เต็ดตรา แพ้ค ไขรหัสตลาดกาแฟพร้อมดื่ม Premium ทั่วโลก ด้วยแพ็กเกจจิง “กล่องเครื่องดื่ม”

เต็ดตรา แพ้ค ไขรหัสตลาดกาแฟพร้อมดื่ม Premium ทั่วโลก ด้วยแพ็กเกจจิง “กล่องเครื่องดื่ม”

20 ม.ค. 2025
หากพูดถึง ตลาดกาแฟพร้อมดื่ม เราจะนึกถึงอะไร ? 
ราคา, ช่องทางการขายที่เข้าถึงได้ง่าย และมีแบรนด์ให้เลือกดื่มไม่มากนัก  
นั่นคือภาพรวมตลาดโดยรวม ที่ผู้บริโภคคุ้นชินมาอย่างยาวนาน
แต่รู้หรือไม่.. ตลาดกาแฟพร้อมดื่มเมืองไทยที่มีมูลค่า 24,000 ล้านบาท อาจมาถึง “จุดเปลี่ยน” ที่น่าจับตามอง เมื่อเราได้เห็นแบรนด์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย
โดยวางตำแหน่งทางการตลาดเป็นกาแฟพร้อมดื่มแบบ Premium มาพร้อมราคา 30-40 บาท  
เบื้องหลังการเติบโตครั้งนี้ มาจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เริ่มเปลี่ยนไปจนแปรเปลี่ยนเป็น Demand โจทย์ก็คือ เจ้าของแบรนด์เองก็ต้องสร้าง Supply มาตอบสนอง Demand ให้ตรงจุด 
“ผู้บริโภคไทยที่ดื่มกาแฟกว่าครึ่งไม่เคยทดลองกาแฟพร้อมดื่มในรูปแบบอื่น ๆ แต่หากเราดู ข้อมูลเจาะลึกไปจะพบว่าพฤติกรรมผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยน โดยเฉพาะกลุ่มคนวัยทำงาน และ Gen Z เมื่อพวกเขาเริ่มมองหากาแฟพร้อมดื่มคุณภาพสูง”
คุณสุภนัฐ รัตนทิพ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด บอกถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตลาดกาแฟพร้อมดื่มเมืองไทย
ที่น่าสนใจกว่านั้น หากเราไปที่ชั้นวางกาแฟพร้อมดื่มในกลุ่ม Premium ในตลาดอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ หรือยุโรป
แพ็กเกจจิงที่เห็นมากที่สุด จะเป็น “กล่องเครื่องดื่ม” ที่มาพร้อมดิไซน์สวยแปลกใหม่สะดุดตา ชวนให้อยากทดลองซื้อ
ทำไมตลาดกาแฟพร้อมดื่มในต่างประเทศจึงให้ความสนใจกับรูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์ ?
แพ็กเกจจิงแบบ “กล่องเครื่องดื่ม” กับ “กาแฟพร้อมดื่ม Premium” จะมาปลดล็อกตลาดในรูปแบบเดิม ๆ สู่การสร้างปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ในตลาดกาแฟพร้อมดื่มเมืองไทยด้วยวิธีไหน ?
