Nikon จับมือ EssilorLuxottica เปิดตัวเลนส์ EYECURASEE™ นวัตกรรมที่จะมาปฏิวัติวงการเลนส์แว่นตา

Nikon จับมือ EssilorLuxottica เปิดตัวเลนส์ EYECURASEE™ นวัตกรรมที่จะมาปฏิวัติวงการเลนส์แว่นตา

22 ส.ค. 2022
รู้หรือไม่ ว่าการตรวจวัดสายตาเพื่อตัดเลนส์แว่นตาในปัจจุบัน ยังใช้วิธีแบบดั้งเดิมที่มีมากว่า 100 ปี ด้วยหน่วยวัด 0.25 dioptre หรือที่คุ้นเคยกัน เช่น ค่าสายตาที่สั้นหรือยาว 25 – 50 – 75
แต่ผลวิจัยของประเทศสิงคโปร์ พบว่า 95% ของผู้สวมใส่แว่นตา สามารถรับรู้ถึงความแตกต่างของค่าสายตาที่ละเอียดได้ถึง 0.05D
แต่เนื่องจากยังไม่มีเทคโนโลยีตรวจวัดสายตาที่ทันสมัยมากพอ จึงทำให้การวัดสายตาทั่วไป ถูกวัดให้ใกล้เคียงกับความละเอียดที่ 0.25D แทนที่จะเป็นค่าสายตาที่แท้จริง
จึงเป็นสาเหตุให้ผู้บริโภคที่สวมแว่นตา มีอาการตาล้า โฟกัสไม่ชัด และปวดหัว
เนื่องจากการสวมใส่แว่นสายตาที่ไม่ใช่ค่าสายตาจริง เป็นระยะเวลานาน
ล่าสุด Nikon ผู้บุกเบิกนวัตกรรมด้านเลนส์ เช่น อุปกรณ์ถ่ายภาพ อุปกรณ์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ไปจนถึงอุปกรณ์สำรวจทางวิทยาศาตร์ทางทะเลและอวกาศ
ซึ่งเข้าสู่วงการผลิตเลนส์แว่นตา ในปี 1946 ในชื่อ Nikon Lenswear ได้ปฏิวัติวงการตรวจวัดสายตา ด้วยการได้นำองค์ความรู้การพัฒนาเลนส์อันล้ำสมัย มาผนวกเข้ากับเทคโนโลยีล่าสุดในการวัดค่าสายตา จนออกมาเป็นเลนส์ “อายคิวราซี (EYECURASEE™)” เปิดตัวที่ประเทศญี่ปุ่นไปเมื่อปี 2019
และในปี 2022 นี้ ประเทศไทยได้เปิดตัวเป็นประเทศที่ 2 ในทวีปเอเชีย และเป็นประเทศแรกในอาเซียน เพื่อส่งมอบประสบการณ์การมองเห็นที่เหนือกว่า ให้ผู้บริโภคชาวไทย
จุดเด่นของเลนส์อายคิวราซี (EYECURASEETM ) คือความแม่นยำที่สูงในระดับ 0.01 dioptre
ซึ่งจะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ (New Standard) ของเลนส์แว่นตาในอนาคต และจะค่อย ๆ ดิสรัปต์รูปแบบการวัดสายตาและการตัดแว่น ที่บังคับให้ผู้บริโภคต้องใส่แว่นตาที่ไม่ใช่ค่าสายตาของตัวเอง
ยกตัวอย่างเช่นในอดีต หากคุณสายตาสั้น 239 ร้านตัดแว่นจะเลือกแว่นให้คุณที่ความสั้น 225 หรือไม่ก็ 250
ซึ่งนั่นจะทำให้สายตาของผู้บริโภคทำงานหนัก เพราะต้องเพ่งตามค่าที่ไม่ใช่ค่าสายตาจริง เป็นสาเหตุให้สายตาล้า ไม่โฟกัส ปวดหัว และปวดคอ
แต่หากตรวจวัดสายตาจากเครื่องตรวจของ EssilorLuxottica เพื่อตัดเลนส์ “อายคิวราซี” ผู้บริโภคจะได้แว่นสายตาตามค่าสายตาจริง ทำให้สบายตา ไม่ปวดหัว ยกระดับคุณภาพชีวิต ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันง่ายขึ้น
