
ลูกค้าเก่า VS ลูกค้าใหม่ แบรนด์ควรใส่ใจใครมากกว่ากัน
6 พ.ย. 2022
บ่อยครั้งที่การทำธุรกิจ.. มักจะเป็นการยอมทำทุกอย่างเพื่อหาลูกค้ารายใหม่ ๆ ให้มากที่สุดอยู่เสมอ
แต่เชื่อหรือไม่ว่าจริง ๆ แล้ว “ลูกค้าเก่า” ก็สำคัญกับธุรกิจไม่แพ้กัน เพราะช่วยให้แบรนด์เติบโต และประสบความสำเร็จในระยะยาวได้ดีกว่า..
แต่เชื่อหรือไม่ว่าจริง ๆ แล้ว “ลูกค้าเก่า” ก็สำคัญกับธุรกิจไม่แพ้กัน เพราะช่วยให้แบรนด์เติบโต และประสบความสำเร็จในระยะยาวได้ดีกว่า..
เพราะถ้าลองดูดี ๆ จะเห็นได้ว่า ไม่มีธุรกิจไหนบนโลกที่ประสบความสำเร็จจากการนั่งหาลูกค้าใหม่ไปเรื่อย ๆ เพียงอย่างเดียว
อย่างเช่นบริษัทระดับโลกอย่าง Apple ก็ยังมีการใช้กลยุทธ์สร้างรายได้เพิ่มจาก “ลูกค้าเก่า” เช่นกัน
จากการออกอุปกรณ์เสริมมากมายอย่าง AirPods หรือ Apple Watch ที่ใช้ได้ดีกับ iPhone ผลิตภัณฑ์หลักของแบรนด์
จากการออกอุปกรณ์เสริมมากมายอย่าง AirPods หรือ Apple Watch ที่ใช้ได้ดีกับ iPhone ผลิตภัณฑ์หลักของแบรนด์
ที่ชัดเจนเลยว่าเป็นการทำ Up-selling และ Cross-selling เพื่อสร้างรายได้เพิ่มจากเหล่าลูกค้าเก่าของแบรนด์นั่นเอง
แล้วทำไมลูกค้าเก่า ถึงเป็นกลุ่มคนที่แบรนด์ควรให้ความสำคัญ ก่อนหาลูกค้าใหม่
ทั้งที่บางครั้ง ลูกค้าเก่าอาจมีแนวโน้มในการซื้อสินค้าหรือบริการต่อครั้ง น้อยกว่าลูกค้าใหม่ หรืออาจมีจำนวนฐานลูกค้าที่เล็กกว่า ?
โดยในบทความนี้ MarketThink จะขออาสาพาทุกคนไปหาคำตอบของเรื่องนี้ด้วยกัน
- อย่างแรกคือ.. ทำตลาดกับลูกค้าเก่า ใช้งบน้อยกว่าทำตลาดเพื่อหาลูกค้าใหม่..
