ความท้าทายของทายาทรุ่น 2 เอ็มมีเน้นซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กอบกู้จากติดลบ และ Transform บริหารองค์กรใหม่ สู่วันที่เติบโตหลักร้อยล้าน
20 มี.ค. 2023
การเป็นทายาทรุ่น 2 ที่เข้ามารับช่วงต่อธุรกิจของครอบครัว บางครั้งก็มีความท้าทายซ่อนอยู่..
เพราะหนึ่งในปัญหาที่หลาย ๆ ธุรกิจของครอบครัวมักเจอ คือ ระบบการบริหารแบบ “ยุคเก่า” ที่รวมอำนาจไว้ที่คนเพียงคนเดียว (Centralized) ทำให้การดำเนินงานทุกอย่างล่าช้า ไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างทั่วถึง จนทำให้ธุรกิจเติบโตต่อไปได้ยาก
MarketThink จะขอยกตัวอย่าง กรณีศึกษา เรื่องราวของทายาทรุ่น 2 คุณโบว์-สุชานันท์ อัจฉริยสุชา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มมีเน้นซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ที่เข้ามาทบทวนระบบการบริหาร จากเดิมที่ใช้ระบบรวมอำนาจ (Centralized) มาเป็นระบบกระจายอำนาจ (Decentralized) เพื่อป้องกันความเสี่ยงและทำให้ธุรกิจเติบโตต่อไปได้
แต่ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จัก บริษัท เอ็มมีเน้นซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เพิ่มเติมกันสักนิด
บริษัท เอ็มมีเน้นซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด คือ ทำธุรกิจนำเข้าเครื่องมือทางการแพทย์ จากประเทศที่มีเทคโนโลยีชั้นนำของโลก ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และไต้หวัน เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย
โดยก่อตั้งตั้งแต่ปี 2514 หรือเมื่อ 52 ปีที่แล้ว
โดยก่อตั้งตั้งแต่ปี 2514 หรือเมื่อ 52 ปีที่แล้ว
หากย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อน ในช่วงปี 2556 หลังจากคุณโบว์ เรียนจบปริญญาโท ด้าน Entrepreneurship จาก Nottingham Business School ที่ประเทศอังกฤษ เธอได้กลับมารับช่วงต่อธุรกิจของที่บ้านทันที
ในช่วงนั้น เป็นช่วงที่องค์กรมีปัญหาภายในหลาย ๆ เรื่อง ตั้งแต่
- รายได้ของบริษัทมีปัญหาในการเติบโต
- เกิดการทุจริต ที่มีมูลค่ารวมมากกว่า 10 ล้านบาท
- ขาดความเชื่อมั่นจากลูกค้า
- ทีมขายลาออก จนบางทีมเหลือพนักงานขายแค่ 2 คน
- เป็นบริษัทเทรดดิ้ง ที่มีคุณพ่อเป็นผู้ติดต่อฝ่ายต่างประเทศเพียงคนเดียว
- เกิดการทุจริต ที่มีมูลค่ารวมมากกว่า 10 ล้านบาท
- ขาดความเชื่อมั่นจากลูกค้า
- ทีมขายลาออก จนบางทีมเหลือพนักงานขายแค่ 2 คน
- เป็นบริษัทเทรดดิ้ง ที่มีคุณพ่อเป็นผู้ติดต่อฝ่ายต่างประเทศเพียงคนเดียว
หลังจากรับรู้ปัญหาทั้งหมด คุณโบว์เริ่มจากการเป็นพนักงานขายด้วยตนเอง และลงมือปฏิบัติงานทุกขั้นตอน จนทำให้มองเห็นทั้งจุดแข็ง และปัญหาของธุรกิจครอบครัว เป็นที่มาของการ Transform การบริหารองค์กรใหม่ จากเดิมที่ใช้ระบบ Centralized มาเป็น Decentralized
หลังจากนั้น จึงเริ่มสร้างทีมงานแต่ละฝ่ายขึ้นมา อย่างค่อยเป็นค่อยไป ควบคู่ไปกับการสร้างระบบ เช่น ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) เพื่อจัดการข้อมูลให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น รวมถึงระบบ HR และ ISO เพื่อสร้างระบบมาตรฐาน ที่ทำให้แต่ละหน่วยงานสามารถตรวจสอบซึ่งกันและกัน
นอกจากนี้ ยังมีการใช้ระบบกระจายอำนาจ โดยแต่ละฝ่ายจะมีหัวหน้าทีม ที่ทำงานกับคุณโบว์โดยตรง ดังนั้น เคมีของการทำงาน ก็จะต้องเข้ากันได้ ซึ่งคุณโบว์มองว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ที่จะหาคนที่ใช่มาร่วมงานกัน พอเจอคนที่ใช่แล้ว ก็ต้องทำให้เขาอยู่กับบริษัทได้นานที่สุด เพราะการเปลี่ยนพนักงาน ก็เป็นค่าเสียโอกาสอย่างหนึ่งของบริษัทเหมือนกัน คุณโบว์เลยพยายามสร้างทีม ที่เป็นเหมือน “หัวเรือ” ที่สามารถจัดการงานแทนเธอได้ และอีกเรื่องที่เน้น คือการปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กร ให้พนักงานในองค์กรมีความซื่อสัตย์ อยู่กันเป็นครอบครัว ดูแลซึ่งกันและกัน เพื่อให้มีความพร้อม ในการดูแลลูกค้าได้อย่างดีที่สุด
จากวันแรกที่เข้ามา คุณโบว์ใช้เวลา 2 ปี ในการทำให้บริษัทกลับมาเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ ทั้งความเชื่อมั่นของลูกค้า ซัพพลายเออร์ การสร้างระบบ และการสร้างทีมงาน
หากจะพูดว่าปัจจุบัน บริษัทประสบความสำเร็จแล้ว ก็อาจจะไม่เพราะยังมีอีกหลายอย่างที่ต้องปรับปรุงและพัฒนาต่อไป..
