ทำไมหลายแบรนด์ ถึงพยายามตั้งชื่อแบรนด์ ให้ผู้บริโภคคิดว่า เป็นแบรนด์ต่างชาติ
11 ต.ค. 2022
“ชื่อแบรนด์” สิ่งสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ที่เจ้าของธุรกิจควรใส่ใจ
เพราะเป็นด่านแรก ที่ลูกค้าจะเห็น สร้างการรับรู้ถึงการมีอยู่ของแบรนด์
เพราะเป็นด่านแรก ที่ลูกค้าจะเห็น สร้างการรับรู้ถึงการมีอยู่ของแบรนด์
และเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ลูกค้านำมาตัดสินใจว่า จะซื้อสินค้าของแบรนด์นั้น ๆ หรือไม่
โดยปกติแล้วการตั้งชื่อแบรนด์ก็มีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น
ตั้งตามชื่อของผู้ให้กำเนิด
ตั้งชื่อตามลักษณะของธุรกิจที่ทำ
หรือตั้งชื่อจากการนำคำศัพท์มาผสมกัน
ตั้งตามชื่อของผู้ให้กำเนิด
ตั้งชื่อตามลักษณะของธุรกิจที่ทำ
หรือตั้งชื่อจากการนำคำศัพท์มาผสมกัน
แล้วรู้หรือไม่ว่า ยังมีอีกหนึ่งวิธีการตั้งชื่อ ที่หลาย ๆ แบรนด์นิยมใช้
นั่นก็คือ การตั้งชื่อด้วย “ภาษาต่างประเทศ”
หรือการตั้งชื่อให้ลูกค้าเข้าใจว่า “เป็นแบรนด์จากต่างประเทศ”
นั่นก็คือ การตั้งชื่อด้วย “ภาษาต่างประเทศ”
หรือการตั้งชื่อให้ลูกค้าเข้าใจว่า “เป็นแบรนด์จากต่างประเทศ”
ซึ่งกลยุทธ์การตั้งชื่อแบรนด์แบบนี้ มีชื่อว่า “Foreign Branding”
ยกตัวอย่างเช่น
- Hatari แบรนด์พัดลมสัญชาติไทย ที่ตั้งชื่อให้เป็นแบรนด์ญี่ปุ่น
- DENTISTE' แบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากของคนไทย ที่ใช้ชื่อภาษาฝรั่งเศส ซึ่งแปลว่า ทันตแพทย์
- Dutch Mill แบรนด์นมสัญชาติไทย ที่ใช้คำว่า “ดัตช์” สะท้อนถึงประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องการผลิตสินค้าประเภทนม ที่มีคุณภาพอันดับต้น ๆ ของโลก
- Hatari แบรนด์พัดลมสัญชาติไทย ที่ตั้งชื่อให้เป็นแบรนด์ญี่ปุ่น
- DENTISTE' แบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากของคนไทย ที่ใช้ชื่อภาษาฝรั่งเศส ซึ่งแปลว่า ทันตแพทย์
- Dutch Mill แบรนด์นมสัญชาติไทย ที่ใช้คำว่า “ดัตช์” สะท้อนถึงประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องการผลิตสินค้าประเภทนม ที่มีคุณภาพอันดับต้น ๆ ของโลก
นอกจากแบรนด์ไทยแล้ว กลยุทธ์การตั้งชื่อแบบนี้ ก็ใช้ในแบรนด์ต่างประเทศด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น
- Miniso ร้านจิปาถะสัญชาติจีน ที่ตั้งชื่อให้เป็นแบรนด์ญี่ปุ่น
- Häagen-Dazs แบรนด์ไอศกรีมสัญชาติอเมริกัน ที่ใช้ชื่อคล้ายภาษาเดนมาร์ก
- Miniso ร้านจิปาถะสัญชาติจีน ที่ตั้งชื่อให้เป็นแบรนด์ญี่ปุ่น
- Häagen-Dazs แบรนด์ไอศกรีมสัญชาติอเมริกัน ที่ใช้ชื่อคล้ายภาษาเดนมาร์ก
แล้วกลยุทธ์ Foreign Branding มีข้อดีอย่างไร ทำไมหลาย ๆ แบรนด์ถึงเลือกใช้ ?
