เซ็นทรัล เรสตอรองส์ ลั่นยุทธศาสตร์ The Next Chapter of Growth ขับเคลื่อนธุรกิจโต 2 หลัก พร้อมลุยตลาดเวียดนาม
20 มี.ค. 2023
บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG) หนึ่งในผู้นำธุรกิจเชนร้านอาหาร ที่บริหารกว่า 20 แบรนด์ เช่น Mister Donut, KFC, Auntie Anne’s, Pepper Lunch, Chabuton, Cold Stone Creamery, Yoshinoya, Ootoya, Tenya, Katsuya, Salad Factory, Brown, ส้มตำนัว, Shinkanzen Sushi
และมีจำนวนสาขารวม 1,565 สาขาทั่วประเทศ (ข้อมูล ณ เดือน ม.ค. 2566)
เผยว่าปี 2566 นี้ ธุรกิจร้านอาหาร คึกคัก เพราะตลาดฟื้นตัวเต็มที่ CRG จึงจัดทัพขยายตลาดเชิงรุก
ผ่านยุทธศาสตร์ The Next Chapter of Growth ชู 5 กลยุทธ์ “โต”
ผ่านยุทธศาสตร์ The Next Chapter of Growth ชู 5 กลยุทธ์ “โต”
ทั้งลงทุนขยายร้านเพิ่มไม่น้อยกว่า 150 สาขา
พร้อมเล็งเพิ่มแบรนด์ใหม่เสริมพอร์ตโฟลิโอ และปักธงต่างแดนนำร่อง “เวียดนาม”
พร้อมเล็งเพิ่มแบรนด์ใหม่เสริมพอร์ตโฟลิโอ และปักธงต่างแดนนำร่อง “เวียดนาม”
1. เร่งเติมเต็มศักยภาพการเติบโต (Accelerate Growth Potential)
ด้วยการขยายร้านอาหารสาขาใหม่ โดยเฉพาะแบรนด์พระเอกในเครือ เช่น ไก่ทอดเบอร์ 1 KFC ควบคู่บริการเครื่องดื่ม Arigato, Auntie Anne’s, ส้มตำนัว, Salad Factory, Shinkanzen Sushi ซึ่งทั้งปีไม่น้อยกว่า 150 สาขา
รวมไปต่อยอดศักยภาพของร้านเดิมที่มีจำนวนมากกว่า 1,500 สาขาทั่วประเทศ ผ่านกลยุทธ์ต่าง ๆ เช่น ออกเมนูใหม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและเทรนด์ตลาด ดึงดูดลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย รวมถึง
การเพิ่มโอกาสในการบริโภค ด้วยการพัฒนาสินค้ากลุ่มพร้อมรับประทาน (Ready to Eat : RTE) ผลิตภัณฑ์พร้อมปรุง เช่น ซอส ฯ รองรับการซื้อกลับบ้าน
การเพิ่มโอกาสในการบริโภค ด้วยการพัฒนาสินค้ากลุ่มพร้อมรับประทาน (Ready to Eat : RTE) ผลิตภัณฑ์พร้อมปรุง เช่น ซอส ฯ รองรับการซื้อกลับบ้าน
ดังนั้น กลยุทธ์เร่งการเติบโต จะมาจาก 2 ส่วน คือ เดินหน้าลงทุนเปิดร้านหรือขยายสาขาใหม่เพิ่มขึ้น และการทำให้ยอดขายในร้านเดิมหรือ Same Store ขยายตัวมากขึ้น
2. สร้างธุรกิจใหม่เพื่อการเติบโต (Build New Growth Pillar) ใน 2 มิติ
ได้แก่ การมองหาแบรนด์ใหม่เสริมพอร์ตโฟลิโอ ซึ่งวางเป้าหมายจะเพิ่ม 1-2 แบรนด์ต่อปี
และการขยายโอกาสสู่ตลาดใหม่ในประเทศเวียดนาม รองรับประชากรที่มีขนาดเกือบ 100 ล้านคน เป็นคนรุ่นใหม่ และมีกำลังซื้อขยายตัว
และการขยายโอกาสสู่ตลาดใหม่ในประเทศเวียดนาม รองรับประชากรที่มีขนาดเกือบ 100 ล้านคน เป็นคนรุ่นใหม่ และมีกำลังซื้อขยายตัว
โดยในปี 2565 บริษัทเสริมแกร่งพอร์ตโฟลิโอธุรกิจร้านอาหาร ด้วยการเติม 3 แบรนด์ใหม่ ได้แก่ ร้าน “Ramen Kagetsu Arashi” แบรนด์ดังระดับท็อป 3 ในกลุ่มราเมนเครือข่ายจากประเทศญี่ปุ่น, การเข้าร่วมทุนในแบรนด์ "Shinkanzen Sushi" และรุกเข้าสู่ธุรกิจร้านปิ้งย่างภายใต้แบรนด์ “นักล่าหมูกระทะ”
3. ผนึกพันธมิตรสร้างการเติบโตร่วมกัน (Growth Together with Partnership)
สำหรับปี 2566 จะมีการเร่งขยายสาขาของร้านอาหารเพิ่มขึ้นทั้งแบรนด์ Shinkanzen Sushi, Salad Factory และส้มตำนัว ในทำเลห้างค้าปลีกของกลุ่มเซ็นทรัล โรบินสัน ตลอดจนการเปิดร้านในรูปแบบ Stand Alone
โดยปีที่ผ่านมา บริษัทสร้าง CRG Ecosystem เปรียบเสมือนการติดอาวุธให้พันธมิตร สามารถเชื่อมต่อการใช้งานหรือ Plug & Play ผลักดันการเติบโตของร้านอาหารได้ เช่น ช่วยหาพื้นที่ขยายสาขาใหม่ การทำตลาด การหาพนักงาน ที่จะช่วยเสริมให้การทำงานง่ายขึ้น
4. เพิ่มประสิทธิผล (Productivity Growth) ของการทำงานรอบด้าน
ด้วยกลยุทธ์ 3C คือ
-Cost บริหารจัดการต้นทุน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
-Capex เน้นการลงทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
-Cash Flow การบริหารกระแสเงินสด ตลอดจน การลงทุน ให้มีความคล่องตัวมากขึ้น
-Cost บริหารจัดการต้นทุน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
-Capex เน้นการลงทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
-Cash Flow การบริหารกระแสเงินสด ตลอดจน การลงทุน ให้มีความคล่องตัวมากขึ้น
นอกจากนี้ CRG ยังได้นำเทคโนโลยีมาใช้บริหารจัดการร้านอาหารมากขึ้น ปัจจุบันเริ่มนำร่อง ในบางสาขา เช่น การสั่งอาหารผ่านคิวอาร์โค้ด, การนำหุ่นยนต์มาให้บริการในร้าน, การนำเครื่องมือใช้วิเคราะห์ลูกค้า (Business Intelligence) เพื่อเข้าใจและตอบสนองกลุ่มเป้าหมายได้แม่นยำยิ่งขึ้น รวมถึงการวางแผนพัฒนาระบบการเสิร์ฟอาหารผ่านระบบสายพาน
5. ขับเคลื่อนธุรกิจสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน (Sustainable Growth)
ให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจควบคู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งปี 2566 บริษัทจะให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นหลายมิติ โดยทำงานตามหลัก C-R-G เป็น 3 แกน ได้แก่
Care For People ด้านบุคลากร
มีการเปิดกว้างรับความหลากหลายของพนักงานเข้าทำงานทั้งด้านเพศ ผู้พิการ เพื่อสร้างความเท่าเทียม การสร้างสมดุลในการทำงานเพื่อให้พนักงานมีความสุข มีความผูกพันกับองค์กร (Engagement)
มีการเปิดกว้างรับความหลากหลายของพนักงานเข้าทำงานทั้งด้านเพศ ผู้พิการ เพื่อสร้างความเท่าเทียม การสร้างสมดุลในการทำงานเพื่อให้พนักงานมีความสุข มีความผูกพันกับองค์กร (Engagement)
Reduce Greenhouse Gases มุ่งเน้นให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม
โดยในปี 2565 CRG ประสบความสำเร็จในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 116 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
โดยในปี 2565 CRG ประสบความสำเร็จในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 116 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
โดยได้นำพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) มาใช้ในการดำเนินงานในรูปแบบของแผงโซล่าเซลล์ และยังประสบความสำเร็จในการลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยความเข้มข้นของค่าพลังงานต่อหน่วยรายได้ (ล้านบาท) ลดลงจากปี 2564 คิดเป็น 4%
Green Waste & Environment ลดปริมาณขยะอาหาร ที่เกิดจากการใช้วัตถุดิบในกระบวนการผลิตอาหาร
บริษัทสามารถควบคุมปริมาณขยะอาหารให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 1% และในปีที่ผ่านมา การบริจาคอาหารส่วนเกิน ยังช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ทั้งสิ้น 44,422 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
บริษัทสามารถควบคุมปริมาณขยะอาหารให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 1% และในปีที่ผ่านมา การบริจาคอาหารส่วนเกิน ยังช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ทั้งสิ้น 44,422 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ทั้งนี้ จากแผนงาน The Next Chapter of Growth บริษัทคาดการณ์ยอดขายจะเติบโตอัตรา 2 หลัก จากปี 2565 ที่บริษัทมียอดขายรวม 12,800 ล้านบาท