มีผลสำรวจระบุว่า การทำตลาดเพื่อหาลูกค้าใหม่นั้นใช้งบประมาณ “มากกว่า” การทำตลาดเพื่อรักษาลูกค้าเดิมมากถึง 25 เท่า
และถ้าบริษัทสามารถคงอัตราลูกค้าเก่าไว้ได้แค่ 5%
บริษัทก็จะมีโอกาสเพิ่มกำไรได้มากขึ้นถึง 25% เลยทีเดียว
บริษัทก็จะมีโอกาสเพิ่มกำไรได้มากขึ้นถึง 25% เลยทีเดียว
ที่เป็นแบบนี้ ก็เพราะถึงแม้ลูกค้าเก่าจะมีแนวโน้มซื้อสินค้าน้อยลงเรื่อย ๆ
แต่คนกลุ่มนี้คือคนที่คุ้นเคยกับแบรนด์อยู่แล้ว
แต่คนกลุ่มนี้คือคนที่คุ้นเคยกับแบรนด์อยู่แล้ว
ดังนั้น โอกาสที่จะทำตลาดกับคนกลุ่มนี้ จึงมีโอกาสสำเร็จได้มากกว่านั่นเอง
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพกับเครื่องมือยอดนิยมของคนทำธุรกิจอย่าง “Customer Journey”
ที่จะบอกว่า กว่าที่คนหนึ่งคน จะกลายมาเป็นลูกค้าของแบรนด์นั้น มีกี่ขั้นตอน
ที่จะบอกว่า กว่าที่คนหนึ่งคน จะกลายมาเป็นลูกค้าของแบรนด์นั้น มีกี่ขั้นตอน
ซึ่งก็ได้แก่
1. การรับรู้ (Awareness) (การประชาสัมพันธ์, ยิงโฆษณา)
2. การพิจารณา (Consideration) (ทำ SEO, จ้าง Influencer ทำสื่อ)
3. ตัดสินใจซื้อ (Purchase) (ทำหน้าร้านให้สวยงาม, เพิ่มตัวเลือกการชำระเงินให้หลากหลาย)
4. การซื้อซ้ำ (Retention) (ทำ E-mail Marketing ให้ลูกค้าเก่า, การทำระบบสมาชิก)
5. การบอกต่อ (Advocacy) (ส่งเสริมให้เกิดการแชร์ผ่านโซเชียลมีเดียของลูกค้า, กระตุ้นให้เกิดการแชร์)
1. การรับรู้ (Awareness) (การประชาสัมพันธ์, ยิงโฆษณา)
2. การพิจารณา (Consideration) (ทำ SEO, จ้าง Influencer ทำสื่อ)
3. ตัดสินใจซื้อ (Purchase) (ทำหน้าร้านให้สวยงาม, เพิ่มตัวเลือกการชำระเงินให้หลากหลาย)
4. การซื้อซ้ำ (Retention) (ทำ E-mail Marketing ให้ลูกค้าเก่า, การทำระบบสมาชิก)
5. การบอกต่อ (Advocacy) (ส่งเสริมให้เกิดการแชร์ผ่านโซเชียลมีเดียของลูกค้า, กระตุ้นให้เกิดการแชร์)
จะเห็นได้ว่า การที่คนหนึ่งคน (ลูกค้าใหม่) จะกลายมาเป็นลูกค้าของแบรนด์นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
ต่างกับลูกค้าเก่า ที่อย่างน้อยก็ต้องรู้จักแบรนด์ของเราถึงระดับ 3 ของ Customer Journey (การตัดสินใจซื้อ) แล้ว
ดังนั้น ถ้าแบรนด์เลือกที่จะทำการตลาดกับลูกค้าเก่า ก็จะไม่ต้องเสียทั้งเวลาและงบประมาณในการสร้างการรับรู้ ความน่าเชื่อถือ หรือประชาสัมพันธ์ให้มากมายเหมือนตอนหาลูกค้าใหม่
แต่จะเหลือเพียงขั้นตอนในการส่งเสริมให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ และบอกต่อเท่านั้น..
แต่จะเหลือเพียงขั้นตอนในการส่งเสริมให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ และบอกต่อเท่านั้น..
พอเป็นแบบนี้จึงทำให้การทำโปรโมชันต่าง ๆ กับลูกค้าเก่า จึงทั้งมีราคาถูกกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่า
โดยยังมีผลสำรวจระบุอีกว่า การทำโปรโมชันกับคนที่เคยเป็นลูกค้าของแบรนด์อยู่แล้ว จะมีโอกาสสำเร็จถึง
60-70% ส่วนการทำโปรโมชันกับคนทั่วไปนั้น จะมีโอกาสสำเร็จเพียง 5-20% เท่านั้น..
60-70% ส่วนการทำโปรโมชันกับคนทั่วไปนั้น จะมีโอกาสสำเร็จเพียง 5-20% เท่านั้น..