การเข้ามา Transform ธุรกิจของคุณโบว์ ปีนี้เข้าปีที่ 10 แล้ว และทุกอย่างก็มีทิศทางที่บวกขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นรายได้และกำไร ปัจจุบัน เอ็มมีเน้นซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล มีผลิตภัณฑ์ครอบคลุม 5 กลุ่ม ได้แก่ Dental, Medical, Healthcare, Pharma และ Safety โดยกลุ่มลูกค้าหลัก คือ B2B 95% และ B2C 5%
นอกจากนี้ ยังวางกลยุทธ์เติมเต็มช่องว่างทางการตลาด ด้วยการสร้างสินค้า House Brand ของตัวเองหลากหลายแบรนด์ เช่น
- เม็ดฟู่และเครื่องล้างทำความสะอาดเครื่องมือจัดฟันใส รีเทนเนอร์ หรือฟันปลอม ด้วยระบบอัลตราโซนิก แบรนด์ Furano รวมถึงมีแผนขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ด้าน Oral Care เพิ่มเติมในแบรนด์ Furano
- กระติกเก็บความเย็น สำหรับการขนส่งวัคซีนและส่วนประกอบเลือด แบรนด์ Implement
- ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์เชิงป้องกัน แบรนด์ Honore
- กลุ่มสินค้าวิตามิน ที่จะนำเข้ามาจากประเทศเยอรมนี และทำแบรนด์ของตัวเองด้วย
- กระติกเก็บความเย็น สำหรับการขนส่งวัคซีนและส่วนประกอบเลือด แบรนด์ Implement
- ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์เชิงป้องกัน แบรนด์ Honore
- กลุ่มสินค้าวิตามิน ที่จะนำเข้ามาจากประเทศเยอรมนี และทำแบรนด์ของตัวเองด้วย
เหตุผลที่ขยายมาทำสินค้า House Brand ของตัวเอง เพราะ
1) ต้องการจับเทรนด์ตลาด ที่คนหันมาดูแลตัวเองเชิงป้องกัน (Preventive) มากขึ้น โดยไม่รอให้ป่วยก่อน แล้วถึงค่อยรักษา
2) เห็นจุดแข็งของตัวเอง ที่มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลายและครอบคลุม ทั้งร้านขายยา, คลินิก และโรงพยายาบาล เป็นต้น
จึงมองเป็นโอกาสทางธุรกิจ ที่จะนำเสนอโซลูชันต่าง ๆ รวมถึงสินค้า เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเหล่านี้ รวมถึงข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ที่ระบุว่า ประเทศไทยมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 20% ในปี 2565 และคาดการณ์ว่าอีก 10 ปี จะกลายเป็น 25% ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว และกำลังจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้
ส่วนแผนธุรกิจในอนาคต ในปี 2566 บริษัทตั้งเป้าจะนำนวัตกรรมทางการแพทย์มาสู่คนไทย เป็น Solution Provider ที่ลูกค้านึกถึง ควบคู่ไปกับการร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ เพื่อเสริมพอร์ตธุรกิจให้เกิด New S-Curve และขยายไลน์ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Health & Wellness จากเทรนด์การดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน และกลุ่ม Elderly Care เพื่อสอดรับกับสังคมผู้สูงอายุที่เติบโตขึ้น รวมถึงโรค NCDs ที่แต่ละปีจากทั่วโลก พบว่ามีคนเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรคนี้ มากถึง 74% หรือชั่วโมงละ 37 คน
นอกจากนั้น ยังวางแผนจะสร้าง Experience Center ที่เป็นเหมือนโชว์รูม ให้ลูกค้าได้มาทดลองใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ และเห็นว่าเครื่องมือทางการแพทย์ เมื่อนำมาออกแบบร่วมกับการอยู่อาศัยแล้ว ควรจะเป็นอย่างไร เพื่อขยายฐานลูกค้าจาก B2B ไปยังกลุ่ม B2C มากขึ้น โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาส 4 ปี 2567
ทั้งหมดนี้ ทำให้ บริษัท เอ็มมีเน้นซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้รับรางวัลเกียรติยศแห่งความภาคภูมิใจของเอสเอ็มอีไทย “Bai Po Business Awards by Sasin” ครั้งที่ 18 ในมิติการบริหารจัดการด้านสินค้าและบริการที่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า (Customer-Focused Product and Service), การบริหารจัดการด้านบุคลากร (People Excellence) และการสร้างธุรกิจด้วยพลังแห่งการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship)