กลุ่มเซ็นทรัล นำร่องโมเดล “สร้างพื้นที่สีเขียว” และพัฒนาชุมชน ร่วมมือกับกรมป่าไม้ มุ่งสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน
14 ธ.ค. 2022
“Central Tham Love the Earth” หนึ่งในโครงการของ “เซ็นทรัล ทำ” ภายใต้โครงการหลักการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ของกลุ่มเซ็นทรัล
ซึ่งมีความตั้งใจที่จะเพิ่ม และฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวทั่วประเทศ กว่า 5 หมื่นไร่ ให้ได้ภายในปี 2030
ซึ่งมีความตั้งใจที่จะเพิ่ม และฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวทั่วประเทศ กว่า 5 หมื่นไร่ ให้ได้ภายในปี 2030
ผ่าน กิจกรรมอันหลากหลาย ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งเพิ่มพื้นที่สีเขียว และความหลากหลายทางชีวภาพ
ปลูกต้นไม้รอบศูนย์การค้าและโรงแรม, ส่งเสริมการทำเกษตรกรรมที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ, ฟื้นฟูดิน, สร้างแหล่งน้ำชุมชน, สร้างอาชีพที่ยั่งยืนให้เกษตรกร, การฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่า เป็นต้น
ปลูกต้นไม้รอบศูนย์การค้าและโรงแรม, ส่งเสริมการทำเกษตรกรรมที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ, ฟื้นฟูดิน, สร้างแหล่งน้ำชุมชน, สร้างอาชีพที่ยั่งยืนให้เกษตรกร, การฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่า เป็นต้น
ที่น่าสนใจคือ ตัวโครงการ Central Tham Love the Earth จะมุ่งแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม และลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ ในพื้นที่ลุ่มน้ำ หรือป่าต้นน้ำ ด้วยแนวคิดแบบองค์รวม 3 มิติ (BCG)
1) เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy)
การใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติ วัสดุ และผลผลิตทางการเกษตร (Nature-based) ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
การใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติ วัสดุ และผลผลิตทางการเกษตร (Nature-based) ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
2) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ ที่ได้จากแปลงเกษตร เช่น การเปลี่ยนเศษวัสดุทางการเกษตรและของเสีย เป็นปุ๋ยปรับปรุงดิน เป็นอาหารสัตว์
คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ ที่ได้จากแปลงเกษตร เช่น การเปลี่ยนเศษวัสดุทางการเกษตรและของเสีย เป็นปุ๋ยปรับปรุงดิน เป็นอาหารสัตว์
3) เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคม คือส่งเสริมความรู้ด้านการทำเกษตร แบบเป็นมิตรต่อธรรมชาติ การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล ให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน
ซึ่งนับตั้งปี 2018 ที่ผ่านมา “เซ็นทรัล ทำ” ได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย ทั้งกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ประเทศไทย (WWF Thailand), มูลนิธิ และส่งเสริมนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ไทย (TOF - Thailand Organic Foundation), บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) และภาครัฐอย่าง “กรมป่าไม้” และหน่วยงานองค์กรส่วนท้องถิ่น
นำกรอบการพัฒนา BCG ไปสู่การปฏิบัติจริง ในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และความเหลื่อมล้ำในพื้นที่นำร่อง “ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่” และ “อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน”
โดยมีจำนวนเกษตรกร เข้าร่วมกว่า 300 ครัวเรือน ในพื้นที่ 700 ไร่
และสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ได้มากกว่า 4 เท่า
และสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ได้มากกว่า 4 เท่า
จากความสำเร็จนี้เอง โครงการฯ จึงมีการขยายผล ไปยังพื้นที่ที่ประสบปัญหาคล้ายคลึงกัน
โดยร่วมกับ กรมป่าไม้ ผ่านบันทึกความเข้าใจ (MOU) เมื่อวันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2565
โดยร่วมกับ กรมป่าไม้ ผ่านบันทึกความเข้าใจ (MOU) เมื่อวันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2565
นำร่องโมเดล “แผนการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ระดับพื้นที่” เพื่อ
- ส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์ดินและน้ำ ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และ 2
- ส่งเสริมเกษตรกร ให้เปลี่ยนจากเกษตรเชิงเดี่ยวเคมี มาพัฒนาทำเกษตรอินทรีย์
- สร้างพื้นที่สีเขียว ด้วยการปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พร้อมพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอาหารที่ยั่งยืน
- ส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาที่หลากหลาย ภายใต้ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง เช่น การท่องเที่ยวโดยชุมชน และอาหารท้องถิ่น
ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้ จะเปิดโอกาสทางเศรษฐกิจ ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำ ด้วยอาชีพทางเลือก การทำเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ดินและน้ำตามแนวพระราชดำริป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่าง
และผู้บริโภคเอง ก็จะได้อาหารที่มีคุณภาพ ปลอดสารพิษ จากพื้นที่เหล่านี้
นับเป็นห่วงโซ่โมเดลเศรษฐกิจสีเขียวระดับชุมชน ที่สามารถต่อยอดปรับใช้กับพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศได้นั่นเอง
นับเป็นห่วงโซ่โมเดลเศรษฐกิจสีเขียวระดับชุมชน ที่สามารถต่อยอดปรับใช้กับพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศได้นั่นเอง
ปัจจุบัน โครงการ Central Tham Love the Earth ดำเนินกิจกรรมในจังหวัดภาคเหนือตอนบน เช่น เชียงใหม่ น่าน เชียงราย รวมถึงป่าชายเลน ในพื้นที่แถบชายฝั่งทะเลของประเทศไทย เช่น บางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร และในภาคใต้ เช่น เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง และภูเก็ต
สรุปแล้ว “Central Tham Love the Earth” หนึ่งในโครงการ “เซ็นทรัล ทำ” ของกลุ่มเซ็นทรัล
มีความตั้งใจคิดและลงมือฟื้นฟูสภาพผืนป่า ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์เหมือนเดิม, เพิ่มพื้นที่สีเขียว สนับสนุนสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างโลกที่น่าอยู่ขึ้น
และส่งเสริมชุมชน ให้เกิดการสร้างงานและอาชีพ ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และเพิ่มโอกาสเข้าถึงทรัพยากร
มีความตั้งใจคิดและลงมือฟื้นฟูสภาพผืนป่า ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์เหมือนเดิม, เพิ่มพื้นที่สีเขียว สนับสนุนสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างโลกที่น่าอยู่ขึ้น
และส่งเสริมชุมชน ให้เกิดการสร้างงานและอาชีพ ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และเพิ่มโอกาสเข้าถึงทรัพยากร
รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของการก้าวสู่องค์กร ที่ให้ความสำคัญด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับโลก อีกด้วย