
โมเดลธุรกิจ “ตลาดสดพรีเมียม” รวมร้านดัง ๆ ในที่เดียว ที่กำลังเวิร์กมาก คนเยอะมากตอนนี้
17 เม.ย. 2025
ถ้าพูดถึง “ตลาดสด” หลายคนอาจจะคิดถึงตลาดสดอากาศร้อน ๆ และมีกลิ่นอาหารสดตลบอบอวล ซึ่งอาจจะไม่ได้ถูกใจทุกคน
แต่ตอนนี้มีโมเดลตลาดสดแบบพรีเมียมที่เอาของสด, ร้านอาหารแบรนด์ดัง และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ มารวมกันในที่เดียว และมีการแยกโซนกันชัดเจน ซึ่งดูพรีเมียมกว่าตลาดสดทั่ว ๆ ไป ให้เห็นอยู่หลายแห่ง
ตลาดสดแบบนี้กำลังฮิตมาก ๆ เห็นได้จากการพูดถึงบนโลกโซเชียล และจำนวนคนเดินตลาดที่แน่นตลอดในหลาย ๆ ที่
โมเดลตลาดสดพรีเมียมมีอะไรน่าสนใจบ้าง และทำไมถึงฮิต ?
MarketThink ชวนทุกคนมาวิเคราะห์กันในโพสต์นี้
MarketThink ชวนทุกคนมาวิเคราะห์กันในโพสต์นี้
ถ้าจะยกตัวอย่างที่ใกล้เคียงกับ ตลาดสดพรีเมียม
สถานที่ที่ใกล้เคียงที่สุดก็น่าจะเป็น “ตลาดสดธนบุรี” และ “The Glass Market Bangna” ที่หลายคนน่าจะเคยเห็นกันตามโซเชียล
สถานที่ที่ใกล้เคียงที่สุดก็น่าจะเป็น “ตลาดสดธนบุรี” และ “The Glass Market Bangna” ที่หลายคนน่าจะเคยเห็นกันตามโซเชียล
โดย ตลาดสดธนบุรี จะเป็นตลาดขนาด 30 ไร่ ตั้งอยู่ที่ถนนบรมราชชนนี เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อช่วงเดือนมีนาคม 2565 หรือเมื่อ 3 ปีที่แล้ว
ตลาดสดธนบุรี มีพื้นที่ให้บริการ 4 โซน ได้แก่
- โซนศูนย์อาหาร
- โซนตลาดสด
- โซนขายดอกไม้
- โซนร้านค้าปลีก รวมถึงบริการอื่น ๆ มี ฟิตเนส, ร้านค้า และร้านขายยา
- โซนศูนย์อาหาร
- โซนตลาดสด
- โซนขายดอกไม้
- โซนร้านค้าปลีก รวมถึงบริการอื่น ๆ มี ฟิตเนส, ร้านค้า และร้านขายยา
ส่วน The Glass Market Bangna เป็นตลาดขนาด 20 ไร่ ตั้งอยู่ที่ถนนบางนา-ตราด กม.7 บริเวณปากซอยโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว เปิดให้บริการเมื่อช่วงเดือนมีนาคม 2568 ที่ผ่านมานี้
สำหรับ The Glass Market Bangna จะมีพื้นที่ให้บริการ 3 โซน ได้แก่
- โซนฟูดคอร์ต
- โซนตลาดสด
- โซนร้านค้าปลีก และบริการอื่น ๆ มี ฟิตเนส, ร้านค้า และร้านขายยา
- โซนฟูดคอร์ต
- โซนตลาดสด
- โซนร้านค้าปลีก และบริการอื่น ๆ มี ฟิตเนส, ร้านค้า และร้านขายยา
จะเห็นได้ว่าตลาดทั้ง 2 แห่ง จะมีโมเดลธุรกิจคล้าย ๆ กัน คือเน้นพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นสิบ ๆ ไร่ แต่จะมีการแบ่งพื้นที่ให้บริการออกเป็นหลาย ๆ โซนอย่างชัดเจน
