สรุปแคมเปญ “Supalai Self-Proved” ที่กล้าท้าพิสูจน์ว่า บริษัทอสังหาฯ ก็รักษ์โลกได้
3 พ.ย. 2023
เรากำลังอยู่ในยุคที่องค์กรไหน ๆ ต่างก็พูดถึงกระแสรักษ์โลก เทรนด์เรื่องความยั่งยืน
แต่หลายคน ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า วิสัยทัศน์ที่สวยหรูเหล่านี้ จะทำได้จริงแค่ไหน ?
แต่หลายคน ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า วิสัยทัศน์ที่สวยหรูเหล่านี้ จะทำได้จริงแค่ไหน ?
โดยเฉพาะ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่ต้องยอมรับว่า เบื้องหลังการพัฒนาโครงการต่าง ๆ
ล้วนก่อให้เกิดมลภาวะ และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มากก็น้อย
ล้วนก่อให้เกิดมลภาวะ และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มากก็น้อย
ทำให้หลายครั้ง เวลาบริษัทอสังหาฯ ออกมาชูวิสัยทัศน์รักษ์โลก มุ่งสร้างความยั่งยืน
จะต้องเจอกับการตั้งคำถามหรือความสงสัยมากมาย
จะต้องเจอกับการตั้งคำถามหรือความสงสัยมากมาย
ด้วยเหตุนี้เอง จึงจุดประกายให้ บริษัท ศุภาลัย จํากัด (มหาชน)
หนึ่งในผู้นําด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างยั่งยืน ไม่อาจนิ่งนอนใจ
หนึ่งในผู้นําด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างยั่งยืน ไม่อาจนิ่งนอนใจ
ตัดสินใจทำแคมเปญ “Supalai Self-Proved” ชวนคนมาพิสูจน์การก่อสร้างรักษ์โลก
ซึ่งเป็นแนวทางที่ทางแบรนด์ยึดถือมาตลอด และจริงจังในทุก ๆ ขั้นตอน
เพื่อลดปริมาณขยะ ด้วยการคิดค้นนวัตกรรมก่อสร้างพร้อมการวางแผนจัดการที่ดี ในการพัฒนาทุกโครงการ
ซึ่งเป็นแนวทางที่ทางแบรนด์ยึดถือมาตลอด และจริงจังในทุก ๆ ขั้นตอน
เพื่อลดปริมาณขยะ ด้วยการคิดค้นนวัตกรรมก่อสร้างพร้อมการวางแผนจัดการที่ดี ในการพัฒนาทุกโครงการ
คำถามคือ แล้วศุภาลัย จะพิสูจน์อย่างไร ?
อย่างที่เกริ่นไปตอนต้นว่า ศุภาลัย ไม่ได้เพิ่งจะมาจริงจังกับการเป็นดีเวลลอปเปอร์รักษ์โลก
แต่มีการวางแนวทางการขับเคลื่อนองค์กรสู่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็นสิ่งสำคัญมายาวนาน
แต่มีการวางแนวทางการขับเคลื่อนองค์กรสู่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็นสิ่งสำคัญมายาวนาน
โดยตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 25% ภายใน 3 ปี และพร้อมก้าวสู่การเป็นองค์กรคาร์บอนต่ำ
ดังนั้น เพื่อบอกให้โลกรู้ว่า ที่ผ่านมาศุภาลัยลงมือทำอะไรไปแล้วบ้าง ?
และในอนาคต จะมีโรดแม็ปอย่างไร ?
ดังนั้น เพื่อบอกให้โลกรู้ว่า ที่ผ่านมาศุภาลัยลงมือทำอะไรไปแล้วบ้าง ?
และในอนาคต จะมีโรดแม็ปอย่างไร ?
