ทำไมกลยุทธ์ “Customization” ให้ออกแบบสินค้าเอง ถึงมัดใจลูกค้าได้อยู่หมัด
14 ส.ค. 2022
รู้หรือไม่ว่า 1 ใน 3 ของลูกค้า รู้สึกว่าสินค้าที่วางขายอยู่ทั่ว ๆ ไป
ยังไม่ตรงตามความต้องการ
ยังไม่ตอบโจทย์การใช้งาน
หรือยังไม่บ่งบอกความเป็นตัวของตัวเอง
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสี การออกแบบ หรือฟังก์ชันต่าง ๆ
ยังไม่ตรงตามความต้องการ
ยังไม่ตอบโจทย์การใช้งาน
หรือยังไม่บ่งบอกความเป็นตัวของตัวเอง
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสี การออกแบบ หรือฟังก์ชันต่าง ๆ
ดังนั้นที่ผ่านมา หลาย ๆ แบรนด์เลยพยายามปรับตัว ด้วยการเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบ หรือปรับเปลี่ยนสินค้า ให้เป็นไปในแบบที่แต่ละคนต้องการ
กลยุทธ์การสร้างผลิตภัณฑ์แบบนี้ เรียกว่า “Customization”
ที่สามารถนำมาใช้กับสินค้าได้เกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า, รองเท้า, เครื่องประดับ, เฟอร์นิเจอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ที่สามารถนำมาใช้กับสินค้าได้เกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า, รองเท้า, เครื่องประดับ, เฟอร์นิเจอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่างเช่น
- Uniqlo ที่เคยเปิดให้ลูกค้านำรูปภาพที่ตัวเองต้องการ มาสกรีนลงบนเสื้อยืด
- PANDORA แบรนด์เครื่องประดับ ที่ให้ลูกค้าซื้อ “ชาร์ม” หรือก็คือ จี้ สำหรับตกแต่งกำไลข้อมือเองได้
- Keychron คีย์บอร์ด Mechanical ที่สามารถปรับแต่งสี เสียง และแรงสัมผัสของปุ่มกดได้
- Uniqlo ที่เคยเปิดให้ลูกค้านำรูปภาพที่ตัวเองต้องการ มาสกรีนลงบนเสื้อยืด
- PANDORA แบรนด์เครื่องประดับ ที่ให้ลูกค้าซื้อ “ชาร์ม” หรือก็คือ จี้ สำหรับตกแต่งกำไลข้อมือเองได้
- Keychron คีย์บอร์ด Mechanical ที่สามารถปรับแต่งสี เสียง และแรงสัมผัสของปุ่มกดได้
แล้วการสร้างผลิตภัณฑ์แบบ Customization
นอกจากจะตรงตามความต้องการของลูกค้าแล้ว ยังมีข้อดีอะไรอีกบ้าง
ทำไมแบรนด์ต่าง ๆ ถึงควรหันมาใช้กลยุทธ์นี้ เพื่อมัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด ?
นอกจากจะตรงตามความต้องการของลูกค้าแล้ว ยังมีข้อดีอะไรอีกบ้าง
ทำไมแบรนด์ต่าง ๆ ถึงควรหันมาใช้กลยุทธ์นี้ เพื่อมัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด ?
