ทอสเท็ม ปลื้มสถาปนิกชาวไทยสร้างสรรค์ผลงานออกแบบยอดเยี่ยม คว้า 3 รางวัล การประกวด TOSTEM Asia Design award 2023 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
1 พ.ย. 2023
ทอสเท็ม ร่วมยินดีกับ 3 ผลงานการออกแบบของสถาปนิกชาวไทย คว้ารางวัลในงานTOSTEM Asia Design award 2023 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ที่จัดขึ้นในโอกาส “ทอสเท็ม” ครบรอบ 100 ปี กับงานประกวดผลงานการออกแบบที่อยู่อาศัยทั่วภูมิภาคเอเชีย
เพื่อร่วมยกย่องเหล่าสถาปนิกที่มีส่วนสำคัญในการยกระดับความสะดวกสบายและคุณภาพการอยู่อาศัย ผ่านการออกแบบที่สร้างสรรค์และมีนวัตกรรม สอดคล้องกับแนวทางของบริษัทที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพ เทคโนโลยี และการออกแบบ
นายวิชา วรสายัณห์ ลีดเดอร์ กลุ่มธุรกิจเฮาส์ซิ่งเทคโนโลยี บริษัท แอล เอช ที เอเซีย เซลส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ผลิตประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมสำเร็จรูป แบรนด์ ทอสเท็ม(TOSTEM) เปิดเผยว่า
กิจกรรมการประกวดTOSTEM Asia Design award 2023 เป็นการจัดกิจกรรมครั้งแรกในโอกาสครบรอบ100 ปี โดยรวบรวมผลงานของสถาปนิกในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลงานการออกแบบดีไซน์ของสถาปนิกที่มีประสบการณ์ในการใช้สินค้าของทาง TOSTEM เข้ามา โดยทาง TOSTEM มีคณะกรรมการคัดเลือกผลงานของสถาปนิกที่ชนะรางวัล และเรียนเชิญผู้ชนะรางวัลการประกวด TOSTEM Asia Design award 2023 มาที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อได้มาสัมผัสประสบการณ์ เรียนรู้วัฒนธรรม นวัตกรรมเทคโนโลยีล้ำสมัย การออกแบบที่อยู่อาศัยผ่านสถาปัตยกรรมอันงดงาม ของเมืองหลวงญี่ปุ่น
พร้อมกับได้สัมผัสกับสินค้าใหม่ๆ ของ TOSTEM ที่ประเทศญี่ปุ่นด้วย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และเป็นการแลกเปลี่ยนไอเดีย นำไปต่อยอดในการออกแบบ การเลือกใช้สินค้า ตอบโจทย์กับความต้องการของลูกค้าในแต่ละประเทศของสถาปนิกที่ได้มาร่วมในกิจกรรมครั้งนี้
โดยกิจกรรมการประกวด TOSTEM Asia Design award 2023 มีสถาปนิกผู้สนใจจากทั่วภูมิภาคเอเชียร่วมส่งผลงานเข้าร่วมถึง 133 ผลงาน ซึ่งเป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ผลงานการออกแบบดีไซน์ของสถาปนิกชาวไทย สามารถสร้างชื่อเสียงคว้ารางวัลมาได้ถึง 3 ผลงานด้วยกัน จากผู้ที่ได้รับรางวัลทั้งหมด 10 รางวัล ประกอบไปด้วยผลงานดังนี้
ชื่อผลงาน วัดคำประมง จากบริษัท M Space
สถาปนิกผู้ออกแบบ นายภากร มหพันธ์โดยออกแบบเป็นอาคารพีระมิด 2 หลัง เป็นโรงพยาบาลแพทย์แผนไทย วัดคำประมง จ.สกลนคร ออกแบบให้กึ่งเปิดกึ่งปิด เน้นแสงธรรมชาติ อากาศถ่ายเท มีความเป็นส่วนตัว เพื่อบำบัดผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย โดยผลิตภัณฑ์ TOSTEM ที่นำมาใช้คือตัวสินค้า ATIS และ WE 70ด้วยตัวผลิตภัณฑ์มีรูปแบบที่เรียบง่าย กรอบเฟรมบาง , มุ้งลวดเส้นเล็ก เหมาะกับงานไม้ได้ทัศนียภาพภายนอกเต็มเฟรม ไม่ขัดกับผิวไม้เก่าป้องกัน อากาศ , เสียง, น้ำ ได้ดี ระบายอากาศ , ความชื้น จากภายในทั้งในหน้าร้อนและหน้าฝนได้สะดวก ส่วนแนวคิดรูปแบบภายนอกของพิรามิดมีรูปทรงปิด การนำมาประยุกต์ใช้โดยให้สามารถอาศัยได้ตลอดเวลา ต้องมีการนำแสงสว่าง และ อากาศธรรมชาติจากภายนอกเข้ามา ผ่านบริเวณด้านฐานของพิรามิด ในขณะที่ส่วนตัวอาคารเป็นดินเผา ที่มีสีใกล้เคียงกับดินในบริเวณนั้น และสีจีวรของพระสงฆ์ ซึ่งเก่าและกลมกลืนไปกับสภาพธรรมชาติในบริเวณพื้นที่ปลูกสร้างอาคาร รูปแบบภายในใช้ไม้เก่าที่รื้อจาก บ้าน , วัด ในเขตภาคเหนือและภาคอีสาน มาประกอบเป็นพื้นผนังและฝ้า ซึ่งมีสีวัสดุตามธรรมชาติเดิมที่มียางไม้เคลือบตามธรรมชาติอยู่แล้ว เพื่อให้ผิวภายในสะท้อนแสงแบบ INDIRECT จากพื้นขึ้นสู่ฝ้าเพดาน คล้ายกับบ้านไม้โบราณในญี่ปุ่น
ชื่อผลงาน Baansuan Tha Phra จากบริษัท Thai Absolute Inspector สถาปนิกผู้ออกแบบ นายคุณเอก ตัณฑเกษม โดยออกแบบบ้านพักตากอากาศคำนึงถึงสภาพแวดล้อม โดยการจัดวางอาคารให้เหมาะสมกับสภาพที่ตั้งและสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นในประเทศไทย เน้นความโปร่งสบาย โดยใช้การยื่นชายคาที่ยาวเพื่อลดความร้อนและแสงแดด มีพื้นที่ชานระเบียงสำหรับพักผ่อน และเน้นให้มีช่องเปิดที่กว้างเพื่อการระบายอากาศ โดยผลิตภัณฑ์ ประตู-หน้าต่าง TOSTEM ที่ใช้ประกอบด้วยGrants / WE PLUS / P7 / WE 70 /GIESTA บาน Folding door ซึ่งตัวผลิตภัณฑ์ช่วยผลักดัน บุคลิกภาพของ function ต่างๆ ของอาคารหลังนี้ได้อย่างลงตัว
ชื่อผลงาน Yellow House จากบริษัทJoys Architects สถาปนิกผู้ออกแบบ นายสืบสาย จิตตเกษม, นายประเสริฐ อนันทยานนท์ และ ดร.ณัฏฐ์ ละเอียดอ่อน โดยออกแบบโดยคำนึงถึงการผสมผสานกับธรรมชาติและความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัย มีCourtyard ที่เชื่อมสภาพแวดล้อมภายนอกเข้ากับภายในได้อย่างลงตัวCourtyard เหล่านี้ยังช่วยให้ลมไหลเวียนได้ดี รับแสงธรรมชาติ และมอบทิวทัศน์อันน่าหลงใหล พร้อมกับการเลือกใช้วัสดุเน้นใช้ว้สดุที่สามารถใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกบ้านเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องระหว่างตัวฟังก์ชั่นบ้านกับคอร์ททั้ง 4 ซึ่งวัสดุเป็นส่วนสำคัญในการสร้างบรรยากาศในงานสถาปัตยกรรม และยังสามารถสร้างความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ต่างๆ ได้ด้วย โดยผลิตภัณฑ์ TOSTEM ที่นำมาใช้คือตัวสินค้า เลือกใช้หน้าต่างรุ่น ATISเพราะตอบโจทย์เรื่องเฟรมที่บาง ทำให้บ้านกับคอร์ทดูเป็นพื้นที่เดียวกัน ซึ่งทั้ง 3 ผลงานที่คว้ารางวัลของสถาปนิกชาวไทย เป็นการสร้างสรรค์งานออกแบบดีไซน์โดยนำสินค้าของทางTOSTEM มาใช้เป็นองค์ประกอบในงานออกแบบได้อย่างลงตัว ยกระดับความสะดวกสบายและคุณภาพการอยู่อาศัยผ่านการออกแบบอันมีนวัตกรรม และสอดคล้องกับทิศทางของ TOSTEM ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพ เทคโนโลยีขั้นสูง และหลักการออกแบบ
