ทางเลือกที่ไม่อยากเลือก ของคนทำมาหากิน
8 เม.ย. 2020
“จะยอมติดโรค หรือ จะยอมอดตาย”
นี่คงเป็นปัญหาโลกแตก และเป็นคำถามลึกๆในใจใครหลายๆคน
นี่คงเป็นปัญหาโลกแตก และเป็นคำถามลึกๆในใจใครหลายๆคน
ในขณะที่มีการประกาศปิดสถานที่ต่างๆ เพื่อลดการแพร่ระบาดของ COVID-19
แต่ในอีกมุมหนึ่งของสังคมก็กำลังตกที่นั่งลำบาก
แต่ในอีกมุมหนึ่งของสังคมก็กำลังตกที่นั่งลำบาก
คนขายอาหารแผงลอย คนขับรถแท็กซี่ และอีกหลายอาชีพที่ยังต้องออกมาทำงาน
ถ้าถามว่าพวกเขาไม่กลัวติดเชื้อกันใช่ไหม?
แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากติดเชื้อ
ถ้าถามว่าพวกเขาไม่กลัวติดเชื้อกันใช่ไหม?
แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากติดเชื้อ
แต่จะให้พวกเขาทำอย่างไร
ในเมื่อถ้าพวกเขาหยุดทำงาน รายได้ของพวกเขาก็จะหายไปทันที
ในเมื่อถ้าพวกเขาหยุดทำงาน รายได้ของพวกเขาก็จะหายไปทันที
โดยแม่ค้าบางคนถึงกับบอกว่า “ไม่กลัว COVID-19 แต่กลัวอดตายมากกว่า”
คนขับรถแท็กซี่ และรถรับจ้างหลายแห่ง ยังคงต้องออกมาทำงาน
เพราะถ้าไม่มีเงินไปจ่ายค่ารถ ก็อาจจะถูกอู่ยึดรถไปได้
เพราะถ้าไม่มีเงินไปจ่ายค่ารถ ก็อาจจะถูกอู่ยึดรถไปได้
ยิ่งการใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯนั้นก็จะมีค่าครองชีพสูงมาก
ทั้ง ค่าเช่าบ้าน และค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันต่างๆนานา
ทั้ง ค่าเช่าบ้าน และค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันต่างๆนานา
ซึ่งค่าครองชีพของคนกรุงเทพฯ เดือนหนึ่งจะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 10,000 บาทต่อคน
แต่ในสถานการณ์แบบนี้ก็ยิ่งมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เพราะต้องหาซื้ออุปกรณ์ต่างๆมาป้องกันตัวเอง
เช่น หน้ากากอนามัย หรือเจลล้างมือ ซึ่งช่วงนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะหากันได้ง่ายๆ
และที่สำคัญคือมีราคาสูงมาก เพราะสินค้าขาดตลาด
เช่น หน้ากากอนามัย หรือเจลล้างมือ ซึ่งช่วงนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะหากันได้ง่ายๆ
และที่สำคัญคือมีราคาสูงมาก เพราะสินค้าขาดตลาด
ผู้มีรายได้รายวันจำนวนมากจึงต้องเดินทางกลับภูมิลำเนา เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย
เพราะเมื่อกลับบ้านของตนก็ยังมีที่ทำเกษตรกรรม หรือมีพื้นที่ให้เลี้ยงสัตว์
เพราะเมื่อกลับบ้านของตนก็ยังมีที่ทำเกษตรกรรม หรือมีพื้นที่ให้เลี้ยงสัตว์
ส่วนคนที่ไม่ได้กลับภูมิลำเนา ก็จำใจต้องอดทนกันต่อไป..
ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีคนอีกส่วนหนึ่งที่กำลังลำบากเช่นกัน
คนกลุ่มนั้นคือ เจ้าของธุรกิจต่างๆ ที่จำเป็นต้องปิดตามคำสั่งของรัฐ
และส่วนร้านที่เปิดอยู่ก็ไม่ใช่ว่าจะทำกำไรได้เหมือนเมื่อก่อน
คนกลุ่มนั้นคือ เจ้าของธุรกิจต่างๆ ที่จำเป็นต้องปิดตามคำสั่งของรัฐ
และส่วนร้านที่เปิดอยู่ก็ไม่ใช่ว่าจะทำกำไรได้เหมือนเมื่อก่อน
ส่วนฮีโร่ในตอนนี้อย่างคนขับรถส่งอาหารเองก็กลัวติดโรคเหมือนกัน
แต่จะทำอย่างไรได้ เพราะถ้าไม่ทำ ก็ไม่มีเงิน..
แต่จะทำอย่างไรได้ เพราะถ้าไม่ทำ ก็ไม่มีเงิน..
ตอนนี้ COVID-19 ได้กลายเป็นวิกฤติที่ไม่มีใครเคยคาดคิดมาก่อน
เราคงไม่สามารถยืนยันได้ว่ามีกี่คนที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19
คงจะมีเพียงตัวเลขของผู้ลงทะเบียน “เราไม่ทิ้งกัน” ที่บอกเราว่ามีผู้ได้รับผลกระทบเกิน
22 ล้านคนไปแล้ว
คงจะมีเพียงตัวเลขของผู้ลงทะเบียน “เราไม่ทิ้งกัน” ที่บอกเราว่ามีผู้ได้รับผลกระทบเกิน
22 ล้านคนไปแล้ว
ซึ่งนี่อาจจะแปลได้ว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบมีมากถึง 31% จากจำนวนประชากรทั้งหมด
และจำนวนนี้ก็ยังไม่ได้นับรวมผู้ที่อยู่ในประกันสังคมที่ได้รับผลกระทบ
และจำนวนนี้ก็ยังไม่ได้นับรวมผู้ที่อยู่ในประกันสังคมที่ได้รับผลกระทบ
แม้ว่ารัฐบาลจะให้เงิน 5,000 บาทแก่อาชีพที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 แล้ว
แต่ก็ต้องยอมรับว่าเงิน 5,000 บาทนั้นอาจจะยังไม่พอใช้สำหรับหลายๆคน
แต่ก็ต้องยอมรับว่าเงิน 5,000 บาทนั้นอาจจะยังไม่พอใช้สำหรับหลายๆคน
แม้ว่าทุกอาชีพจะได้รับผลกระทบกันหมด
แต่ระดับความรุนแรงของผลกระทบนั้นก็แตกต่างกัน
แต่ระดับความรุนแรงของผลกระทบนั้นก็แตกต่างกัน
ในกลุ่มคนที่มีรายได้รายวันจะต้องทำทุกทางเท่าที่จะทำได้ เพราะพวกเขาไม่สามารถหยุดรอให้ไวรัสหายไปได้ ส่วนคนที่เป็นเจ้าของธุรกิจ ก็ยังมีค่าใช้จ่ายประจำที่จะไม่จ่ายก็ไม่ได้
แถมไม่รู้ว่าจะมีเงินพอจ่ายไหม..
แถมไม่รู้ว่าจะมีเงินพอจ่ายไหม..
เหตุการณ์นี้อาจทำให้เราเห็นภาพอะไรหลายอย่าง
คนที่ยังพอมีเงินเก็บหรือรายได้อยู่ก็ยังคงอยู่ในเมืองต่อไปได้
ในขณะที่ใครทนค่าครองชีพไม่ไหวก็ต้องกลับไปยังภูมิลำเนา
คนที่ยังพอมีเงินเก็บหรือรายได้อยู่ก็ยังคงอยู่ในเมืองต่อไปได้
ในขณะที่ใครทนค่าครองชีพไม่ไหวก็ต้องกลับไปยังภูมิลำเนา
แต่ถ้าสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ คนในเมืองก็คงจะแบกรับค่าครองชีพไม่ไหวเช่นกัน..