1. ทำให้ลูกค้ารู้สึกดีต่อแบรนด์
เชื่อว่าหลายคนเวลาที่ได้ Custom สินค้าเอง ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ หรือประกอบอะไรขึ้นมาสักหนึ่งอย่าง
จะรู้สึกสนุก และภาคภูมิใจกับสินค้านั้น ๆ เป็นอย่างมาก
เพราะเป็นสินค้าที่มีชิ้นเดียวบนโลก แตกต่างจากสินค้าที่วางขายทั่ว ๆ ไปในตลาด
จะรู้สึกสนุก และภาคภูมิใจกับสินค้านั้น ๆ เป็นอย่างมาก
เพราะเป็นสินค้าที่มีชิ้นเดียวบนโลก แตกต่างจากสินค้าที่วางขายทั่ว ๆ ไปในตลาด
ความรู้สึกนี้เอง ยังส่งผลให้ลูกค้ามีทัศนคติที่ดีต่อแบรนด์
และกลับมาซื้อสินค้าของแบรนด์ซ้ำ ๆ เกิดเป็นความจงรักภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) ด้วย
และกลับมาซื้อสินค้าของแบรนด์ซ้ำ ๆ เกิดเป็นความจงรักภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) ด้วย
2. สร้างปรากฏการณ์การบอกต่อ หรือเกิดไวรัลบนโซเชียลมีเดีย
จากข้อ 1 เมื่อการออกแบบสินค้าเอง ทำให้เรารู้สึกสนุก ภาคภูมิใจ และรู้สึกว่าสินค้าที่ใช้อยู่มันดีจริง ๆ
เราก็มักจะอยากบอกต่อกับเพื่อนสนิท ครอบครัว หรือคนอื่น ๆ ให้ไปทดลองใช้สินค้าแบบนี้บ้าง
พฤติกรรมการบอกต่อนี้ เรียกว่า “Word of Mouth”
เราก็มักจะอยากบอกต่อกับเพื่อนสนิท ครอบครัว หรือคนอื่น ๆ ให้ไปทดลองใช้สินค้าแบบนี้บ้าง
พฤติกรรมการบอกต่อนี้ เรียกว่า “Word of Mouth”
ประกอบกับปัจจุบัน ที่ใคร ๆ ต่างก็สามารถใช้โซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, TikTok และ YouTube เป็นพื้นที่ในการรีวิวสินค้าที่ตัวเองชอบได้
ซึ่งคอนเทนต์เหล่านี้ ก็มีโอกาสที่จะเกิดการแชร์ต่อ ๆ กัน จนเกิดเป็นไวรัล ที่เข้าถึงผู้คนได้เป็นล้าน ๆ คน..
ซึ่งคอนเทนต์เหล่านี้ ก็มีโอกาสที่จะเกิดการแชร์ต่อ ๆ กัน จนเกิดเป็นไวรัล ที่เข้าถึงผู้คนได้เป็นล้าน ๆ คน..
ซึ่งทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นเพียงเพราะลูกค้ารู้สึกชอบ และถูกใจ ในสินค้านั้น ๆ
แต่กลับกลายเป็นการช่วยส่งเสริมให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก และเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ ได้มากขึ้น
โดยที่แบรนด์ไม่ต้องเสียเงินทำการตลาดเลยสักบาทเดียว..
แต่กลับกลายเป็นการช่วยส่งเสริมให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก และเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ ได้มากขึ้น
โดยที่แบรนด์ไม่ต้องเสียเงินทำการตลาดเลยสักบาทเดียว..
หรือในอีกกรณีหนึ่ง มีการสำรวจพบว่า กว่า 50% ของลูกค้า มองว่าสินค้าแบบ Custom ที่ให้ออกแบบเอง เหมาะกับการนำไปเป็นของขวัญให้กับคนอื่น ๆ
แม้ว่าการ Custom นั้น จะทำได้แค่ใส่ชื่อ หรือใส่ข้อความสั้น ๆ ลงบนสินค้าก็ตาม
แม้ว่าการ Custom นั้น จะทำได้แค่ใส่ชื่อ หรือใส่ข้อความสั้น ๆ ลงบนสินค้าก็ตาม
เรื่องนี้เท่ากับว่าแบรนด์ได้ประโยชน์
เพราะผู้ที่ได้รับเป็นของขวัญ จะได้รู้จักแบรนด์ และได้ทดลองสินค้า โดยที่แบรนด์ยังไม่ได้ลงแรงทำอะไรเช่นกัน
เพราะผู้ที่ได้รับเป็นของขวัญ จะได้รู้จักแบรนด์ และได้ทดลองสินค้า โดยที่แบรนด์ยังไม่ได้ลงแรงทำอะไรเช่นกัน
3. ช่วยให้แบรนด์รู้อินไซต์ของลูกค้าได้มากขึ้น
