SCGP เปลี่ยนโลโก้ใหม่ สะท้อนเป้าหมาย สู่การเป็นองค์กรระดับโลก
3 ต.ค. 2022
ถ้าพูดถึงแบรนด์ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ “บรรจุภัณฑ์” ในประเทศไทย
ชื่อของ “SCGP” ก็มักจะเป็นหนึ่งในแบรนด์แรก ๆ ที่ผู้บริโภคหลายคนนึกถึงอยู่เสมอ
ชื่อของ “SCGP” ก็มักจะเป็นหนึ่งในแบรนด์แรก ๆ ที่ผู้บริโภคหลายคนนึกถึงอยู่เสมอ
นั่นก็เพราะ SCGP มีการนำเสนอบรรจุภัณฑ์หลากหลายชนิด ที่สามารถตอบโจทย์ได้ทั้งฝั่งผู้บริโภคทั่วไป (B2C) และในฝั่งของผู้ประกอบการ (B2B) ในยุคปัจจุบันได้อย่างครบถ้วน
โดยเฉพาะกับบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างกระดาษ กระดาษบรรจุภัณฑ์ และนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์จากเยื่อ ที่กำลังเป็นเมกะเทรนด์ของผู้บริโภคในยุคนี้
ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่ SCGP จะสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้านการผลิตบรรจุภัณฑ์ครบวงจรของภูมิภาคอาเซียนได้สำเร็จ
สะท้อนให้เห็นจากรายได้ของบริษัทที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง จนทะลุ 120,000 ล้านบาทในปี 2564 ที่ผ่านมา
สะท้อนให้เห็นจากรายได้ของบริษัทที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง จนทะลุ 120,000 ล้านบาทในปี 2564 ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ความต้องการบรรจุภัณฑ์ของผู้บริโภคทั่วโลก ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากเทคโนโลยีที่เข้าถึงผู้คนได้มากกว่าเดิม ทำให้การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์และ
การสั่งซื้อสินค้าแบบดิลิเวอรีได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด
การสั่งซื้อสินค้าแบบดิลิเวอรีได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด
เฉพาะภูมิภาคอาเซียน สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ได้มีการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2567 ตลาดบรรจุภัณฑ์จะมีมูลค่าสูงถึง 72,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.6 ล้านล้านบาท) เลยทีเดียว
SCGP จึงวางแผน และขยายตลาดไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลก
เริ่มตั้งแต่ ภูมิภาคอาเซียน ยุโรป อเมริกาเหนือ ฯลฯ เพื่อโอกาสในการเติบโตอย่างไม่มีที่สิ้นสุดของแบรนด์
เริ่มตั้งแต่ ภูมิภาคอาเซียน ยุโรป อเมริกาเหนือ ฯลฯ เพื่อโอกาสในการเติบโตอย่างไม่มีที่สิ้นสุดของแบรนด์
ตามวิสัยทัศน์ของ SCGP ที่มุ่งสู่การเป็น “Multinational Consumer Packaging Solutions Provider”
หรือแบรนด์ที่เสนอโซลูชันบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย ผ่านการพัฒนาสินค้าและนวัตกรรม
พร้อมกับการบริการที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้บริโภคอย่างยั่งยืน ภายใต้กรอบแนวคิด ESG
หรือแบรนด์ที่เสนอโซลูชันบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย ผ่านการพัฒนาสินค้าและนวัตกรรม
พร้อมกับการบริการที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้บริโภคอย่างยั่งยืน ภายใต้กรอบแนวคิด ESG
และเมื่อเป้าหมายของ SCGP นั้นใหญ่ขึ้น ประกอบกับการมีวิสัยทัศน์ที่ต้องการเป็นองค์กรระดับสากลมากกว่าเดิม จึงถึงเวลาแล้วที่ SCGP จะต้องเปลี่ยนโลโก้แบบยกเครื่องใหม่ เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ..
โดยโลโก้ใหม่ของ SCGP ถูกออกแบบ ภายใต้หลักการที่เรียกว่า “Wordmark” หรือการนำตัวอักษรที่เป็นชื่อย่อของแบรนด์มาเรียงต่อกัน
ซึ่งเป็นวิธีที่องค์กรระดับโลกหลายแห่งนิยม เนื่องจากสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสื่อได้แทบทุกชนิด
แถมยังสามารถใช้สื่อสารถึงชื่อแบรนด์ได้ดีกว่าโลโก้ประเภทอื่น ๆ
แถมยังสามารถใช้สื่อสารถึงชื่อแบรนด์ได้ดีกว่าโลโก้ประเภทอื่น ๆ
โดยโลโก้ใหม่นี้ถูกออกแบบให้เป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด เพื่อสะท้อนถึงความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ และธรรมาภิบาลที่สั่งสมมาอย่างยาวนานนับ 100 ปีจากแบรนด์ SCG
รวมถึง ยังมีการทำให้ตัวอักษรมีความมนมากขึ้น เพื่อสื่อถึงความพร้อมในการปรับตัวอยู่เสมอ
และยังมีการใส่ “Infinity Growth Line” เพื่อสื่อว่าทั้ง ธุรกิจ, ชุมชน, สังคม และโลกของเรานั้น สามารถเติบโตไปด้วยกันอย่างไม่สิ้นสุดได้นั่นเอง
และยังมีการใส่ “Infinity Growth Line” เพื่อสื่อว่าทั้ง ธุรกิจ, ชุมชน, สังคม และโลกของเรานั้น สามารถเติบโตไปด้วยกันอย่างไม่สิ้นสุดได้นั่นเอง
ที่น่าสนใจ คือ ตัวอักษร P บนโลโก้ SCGP นั้น ไม่ได้มีความหมายว่า “Packaging” ที่แปลว่าบรรจุภัณฑ์เพียงอย่างเดียวแล้ว แต่ยังหมายถึง
“Packaging & Possibility” บรรจุภัณฑ์และความเป็นไปได้อันไม่จำกัดที่ร่วมกันต่อยอดพัฒนาจาก
“People” ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น พนักงาน พันธมิตร ลูกค้า และสังคม สามารถทำให้เกิดขึ้นมาได้ด้วย
“Passion” ความกระตือรือร้นที่แรงกล้าเพื่อ
“Planet” โลกของเราที่ดีขึ้นและเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน
“People” ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น พนักงาน พันธมิตร ลูกค้า และสังคม สามารถทำให้เกิดขึ้นมาได้ด้วย
“Passion” ความกระตือรือร้นที่แรงกล้าเพื่อ
“Planet” โลกของเราที่ดีขึ้นและเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน
นอกจากนี้ ปกติคนเราสามารถประมวลผลด้วยรูปภาพได้เร็วกว่าตัวหนังสือถึง 60,000 เท่า SCGP จึงนำหลักทางจิตวิทยาอย่าง “สี” มาใช้สื่อความหมายให้กับโลโก้ด้วย ดังนั้น “สี” ที่เป็นองค์ประกอบหลักของรูปภาพ จึงสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร “อารมณ์” ไปสู่ผู้บริโภคได้ง่าย ๆ นั่นเอง
โดย SCGP เลือกใช้...
“สีน้ำเงิน” มาเป็นสีหลักของโลโก้ (บริเวณตัวอักษร SCG) ซึ่งเป็นสีแห่งความมั่นคง น่าเชื่อถือ เป็นมืออาชีพ และทันสมัย
ดังนั้นสีน้ำเงิน จึงเป็นสีที่องค์กรเกี่ยวกับนวัตกรรมต่าง ๆ มักเลือกใช้กันอย่างแพร่หลาย
ดังนั้นสีน้ำเงิน จึงเป็นสีที่องค์กรเกี่ยวกับนวัตกรรมต่าง ๆ มักเลือกใช้กันอย่างแพร่หลาย
และ “สีส้ม”มาเป็นสีรอง (บริเวณตัวอักษร P) ซึ่งเป็นสีที่สะดุดตา ให้ความรู้สึกถึงพลังงาน ความสร้างสรรค์ รวมไปถึงความสนุกสนาน
จึงมักถูกหยิบไปใช้ โดยแบรนด์ที่ต้องการชูภาพลักษณ์เรื่องความรวดเร็ว และความตื่นเต้นอยู่เสมอ
จึงมักถูกหยิบไปใช้ โดยแบรนด์ที่ต้องการชูภาพลักษณ์เรื่องความรวดเร็ว และความตื่นเต้นอยู่เสมอ
ดังนั้นเมื่อนำทั้ง 2 อย่างมารวมกัน ก็จะเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงตัวตนใหม่ที่ SCGP ต้องการจะเป็นนั่นก็คือแบรนด์ที่ “ขับเคลื่อนพลังแห่งการสร้างสรรค์” นั่นเอง
มาถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของ SCGP ในครั้งนี้ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่น่าจับตา
เพราะเป็นสัญญาณที่บอกว่า SCGP พร้อมแล้วที่จะเติบโตเป็นองค์กรระดับโลก
โดยการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และคำนึงถึงผู้มีส่วนร่วมกับธุรกิจของบริษัทฯ ทุกกลุ่มภายใต้กรอบแนวคิด ESG
โดยการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และคำนึงถึงผู้มีส่วนร่วมกับธุรกิจของบริษัทฯ ทุกกลุ่มภายใต้กรอบแนวคิด ESG
ซึ่งทั้งหมด ถูกขับเคลื่อนด้วยบุคลากรที่พร้อมสร้างสรรค์ทุกโอกาสให้เป็นจริงอยู่เสมอ ผ่านการผสานความร่วมมือของธุรกิจภายในที่แข็งแกร่งจากฐานการผลิต 57 แห่งของ SCGP ที่มีอยู่ทั่วโลกนั่นเอง
Tag:SCGP