เหตุผลหลัก ๆ เลย ก็เพื่อสร้าง “ความน่าเชื่อถือ” ให้กับแบรนด์หรือสินค้า
เคยไหมเวลาที่เลือกซื้อสินค้าใดสินค้าหนึ่ง เพียงเพราะสินค้านั้น ๆ ผลิตในประเทศที่ขึ้นชื่อ
ไม่ว่าจะเป็น ประเทศที่เป็นต้นกำเนิด และมีประวัติอันยาวนานเกี่ยวกับสินค้าประเภทนั้น ๆ
หรือเป็นสินค้าที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชน จนกระทั่งโด่งดัง
ซึ่งเราเรียกประเทศเหล่านี้ว่า “Country of Origin” หรือ ประเทศต้นกำเนิดของสินค้า
ไม่ว่าจะเป็น ประเทศที่เป็นต้นกำเนิด และมีประวัติอันยาวนานเกี่ยวกับสินค้าประเภทนั้น ๆ
หรือเป็นสินค้าที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชน จนกระทั่งโด่งดัง
ซึ่งเราเรียกประเทศเหล่านี้ว่า “Country of Origin” หรือ ประเทศต้นกำเนิดของสินค้า
ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าเป็นสินค้าแบรนด์หรู ก็ต้องมาจากประเทศฝรั่งเศส
ถ้าเป็นรถยนต์หรู ก็ต้องเป็นแบรนด์ของประเทศเยอรมนี
ถ้าเป็นนาฬิกาหรู ก็ต้องเป็นแบรนด์ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ถ้าเป็นรถยนต์หรู ก็ต้องเป็นแบรนด์ของประเทศเยอรมนี
ถ้าเป็นนาฬิกาหรู ก็ต้องเป็นแบรนด์ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์
แน่นอนว่า ถ้าเราตั้งชื่อแบรนด์ โดยให้ประเภทของสินค้า สอดคล้องกับประเทศต้นกำเนิดเหล่านี้
ก็จะทำให้แบรนด์ของเราน่าเชื่อถือมากขึ้น
หรืออย่างน้อย ๆ ผู้บริโภคก็จะให้ความสนใจ มากกว่าแบรนด์อื่น ๆ นั่นเอง..
ก็จะทำให้แบรนด์ของเราน่าเชื่อถือมากขึ้น
หรืออย่างน้อย ๆ ผู้บริโภคก็จะให้ความสนใจ มากกว่าแบรนด์อื่น ๆ นั่นเอง..
อย่างกรณีของ Hatari แบรนด์พัดลมสัญชาติไทย ที่ตั้งชื่อแบรนด์ให้เป็นภาษาญี่ปุ่น
ก็เพราะว่า สินค้าของญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์
ขึ้นชื่อว่าเป็นสินค้าที่มีมาตรฐาน มีคุณภาพดี และมีภาพลักษณ์ที่ดี
ก็เพราะว่า สินค้าของญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์
ขึ้นชื่อว่าเป็นสินค้าที่มีมาตรฐาน มีคุณภาพดี และมีภาพลักษณ์ที่ดี
ประกอบกับเมื่อก่อน คนไทยให้ความสนใจกับพัดลมที่นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น
จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อแบรนด์พัดลม Hatari ให้เหมือนเป็นแบรนด์จากญี่ปุ่นนั่นเอง
จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อแบรนด์พัดลม Hatari ให้เหมือนเป็นแบรนด์จากญี่ปุ่นนั่นเอง
ลองนึกภาพว่า ถ้าตอนนั้น Hatari ตัดสินใจตั้งชื่อแบรนด์แบบไทย ๆ
ก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จเท่าทุกวันนี้ก็เป็นได้..
ก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จเท่าทุกวันนี้ก็เป็นได้..
หรืออย่างกรณีของ KAMU ร้านชานมไข่มุก ก็เป็นแบรนด์ไทยแท้
แต่หลาย ๆ คนอาจเข้าใจว่าเป็นแบรนด์จากญี่ปุ่น หรือไต้หวัน
ซึ่งคำว่า KAMU ในภาษาญี่ปุ่น แปลว่า เคี้ยว ตามคอนเซปต์ของแบรนด์คือ ชาที่เคี้ยวได้
แต่หลาย ๆ คนอาจเข้าใจว่าเป็นแบรนด์จากญี่ปุ่น หรือไต้หวัน
ซึ่งคำว่า KAMU ในภาษาญี่ปุ่น แปลว่า เคี้ยว ตามคอนเซปต์ของแบรนด์คือ ชาที่เคี้ยวได้
และอีกกรณีก็คือ au bon pain (โอ บอง แปง) แบรนด์ขนมปังสัญชาติอเมริกัน
แต่ใช้ชื่อฝรั่งเศส ที่แปลว่า “ร้านที่มีขนมปังที่อร่อย”
เพราะขายขนมอบ ที่ฝรั่งเศสขึ้นชื่อในเรื่องนี้นั่นเอง
แต่ใช้ชื่อฝรั่งเศส ที่แปลว่า “ร้านที่มีขนมปังที่อร่อย”
เพราะขายขนมอบ ที่ฝรั่งเศสขึ้นชื่อในเรื่องนี้นั่นเอง
ส่วนเหตุผลรองลงมา อาจเป็นเรื่องของ “การออกแบบ”
ประเด็นที่ได้ยินกันบ่อย ๆ ก็คือ เวลาออกแบบโดยใช้ตัวอักษรภาษาไทย จะไม่สวยเท่าตัวอักษรภาษาอังกฤษ
นั่นก็เพราะภาษาไทย มีสระ และวรรณยุกต์ ที่ทำให้ยากต่อการจัดช่องว่าง หรือระยะห่างระหว่างบรรทัด
นั่นก็เพราะภาษาไทย มีสระ และวรรณยุกต์ ที่ทำให้ยากต่อการจัดช่องว่าง หรือระยะห่างระหว่างบรรทัด
หลาย ๆ แบรนด์จึงนิยมใช้ชื่อภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่น ๆ ที่ออกแบบได้ง่ายกว่า
ประกอบกับ ถ้าหากคิดจะตีตลาดต่างประเทศ การใช้ชื่อต่างประเทศที่เป็นภาษาสากล
ก็ย่อมสร้างการรับรู้และการจดจำของแบรนด์ได้ง่ายกว่านั่นเอง..
