียดนาม
และทำตลาดด้วยชื่อแบรนด์ “บา โก ก๋าย” หรือชื่อเรียกแบรนด์ “สามแม่ครัว” ในภาษาเวียดนาม
ซึ่ง บา โก ก๋าย ครองส่วนแบ่งตลาดปลากระป๋องประมาณ 60-70% ในเวียดนาม
นอกจากนี้ แต่เดิมสามแม่ครัว ไม่ได้ผลิตบรรจุภัณฑ์เอง แต่นำเข้าบรรจุภัณฑ์จากภายนอก
แต่ด้วยความที่สามแม่ครัวได้รับความนิยม และขายได้มากขึ้น
แต่ด้วยความที่สามแม่ครัวได้รับความนิยม และขายได้มากขึ้น
คุณสุวัฒน์ อุดมบัณฑิตกุล จึงร่วมกับเพื่อนอีก 2 คน จัดตั้งบริษัท รอแยลแคนอินดัสทรีส์ จำกัด หรือ RC ในปี พ.ศ. 2522 ดำเนินธุรกิจผลิตบรรจุภัณฑ์ประเภทกระป๋อง เพื่อป้อนแบรนด์สามแม่ครัว รวมถึงผู้ประกอบการอื่นๆ
ซึ่งมีโรงงานผลิตบนพื้นที่กว่า 155 ไร่ ในจังหวัดสมุทรสาคร
ซึ่งมีโรงงานผลิตบนพื้นที่กว่า 155 ไร่ ในจังหวัดสมุทรสาคร
แต่ละเดือน RC จะมียอดออร์เดอร์ผลิตกระป๋องมากถึง 40 ล้านกระป๋อง
บริษัท รอแยลแคนอินดัสทรีส์ จำกัด (ผลิตกระป๋องบรรจุอาหาร/แผ่นเหล็กเคลือบ)
ปี 2561 มีรายได้ 2,715 ล้านบาท กำไร 107 ล้านบาท
ปี 2562 มีรายได้ 2,992 ล้านบาท กำไร 153 ล้านบาท
ปี 2561 มีรายได้ 2,715 ล้านบาท กำไร 107 ล้านบาท
ปี 2562 มีรายได้ 2,992 ล้านบาท กำไร 153 ล้านบาท
โดยสัดส่วนรายได้ 60% มาจากผู้ผลิตอาหารในต่างประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่น
และ 40% มาจากผู้ผลิตอาหารในไทย รวมถึงแบรนด์สามแม่ครัว
และ 40% มาจากผู้ผลิตอาหารในไทย รวมถึงแบรนด์สามแม่ครัว
จะเห็นว่า รายได้จากการผลิตกระป๋องหรือบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มบริษัท
มีรายได้ไม่แพ้การผลิตและจำหน่ายปลากระป๋องเลยทีเดียว
มีรายได้ไม่แพ้การผลิตและจำหน่ายปลากระป๋องเลยทีเดียว
และด้วยเทรนด์ความนิยมในอาหารสำเร็จรูปที่เพิ่มมากขึ้น
และความต้องการบรรจุภัณฑ์คุณภาพใหม่ๆ
และความต้องการบรรจุภัณฑ์คุณภาพใหม่ๆ
ทาง RC จึงได้แตกไลน์ธุรกิจออกไปอีก โดยตั้งบริษัท รอแยล เมอิวะ แพ็คซ์ จำกัด หรือ RMP ซึ่งร่วมทุนกับบริษัทญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2554
เพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ระดับพรีเมียม โดยเฉพาะ Retort pouch หรือ รีทอร์ตเพาช์
ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารชนิดหนึ่ง ที่มีคุณสมบัติช่วยเรื่องการถนอมอาหารให้เก็บได้นาน
