ย้อนรอยเรื่องราว “ไอศกรีมกูลิโกะ” ที่เคยสร้างปรากฏการณ์ฟีเวอร์ แต่วันนี้กระแสไม่แรงเหมือนเก่า
29 ต.ค. 2022
ย้อนกลับไปเมื่อช่วงปี 2559 หรือเมื่อเกือบ 7 ปีที่ผ่านมา.. ตอนนั้น “กูลิโกะ” ได้สร้างกระแสร้อนแรง ในตลาดไอศกรีมบ้านเรา
ขนาดที่ว่า บางจุดที่มีไอศกรีมกูลิโกะจำหน่าย ถึงกับมีคนมาต่อแถวซื้อ และเกิดเป็นปรากฏการณ์สินค้าหมดตู้ภายใน 10 นาทีมาแล้ว..
อย่างไรก็ตาม ถ้าตัดภาพมาที่ปัจจุบัน
กระแสของไอศกรีมกูลิโกะ ค่อนข้างจางลงอย่างเห็นได้ชัด
ทั้ง ๆ ที่แบรนด์ก็ไม่ได้ลดคุณภาพ หรือปริมาณของสินค้าลงแต่อย่างใด
กระแสของไอศกรีมกูลิโกะ ค่อนข้างจางลงอย่างเห็นได้ชัด
ทั้ง ๆ ที่แบรนด์ก็ไม่ได้ลดคุณภาพ หรือปริมาณของสินค้าลงแต่อย่างใด
ซึ่งถ้าลองดูดี ๆ จะเห็นได้ว่า เรื่องราวของไอศกรีมกูลิโกะ ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจไม่น้อย
ทั้งในตอนเปิดตัว ที่สามารถสร้างกระแสแรง แซงผู้เล่นหลักในตลาดอย่าง Wall’s และ Nestlé ที่ได้เปรียบทั้งด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและฐานลูกค้า ที่มีมากกว่าได้
และหลังจากนั้นก็ยังน่าคิดตามอีกว่า แล้วมันเกิดอะไรขึ้น ทำไมกระแสของไอศกรีมกูลิโกะ ถึงไม่ฮิตเหมือนเก่า ?
โดยในบทความนี้ MarketThink จะขออาสาสรุปเรื่องราวที่น่าสนใจของไอศกรีมกูลิโกะ และพาทุกคนไปหาคำตอบของเรื่องนี้ด้วยกัน
เรามาเริ่มกันจากคำถามที่ว่า “ทำไมไอศกรีมกูลิโกะถึงฮิต ?”
ก่อนอื่นเลยต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ยอดขายกว่า 90% ของไอศกรีมในประเทศไทยนั้น มาจากช่องทางหลัก ๆ คือ ตู้แช่ใน “ร้านสะดวกซื้อ” และ “ร้านโชห่วย”
ซึ่งในตอนนั้น เจ้าตลาดไอศกรีมอย่าง Wall’s และ Nestlé ก็ต่างมีการทำสัญญา Exclusive Brand กับร้านสะดวกซื้อเบอร์ต้น ๆ ของไทย อย่าง 7-Eleven และ FamilyMart กันไว้หมดแล้ว
โดย Wall’s ได้ทำสัญญา Exclusive Brand กับ 7-Eleven
ซึ่งทำให้ Wall’s ได้สิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ในการเข้าไปขายไอศกรีมในร้าน 7-Eleven
ซึ่งทำให้ Wall’s ได้สิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ในการเข้าไปขายไอศกรีมในร้าน 7-Eleven
ส่วน Nestlé ได้ทำสัญญา Exclusive Brand กับ FamilyMart
ซึ่งทำให้ Nestlé ได้สิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ในการเข้าไปขายในร้าน FamilyMart
ซึ่งทำให้ Nestlé ได้สิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ในการเข้าไปขายในร้าน FamilyMart
จึงทำให้กูลิโกะ ที่เพิ่งเข้าตลาดมาใหม่ ๆ ต้องหันไปใช้ช่องทางการจำหน่ายอื่น ๆ อย่าง “ร้านโชห่วย” และ “ร้านสะดวกซื้อนอกกระแส” ที่ไม่ได้ทำสัญญา Exclusive Brand เอาไว้แทน
จุดนี้เอง จึงเป็นสาเหตุที่ว่า ทำไมในช่วงที่ไอศกรีมกูลิโกะเข้ามาทำตลาดในไทยแรก ๆ ถึง “หาซื้อยาก” ไม่ต่างจากสินค้า Limited ที่หลายคนถึงกับต้องซื้อไอศกรีมกักตุนทุกครั้งที่เจอจุดวางจำหน่ายเลยทีเดียว..