โดยการตรวจวัดสายตา เพื่อตัดเลนส์อายคิวราซี จะใช้เครื่อง Vision-R™800 ซึ่งเป็นเครื่องวัดสายตาแบบดิจิทัลที่มีเทคโนโลยีตรวจวัดที่ล้ำสมัยที่สุดในโลก
สามารถวัดค่าสายตาของผู้สวมใส่ได้แม่นยำ ให้ความละเอียดสูงสุดถึง 25 เท่า ตามการออกแบบที่สอดคล้องกับหลักสรีรศาสตร์
อีกทั้งยังเป็นเครื่องวัดที่มีความแม่นยำมากกว่าโฟร็อปเตอร์ หรืออุปกรณ์วัดสายตามาตรฐาน ที่ใช้กับร้านตัดแว่นทั่วไป ส่งผลให้การตรวจวัดสายตาใกล้เคียงกับการมองตามธรรมชาติ อีกทั้งการเปลี่ยนค่าต่าง ๆ จะเป็นไปอย่างไร้รอยต่อ
ดังนั้น ผู้ถูกตรวจจึงรู้สึกสบายกว่าเครื่องตรวจวัดสายตาทั่วไป ทำให้ได้ข้อมูลถูกต้องแม่นยำ
สะดวกสบายสำหรับผู้ทำหน้าที่วัดค่าสายตาและผู้สวมใส่ ให้ประสบการณ์การวัดสายตาที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีเครื่อง Vision-R™800 ทั้งหมด 18 เครื่อง ติดตั้งในร้านแว่นตาชั้นนำในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด
โดยมีเป้าหมายการนำเข้าเครื่อง Vision-R™800 มายังประเทศไทยอยู่ที่ปีละ 12 เครื่อง หรือเฉลี่ยเดือนละ 1 เครื่อง ค่าใช้จ่ายตกเครื่องละ 2 ล้านบาท
ทั้งนี้ เนื่องจากโรงงานผลิตเครื่องมือมีแห่งเดียวในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งกำลังการผลิตและยอดจองปัจจุบันได้รับความนิยมมากในประเทศญี่ปุ่น จึงทำให้เครื่อง Vision-R™800 มีจำนวนจำกัด
คุณทฤษฎี ตุลยอนุกิจ Managing Director of Indochina ของ EssilorLuxottica กล่าวเพิ่มเติมว่า
“ในโลกนี้ยังไม่มีคู่แข่งที่สามารถผลิตเครื่องตรวจวัดสายตา ที่สามารถวัดความละเอียดได้ 0.01 diopter อย่างเครื่อง Vision-R™800“ และเลนส์แว่นตาตามค่าสายตาอย่าง Nikon Lenwear อายคิวราซี
เราจึงเป็นผู้นำทั้งตลาดเลนส์และกรอบแว่นตาแฟชั่น โดยมีรายได้อยู่ที่ 9 แสนล้านบาท ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลก”
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
มูลค่าตลาดธุรกิจแว่นตาในประเทศไทย อยู่ที่ประมาณ 16,000 - 17,000 ล้านบาท โดยอัตราเติบโตเฉลี่ยในช่วงก่อนวิกฤติโควิด 19 อยู่ที่ปีละ 15% แต่อัตราเติบโตเฉลี่ยในช่วงหลังเกิดโควิด 19 อยู่ที่ 5%
ส่วนจำนวนร้านแว่นตาในประเทศไทย มีทั้งหมดราว 5,000 - 6,000 ร้าน
โดยจำนวนทั้งหมดนี้ เป็นร้านแว่นตามาตรฐานสูงประมาณ 200 - 300 ร้าน
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการตรวจวัดสายตา เพื่อตัดเลนส์อายคิวราซีได้ ณ ร้านแว่นตาชั้นนำทั่วไป หรือ ที่ https://shorturl.asia/O50Jv
โดยค่าใช้จ่ายในการตัดเลนส์อสยคิวราซี จะมากกว่าการตัดเลนส์ทั่วไปเพียง 2,000 - 3,000 บาท
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.