แบรนด์สามารถหาอินไซต์ หรือข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภคได้ ด้วยการเก็บข้อมูล (Data) จากการที่ลูกค้าออกแบบ หรือปรับแต่งสินค้า แล้วนำไปพัฒนาต่อยอดในสินค้าใหม่ ๆ ของแบรนด์
ตัวอย่างเช่น Nike ที่มีบริการ Nike Individually Design (Nike iD) ให้ลูกค้าออกแบบสีของรองเท้าเองได้ทุกส่วนของรองเท้า ทั้งเชือกรองเท้า, ส้นรองเท้า และโลโกของรองเท้า
ตรงจุดนี้เองที่ Nike สามารถเก็บข้อมูลได้ว่า
ในแต่ละส่วนของรองเท้า ลูกค้าชอบใช้สีอะไรมากที่สุด
หรือลูกค้าส่วนใหญ่มีแนวทางในการใช้สีอย่างไรบ้าง เช่น ใช้สีเดียว, ใช้ 2 สี หรือใช้หลากสี
ในแต่ละส่วนของรองเท้า ลูกค้าชอบใช้สีอะไรมากที่สุด
หรือลูกค้าส่วนใหญ่มีแนวทางในการใช้สีอย่างไรบ้าง เช่น ใช้สีเดียว, ใช้ 2 สี หรือใช้หลากสี
เมื่อ Nike ได้ข้อมูลเรื่องสีเหล่านี้มา ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับรองเท้ารุ่นใหม่ ๆ ที่แบรนด์จะออกได้
เช่น เมื่อรู้ว่ากลุ่มลูกค้านิยมใช้รองเท้าลำลอง ที่มีสีขาวเป็นหลัก และมีโลโกเป็นสีดำ
Nike ก็ควรมีสีดังกล่าว เป็นหนึ่งในตัวเลือก เมื่อออกคอลเลกชันรองเท้าลำลองรุ่นใหม่นั่นเอง
เช่น เมื่อรู้ว่ากลุ่มลูกค้านิยมใช้รองเท้าลำลอง ที่มีสีขาวเป็นหลัก และมีโลโกเป็นสีดำ
Nike ก็ควรมีสีดังกล่าว เป็นหนึ่งในตัวเลือก เมื่อออกคอลเลกชันรองเท้าลำลองรุ่นใหม่นั่นเอง
หรือกรณีของ IKEA ก็มีลักษณะคล้าย ๆ กัน คือ บนเว็บไซต์จะมีโปรแกรมที่ให้ลูกค้าเข้ามาออกแบบเฟอร์นิเจอร์ของตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นโซฟา เตียงนอน โต๊ะทำงาน ชั้นวางของ ห้องน้ำ และห้องครัว
โดยสินค้าแต่ละอย่าง ลูกค้าสามารถออกแบบเองได้ ทั้งสี ไซซ์ วัสดุที่ใช้ รวมถึงรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ
เช่น ถ้าออกแบบตู้เสื้อผ้า ก็สามารถเลือกได้ว่า ต้องการสีอะไร ขนาดใหญ่แค่ไหน
เช่น ถ้าออกแบบตู้เสื้อผ้า ก็สามารถเลือกได้ว่า ต้องการสีอะไร ขนาดใหญ่แค่ไหน
และที่พิเศษก็คือ สามารถออกแบบได้ด้วยว่า
อยากได้ราวแขวนเสื้อที่ติดตั้งให้อยู่สูง เพื่อที่ว่าจะสามารถเก็บชุดเดรสได้โดยไม่ลากพื้น
อยากได้ลิ้นชักเยอะ ๆ ราว 4-5 ชั้น สำหรับเก็บกระโปรง กางเกงขาสั้น ผ้าเช็ดหน้า และรองเท้า
อยากได้ชั้นวางของอีก 1-2 ชั้น สำหรับชุดนอนที่หยิบใช้บ่อย ๆ
อยากได้ราวแขวนเสื้อที่ติดตั้งให้อยู่สูง เพื่อที่ว่าจะสามารถเก็บชุดเดรสได้โดยไม่ลากพื้น
อยากได้ลิ้นชักเยอะ ๆ ราว 4-5 ชั้น สำหรับเก็บกระโปรง กางเกงขาสั้น ผ้าเช็ดหน้า และรองเท้า
อยากได้ชั้นวางของอีก 1-2 ชั้น สำหรับชุดนอนที่หยิบใช้บ่อย ๆ
ทั้งหมดนี้ IKEA จะสามารถเก็บข้อมูลได้ว่า โดยรวมแล้ว ลูกค้าชอบตู้เสื้อผ้าแบบไหนมากที่สุด
แล้วก็สามารถนำไปพัฒนาออกมาเป็นตู้เสื้อผ้าคอลเลกชันใหม่ ๆ ได้นั่นเอง
แล้วก็สามารถนำไปพัฒนาออกมาเป็นตู้เสื้อผ้าคอลเลกชันใหม่ ๆ ได้นั่นเอง
4. ช่วยให้แบรนด์สร้างรายได้มากขึ้น
มีอีกหนึ่งงานสำรวจที่พบว่า ลูกค้ากว่า 90% ยอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้น เพื่อแลกกับการซื้อสินค้าที่ได้ออกแบบเอง
โดยในจำนวนนี้ มีลูกค้าถึง 49% ที่ยอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้น 10-25%
และราว 21% ที่ยอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้นมากกว่า 25% เลยทีเดียว