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อชื่อแบรนด์กูลิโกะ เป็นชื่อที่ติดหูคนไทยอยู่แล้ว
ประกอบกับการมีไอศกรีมแบรนด์อื่น นอกเหนือจาก Wall’s และ Nestlé จัดว่าเป็นเรื่องใหม่อย่างมากในเมืองไทยตอนนั้น
ประกอบกับการมีไอศกรีมแบรนด์อื่น นอกเหนือจาก Wall’s และ Nestlé จัดว่าเป็นเรื่องใหม่อย่างมากในเมืองไทยตอนนั้น
ก็ยิ่งทำให้ไอศกรีมกูลิโกะได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และเกิดการแชร์ต่อกันอย่างมาก กลายเป็นกระแสกูลิโกะฟีเวอร์อย่างที่เราเห็นกันนั่นเอง
โดยแม้แต่ผู้บริหารของกูลิโกะ ยังออกมายอมรับด้วยตัวเองว่า ไม่คิดว่าไอศกรีมกูลิโกะจะฮิตได้ถึงขนาดนี้ จึงทำให้สั่งผลิตสินค้ามาไม่เพียงพอต่อความต้องการ..
ซึ่งในภายหลังทางแบรนด์ก็ได้มีการสั่งเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 3 เท่า เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค
อ่านมาถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่า.. ทุกอย่างก็ดูไปได้ด้วยดี แล้วตรงไหนกันที่ทำให้กระแสของไอศกรีมกูลิโกะหายไปดื้อ ๆ ?
คำตอบก็คือ โมเดลของการทำ “Exclusive Brand” ไม่ตอบโจทย์ร้านสะดวกซื้ออีกต่อไป
โดยเฉพาะกับร้าน 7-Eleven ที่ต้องหันมาใช้กลยุทธ์ FBO (First Brand Only) หรือการให้สิทธิ์แบรนด์ที่มีโอกาสสร้างยอดขายมากกว่า ได้นำสินค้ามาวางขายในเชลฟ์ของร้าน ที่มีพื้นที่อยู่อย่างจำกัดนั่นเอง
เพื่อเพิ่มความหลากหลายของสินค้า และทำให้การบริหารพื้นที่จำหน่าย มีประสิทธิภาพมากขึ้น
พอเป็นแบบนี้ จึงทำให้ตู้แช่ของร้านสะดวกซื้อไม่ถูกกีดกันโดยสัญญา Exclusive Brand ของแบรนด์ไอศกรีมเจ้าตลาดอีกต่อไป
ซึ่งเรื่องนี้เปรียบเสมือนดาบสองคม ที่ส่งผลโดยตรงกับกระแสของไอศกรีมกูลิโกะ
ข้อดีคือ ทำให้กูลิโกะ ได้โอกาสนำไอศกรีมของตัวเองไปสู่ผู้บริโภคทั่วประเทศ ผ่านตู้แช่ของร้าน 7-Eleven
ส่วนข้อเสียก็คือ คู่แข่งจะไม่ได้มีแค่ Wall’s และ Nestlé อีกต่อไป..
