EIC ประเมินส่งออก พ.ค. หดตัวสูง แต่ในระยะถัดไป ส่งออกมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป
25 มิ.ย. 2020
มูลค่าการส่งออกเดือนพฤษภาคม 2020 หดตัวในระดับสูงถึง -22.5%YOY และหากหักทองคำ การส่งออกจะหดตัวเพิ่มเติมเป็น -27.8%YOY นับเป็นอัตราหดตัวมากสุดในรอบเกือบ 11 ปี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี 2009 เป็นต้นมา ทั้งนี้การส่งออกรวมในช่วง 5 เดือนแรกของปีหดตัว -3.7%YOY แต่หากหักการส่งกลับอาวุธ
และทองคำ การส่งออกจะหดตัวถึง -9.2%YOY
และทองคำ การส่งออกจะหดตัวถึง -9.2%YOY
สินค้าส่งออกสำคัญเกือบทุกหมวดมีการหดตัวสูง อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าเกษตรยังขยายตัวได้
การส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบหดตัวในระดับสูงที่ -62.6%YOY ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและอุปสงค์ในตลาดรถยนต์ที่ซบเซา โดยเป็นการหดตัวในเกือบทุกตลาดสำคัญ
อาทิ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์
อาทิ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์
ด้านมูลค่าส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญอื่น ๆ ล้วนมีการหดตัว ได้แก่ เม็ดพลาสติก (-26.7%YOY), เคมีภัณฑ์ (-30.0%YOY), เครื่องใช้ไฟฟ้า (-31.7%YOY), เหล็กและผลิตภัณฑ์ (-35.1%YOY), เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (-37.0%YOY) และน้ำมันสำเร็จรูป (-42.4%YOY) ที่หดตัวตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
ทั้งนี้สินค้าหมวดอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม (ไม่รวมทองคำ) หดตัวมากถึง -34.9%YOY
ทั้งนี้สินค้าหมวดอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม (ไม่รวมทองคำ) หดตัวมากถึง -34.9%YOY
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรพลิกกลับมาหดตัวสูงที่ -10.3%YOY หลังจากขยายตัว 5.8%YOY ในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าสำคัญที่หดตัวได้แก่ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (-10.9%YOY) และน้ำตาลทราย
(-25.4%YOY)
(-25.4%YOY)
อย่างไรก็ดี สินค้าเกษตรกรรมยังสามารถขยายตัวได้เป็นเดือนที่ 2 ที่ 14.1%YOY โดยสินค้าเกษตร
ที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (8.0%YOY) ผลไม้สดแช่แข็งและแห้ง (149.8%YOY) และสุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง (797.7%YOY) ขณะที่สินค้าเกษตรบางประเภทยังหดตัว ได้แก่ ยางพารา (-42.0%YOY) และข้าว (-4.0%YOY)
ที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (8.0%YOY) ผลไม้สดแช่แข็งและแห้ง (149.8%YOY) และสุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง (797.7%YOY) ขณะที่สินค้าเกษตรบางประเภทยังหดตัว ได้แก่ ยางพารา (-42.0%YOY) และข้าว (-4.0%YOY)
ด้านการส่งออกทองคำยังคงขยายตัวต่อเนื่องในระดับสูงที่ 735.1%YOY โดยมีตลาดสำคัญคือ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และสิงคโปร์
ด้านการส่งออกรายประเทศ มีเพียงแค่การส่งออกไปจีนที่ขยายตัว ขณะที่การส่งออกไปตลาดสำคัญอื่น ๆ ล้วนหดตัว โดยเฉพาะการส่งออกไปยัง สหรัฐฯ EU15 และประเทศกลุ่มอาเซียน
การส่งออกไปจีนขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ 15.3%YOY หลังจากขยายตัว 9.0%YOY ในเดือนก่อนหน้าโดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ ผลไม้สดแช่แข็งและแห้ง และผลิตภัณฑ์ยาง
การส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ หดตัวสูงถึง -17.3%YOY หลังจากที่ขยายตัว 8.5%YOY (ไม่รวมการส่งกลับอาวุธ) ในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าสำคัญที่หดตัวได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง
และรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ
และรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ
การส่งออกไปญี่ปุ่นหดตัวสูงที่ -24.2%YOY หลังจากขยายตัวที่ 9.9%YOY ในเดือนเม.ย. สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้า
การส่งออกไปตลาดอาเซียน 5 พลิกกลับมาหดตัวที่ -27.9%YOY หลังจากขยายตัว 13.0%YOY ในเดือนก่อนหน้าโดยสินค้าหลักที่หดตัวคือ อัญมณีและเครื่องประดับ และอากาศยานและส่วนประกอบ
การส่งออกไปสหภาพยุโรป15 หดตัวต่อเนื่องในอัตราเร่งเป็นเดือนที่ 3 ที่ -40.0%YOY สินค้าสำคัญ
ที่หดตัว อาทิ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ
ที่หดตัว อาทิ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ
การส่งออกไปตลาด CLMV ยังหดตัวสูงต่อเนื่องที่ -28.0%YOY หลังจากหดตัว -31.0%YOY ในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป และเคมีภัณฑ์
การส่งออกไปตลาดตะวันออกกลาง หดตัวในอัตราเร่งที่ -30.6%YOY โดยสินค้าหลักที่หดตัวคือ รถยนต์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และอัญมณีและเครื่องประดับ
ในส่วนของมูลค่าการนำเข้าหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ -34.4%YOY โดยเป็นการหดตัวในทุกหมวดสำคัญ ได้แก่ สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (-26.1%YOY) หมวดสินค้าเชื้อเพลิง (-70.0%YOY) สินค้าทุน (-25.2%YOY) สินค้าอุปโภคบริโภค (-22.6%YOY) และยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง (-39.7%YOY) ตามลำดับ ตามผลกระทบของมาตรการปิดเมืองในไทยและหลายประเทศทั่วโลก การแพร่ระบาดของ COVID-19 รวมถึงราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้การนำเข้าในช่วง 5 เดือนแรกของปี หดตัว -11.6%YOY
Implication
การส่งออกที่หดตัวระดับสูงในเดือนพฤษภาคมแสดงถึงผลกระทบที่ชัดเจนจาก COVID-19 ทั้งในด้านความอ่อนแอของเศรษฐกิจโลกและปัญหา supply chain disruption ที่เกิดจากมาตรการปิดเมือง (Lockdown) ในหลายประเทศ โดยจากรูปที่ 3 พบว่ามาตรการปิดเมืองในหลายประเทศมีความเข้มงวดมากสุดในช่วงเดือนเมษายนจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม หลังจากนั้น จึงค่อย ๆ มีการผ่อนคลายมาตรการ ดังนั้น จึงทำให้คาดว่าการส่งออกในระยะถัดไป จะมีแนวโน้มหดตัวน้อยลง เนื่องจากปัญหา supply chain disruption มีแนวโน้มคลี่คลายลง
แม้ว่าการส่งออกจะมีแนวโน้มปรับดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปี แต่ EIC คาดว่าการฟื้นตัวจะเป็นไปอย่างช้า ๆ จากหลายปัจจัยเสี่ยงที่ยังกดดันการฟื้นตัวของภาคส่งออก ได้แก่
1) เศรษฐกิจโลกยังมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากผู้บริโภคในหลายประเทศทั่วโลกจะยังระมัดระวัง
ในการใช้จ่าย รวมถึงการลงทุนภาคเอกชนที่จะถูกกดดันจากยอดขายที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่งบดุลที่เปราะบางมากขึ้น
และความไม่แน่นอนในระดับสูง โดยการส่งออกในระยะถัดไปอาจได้รับปัจจัยบวกบางส่วนจาก pending demand หลังจากที่มาตรการปิดเมืองในหลายประเทศมีแนวโน้มผ่อนคลายในระยะข้างหน้า แต่ผลบวกที่เกิดจะเป็นแค่ในระยะสั้น และอาจมีขนาดเล็ก เนื่องจากความต้องการสินค้าส่งออกของไทยยังถูกกดดันด้วยสภาพเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา
และอยู่ในภาวะถดถอย รวมถึงความไม่แน่นอนของการระบาด COVID-19 ที่อาจกลับมาระบาดในระดับรุนแรงได้อีกครั้ง
ในการใช้จ่าย รวมถึงการลงทุนภาคเอกชนที่จะถูกกดดันจากยอดขายที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่งบดุลที่เปราะบางมากขึ้น
และความไม่แน่นอนในระดับสูง โดยการส่งออกในระยะถัดไปอาจได้รับปัจจัยบวกบางส่วนจาก pending demand หลังจากที่มาตรการปิดเมืองในหลายประเทศมีแนวโน้มผ่อนคลายในระยะข้างหน้า แต่ผลบวกที่เกิดจะเป็นแค่ในระยะสั้น และอาจมีขนาดเล็ก เนื่องจากความต้องการสินค้าส่งออกของไทยยังถูกกดดันด้วยสภาพเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา
และอยู่ในภาวะถดถอย รวมถึงความไม่แน่นอนของการระบาด COVID-19 ที่อาจกลับมาระบาดในระดับรุนแรงได้อีกครั้ง