ศุภาลัยจึงตั้งใจทำภาพยนตร์โฆษณาเรื่องใหม่ เพื่อบอกเล่าความมุ่งมั่นของแบรนด์
จุดที่น่าสนใจคือ แทนที่จะเล่าเรื่องแบบน่าเบื่อ ๆ ถึงวิสัยทัศน์ของแบรนด์ศุภาลัย แต่แบรนด์กลับเลือกที่จะเล่าเรื่องผ่านเด็กสาวที่ชื่อว่า “เกรตา”
ซึ่งนอกจากชื่อจะพ้องกับสาวน้อยผู้เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน ที่คนทั้งโลกรู้จักเป็นอย่างดี
เกรตา ตัวละครที่ศุภาลัยสร้างขึ้นมา ยังเป็นตัวแทนของคนที่จริงจังเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมเช่นกัน
ที่สำคัญ เธอไม่เชื่อว่าบริษัทอสังหาฯ จะสามารถทําเรื่องยั่งยืนเพื่อโลกได้จริง ๆ
ที่สำคัญ เธอไม่เชื่อว่าบริษัทอสังหาฯ จะสามารถทําเรื่องยั่งยืนเพื่อโลกได้จริง ๆ
งานนี้ เพราะรู้ดีว่า ธรรมชาติของคนเรา สิบปากว่าอย่างไร ก็ไม่เท่าตาเห็นด้วยตัวเอง
ภาพยนตร์โฆษณานี้ เลยตั้งใจให้เกรตา เป็นตัวแทนของผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ตาม “ท่อสี่ทาง”
ซึ่งเป็นตัวแทนนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนของศุภาลัย ไปท้าพิสูจน์ถึงไซต์ก่อสร้างของศุภาลัย
ภาพยนตร์โฆษณานี้ เลยตั้งใจให้เกรตา เป็นตัวแทนของผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ตาม “ท่อสี่ทาง”
ซึ่งเป็นตัวแทนนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนของศุภาลัย ไปท้าพิสูจน์ถึงไซต์ก่อสร้างของศุภาลัย
เริ่มจากการพาไปดูความมุ่งมั่นของศุภาลัยในการลดการใช้ทรัพยากร ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น
- การคํานวณปริมาณท่อให้แม่นยำ เพื่อสั่งผลิตแบบ Made to Order จะได้พอดีกับการใช้หน้างาน
จนสามารถลดปริมาณขยะเศษท่อไปได้ เทียบเท่าความยาวหลายร้อยกิโลเมตร
จนสามารถลดปริมาณขยะเศษท่อไปได้ เทียบเท่าความยาวหลายร้อยกิโลเมตร
- การคิดค้นการต่อท่อแบบใหม่ โดยใช้ท่อ 4 ทาง
เพื่อแก้ปัญหาระบบท่อแบบเดิมที่ใช้ข้อต่อเยอะ
นอกจากจะสิ้นเปลือง ในระยะยาวยังอาจชำรุดและเป็นภาระของลูกบ้าน
เพื่อแก้ปัญหาระบบท่อแบบเดิมที่ใช้ข้อต่อเยอะ
นอกจากจะสิ้นเปลือง ในระยะยาวยังอาจชำรุดและเป็นภาระของลูกบ้าน
- การใช้ท่อระบบดับเพลิงแบบไร้ข้อต่อ ซึ่งสามารถลดการใช้วัสดุที่ไม่จําเป็น
แค่ลดยังไม่พอ ศุภาลัยยังหาวิธีใช้ซ้ำ
ด้วยการเปลี่ยนจากพาเลตไม้ ในการขนย้ายวัสดุก่อสร้าง มาเป็นพาเลตพลาสติก ที่สามารถใช้ซ้ำได้ ลดขยะพาเลตไม้เทียบเท่าต้นไม้ 18,157 ต้น
พร้อมกันนี้ ยังมองหาวิธีนําขยะไร้ค่ากลับมาใช้ใหม่
ด้วยหลักการง่าย ๆ คือ อะไรที่เป็นขยะ ทางศุภาลัยจะไม่ยอมให้เป็นขยะ
