ดีแทค จับมือ TIJ และ Robinhood ชวนคนไทย #ชิมเรียกยิ้ม อุดหนุนอาหารของผู้ประกอบการผู้เคยก้าวพลาด
20 ก.ค. 2022
ดีแทค เน็ตทำกิน จับมือ TIJ และ Robinhood (โรบินฮู้ด) ส่งแคมเปญ #ชิมเรียกยิ้ม ที่ไม่ได้นำเสนออาหารที่อร่อยที่สุด แต่เป็นอาหารที่กินใจที่สุด
ชวนคนไทยอุดหนุนอาหาร-เครื่องดื่ม ของผู้ประกอบการผู้เคยก้าวพลาด 9 ราย ที่ใช้โอกาสจากทักษะดิจิทัล ปูเส้นทางอาชีพเพื่อก้าวกลับเข้าสู่สังคมอย่างภาคภูมิอีกครั้ง
#ชิมเรียกยิ้ม เรียกกำลังใจให้ผู้ประกอบการผู้เคยก้าวพลาดที่หน้าเพจเฟซบุ๊ก ดีแทค เน็ตทำกิน ตลอดวันที่ 20 – 30 กรกฎาคม 2565
ทั้งนี้ ในทุก ๆ ปี มีผู้กระทำผิดจำนวนมากกว่าแสนคน ได้รับโอกาสเดินกลับเข้าสู่สังคมอีกครั้ง แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะกลับออกสู่เส้นทางปกติและสวยงาม
จากข้อมูลอัตราผู้กระทำความผิดซ้ำ (Recidivism Rates/Reoffending Rates) โดยกระทรวงยุติธรรม ปี พ.ศ. 2565 ระบุว่า ในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา มีผู้ก้าวพลาดกว่า 13% ออกมากระทำผิดซ้ำและต้องเดินกลับสู่เส้นทางเดิม โดยเฉพาะผู้กระทำผิดในคดียาเสพติดที่มีอัตรากระทำผิดซ้ำสูงที่สุด คิดเป็นจำนวน 3,529 คน
ซึ่งปัญหาการกระทำผิดซ้ำเกิดจากการขาด “โอกาส” ทางการศึกษาและอาชีพ
ทั้งนี้ ผลกระทบด้านลบดังกล่าวยังส่งผลต่อภาพรวมของสังคมและเศรษฐกิจในทุกระดับและทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมในปัจจุบัน อันจะนำไปสู่แนวโน้มที่ประชาชนและสังคมจะให้ “โอกาส” แก่ผู้ที่กระทำผิดมาแล้วน้อยลง
ทั้งนี้ ผลกระทบด้านลบดังกล่าวยังส่งผลต่อภาพรวมของสังคมและเศรษฐกิจในทุกระดับและทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมในปัจจุบัน อันจะนำไปสู่แนวโน้มที่ประชาชนและสังคมจะให้ “โอกาส” แก่ผู้ที่กระทำผิดมาแล้วน้อยลง
ดร.อณูวรรณ วงศ์พิเชษฐ์ รองผู้อำนวยการ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) หรือ Thailand Institute of Justice (TIJ) กล่าวว่า
TIJ เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า การพัฒนาศักยภาพบุคลากร (Capacity Building) สามารถนำมาสู่การลดปัญหาการกระทำผิดซ้ำได้ ซึ่งที่ผ่านมา TIJ ได้มีโครงการ “Hygiene Street Food สร้างโอกาส” มุ่งส่งเสริมให้ผู้พ้นโทษสามารถกลับไปเป็นประชากรที่มีคุณภาพของสังคมได้อีกครั้ง
TIJ เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า การพัฒนาศักยภาพบุคลากร (Capacity Building) สามารถนำมาสู่การลดปัญหาการกระทำผิดซ้ำได้ ซึ่งที่ผ่านมา TIJ ได้มีโครงการ “Hygiene Street Food สร้างโอกาส” มุ่งส่งเสริมให้ผู้พ้นโทษสามารถกลับไปเป็นประชากรที่มีคุณภาพของสังคมได้อีกครั้ง
โดยผ่านการอบรมหลักสูตรเชิงปฏิบัติการ ฝึกทักษะ และสร้างอาชีพขายอาหารให้กับผู้พ้นโทษอย่างยั่งยืน อาทิ การเสริมสร้างองค์ความรู้ทั้งด้านสูตรอาหาร และการสนับสนุนวัตถุดิบในการออกร้าน
ทั้งนี้ การตั้งเป้าหมายในการลดลงของอัตราการกระทำผิดซ้ำอย่างเป็นรูปธรรม จำเป็นต้องแก้ไขทั้งระบบ และได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาคสังคม ภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้สามารถเอื้อต่อการสร้างอาชีพ
รวมถึงโอกาสจากสังคมและคนรอบข้างให้กลุ่มผู้ก้าวพลาด สามารถเดินกลับเข้าสู่ครรลองและกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างภาคภูมิ
