
สรุปสถานการณ์ และเทรนด์ค้าปลีกไทย ปี 2568 จากสมาคมผู้ค้าปลีกไทย
21 เม.ย. 2025
นายณัฐ วงศ์พานิช ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า
“สถานการณ์ค้าปลีกไทยเต็มไปด้วยความท้าทายจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกที่ลดลงต่อเนื่องสะท้อนภาพการบริโภคที่ชะลอตัว”
“สถานการณ์ค้าปลีกไทยเต็มไปด้วยความท้าทายจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกที่ลดลงต่อเนื่องสะท้อนภาพการบริโภคที่ชะลอตัว”
สรุปสถานการณ์ค้าปลีกไทย ครึ่งปีหลัง 2568
-ปี 2567 ภาคค้าปลีกมีมูลค่าราว 4 ล้านล้านบาท โดยมี สัดส่วนมูลค่าใน GDP สูงเป็นอันดับ 2 หรือคิดเป็น 16% ของขนาดเศรษฐกิจทั้งประเทศ (ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย)
-ยอดขายภาคค้าปลีกมีแนวโน้มเติบโตชะลอลง โดยในช่วงปี 2567-2568 โตเฉลี่ย 3.4% (1.36 แสนล้านบาท)
เทียบกับในช่วงปี 2565-2566 ที่โต 5.9%
เทียบกับในช่วงปี 2565-2566 ที่โต 5.9%
จากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ความไม่แน่นอนในเรื่องกำแพงภาษีสหรัฐอเมริกา กำลังซื้อผู้บริโภคที่ฟื้นตัวช้า รวมถึงการแข่งขันรุนแรงกับแพลตฟอร์มค้าปลีกต่างชาติอย่าง E-Commerce (ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย)
-ผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs ที่มีจำนวนมากกว่า 3.3 ล้านราย ต้องเผชิญความเสี่ยงจากการแข่งขันที่รุนแรง
โดยเฉพาะ สินค้านำเข้าราคาถูกและด้อยคุณภาพจากต่างประเทศ ที่เข้ามาผ่านทางอีคอมเมิร์ซและผู้ประกอบการรายย่อยข้ามแดน
โดยเฉพาะ สินค้านำเข้าราคาถูกและด้อยคุณภาพจากต่างประเทศ ที่เข้ามาผ่านทางอีคอมเมิร์ซและผู้ประกอบการรายย่อยข้ามแดน
-ต้นทุนการดำเนินธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น จากการปรับขึ้นค่าแรง ต้นทุนโลจิสติกส์ ค่าพลังงานและสาธารณูปโภค
-ค้าปลีกยังคงเป็น เครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทย ในการขับเคลื่อนภาคผลิต ภาคการบริโภค และภาคแรงงาน
-นักท่องเที่ยวจีนมีจำนวนลดลง ในครึ่งปีหลังจึงจำเป็นต้องหา ตลาดทดแทน เช่น นักท่องเที่ยวระยะไกล (Long Haul) หรือยุโรปมากขึ้น เช่น รัสเซีย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี และตะวันออกกลาง
สรุปเทรนด์ค้าปลีก 2568 ในมุมมองสมาคมผู้ค้าปลีกไทย
-Convergence Commerce as the New Standard สร้างประสบการณ์ที่เชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อระหว่างช่องทาง Offline และ Online
รวมถึงการผสานร้านค้ารายใหญ่และรายย่อยให้เป็นระบบนิเวศเดียวกัน เพื่อส่งมอบสินค้าและบริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
-AI Personalization Engine นำเสนอสินค้า โปรโมชัน และประสบการณ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าแต่ละรายอย่างเฉพาะบุคคล
ด้วยการใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อบริหารจัดการสต็อกสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มยอดขาย ลดปริมาณสินค้าคงคลังที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า
-Sustainable Retail ผู้บริโภคยุคใหม่ ให้ความสนใจแบรนด์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม, ใช้บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน
โดยเฉพาะประเทศในยุโรปที่จริงจังเรื่อง Sustainable เป็นพิเศษ เนื่องจากนโยบายภาครัฐที่ให้ความสำคัญในเรื่องความยั่งยืน และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ทำให้ทั่วโลกเริ่มปรับตัวตาม รวมถึงประเทศไทยด้วย