เพราะหลังจากที่มีการปลดสัญญา Exclusive Brand แล้ว ทำให้แบรนด์อย่าง Häagen-Dazs, Meiji, ete ice cream หรือแม้แต่ Magnolia ต่างก็สามารถมาร่วมวง ชิงส่วนแบ่งการตลาดก้อนโต กับกูลิโกะได้เช่นกัน
และก็อย่างที่กล่าวไปคือ กระแสของไอศกรีมกูลิโกะนั้น ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นมาได้ เพราะการเป็นแบรนด์ที่ “หาซื้อยาก” เป็นสินค้า Limited จนมีลูกค้ากระตือรือร้นที่จะตามหา และคอยทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้แบรนด์แบบฟรี ๆ
แต่ในเมื่อแบรนด์เพิ่มกำลังการผลิต และมีจุดจำหน่ายสินค้าทั่วถึงแล้ว
ไอศกรีมกูลิโกะ จึงไม่ใช่ “ของหายาก” อีกต่อไป
ไอศกรีมกูลิโกะ จึงไม่ใช่ “ของหายาก” อีกต่อไป
และส่งผลให้กระแสของไอศกรีมกูลิโกะ หายไปดื้อ ๆ นั่นเอง..
อย่างไรก็ตาม ถ้ามองในแง่รายได้ของ บริษัท กูลิโกะ โฟรเซ่น (ประเทศไทย) จำกัด
ผู้ดูแลแบรนด์ไอศกรีมกูลิโกะ ในประเทศไทย
ผู้ดูแลแบรนด์ไอศกรีมกูลิโกะ ในประเทศไทย
ปี 2559 มีรายได้ 261 ล้านบาท
ปี 2560 มีรายได้ 221 ล้านบาท
ปี 2561 มีรายได้ 274 ล้านบาท
ปี 2560 มีรายได้ 221 ล้านบาท
ปี 2561 มีรายได้ 274 ล้านบาท
จะเห็นว่า การที่กระแสของไอศกรีมกูลิโกะนั้นหายไป (ในช่วงปี 2559-2560) ก็ไม่ได้ส่งผลต่อยอดขายของแบรนด์เท่าไรนัก เพราะทางแบรนด์ก็ได้ช่องทางการจำหน่ายใหม่ ๆ และฐานลูกค้าทั่วประเทศ มาทดแทนกระแสที่หายไปเรียบร้อยแล้ว
อีกทั้งก็เป็นเรื่องยากมาก ที่สินค้าอย่างไอศกรีม จะสามารถเป็นกระแสได้ยาวนานขนาดนั้น
เนื่องจากไม่ได้เป็นสินค้าที่เหมือนกับกาแฟ ที่เราสามารถทานเมนูซ้ำได้โดยไม่เบื่อ
เห็นได้จากปัจจุบัน ที่หลายแบรนด์นิยมออกสินค้าตามเทศกาล หรือฤดูกาล (Seasonal) รวมไปถึงเมนูพิเศษ ๆ ที่มาเร่งยอดขายกันอยู่เสมอ
เห็นได้จากปัจจุบัน ที่หลายแบรนด์นิยมออกสินค้าตามเทศกาล หรือฤดูกาล (Seasonal) รวมไปถึงเมนูพิเศษ ๆ ที่มาเร่งยอดขายกันอยู่เสมอ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแบรนด์กูลิโกะ ที่ยังมีจำนวน SKU (ชนิดของสินค้า) น้อยกว่าแบรนด์คู่แข่งอย่าง Wall’s และ Nestlé พอสมควร
ดังนั้น ต่อให้กระแสจะไม่ฮิตเหมือนเมื่อก่อน แต่การทำได้ขนาดนี้ก็ถือว่าไม่เลวเลย สำหรับผู้เล่นที่เข้ามาท้าชิงส่วนแบ่งการตลาด แข่งกับเจ้าตลาดเดิม..
อ้างอิง:
-https://www.thaismescenter.com/ไอศกรีมกูลิโกะ-หายไปไหน/
-http://www.711fanclub.com/review-glico-ice-cream-at-711/
-https://www.thaismescenter.com/ไอศกรีมกูลิโกะ-หายไปไหน/
-http://www.711fanclub.com/review-glico-ice-cream-at-711/