โดยในจำนวนนี้ มีลูกค้าถึง 49% ที่ยอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้น 10-25%
และราว 21% ที่ยอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้นมากกว่า 25% เลยทีเดียว
อย่างกรณีของ Crocs แบรนด์รองเท้าที่หลายคนน่าจะรู้จักกันดี
เพราะมีเอกลักษณ์โดดเด่นคือ มีรูพรุนหลาย ๆ รูบนหัวรองเท้า
เพราะมีเอกลักษณ์โดดเด่นคือ มีรูพรุนหลาย ๆ รูบนหัวรองเท้า
Crocs ได้เปิดให้ลูกค้าสามารถออกแบบรองเท้าเรียบ ๆ ของตัวเองได้
ด้วยการวางขาย Jibbitz หรือตัวติดรองเท้า ที่มีหลากหลายลายให้เลือก เช่น Star Wars, Pac-Man และ Mickey Mouse ซึ่งราคาก็ตกอยู่ที่ตัวละ 175-240 บาท
ด้วยการวางขาย Jibbitz หรือตัวติดรองเท้า ที่มีหลากหลายลายให้เลือก เช่น Star Wars, Pac-Man และ Mickey Mouse ซึ่งราคาก็ตกอยู่ที่ตัวละ 175-240 บาท
ถ้าสมมติว่า เราซื้อ Jibbitz ตัวละ 175 บาท มาติดรองเท้าทั้งหมด 10 ตัว เป็นเงิน 1,750 บาท
นั่นหมายความว่า เราซื้อ Jibbitz เพื่อนำมาตกแต่งรองเท้า แพงกว่ารองเท้า Crocs Classic Slide ที่มีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 1,290 บาทเสียอีก..
นั่นหมายความว่า เราซื้อ Jibbitz เพื่อนำมาตกแต่งรองเท้า แพงกว่ารองเท้า Crocs Classic Slide ที่มีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 1,290 บาทเสียอีก..
รวมถึงลูกค้ายังสามารถกลับมาซื้อ Jibbitz ได้เรื่อย ๆ หาก Crocs วางขายเซตใหม่ ๆ
ซึ่งก็จะช่วยสร้างรายได้ให้กับ Crocs มากขึ้น แม้ว่าจะยังไม่ได้ขายรองเท้าคู่ใหม่ก็ตาม..
ซึ่งก็จะช่วยสร้างรายได้ให้กับ Crocs มากขึ้น แม้ว่าจะยังไม่ได้ขายรองเท้าคู่ใหม่ก็ตาม..
หรือในอีกกรณีหนึ่งที่พบว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่อย่างกลุ่ม Gen Y และ Gen Z ยอมจ่ายเงินมากขึ้น เพื่อซื้อประสบการณ์ ก็เป็นโอกาสของแบรนด์และร้านค้าต่าง ๆ ที่จะเปิดให้คนกลุ่มนี้เข้ามาหาประสบการณ์
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเปิดร้านขายขนมเค้ก จากเดิมที่ขายชิ้นละ 100 บาท
ก็ลองปรับเป็นชิ้นละ 150 บาท แต่แลกกับประสบการณ์ที่ลูกค้าจะได้วาดภาพ หรือตกแต่งหน้าเค้กเอง
ก็ลองปรับเป็นชิ้นละ 150 บาท แต่แลกกับประสบการณ์ที่ลูกค้าจะได้วาดภาพ หรือตกแต่งหน้าเค้กเอง
หรือถ้าเราทำแบรนด์ขายเครื่องปั้นดินเผา จากเดิมที่ขายสินค้าหลักร้อยบาท
ก็เปิดเป็นคอร์สสอนปั้นดินเผาในราคาหลักพันบาท
ที่เมื่อเรียนจบแล้ว ก็จะได้เครื่องปั้นดินเผา ที่ลูกค้าออกแบบกลับบ้านไปด้วย
ก็เปิดเป็นคอร์สสอนปั้นดินเผาในราคาหลักพันบาท
ที่เมื่อเรียนจบแล้ว ก็จะได้เครื่องปั้นดินเผา ที่ลูกค้าออกแบบกลับบ้านไปด้วย
ทั้งหมดนี้ ก็คือข้อดีของกลยุทธ์ Customization ซึ่งก็เป็นเหตุผลว่าทำไมแบรนด์ต่าง ๆ จึงควรนำมาปรับใช้กับสินค้าของตัวเอง
ทั้งนี้ กลยุทธ์นี้ ก็มีข้อเสียเหมือนกัน เช่น สินค้า Customize ส่วนใหญ่จะใช้เวลารอนาน และมีสเกลที่ยากขึ้นกว่าสินค้าปกติ
อย่างรองเท้า Nike iD ทางแบรนด์ระบุว่า ใช้ระยะเวลาในการจัดทำ รวมถึงจัดส่ง ราว 5 สัปดาห์
อย่างไรก็ดี ก็มีการสำรวจที่บอกว่า ลูกค้าเต็มใจที่จะรอ แม้ว่าจะต้องใช้ระยะเวลานานกว่าสินค้าทั่ว ๆ ไปก็ตาม..