และยังเป็นสาเหตุที่ว่า ทำไมบ่อยครั้งที่โปรโมชันดี ๆ ของบางแบรนด์ ถึงมักจะกำหนดให้เฉพาะแค่ “สมาชิก” อย่างเดียว
อย่าง Starbucks ที่มักแจกของพรีเมียมให้เฉพาะสมาชิก
หรือร้าน Watsons ที่บ่อยครั้งจะมีโปรโมชันให้ซื้อสินค้าชิ้นที่ 2 ในราคา 1 บาท เฉพาะสมาชิกนั่นเอง
หรือร้าน Watsons ที่บ่อยครั้งจะมีโปรโมชันให้ซื้อสินค้าชิ้นที่ 2 ในราคา 1 บาท เฉพาะสมาชิกนั่นเอง
ระบบสมาชิกนี้เอง คือ “ฐานข้อมูล” ของลูกค้าเก่า ที่มีความสำคัญมาก
และแบรนด์ยักษ์ใหญ่ ต่างพยายามมีไว้ในครอบครอง
และแบรนด์ยักษ์ใหญ่ ต่างพยายามมีไว้ในครอบครอง
เพราะเป็นข้อมูลที่ครอบคลุมตั้งแต่ พฤติกรรมการจ่ายเงิน หมวดหมู่สินค้าที่ลูกค้าชอบ เวลาในการใช้บริการ หรือมูลค่าที่ลูกค้าจ่ายต่อ 1 ครั้ง (Basket Size) เป็นต้น
อย่าง The 1 ระบบสมาชิกของเครือเซ็นทรัล ก็มีฐานข้อมูลลูกค้ามากกว่า 19 ล้านราย
ลองคิดเล่น ๆ ดูว่า หากเรารู้พฤติกรรมการใช้จ่ายและความชอบส่วนบุคคลของลูกค้าทั้ง 19 ล้านรายนี้ แล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนกลยุทธ์ต่อ เช่น การทำโปรโมชันที่เหมาะกับความชอบของลูกค้าแต่ละคน
การที่ลูกค้าจะกลับมาซื้อซ้ำ ก็สามารถทำได้ไม่ยากเลย
- อย่างต่อมาก็คือ ต้นทุนในการดูแลลูกค้าเก่านั้นถูกกว่าเดิมมาก
ลองนึกภาพย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ที่ร้านกาแฟส่วนใหญ่มักทำโปรโมชันซื้อ 10 ฟรี 1
ผ่านระบบสะสมตราปั๊มบนกระดาษ ที่กว่าเราจะสะสมตราปั๊มครบ 10 ดวง กระดาษก็หายไปแล้ว..
ผ่านระบบสะสมตราปั๊มบนกระดาษ ที่กว่าเราจะสะสมตราปั๊มครบ 10 ดวง กระดาษก็หายไปแล้ว..
ในทางกลับกัน ในสมัยนี้เราสามารถทำแบบนั้นได้ง่ายกว่าเยอะ ผ่านเทคโนโลยีที่พัฒนามากขึ้น
เช่นที่นิยมในบ้านเรา ก็คือ LINE OA หรือการทำ E-mail Marketing
เช่นที่นิยมในบ้านเรา ก็คือ LINE OA หรือการทำ E-mail Marketing
ที่ทำให้แบรนด์สามารถสื่อสารโปรโมชันและมอบสิทธิพิเศษให้กับลูกค้าเก่าได้ง่ายขึ้น แถมที่สำคัญเลยก็คือ มีค่าใช้จ่ายต่ำมาก หรืออาจ “ฟรี” ด้วยซ้ำ
ซึ่งจะทำให้ต้นทุนของการรักษาลูกค้าเก่านั้นถูกลงมาก.. ถ้าเทียบกับการไปซื้อโฆษณาสร้างการรับรู้เพื่อหาลูกค้าใหม่ ที่ไม่รู้ว่าจะซื้อสินค้าจากเราหรือเปล่า..
จึงไม่แปลกเลยที่กระแสการใช้ LINE OA หรือการทำ E-mail Marketing มาเร่งยอดขายนั้น จะได้รับความนิยมขึ้นอย่างมากในช่วงหลัง ๆ มานี้..