MarketThink ชวนมาหาคำตอบเรื่องนี้จากการพูดคุยกับคุณสุภนัฐ แบบเจาะลึก 
คุณสุภนัฐ เล่าให้ฟังว่า Tetra Pak เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารและเครื่องดื่มระดับโลก 
ทำให้มีข้อมูลในหลายหมวดผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในแต่ละประเทศ จึงมีข้อมูลที่ลงลึกและหลากหลายมาสนับสนุนการออกผลิตภัณฑ์และการทำตลาดให้กับแบรนด์สินค้าต่าง ๆ ทั่วโลก
โดยในประเทศญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และประเทศในแถบยุโรป แบรนด์ต่าง ๆ ในตลาดกาแฟพร้อมดื่มกว่า 80% เลือกใช้บรรจุภัณฑ์แบบกล่อง 
เหตุผลเพราะดิไซน์ที่จับถนัดมือ และที่สำคัญแพ็กเกจจิงกล่องเครื่องดื่มใช้วัตถุดิบหลักเป็นกระดาษ ทำให้มีการปล่อยคาร์บอนฯ ตลอดทั้งวงจรน้อยกว่าแพ็กเกจจิงรูปแบบอื่น ๆ
สรุปง่าย ๆ ก็คือ ผู้บริโภคในหลายประเทศทั่วโลก เวลานี้ได้ตื่นตัวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำให้การเลือกใช้แพ็กเกจจิงกล่องกระดาษ ที่มีการปล่อยคาร์บอนฯ น้อยที่สุด เมื่อเทียบกับแพ็กเกจจิงแบบอื่น ๆ กลายเป็นอีกหนึ่งจุดขายที่ช่วยบิลด์ผู้บริโภคให้ตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ แพ็กเกจจิงแบบกล่อง จะมีดิไซน์หลากหลายที่ทำให้ตัวสินค้าสร้างความโดดเด่นสะดุดตาในชั้นวางจำหน่ายหรือตู้แช่ในร้านค้าที่มีเครื่องดื่มมากมายให้เลือกซื้อ
คุณสุภนัฐเล่าว่า ปัจจุบันแบรนด์กาแฟพร้อมดื่มแบรนด์ไหนที่คิดจะขยายไปยังตลาดต่างประเทศต้องคิดถึงการตอบโจทย์เรื่องเทรนด์สิ่งแวดล้อมด้วย เนื่องจากกฎนโยบายการค้า ที่ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม ที่หลาย ๆ ประเทศเริ่มนำมาใช้ กับสินค้าที่จะขายภายในประเทศตัวเอง
โดยนวัตกรรมกล่องบรรจุภัณฑ์ที่ชื่อว่า Tetra Prisma® Aseptic ของทาง Tetra Pak ได้รับความนิยมจากแบรนด์กาแฟพร้อมดื่มในหลายประเทศ ซึ่งจะมีดิไซน์เป็นกล่องรูปทรง 8 เหลี่ยม
แล้ว Tetra Prisma Aseptic มีจุดขายอะไรบ้าง ที่ชนะใจเจ้าของแบรนด์ให้เลือกใช้ตอบโจทย์ผู้บริโภค ?
 -  มีหลายขนาดให้เลือก เช่น 200 มล., 250 มล., 300 มล., 330 มล. เป็นต้น ที่จะช่วยสร้างความยืดหยุ่นให้แก่เจ้าของแบรนด์ในการเลือกใช้แพ็กเกจจิงที่จับกลุ่มผู้บริโภคได้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
- Tetra Prisma Aseptic เป็นกล่องกระดาษที่ผลิตจากวัตถุดิบที่ผ่านการรับรองจากองค์การจัดการป่าไม้ และมีตัวเลือกการใช้พลาสติกชีวภาพในชั้นปกป้องและฝาปิด ทำให้กล่องรุ่นนี้ ลดคาร์บอนฯ ได้มากถึง 61% เมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์แบบกล่องอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
- เป็นกล่องกระดาษที่สามารถสร้างดิไซน์ได้หลายรูปแบบเพื่อให้สินค้าโดดเด่นในตู้แช่ สร้างโอกาสให้ผู้บริโภคเข้าหาสินค้าได้สูง โดยเฉพาะกับผู้บริโภคที่ไม่เคยทดลองแบรนด์
- Tetra Prisma Aseptic เป็นกล่องที่สามารถออกแบบฟังก์ชันการดื่มที่เป็นฝาเปิดปิด ตอบโจทย์การดื่มทั้งแบบครั้งเดียวหรือจะเก็บไว้ดื่มในครั้งต่อ ๆ ไป
- เป็นกล่องที่ผลิตโดย Tetra Pak ที่มีเทคโนโลยีการผลิตบรรจุภัณฑ์ระดับโลก เช่น การบรรจุแบบปลอดเชื้อ ที่ช่วยรักษารสชาติและคุณภาพของกาแฟให้อร่อยเข้มข้น สดใหม่ และเก็บไว้ได้นานโดยไม่ต้องแช่เย็นหรือใช้สารกันบูด
ถ้าถามว่า กาแฟพร้อมดื่มในเมืองไทย ยังมีโอกาสเติบโตมากแค่ไหน ? 