อย่างรองเท้า Nike iD ทางแบรนด์ระบุว่า ใช้ระยะเวลาในการจัดทำ รวมถึงจัดส่ง ราว 5 สัปดาห์
อย่างไรก็ดี ก็มีการสำรวจที่บอกว่า ลูกค้าเต็มใจที่จะรอ แม้ว่าจะต้องใช้ระยะเวลานานกว่าสินค้าทั่ว ๆ ไปก็ตาม..
ปิดท้ายด้วยอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่น่าสนใจไม่แพ้กับการ Customization
นั่นก็คือ กลยุทธ์ “Personalization” คือ การที่แบรนด์เลือกนำเสนอสินค้าหรือบริการ ให้ตรงใจผู้บริโภคมากที่สุด โดยที่อาศัยข้อมูล (Data) เช่น พฤติกรรมของผู้บริโภค และอินไซต์ต่าง ๆ มาต่อยอด
นั่นก็คือ กลยุทธ์ “Personalization” คือ การที่แบรนด์เลือกนำเสนอสินค้าหรือบริการ ให้ตรงใจผู้บริโภคมากที่สุด โดยที่อาศัยข้อมูล (Data) เช่น พฤติกรรมของผู้บริโภค และอินไซต์ต่าง ๆ มาต่อยอด
ตัวอย่างเช่น Netflix ที่มีระบบนำเสนอคอนเทนต์ให้ตรงกับความชอบของลูกค้าแต่ละคน
หรือ Spotify ที่นำเสนอเพลย์ลิสต์เพลงให้ถูกใจผู้ใช้งานแต่ละคน
ซึ่งทั้ง 2 แพลตฟอร์ม อาศัยการประมวลข้อมูลจากประวัติการรับชม และการฟัง ของผู้ใช้งานแต่ละคน
หรือ Spotify ที่นำเสนอเพลย์ลิสต์เพลงให้ถูกใจผู้ใช้งานแต่ละคน
ซึ่งทั้ง 2 แพลตฟอร์ม อาศัยการประมวลข้อมูลจากประวัติการรับชม และการฟัง ของผู้ใช้งานแต่ละคน
แม้ว่าทั้ง 2 กลยุทธ์นี้ จะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง
แต่ที่เหมือนกันก็คือ เป้าหมายในการตอบโจทย์ และสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าได้มากที่สุดนั่นเอง
แต่ที่เหมือนกันก็คือ เป้าหมายในการตอบโจทย์ และสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าได้มากที่สุดนั่นเอง
อ้างอิง:
-https://gokickflip.com/articles/product-customization-statistics
-https://www.ikea.com/th/th/planners
-https://configureid.com/2021/09/23/benefits-of-customization-why-consumers-love-the-power-of-personalization/
-https://www.indeed.com/career-advice/career-development/customization-of-product
-https://www.facebook.com/page/114640760447412/search/?q=crocs
-https://gokickflip.com/articles/product-customization-statistics
-https://www.ikea.com/th/th/planners
-https://configureid.com/2021/09/23/benefits-of-customization-why-consumers-love-the-power-of-personalization/
-https://www.indeed.com/career-advice/career-development/customization-of-product
-https://www.facebook.com/page/114640760447412/search/?q=crocs
Tag:Customization