ซึ่งข้อดีของการทำแบบนี้คือ จะช่วยลด Pain Point ของตลาดสดแบบเดิมให้คนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
คนที่ไม่ได้อยากเดินตลาดสดก็สามารถมาใช้บริการได้แบบไม่ต้องกลัวกลิ่นเหม็น
ในขณะที่คนอยากเดินตลาดสดก็ยังมีร้านค้าประเภทอื่น ๆ ให้เลือกใช้บริการได้ด้วย ไม่ได้มีแค่ของสดให้ซื้อเพียงอย่างเดียว
ในขณะที่คนอยากเดินตลาดสดก็ยังมีร้านค้าประเภทอื่น ๆ ให้เลือกใช้บริการได้ด้วย ไม่ได้มีแค่ของสดให้ซื้อเพียงอย่างเดียว
อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าสนใจมาก ๆ ของโมเดลตลาดแบบนี้ คือ “โซนอาหาร” ที่เอาแบรนด์ดังมารวมกันเยอะ ๆ
โดยโซนอาหารในตลาดลักษณะนี้จะเป็นการเอาร้านดังหลาย ๆ ร้านมารวมกัน และมีส่วนกลางให้ลูกค้านั่งรับประทานอาหารรวมกันเหมือนเป็นฟูดคอร์ตขนาดใหญ่
การทำแบบนี้ นอกจากลูกค้าจะมีร้านอาหารให้เลือกเยอะ แบบครบจบในที่เดียวแล้ว ลูกค้ายังจะได้ประสบการณ์แบบใหม่ ๆ ที่แตกต่างจากการทานอาหารในศูนย์การค้าในหลาย ๆ มุม
ยกตัวอย่างเช่น
- ลูกค้าสามารถสั่งอาหารจากหลาย ๆ ร้านมาทานพร้อมกันได้
เช่น ลูกค้าสามารถสั่งอาหารจากร้าน A ซื้อของทอดจากร้าน B และสั่งเครื่องดื่มที่ร้าน C มานั่งทานในมื้อเดียวกันได้
เช่น ลูกค้าสามารถสั่งอาหารจากร้าน A ซื้อของทอดจากร้าน B และสั่งเครื่องดื่มที่ร้าน C มานั่งทานในมื้อเดียวกันได้
โดยที่ไม่จำเป็นต้องเลือกว่าจะเดินเข้าร้านใดร้านหนึ่งเหมือนร้านอาหารในศูนย์การค้า หรือร้านอาหารใน Community Mall ที่ชอบตั้งร้านแยกกัน
- ลูกค้าที่มาเป็นกลุ่มไม่ต้องเลือกว่าจะเข้าร้านใดร้านหนึ่ง
เช่น ถ้ามีลูกค้าเป็นกลุ่มคู่รัก สมมติว่ามีคนหนึ่งอยากทานผัดกะเพรา แต่อีกคนอยากทานสุกี้
เช่น ถ้ามีลูกค้าเป็นกลุ่มคู่รัก สมมติว่ามีคนหนึ่งอยากทานผัดกะเพรา แต่อีกคนอยากทานสุกี้
แบบนี้ถ้าไปศูนย์การค้า ลูกค้ากลุ่มนี้ต้องเลือกร้านใดร้านหนึ่ง
แต่ถ้าไปที่ตลาดสดโมเดลแบบนี้ แต่ละคนจะสามารถเลือกทานร้านที่ต้องการได้ โดยที่ยังสามารถนั่งด้วยกันได้นั่นเอง
แต่ถ้าไปที่ตลาดสดโมเดลแบบนี้ แต่ละคนจะสามารถเลือกทานร้านที่ต้องการได้ โดยที่ยังสามารถนั่งด้วยกันได้นั่นเอง
ที่น่าสนใจคือ ตอนนี้มีแบรนด์ดัง ๆ มาตั้งร้านในตลาดโมเดลแบบนี้เยอะมาก ๆ ไม่ว่าจะแบรนด์เล็กหรือแบรนด์ใหญ่
ตัวอย่างแบรนด์ดังใน ตลาดสดธนบุรี เช่น