2) ราคาน้ำมันที่ยังหดตัวต่อเนื่อง ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยกดดันมูลค่าการส่งออกในภาพรวม เนื่องจากราคาสินค้าส่งออกหลายประเภทเคลื่อนไหวสอดคล้องกับราคาน้ำมันดิบ อาทิ สินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสินค้าจำพวก
ปิโตรเคมี และสินค้าน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนั้น เมื่อราคาน้ำมันดิบหดตัวในระดับสูงย่อมส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าส่งออกในภาพรวม ซึ่งจะเป็นปัจจัยซ้ำเติมปริมาณส่งออกสินค้าที่ลดลงอยู่แล้ว ทำให้มูลค่าส่งออกมีแนวโน้มหดตัวเพิ่มขึ้น
ปิโตรเคมี และสินค้าน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนั้น เมื่อราคาน้ำมันดิบหดตัวในระดับสูงย่อมส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าส่งออกในภาพรวม ซึ่งจะเป็นปัจจัยซ้ำเติมปริมาณส่งออกสินค้าที่ลดลงอยู่แล้ว ทำให้มูลค่าส่งออกมีแนวโน้มหดตัวเพิ่มขึ้น
3) ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่กลับมาในช่วงเดือนพฤษภาคม 2020 (รูปที่ 4) ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยง
ต่อนโยบายการค้าโลกที่ปรับสูงขึ้น หลังจากที่สหรัฐฯ และจีนลงนามข้อตกลงระยะที่ 1 เมื่อเดือนมกราคม 2020
จีนนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ เพียง 45% ของเป้าหมายมูลค่าการนำเข้าที่ตกลงกันไว้ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สหรัฐฯ กดดันจีนในด้านต่าง ๆ ทำให้ความเสี่ยงต่อนโยบายการค้าการลงทุนในระยะต่อไปกลับมาเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้สินค้า
ที่เกี่ยวเนื่องกับสงครามการค้าได้รับผลกระทบเพิ่มเติมในอนาคต
ต่อนโยบายการค้าโลกที่ปรับสูงขึ้น หลังจากที่สหรัฐฯ และจีนลงนามข้อตกลงระยะที่ 1 เมื่อเดือนมกราคม 2020
จีนนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ เพียง 45% ของเป้าหมายมูลค่าการนำเข้าที่ตกลงกันไว้ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สหรัฐฯ กดดันจีนในด้านต่าง ๆ ทำให้ความเสี่ยงต่อนโยบายการค้าการลงทุนในระยะต่อไปกลับมาเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้สินค้า
ที่เกี่ยวเนื่องกับสงครามการค้าได้รับผลกระทบเพิ่มเติมในอนาคต
ในรอบประมาณการล่าสุดเมื่อต้นเดือนมิถุนายน EIC ได้ปรับคาดการณ์ส่งออกหดตัวลดลงมาอยู่ที่ -10.4% จากเดิมคาด -12.9% ตามการส่งออกทองคำและอาวุธที่มีมากในช่วงที่ผ่านมา โดยหากพิจารณาการส่งออกที่หักลบผลของทองและอาวุธ ในช่วง 5 เดือนแรกของปี พบว่ามูลค่าการส่งออกหดตัวถึง -9.2%YOY ซึ่งเป็นอัตราหดตัวที่สอดคล้องกับที่ EIC เคยคาดไว้ อย่างไรก็ดี ในช่วง 5 เดือนแรก การส่งออกทองคำที่ขยายตัวมากถึง 386.1%YOY เช่นเดียวกับการส่งกลับอาวุธที่เพิ่มขึ้นมาก ทำให้มูลค่าการส่งออกรวมในช่วง 5 เดือนแรกหดตัวเพียง -3.7%YOY ดังนั้น จึงทำให้ EIC คาดว่าการหดตัวของมูลค่าส่งออกโดยรวมทั้งปี 2020 จะต่ำกว่าที่เคยคาดไว้มาอยู่ที่ -10.4%
ทั้งนี้ต้องมีการติดตามภาวะเศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิด หลังตัวเลขเร็ว (High frequency data) เริ่มส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจโลกกำลังผ่านจุดต่ำสุด (bottoming out) โดยจากการติดตามข้อมูลเร็วหลังมีมาตรการผ่อนคลาย
การปิดเมือง รวมถึงมุมมองของหลายสำนักวิจัยระดับโลก พบว่ามีแนวโน้มที่เศรษฐกิจโลกอาจฟื้นตัวเร็วกว่าคาด ซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออกของไทยโดยตรง โดย EIC จะมีการติดตามสถานการณ์และประเมินแนวโน้มภาคส่งออกของไทยอย่างใกล้ชิดในระยะต่อไป
การปิดเมือง รวมถึงมุมมองของหลายสำนักวิจัยระดับโลก พบว่ามีแนวโน้มที่เศรษฐกิจโลกอาจฟื้นตัวเร็วกว่าคาด ซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออกของไทยโดยตรง โดย EIC จะมีการติดตามสถานการณ์และประเมินแนวโน้มภาคส่งออกของไทยอย่างใกล้ชิดในระยะต่อไป