และการเติบโตนี้จะมีช่องว่างอะไรที่ซ่อนอยู่เพื่อให้แบรนด์ใหม่ ๆ สร้างโอกาสในธุรกิจ คุณสุภนัฐ สรุปออกมา 4 ข้อใหญ่ ๆ 
1. อัตราการบริโภคกาแฟของคนไทยอยู่ที่ 300 แก้วต่อคนต่อปี แม้จะดูเป็นอัตราที่สูง แต่ก็ยังไม่ใช่ตลาดที่อิ่มตัว สังเกตได้จากมูลค่าตลาดที่เพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี อีกทั้งหากเทียบอัตราการบริโภคกับประเทศอื่น ๆ ยังถือว่าน้อย
2. ผู้บริโภคเริ่มมองหาประสบการณ์การดื่มกาแฟใหม่ หนึ่งในนั้นก็คือ กาแฟพร้อมดื่มในกลุ่ม Premium ที่มีฐานลูกค้าหลักคือคนในวัยทำงาน และกลุ่ม Gen Z ที่มีกำลังซื้อสูงและยอมจ่ายในสินค้าที่มีคุณภาพตอบโจทย์ตัวเอง
3. แพ็กเกจจิงแบบกล่องกระดาษ กำลังเป็นเทรนด์ฮิต เมื่อเวลานี้ผู้บริโภคคนไทยเริ่มตื่นตัวกับกระแสด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้เริ่มมองหาสินค้าที่ดูแลด้านสิ่งแวดล้อม ตรงนี้เองที่ทำให้แพ็กเกจจิงแบบกล่องเป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศและเมืองไทยในไม่ช้า
4. กาแฟพร้อมดื่ม Premium เป็นธุรกิจที่มีกำไรการขายต่อหน่วยมากกว่ากาแฟพร้อมดื่มแบบ Mass
อ่านมาถึงตรงนี้ และหากอยากเริ่มลงทุนหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมในธุรกิจกาแฟพร้อมดื่ม จะเริ่มต้นปรึกษาพูดคุยกับใครดี
Tetra Pak ถือเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ที่น่าสนใจและไม่ควรมองข้าม
หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า Tetra Pak ไม่ได้จำกัดตัวเองแค่ ผู้นำเสนอโซลูชันการผลิตและแพ็กเกจจิง ให้แก่แบรนด์ทั่วโลก แต่ยังเป็นเสมือนเพื่อนคู่คิดทางธุรกิจที่ให้คำปรึกษาหลายด้าน
เช่น แนะนำการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับแบรนด์คู่ค้าในหลากหลายมิติ ให้คำแนะนำในโครงสร้างพื้นฐานในแต่ละอุตสาหกรรม ผ่านเครื่องมือการตลาดที่ครอบคลุม มีศูนย์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ จนถึงมีการอัปเดตเทรนด์ต่าง ๆ ผ่านรายงานเทรนด์ผู้บริโภคประจำปี ที่เรียกว่า Trendipedia เป็นต้น
เหตุผลที่ Tetra Pak ลงทุนมหาศาลด้านข้อมูลและเครื่องมือการตลาดที่ทรงพลัง ก็เพื่อติดอาวุธช่วยเหลือแบรนด์สินค้าต่าง ๆ ให้โดดเด่นและมีความได้เปรียบในการแข่งขัน
เพราะยิ่งเจ้าของแบรนด์กาแฟพร้อมดื่มและแบรนด์เครื่องดื่มต่าง ๆ มีการเติบโตมากเท่าไร Tetra Pak ก็จะเติบโตไปพร้อม ๆ กับบรรดาแบรนด์ที่เป็นลูกค้าได้อย่างยั่งยืน
เป็นแนวคิดทางธุรกิจที่ Win-Win กันทั้งสองฝ่าย
สนใจข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจกาแฟพร้อมดื่ม ติดตามได้ที่ https://www.tetrapak.com/en-th/campaigns/ready-to-drink-coffee-th
© 2025 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.