ด้วยการหาทางนำขยะที่ผ่านการแยกขยะถึง 9 สี กลับมาชุบชีวิต เช่น
- การนําขยะคอนกรีตมาทํา Sub-base ถนน
- การ Recycle เศษวัสดุให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น กระถางต้นไม้ กระเป๋าสาน
ด้วยการเปลี่ยนจากพาเลตไม้ ในการขนย้ายวัสดุก่อสร้าง มาเป็นพาเลตพลาสติก ที่สามารถใช้ซ้ำได้ ลดขยะพาเลตไม้เทียบเท่าต้นไม้ 18,157 ต้น
พร้อมกันนี้ ยังมองหาวิธีนําขยะไร้ค่ากลับมาใช้ใหม่
ด้วยหลักการง่าย ๆ คือ อะไรที่เป็นขยะ ทางศุภาลัยจะไม่ยอมให้เป็นขยะ
ด้วยการหาทางนำขยะที่ผ่านการแยกขยะถึง 9 สี กลับมาชุบชีวิต เช่น
- การนําขยะคอนกรีตมาทํา Sub-base ถนน
- การ Recycle เศษวัสดุให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น กระถางต้นไม้ กระเป๋าสาน
งานนี้ บอกเลยว่า ถ้าใครได้ลองเข้าไปดูหนังโฆษณา
อาจจะอินตาม หรือเกิดความรู้สึกแบบเกรตา คือ ยังไม่เชื่อว่า พอทำแบบนี้แล้ว จะสร้างความยั่งยืนได้อย่างไร
ศุภาลัยเลยพร้อมพิสูจน์ตัวเองผ่าน “Waste Meter” มาตรวัดปริมาณขยะจากการก่อสร้าง ณ โครงการต่าง ๆ
เรียกได้ว่า ครั้งนี้ศุภาลัยเล่นใหญ่ เพราะนอกจากจะพยายามลดปริมาณขยะได้จริง ๆ แล้ว
ยังบังคับตัวเอง ไม่ให้สร้างขยะเกินมาตรฐานการก่อสร้างอีกด้วย
ยังบังคับตัวเอง ไม่ให้สร้างขยะเกินมาตรฐานการก่อสร้างอีกด้วย
สุดท้ายนี้ ถ้าถามว่า ศุภาลัยทำทั้งหมดนี้ไปเพื่ออะไร ?
แน่นอน ทั้งหมดก็เพื่อตอกย้ำวิสัยทัศน์ของบริษัท
ที่ตั้งใจคิดและทําเพื่อความยั่งยืนของโลกอย่างจริงจัง
ที่ตั้งใจคิดและทําเพื่อความยั่งยืนของโลกอย่างจริงจัง
ซึ่งไม่เพียงส่งผลดีต่อบริษัท แต่ยังส่งผลกระทบต่อโลกใบนี้
ลองคิดดูว่า จะดีแค่ไหน ถ้าทุกคนมีไอเดียดี ๆ ที่จะทำเพื่อโลก
แล้วไม่หยุดอยู่แค่วิสัยทัศน์ แต่พยายามทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
ลองคิดดูว่า จะดีแค่ไหน ถ้าทุกคนมีไอเดียดี ๆ ที่จะทำเพื่อโลก
แล้วไม่หยุดอยู่แค่วิสัยทัศน์ แต่พยายามทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
อย่างเคสของศุภาลัย การท้าพิสูจน์ครั้งนี้ไม่เพียงได้ใจผู้บริโภคอย่างเรา ๆ
แต่ยังสร้างแรงกระเพื่อมให้กับวงการว่า การก่อสร้างอย่างรักษ์โลกมันเกิดขึ้นได้จริง
และถ้าทุกคนร่วมมือกัน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน นั่นเอง..
แต่ยังสร้างแรงกระเพื่อมให้กับวงการว่า การก่อสร้างอย่างรักษ์โลกมันเกิดขึ้นได้จริง
และถ้าทุกคนร่วมมือกัน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน นั่นเอง..