ประกอบกับ ถ้าหากคิดจะตีตลาดต่างประเทศ การใช้ชื่อต่างประเทศที่เป็นภาษาสากล
ก็ย่อมสร้างการรับรู้และการจดจำของแบรนด์ได้ง่ายกว่านั่นเอง..
แล้วถ้าถามว่า มีแบรนด์ต่างชาติ ใช้ภาษาไทยตั้งชื่อไหม ?
คำตอบก็คือ มี แต่ยังไม่ค่อยเห็นมากเท่าไรนัก
โดยส่วนใหญ่แล้วก็มักจะเป็นร้านอาหารไทย ที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ
หรือไม่ก็ตั้งชื่อภาษาไทย เพราะต้องการสร้างความแปลกใหม่ให้กับแบรนด์
โดยส่วนใหญ่แล้วก็มักจะเป็นร้านอาหารไทย ที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ
หรือไม่ก็ตั้งชื่อภาษาไทย เพราะต้องการสร้างความแปลกใหม่ให้กับแบรนด์
ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์รองเท้าสัญชาติอเมริกัน ที่ใช้ชื่อแบรนด์ว่า Sanük หรืออ่านว่า สนุก
โดยเป็นชื่อที่ผู้ก่อตั้งได้รับคำแนะนำมาจากเพื่อน แต่เห็นว่าแปลกใหม่ และสอดคล้องกับคอนเซปต์ของแบรนด์ ที่อยากให้ทุก ๆ คนสนุกกับการเลือกใส่รองเท้านั่นเอง
โดยเป็นชื่อที่ผู้ก่อตั้งได้รับคำแนะนำมาจากเพื่อน แต่เห็นว่าแปลกใหม่ และสอดคล้องกับคอนเซปต์ของแบรนด์ ที่อยากให้ทุก ๆ คนสนุกกับการเลือกใส่รองเท้านั่นเอง
นอกจากนี้ ก็ยังมีอีกกรณีหนึ่งคือ แม้ว่าจะไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นชื่อแบรนด์โดยตรง
แต่ก็มีการออกแบบโลโกแบรนด์ โดยใช้ฟอนต์ที่มีความโค้งงอ คล้ายกับตัวอักษรภาษาไทย
ซึ่งจุดประสงค์ก็คือ ช่วยสร้างความแปลกใหม่ให้กับแบรนด์ได้เป็นอย่างดี
แต่ก็มีการออกแบบโลโกแบรนด์ โดยใช้ฟอนต์ที่มีความโค้งงอ คล้ายกับตัวอักษรภาษาไทย
ซึ่งจุดประสงค์ก็คือ ช่วยสร้างความแปลกใหม่ให้กับแบรนด์ได้เป็นอย่างดี
นอกจากภาษาไทยแล้ว ยังมีตัวอักษรในหลาย ๆ ประเทศ เช่น อารบิก, จีน, กรีก และฮินดู ที่เป็นที่นิยมอีกด้วย
อย่างร้านซูชิในลอนดอน ประเทศอังกฤษ ที่มีชื่อว่า YO! Sushi
ก็มีการออกแบบโลโกคำว่า YO โดยใช้ตัวอักษรญี่ปุ่นแทนตัวอักษรภาษาอังกฤษ
เพื่อสะท้อนถึงความเป็นญี่ปุ่น ที่เป็นดินแดนปลาดิบนั่นเอง
ก็มีการออกแบบโลโกคำว่า YO โดยใช้ตัวอักษรญี่ปุ่นแทนตัวอักษรภาษาอังกฤษ
เพื่อสะท้อนถึงความเป็นญี่ปุ่น ที่เป็นดินแดนปลาดิบนั่นเอง
อ่านมาถึงตรงนี้ ก็พอจะสรุปได้ว่า กลยุทธ์การตั้งชื่อแบรนด์แบบ Foreign Branding
เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่น่าสนใจ ที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ได้เป็นอย่างดี
เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่น่าสนใจ ที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ได้เป็นอย่างดี
ซึ่งกลยุทธ์นี้ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เล็ก หรือแบรนด์ใหญ่ ก็สามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเองได้ง่าย ๆ..
อ้างอิง:
-https://study.com/academy/lesson/foreign-branding-in-marketing-definition-examples.html
-https://en.wikipedia.org/wiki/Foreign_branding
-https://www.sanuk.com/
-https://study.com/academy/lesson/foreign-branding-in-marketing-definition-examples.html
-https://en.wikipedia.org/wiki/Foreign_branding
-https://www.sanuk.com/