ตัวแพ็กเกจจิงมีความอ่อนตัว แต่ทนความร้อนได้สูง
และสามารถดีไซน์ได้หลายรูปแบบ ทำเป็นรูปแบบอะไรก็ได้
ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารชนิดหนึ่ง ที่มีคุณสมบัติช่วยเรื่องการถนอมอาหารให้เก็บได้นาน
ตัวแพ็กเกจจิงมีความอ่อนตัว แต่ทนความร้อนได้สูง
และสามารถดีไซน์ได้หลายรูปแบบ ทำเป็นรูปแบบอะไรก็ได้
บริษัท รอแยล เมอิวะ แพ็คซ์ จำกัด (ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก)
ปี 2561 มีรายได้ 455 ล้านบาท กำไร 61 ล้านบาท
ปี 2562 มีรายได้ 527 ล้านบาท กำไร 69 ล้านบาท
ปี 2561 มีรายได้ 455 ล้านบาท กำไร 61 ล้านบาท
ปี 2562 มีรายได้ 527 ล้านบาท กำไร 69 ล้านบาท
เรื่องราวตำนานของ สามแม่ครัว เป็นแรงบันดาลใจที่ดีได้ว่า
แม้ตอนเริ่มต้นทำธุรกิจ จะไม่ได้มีแต้มต่อทางธุรกิจอะไรมากมาย หรือไม่มีประสบการณ์ทำธุรกิจมาก่อน
แม้ตอนเริ่มต้นทำธุรกิจ จะไม่ได้มีแต้มต่อทางธุรกิจอะไรมากมาย หรือไม่มีประสบการณ์ทำธุรกิจมาก่อน
แต่ถ้ามีความมุ่งมั่นตั้งใจ และทุ่มเทกับธุรกิจนั้นๆ จริง
ก็อาจถึงเส้นชัยที่หวัง และเป็นที่หนึ่งในวงการนั้นๆ ได้
เหมือนอย่าง สามแม่ครัว
ก็อาจถึงเส้นชัยที่หวัง และเป็นที่หนึ่งในวงการนั้นๆ ได้
เหมือนอย่าง สามแม่ครัว
ส่วนในอนาคต “สามแม่ครัว” จะมีโอกาสเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นหรือไม่
คุณสุวัฒน์ อุดมบัณฑิตกุล ยอมรับว่าเคยคิดอยู่หลายครั้ง
แม้ที่ปรึกษาทางการเงินจะบอกว่าเขาว่า ไม่จำเป็นต้องเข้า เพราะบริษัทไม่ได้ขัดสนเรื่องเงินทุน
แม้ที่ปรึกษาทางการเงินจะบอกว่าเขาว่า ไม่จำเป็นต้องเข้า เพราะบริษัทไม่ได้ขัดสนเรื่องเงินทุน
แต่เขาก็มองว่า การเข้าตลาดหุ้นจะทำให้บริษัทยั่งยืนกว่า
เพราะทายาทสามแม่ครัว ไม่จำเป็นต้องมาสานต่อธุรกิจ
โดยบริษัทสามารถจ้างมืออาชีพมาบริหารแทนได้
เพราะทายาทสามแม่ครัว ไม่จำเป็นต้องมาสานต่อธุรกิจ
โดยบริษัทสามารถจ้างมืออาชีพมาบริหารแทนได้
ใครจะบริหารก็ได้ ขอให้มีความสามารถจริง
สามารถบริหารให้ธุรกิจอยู่รอด และไปได้ไกลกว่ายุคของเขาได้ นี้คือสิ่งที่คุณสุวัฒน์ ปรารถนา
สามารถบริหารให้ธุรกิจอยู่รอด และไปได้ไกลกว่ายุคของเขาได้ นี้คือสิ่งที่คุณสุวัฒน์ ปรารถนา
ก็รอดูต่อไปว่า คุณสุวัฒน์ จะวิ่งเข้าเส้นทางใหม่ในตลาดหุ้นในเร็วๆ นี้หรือไม่..