Whoscall เผย เบอร์มือถือคนไทยรั่วไหล 13.5 ล้านเบอร์ ไทยอยู่อันดับต้น ๆ ประเทศที่มีข้อความและสายโทรเข้าหลอกลวงสูง
31 มี.ค. 2023
Whoscall แอปพลิเคชันระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จัก และป้องกันสแปม สำหรับสมาร์ตโฟน
ชี้ถึงปัญหาที่เพิ่มขึ้น ของการหลอกลวงทางโทรศัพท์และข้อความ SMS จากรายงานประจำปี 2565 ซึ่งพบว่า
ชี้ถึงปัญหาที่เพิ่มขึ้น ของการหลอกลวงทางโทรศัพท์และข้อความ SMS จากรายงานประจำปี 2565 ซึ่งพบว่า
มีการหลอกลวงทั้งจากสายโทรเข้าและข้อความ SMS รวม 405.4 ล้านครั้ง ทั่วโลก
แม้ว่าตัวเลขโดยรวมจะลดลง จากปีก่อนหน้า แต่สำหรับประเทศไทย การหลอกลวงยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่ง
แม้ว่าตัวเลขโดยรวมจะลดลง จากปีก่อนหน้า แต่สำหรับประเทศไทย การหลอกลวงยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่ง
คนไทยยังต้องรับสายจากมิจฉาชีพเพิ่มขึ้น 165%
จาก 6.4 ล้านครั้งในปี 2564 เป็น 17 ล้านครั้งในปี 2565
จาก 6.4 ล้านครั้งในปี 2564 เป็น 17 ล้านครั้งในปี 2565
รายงานยังเผยสถิติสำคัญครั้งแรก ถึงจำนวนการรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์ในประเทศไทยกว่า 45% หรือ 13.5 ล้านเบอร์
ซึ่งรหัสผ่าน เบอร์โทรศัพท์ และชื่อ เป็นข้อมูลส่วนตัว ที่มีการรั่วไหลมากที่สุด
ตามด้วยสัญชาติ อีเมล ที่อยู่ และวันเกิด
ตามด้วยสัญชาติ อีเมล ที่อยู่ และวันเกิด
ข้อมูลส่วนตัวที่รั่วไหล มักเป็นด่านแรกที่มิจฉาชีพใช้เข้าถึงรายละเอียดการติดต่อเพื่อหลอกลวงเหยื่อ
การรั่วไหลอาจเกิดขึ้นจาก ฐานข้อมูลขององค์กร หรือ รัฐบาลถูกโจมตีทางไซเบอร์ หรือเมื่อผู้ใช้กรอกแบบสำรวจ แบบทดสอบทางจิตวิทยา หรือแบบฟอร์มในเว็บไซต์ฟิชชิง
การรั่วไหลอาจเกิดขึ้นจาก ฐานข้อมูลขององค์กร หรือ รัฐบาลถูกโจมตีทางไซเบอร์ หรือเมื่อผู้ใช้กรอกแบบสำรวจ แบบทดสอบทางจิตวิทยา หรือแบบฟอร์มในเว็บไซต์ฟิชชิง
โดยการรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์เป็น ปัญหาสำคัญทั่วโลก รวมถึงการหลอกลวงทางข้อความ SMS ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง
จากสถิติพบว่า 7 ใน 10 ครั้งของข้อความ SMS ที่คนไทยได้รับ เป็นข้อความสแปมและข้อความหลอกลวง หรือคิดเป็น 73% ของข้อความที่ได้รับทั้งหมด
ทั้งนี้ มิจฉาชีพนิยมส่งข้อความหลอกลวง เนื่องจากสามารถเข้าถึงเหยื่อจำนวนมากด้วยต้นทุนต่ำ
ข้อความ SMS ถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อ "ติดต่อครั้งแรก" โดยหลอกให้เหยื่อกดลิงก์ฟิชชิงเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว เพิ่มบัญชีไลน์เพื่อหลอกให้ส่งข้อมูลหรือ โอนเงินให้
ข้อความ SMS ถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อ "ติดต่อครั้งแรก" โดยหลอกให้เหยื่อกดลิงก์ฟิชชิงเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว เพิ่มบัญชีไลน์เพื่อหลอกให้ส่งข้อมูลหรือ โอนเงินให้