สถาปนิกผู้ออกแบบ นายภากร มหพันธ์โดยออกแบบเป็นอาคารพีระมิด 2 หลัง เป็นโรงพยาบาลแพทย์แผนไทย วัดคำประมง จ.สกลนคร ออกแบบให้กึ่งเปิดกึ่งปิด เน้นแสงธรรมชาติ อากาศถ่ายเท มีความเป็นส่วนตัว เพื่อบำบัดผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย โดยผลิตภัณฑ์ TOSTEM ที่นำมาใช้คือตัวสินค้า ATIS และ WE 70ด้วยตัวผลิตภัณฑ์มีรูปแบบที่เรียบง่าย กรอบเฟรมบาง , มุ้งลวดเส้นเล็ก เหมาะกับงานไม้ได้ทัศนียภาพภายนอกเต็มเฟรม ไม่ขัดกับผิวไม้เก่าป้องกัน อากาศ , เสียง, น้ำ ได้ดี ระบายอากาศ , ความชื้น จากภายในทั้งในหน้าร้อนและหน้าฝนได้สะดวก ส่วนแนวคิดรูปแบบภายนอกของพิรามิดมีรูปทรงปิด การนำมาประยุกต์ใช้โดยให้สามารถอาศัยได้ตลอดเวลา ต้องมีการนำแสงสว่าง และ อากาศธรรมชาติจากภายนอกเข้ามา ผ่านบริเวณด้านฐานของพิรามิด ในขณะที่ส่วนตัวอาคารเป็นดินเผา ที่มีสีใกล้เคียงกับดินในบริเวณนั้น และสีจีวรของพระสงฆ์ ซึ่งเก่าและกลมกลืนไปกับสภาพธรรมชาติในบริเวณพื้นที่ปลูกสร้างอาคาร รูปแบบภายในใช้ไม้เก่าที่รื้อจาก บ้าน , วัด ในเขตภาคเหนือและภาคอีสาน มาประกอบเป็นพื้นผนังและฝ้า ซึ่งมีสีวัสดุตามธรรมชาติเดิมที่มียางไม้เคลือบตามธรรมชาติอยู่แล้ว เพื่อให้ผิวภายในสะท้อนแสงแบบ INDIRECT จากพื้นขึ้นสู่ฝ้าเพดาน คล้ายกับบ้านไม้โบราณในญี่ปุ่น
ชื่อผลงาน Baansuan Tha Phra จากบริษัท Thai Absolute Inspector สถาปนิกผู้ออกแบบ นายคุณเอก ตัณฑเกษม โดยออกแบบบ้านพักตากอากาศคำนึงถึงสภาพแวดล้อม โดยการจัดวางอาคารให้เหมาะสมกับสภาพที่ตั้งและสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นในประเทศไทย เน้นความโปร่งสบาย โดยใช้การยื่นชายคาที่ยาวเพื่อลดความร้อนและแสงแดด มีพื้นที่ชานระเบียงสำหรับพักผ่อน และเน้นให้มีช่องเปิดที่กว้างเพื่อการระบายอากาศ โดยผลิตภัณฑ์ ประตู-หน้าต่าง TOSTEM ที่ใช้ประกอบด้วยGrants / WE PLUS / P7 / WE 70 /GIESTA บาน Folding door ซึ่งตัวผลิตภัณฑ์ช่วยผลักดัน บุคลิกภาพของ function ต่างๆ ของอาคารหลังนี้ได้อย่างลงตัว
ชื่อผลงาน Yellow House จากบริษัทJoys Architects สถาปนิกผู้ออกแบบ นายสืบสาย จิตตเกษม, นายประเสริฐ อนันทยานนท์ และ ดร.ณัฏฐ์ ละเอียดอ่อน โดยออกแบบโดยคำนึงถึงการผสมผสานกับธรรมชาติและความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัย มีCourtyard ที่เชื่อมสภาพแวดล้อมภายนอกเข้ากับภายในได้อย่างลงตัวCourtyard เหล่านี้ยังช่วยให้ลมไหลเวียนได้ดี รับแสงธรรมชาติ และมอบทิวทัศน์อันน่าหลงใหล พร้อมกับการเลือกใช้วัสดุเน้นใช้ว้สดุที่สามารถใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกบ้านเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องระหว่างตัวฟังก์ชั่นบ้านกับคอร์ททั้ง 4 ซึ่งวัสดุเป็นส่วนสำคัญในการสร้างบรรยากาศในงานสถาปัตยกรรม และยังสามารถสร้างความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ต่างๆ ได้ด้วย โดยผลิตภัณฑ์ TOSTEM ที่นำมาใช้คือตัวสินค้า เลือกใช้หน้าต่างรุ่น ATISเพราะตอบโจทย์เรื่องเฟรมที่บาง ทำให้บ้านกับคอร์ทดูเป็นพื้นที่เดียวกัน ซึ่งทั้ง 3 ผลงานที่คว้ารางวัลของสถาปนิกชาวไทย เป็นการสร้างสรรค์งานออกแบบดีไซน์โดยนำสินค้าของทางTOSTEM มาใช้เป็นองค์ประกอบในงานออกแบบได้อย่างลงตัว ยกระดับความสะดวกสบายและคุณภาพการอยู่อาศัยผ่านการออกแบบอันมีนวัตกรรม และสอดคล้องกับทิศทางของ TOSTEM ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพ เทคโนโลยีขั้นสูง และหลักการออกแบบ
Tag:TOSTEM