- เส้นทาง “ดิจิทัล” ปูทางสู่โอกาสและที่ยืนในสังคม
นายชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า
ดีแทคมุ่งส่งเสริมการเข้าถึงบริการการเชื่อมต่อที่เท่าเทียม และการเสริมสร้างทักษะดิจิทัลสำหรับทุกคน (Digital Upskilling) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประชากรกลุ่มเปราะบาง เพื่อให้สามารถเข้าถึงโอกาสและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลและการเชื่อมต่อ
ดีแทคมุ่งส่งเสริมการเข้าถึงบริการการเชื่อมต่อที่เท่าเทียม และการเสริมสร้างทักษะดิจิทัลสำหรับทุกคน (Digital Upskilling) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประชากรกลุ่มเปราะบาง เพื่อให้สามารถเข้าถึงโอกาสและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลและการเชื่อมต่อ
โดยมีโครงการ “ดีแทค เน็ตทำกิน” เป็นภารกิจหลักในการลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในสังคมไทย ครอบคลุมกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และกลุ่มผู้เคยก้าวพลาด
ผ่านทีมผู้สอนที่จะช่วยติดอาวุธทักษะทางดิจิทัลให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถอยู่รอด และเติบโตได้ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ
อีกทั้ง เทคโนโลยีการสื่อสารและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเป็น “ตัวเร่ง” ให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในระดับปัจเจกบุคคล สังคม และประเทศ
ที่ผ่านมา โครงการดีแทค เน็ตทำกิน ได้ช่วยเหลือผู้ประกอบการกลุ่มเปราะบางไปแล้วกว่า 10,555 คน ครอบคลุม 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ โดยสามารถช่วยเพิ่มรายได้ผ่านช่องทางออนไลน์กว่า 50% ให้กับผู้ประกอบการ
และได้ส่งแคมเปญ #ช้อปเรียกยิ้ม ในปี พ.ศ. 2564 เปิดพื้นที่ให้ผู้ประกอบการได้ทดลองวิชาทำกินออนไลน์ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ซึ่งเป็นการช่วยผลักดันโอกาสและแรงบันดาลใจ โดยผู้ประกอบการสามารถเพิ่มยอดขายได้ถึง 41% และมีจำนวนผู้ติดตามเพจเพิ่มขึ้นถึง 90 คนต่อแบรนด์
ซึ่งความสำเร็จนี้ได้ต่อยอดมาสู่แคมเปญ #ชิมเรียกยิ้ม เพื่อเปิดโอกาสและพื้นที่ให้ผู้ประกอบการผู้เคยก้าวพลาด ได้ทดลองตลาดและเรียนรู้ประสบการณ์การค้าขายจริงบนช่องทางออนไลน์
ทางด้านนายสีหนาท ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ผู้พัฒนาและให้บริการแพลตฟอร์ม “Robinhood” เผยว่า
จุดเริ่มต้นของแพลตฟอร์ม Robinhood เกิดขึ้นจากความต้องการช่วยเหลือ “คนตัวเล็ก” ให้สามารถฝ่าวิกฤติโควิด 19 ด้วยการไม่เก็บค่า GP กับร้านอาหาร ด้วยพันธกิจหลักของ Robinhood ในการสร้างโมเดลธุรกิจเพื่อสังคม มีเป้าหมายสำคัญเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายเล็ก ที่เป็นกำลังสำคัญของประเทศ
ความร่วมมือในครั้งนี้ Robinhood หวังเป็นอย่างยิ่งว่าแคมเปญ #ชิมเรียกยิ้ม ที่ผู้ประกอบการได้มีหน้าร้านจริงบนแอปพลิเคชัน Robinhood จะสามารถเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างรายได้
อีกทั้งยังช่วยส่งต่อรอยยิ้มและกำลังใจให้กับผู้ประกอบการผู้เคยก้าวพลาด ในการเลือกใช้เส้นทางออนไลน์ ได้มีโอกาสสร้างรายได้และสร้างอาชีพ อีกด้วย