กลอุบายที่พบบ่อย ได้แก่ การเสนอเงินกู้โดยมักอ้างรัฐบาลหรือธนาคาร และการให้สิทธิ์เข้าตรงเว็บพนันออนไลน์ที่ผิดกฎหมาย
คีย์เวิร์ดของข้อความหลอกลวงที่ถูกรายงานที่พบบ่อยที่สุด เช่น
-รับสิทธิ์ยื่นกู้
-เครดิตฟรี
-เว็บตรง
-คุณได้รับสิทธิ์
-คุณได้รับทุนสำรองโครงการประชารัฐ
-คุณได้รับสิทธิ์สินเชื่อ
-คุณคือผู้โชคดี
-รับสิทธิ์ยื่นกู้
-เครดิตฟรี
-เว็บตรง
-คุณได้รับสิทธิ์
-คุณได้รับทุนสำรองโครงการประชารัฐ
-คุณได้รับสิทธิ์สินเชื่อ
-คุณคือผู้โชคดี
ซึ่งรูปแบบและประเด็นการหลอกลวง ถูกปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของแต่ละประเทศ
โดยกลหลอกลวงใหม่ ๆ ในประเทศไทย มักเกิดขึ้นตามความสนใจและเทรนด์ต่าง ๆ
ขณะนี้ข้อความ SMS และสายหลอกลวง ที่เกี่ยวกับการปล่อยเงินกู้ หลอกส่งพัสดุเพื่อเก็บเงินปลายทาง หลอกเป็นกรมทางหลวง หลอกให้คลิกไปเล่นพนันออนไลน์ หลอกว่ามีงาน Part time หลอกว่าได้รางวัลจาก TikTok และแพลตฟอร์มต่าง ๆ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
ขณะนี้ข้อความ SMS และสายหลอกลวง ที่เกี่ยวกับการปล่อยเงินกู้ หลอกส่งพัสดุเพื่อเก็บเงินปลายทาง หลอกเป็นกรมทางหลวง หลอกให้คลิกไปเล่นพนันออนไลน์ หลอกว่ามีงาน Part time หลอกว่าได้รางวัลจาก TikTok และแพลตฟอร์มต่าง ๆ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
จากการค้นหาและระบุการหลอกลวง (รวมการโทรและข้อความ) ต่อผู้ใช้ Whoscall 1 คน
ประเทศไทยอยู่ในอันดับต้น ๆ ที่มีข้อความและสายโทรเข้าหลอกลวง เฉลี่ย 33.2 ครั้งต่อปี (เพิ่มขึ้น 7%)
ประเทศไทยอยู่ในอันดับต้น ๆ ที่มีข้อความและสายโทรเข้าหลอกลวง เฉลี่ย 33.2 ครั้งต่อปี (เพิ่มขึ้น 7%)
ขณะที่ไต้หวันมี 17.5 ครั้ง (ลดลง 20%) และมาเลเซีย 16.5 ครั้ง (เพิ่มขึ้น 15%)
ตัวเลข ดังกล่าวตอกย้ำว่าการหลอกลวงนั้นยังคงแพร่หลายไปยังหลายประเทศ
ตัวเลข ดังกล่าวตอกย้ำว่าการหลอกลวงนั้นยังคงแพร่หลายไปยังหลายประเทศ
การหลอกลวงที่เพิ่มขึ้นนี้ และไม่มีทีท่าว่าจะชะลอตัวลง
Whoscall จึงแนะนำให้คนไทย ปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้ เพื่อป้องกันตนเองจากเหล่ามิจฉาชีพ
Whoscall จึงแนะนำให้คนไทย ปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้ เพื่อป้องกันตนเองจากเหล่ามิจฉาชีพ
- อย่าคลิก : หากคุณได้รับลิงก์ใน SMS อย่าคลิกลิงก์นั้น โดยเฉพาะข้อความที่มาจากธนาคารหรือหมายเลขที่ไม่รู้จัก เนื่องจากปัจจุบัน มีข้อห้ามไม่ให้ธนาคารและสถาบันการเงินในประเทศไทย ส่งลิงก์ทาง SMS ให้กับลูกค้าโดยตรง
- อย่ากรอก : หากได้รับ SMS เพื่อขอข้อมูลส่วนบุคคลหรือขออัปเดตชื่อผู้ใช้/รหัสผ่าน หรือข้อมูลทางการเงินที่มีลิงก์ไปยังเว็บไซต์ ที่น่าสงสัย อย่าให้ข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ เด็ดขาด
- อย่าเพิกเฉย : ผู้ใช้สามารถช่วยกันต่อต้านกลโกงและหลอกลวงทางโทรศัพท์ โดยการรายงานเบอร์โทรศัพท์ที่น่าสงสัย หรือหลอกลวง ทางแอปพลิเคชัน Whoscall เพื่อป้องกันและช่วยส่งคำเตือนไปยังกลุ่มผู้ใช้รายอื่น
Tag:Whoscall