- GON Express (ร้านอาหารจานด่วนของ Bar B Q Plaza)
- เจปัง ไอติมย่างเนย
- แอนก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ และอีกหลาย ๆ แบรนด์
ตัวอย่างแบรนด์ดังใน The Glass Market Bangna เช่น
- นายอ้วนเย็นตาโฟ
- 71 หมูกะทะ Quick Meal (ร้านอาหารจานด่วนของ 71 หมูกะทะ)
- Jones Salad
- เนื้อแท้ Wok และอีกหลาย ๆ แบรนด์
- GON Express (ร้านอาหารจานด่วนของ Bar B Q Plaza)
- เจปัง ไอติมย่างเนย
- แอนก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ และอีกหลาย ๆ แบรนด์
ตัวอย่างแบรนด์ดังใน The Glass Market Bangna เช่น
- นายอ้วนเย็นตาโฟ
- 71 หมูกะทะ Quick Meal (ร้านอาหารจานด่วนของ 71 หมูกะทะ)
- Jones Salad
- เนื้อแท้ Wok และอีกหลาย ๆ แบรนด์
ซึ่งร้านดังเหล่านี้มีฐานลูกค้าในมือเยอะอยู่แล้ว พอเอามาเปิดรวมกันก็ยิ่งทำให้ Traffic ของลูกค้าจากแต่ละแบรนด์เข้ามาในตลาดเยอะมาก ๆ
อ่านถึงตรงนี้ หลาย ๆ คนน่าจะเห็นภาพแล้วว่าทำไมโมเดลตลาดสดพรีเมียมแบบนี้ถึงฮิตมาก ๆ ในหลายพื้นที่
แต่ก็ใช่ว่าโมเดลตลาดแบบนี้จะไม่มีข้อเสียเลย
เพราะด้วยรูปแบบการเอาร้านดัง ๆ มารวมกัน โดยให้ลูกค้านั่งรวมกัน จะมีข้อจำกัดหลาย ๆ อย่าง
เพราะด้วยรูปแบบการเอาร้านดัง ๆ มารวมกัน โดยให้ลูกค้านั่งรวมกัน จะมีข้อจำกัดหลาย ๆ อย่าง
ยกตัวอย่างเช่น
- เรื่องการบริการในตลาด ที่อาจจะยังไม่ทั่วถึงเท่าการไปนั่งทานอาหารในร้านจริง ๆ ดังนั้นคนที่ซีเรียสเรื่องการบริการอาจจะไม่เหมาะกับการมาตลาดแบบนี้
- เรื่องความหลากหลายของประเภทอาหาร เช่น ชาบู, หมูกระทะ หรือเมนูอื่น ๆ ที่ต้องใช้พื้นที่บนโต๊ะอาหารเยอะ อาจจะมีข้อจำกัดที่จะเสิร์ฟในตลาดแบบนี้
โมเดลตลาดแบบนี้เลยอาจจะเหมาะกับอาหารประเภทอาหารจานเดียวมากกว่านั่นเอง
ปิดท้ายด้วยเรื่องน่าสนใจ..
รู้หรือไม่ ? The Glass Market Bangna พัฒนาโดย บริษัท สุถิระพัฒน์ จำกัด เจ้าของสนามกอล์ฟเมืองแก้ว และ Chiangmai Highlands Golf and Spa Resort
รู้หรือไม่ ? The Glass Market Bangna พัฒนาโดย บริษัท สุถิระพัฒน์ จำกัด เจ้าของสนามกอล์ฟเมืองแก้ว และ Chiangmai Highlands Golf and Spa Resort
ซึ่งเป็นธุรกิจในครอบครัวของ คุณตุลย์-ภากร ธนศรีวนิชชัย นักแสดงที่หลายคนรู้จักกันดีจากซีรีส์ Together With Me อกหักมารักกับผม และ Manner of Death พฤติการณ์ที่ตาย ซึ่งเป็นผู้ปลุกปั้นตลาดแห่งนี้ร่วมกับพี่สาวด้วย