- และอย่างสุดท้ายคือ ลูกค้าเก่าจะพาลูกค้าใหม่ มาให้แบรนด์เอง..
ในเมื่อการทำตลาดผ่านลูกค้าเก่า มีโอกาสสำเร็จมากกว่าลูกค้าใหม่
ดังนั้น การทำตลาดเพื่อส่งเสริมให้ลูกค้าเก่าที่คุ้นเคยและรู้จักจุดแข็งของแบรนด์ ไปบอกต่อเรื่องสินค้าของแบรนด์ ให้คนอื่น ๆ ได้รับรู้ด้วย
ดังนั้น การทำตลาดเพื่อส่งเสริมให้ลูกค้าเก่าที่คุ้นเคยและรู้จักจุดแข็งของแบรนด์ ไปบอกต่อเรื่องสินค้าของแบรนด์ ให้คนอื่น ๆ ได้รับรู้ด้วย
ก็มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จมากกว่าการไปทุ่มงบส่งเสริมให้ใครก็ไม่รู้ มาบอกต่อสินค้าของเรา เช่นกัน..
อีกทั้งยุคนี้ยังเป็นยุคที่ผู้คนมักเชื่อคำพูดของคนใกล้ตัว มากกว่าคำโฆษณาของแบรนด์เสียอีก
จึงทำให้การบอกปากต่อปากจากคนรู้จักนั้น เป็นการตลาดที่ทรงพลังมากขึ้นเยอะ..
จึงทำให้การบอกปากต่อปากจากคนรู้จักนั้น เป็นการตลาดที่ทรงพลังมากขึ้นเยอะ..
ดังนั้น การทุ่มงบเพื่อส่งเสริมให้เกิดการแชร์ต่อจากลูกค้าเก่า เช่น การแจกของสมนาคุณหรือให้สิทธิพิเศษ
รวมถึงสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้ตราตรึงกับลูกค้าเก่า เพื่อให้กลับมาซื้อซ้ำ พร้อมกับรู้สึกอยากบอกต่อสิ่งดี ๆ ที่ตัวเองได้รับจากแบรนด์ แก่คนรอบข้าง
รวมถึงสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้ตราตรึงกับลูกค้าเก่า เพื่อให้กลับมาซื้อซ้ำ พร้อมกับรู้สึกอยากบอกต่อสิ่งดี ๆ ที่ตัวเองได้รับจากแบรนด์ แก่คนรอบข้าง
จึงเป็นทางเลือกที่ไม่เลวเลยสำหรับการตลาดในยุคนี้ เพราะเป็นการวางรากฐานในการขยายฐานลูกค้าใหม่ ๆ ต่อไป และสร้างการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน
สุดท้ายนี้.. ต้องไม่ลืมว่าการทำการตลาดหรือการลงทุนกับลูกค้าเก่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่ทำเพื่อเร่งยอดขายเพียงอย่างเดียว
แต่เป็นสิ่งที่แบรนด์ต้องทำ เพื่อป้องกันไม่ให้ฐานลูกค้าเหล่านั้นโบกมือลา แล้วย้ายไปอยู่กับแบรนด์คู่แข่งด้วย
แต่เป็นสิ่งที่แบรนด์ต้องทำ เพื่อป้องกันไม่ให้ฐานลูกค้าเหล่านั้นโบกมือลา แล้วย้ายไปอยู่กับแบรนด์คู่แข่งด้วย
โดยเฉพาะในยุคนี้ ที่การแข่งขันรุนแรงกว่าเดิม แถมข้อมูลข่าวสารนั้นส่งถึงกันไวมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ความ Loyalty ของลูกค้านั้นน้อยลงไปทุกวัน..
อ้างอิง :
-https://www.outboundengine.com/blog/customer-retention-marketing-vs-customer-acquisition-marketing/
-https://hbr.org/2014/10/the-value-of-keeping-the-right-customers
-https://www.outboundengine.com/blog/customer-retention-marketing-vs-customer-acquisition-marketing/
-https://hbr.org/2014/10/the-value-of-keeping-the-right-customers