เมื่อเทรนด์ธุรกิจทั่วโลกคือความยั่งยืน บทบาทของธนาคารเป็นอีกหัวใจของการเปลี่ยนแปลง เจาะกลยุทธ์ธนาคารกรุงศรี “GO Sustainable with krungsri”
24 ธ.ค. 2024
ในยุคนี้การดำเนินธุรกิจควบคู่กับความยั่งยืนกลายเป็นสิ่งที่ธุรกิจทุกภาคส่วนต่างให้ความสำคัญ ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงแค่กระแส แต่เป็น “มาตรฐานใหม่” ที่กำหนดอนาคตของการดำเนินธุรกิจทั้งในระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับโลก
จากรายงานของ McKinsey พบว่า 70% ขององค์กรระดับโลกได้วางกลยุทธ์ ESG เป็นหัวใจของแผนธุรกิจ
โดยตลาดเทคโนโลยีสีเขียวและความยั่งยืนทั่วโลก มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 22.4% ต่อปี และคาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 8.8 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2573
สำหรับประเทศไทยแล้ว แนวโน้มธุรกิจเพื่อความยั่งยืนก็กำลังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยแสดงให้เห็นได้จากในกลุ่มธุรกิจพลังงานและการผลิตกว่า 40% เริ่มปรับเปลี่ยนไปสู่การใช้พลังงานทดแทนและการผลิตแบบหมุนเวียน
นอกจากนี้ ธุรกิจสีเขียวในไทยยังเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ช่วยสร้างงาน และกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสม 1.4% ต่อปีในด้านการจ้างงาน
การดำเนินธุรกิจควบคู่กับความยั่งยืน ไม่ได้เป็นเพียงแค่มาตรฐาน และหน้าที่ขององค์กรที่จำเป็นต้องดำเนินตามเทรนด์เท่านั้น..
แต่ยังเป็นโอกาสสำคัญที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ลดต้นทุน และสร้างความเชื่อมั่นจากนักลงทุน เนื่องจากหัวใจหลักของการดำเนินธุรกิจควบคู่กับความยั่งยืนคือ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างคุณค่าระยะยาวให้กับทั้งองค์กรและสังคม
และหากลองมองการบริโภคของผู้คนในปัจจุบัน จะพบว่าผู้คนหันมาเลือกซื้อสินค้ากับธุรกิจที่ใส่ใจเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงานสะอาด หรือการสนับสนุนธุรกิจที่มุ่งลดคาร์บอนฟุตพรินต์
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่า “ความยั่งยืน” ได้กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน ซึ่งธุรกิจที่สามารถปรับตัวได้ทันกับแนวทางนี้ จะเป็นผู้ที่อยู่รอด และเติบโตได้อย่างมั่นคง
และหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนให้ธุรกิจปรับตัวสู่ความยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือ “ธนาคาร”
โดยบทบาทของธนาคารที่เข้ามาช่วยให้ธุรกิจ สามารถปรับตัวเข้าสู่ความยั่งยืนได้ เช่น
- การให้บริการทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อ, การลงทุน, การจัดการเงินสด, การให้สินเชื่อที่สอดคล้องกับแนวทาง ESG หรือการสนับสนุนโครงการสีเขียว
- การลดความเสี่ยงทางการเงิน เช่น การประกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน, การจัดการดอกเบี้ย หรือการประกันภัยในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝัน
- การให้คำปรึกษาและความเชี่ยวชาญ เช่น ช่วยธุรกิจวางแผนการลงทุน, วิเคราะห์ความเสี่ยง และกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสม
เนื่องจากธนาคารสามารถช่วยธุรกิจให้เข้าถึงความรู้ และเทคโนโลยีที่จำเป็น เช่น การแนะนำโซลูชันดิจิทัลสำหรับการชำระเงินหรือการบริหารเงิน
- ช่วยเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจและตลาด ผ่านเครือข่ายพันธมิตรทางการค้า หรือช่วยสนับสนุนการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศด้วยบริการด้านการส่งออกและนำเข้า (Trade Finance)
จะเห็นได้ว่าธนาคารไม่เพียงมีบทบาทในการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ แต่ยังเป็นผู้นำในการปรับตัวให้สอดคล้องกับแนวคิดความยั่งยืน ผ่านการดำเนินงานที่เชื่อมโยงกับประโยชน์ของผู้รับบริการทั้งทางตรงและทางอ้อม
ซึ่งแนวคิด “GO Sustainable with krungsri” ของธนาคารกรุงศรี ถือเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนในการเดินหน้าสู่เป้าหมายความยั่งยืน
แนวคิดนี้ ทำให้ธนาคารกรุงศรีดำเนินงานภายใต้กลยุทธ์ที่จะผลักดันให้ธนาคารกรุงศรีกลายเป็น ธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาคเพื่อความยั่งยืน
โดยกลยุทธ์การดำเนินงานของธนาคารกรุงศรีเน้นขับเคลื่อนเพื่อความยั่งยืนใน 2 ด้าน ได้แก่
- การเติบโตอย่างยั่งยืนและรักษาความเป็นผู้นำในธุรกิจหลัก (Sustainable Core Business) โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ พร้อมทั้งให้ความสำคัญด้านความร่วมมือกับพันธมิตร และการสร้างอีโคซิสเตมให้กับธุรกิจทั้งในประเทศและอาเซียน
- การขับเคลื่อนเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมและเศรษฐกิจที่ยั่งยืน (Sustainable Society) โดยให้การสนับสนุนลูกค้าเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน และให้ความสำคัญกับการสร้างผลลัพธ์เชิงบวกต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยในภาพรวม
นอกจากนี้ ธนาคารกรุงศรีได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Krungsri Net Zero Vision) ตั้งเป้าลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการทางธุรกิจของธนาคารภายในปี 2573 และจากการให้บริการทางการเงินทั้งหมดภายในปี 2593
ซึ่งในระยะเวลาที่ผ่านมา กรุงศรีก็ได้ดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับวิสัยทัศน์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์มาอย่างต่อเนื่อง ผ่าน 2 ด้าน ได้แก่
- ด้านดำเนินการภายในองค์กร กรุงศรีตั้งเป้าเป็น Net-Zero Organization ผ่านการดำเนินการในหลายโครงการอย่างต่อเนื่อง ทั้งสำนักงานใหญ่ อาคารสำนักงานอื่น ๆ และสาขาของธนาคาร
เช่น การเปลี่ยนระบบเครื่องทำความเย็น (Chiller Plant), การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์, การเปลี่ยนรถยนต์ส่วนกลางและจักรยานยนต์ที่ใช้ในการรับส่งเอกสารเป็นยานยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงการกำจัดขยะ
- ด้านการเงิน กรุงศรีมุ่งสนับสนุนลูกค้าสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน โดยกรุงศรีได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับ MUFG สถาบันการเงินชั้นนำระดับโลก ปัจจุบันกรุงศรีอยู่ในตำแหน่งผู้นำในตลาดทุนและตลาดสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนในประเทศไทย
รวมถึงเป็นผู้ออกตราสารเพื่อความยั่งยืน (ESG Bond Underwriting) โดยมีส่วนแบ่งตลาดราว 20% และเป็นธนาคารพาณิชย์ไทยรายแรกที่ออกผลิตภัณฑ์ด้านความยั่งยืนใหม่ ๆ สู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เช่น สินเชื่อเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน, หุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืน และเงินฝากเพื่อความยั่งยืน
โดยปัจจุบันกรุงศรีอยู่ในระหว่างการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้มีมาตรฐานสากล TCFD หรือก็คือมาตรฐานที่ใช้ในกระบวนการรายงานความยั่งยืนในกลุ่มธุรกิจ
นอกจากนี้ ธนาคารกรุงศรียังเป็นหนึ่งในธนาคารหลักที่ทำงานภายใต้สมาคมธนาคารไทย เพื่อช่วยภาคธนาคารไทยเร่งพัฒนาแผน Transition Plan เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านของประเทศสู่เป้าหมาย Net Zero สำหรับภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกด้วย
ภายใต้แนวคิด GO Sustainable with krungsri ที่กรุงศรีกำลังดำเนินงานในหลาย ๆ มิติอยู่นั้น กรุงศรีมองบทบาทของตัวเองเป็น “Market Shaper” ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งภาคการเงินและขับเคลื่อนประเทศสู่ความยั่งยืน นับเป็นความมุ่งมั่นและตั้งใจด้วยเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่ว่าทิศทางข้างหน้าและผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร การขับเคลื่อนของกรุงศรีครั้งนี้ก็ย่อมส่งผลดีและประโยชน์ให้กับลูกค้า ผู้บริโภค รวมถึงเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม
#GOSustainablewithkrungsri
#krungsri #ชีวิตง่ายได้ทุกวัน
#krungsri #ชีวิตง่ายได้ทุกวัน
Tag:Krungsri