“การบินไทย” อาจปรับราคาตั๋วขึ้น หลังราคาน้ำมันพุ่ง
4 ก.ค. 2022
“การบินไทย” อาจปรับราคาตั๋วข้ึน หลังราคาน้ำมันพุ่ง
แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา สถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ได้เบาบางลงอย่างมาก ส่งผลให้การท่องเที่ยวของประเทศไทยฟื้นตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ยกตัวอย่างเช่น จำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยของสายการบินไทยสมาย ที่เพิ่มขึ้นมาจาก 269 - 4,929 คนต่อวัน ในช่วงเดือนเมษายน – เดือนตุลาคม 2564
มาเป็น 12,568 - 12,257 คนต่อวัน ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา..
แต่อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าปัญหาราคาพลังงานกำลังกดดันต้นทุนของสายการบินอย่างหนัก
เพราะล่าสุดการบินไทยยังได้มีการเปิดเผยว่า ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นนั้น กระทบโดยตรงต่อโครงสร้างต้นทุนของการบินไทย ที่จากเดิมต้นทุนด้านพลังงานจะอยู่ที่ 30% ของค่าใช้รวมของกิจการ กลายเป็น 40% ของค่าใช้รวมของกิจการ..
จึงทำให้การบินไทยต้องมีการประกาศปรับขึ้นค่าธรรมเนียมน้ำมันเชื้อเพลิงเป็น 150 ดอลลาร์สหรัฐต่อเที่ยว ให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายของกิจการ
ส่งผลมาถึงราคาตั๋วเครื่องบิน ที่จะต้องปรับตัวให้สูงขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้..
โดยการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมน้ำมันเชื้อเพลิงในครั้งนี้ นับเป็นการปรับราคาครั้งที่ 2 ในรอบปีนี้
ซึ่งก่อนหน้านี้ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ได้มีการกำหนดเพดานของค่าธรรมเนียมน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับการขนส่งทางอากาศไว้ที่ 130 ดอลลาร์สหรัฐต่อเที่ยว
แต่ด้วยราคาพลังงานในตลาดโลกยังคงพุ่งสูงต่อเนื่อง จึงทำให้ กพท. ต้องอนุญาตให้การบินไทยปรับเพดานค่าธรรมเนียมน้ำมันเชื้อเพลิงเป็น 150 ดอลลาร์สหรัฐต่อเที่ยว และจะเริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 11 ก.ค 2565 ที่จะถึงนี้อีกด้วย
น่าสนใจว่า ปกติแล้วธุรกิจสายการบินจะมีการกำหนดราคาตั๋วตามหลัก ดีมานต์-ซัปพลาย หรือก็คือถ้าเส้นทางไหนมีคนต้องการตั๋วเยอะ ราคาตั๋วก็จะสูงขึ้นแบบอัติโนมัติ
เดิมทีแล้ว การบินไทยก็มีฐานลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง และส่วนใหญ่มักจะชอบซื้อตั๋วในชั้นธุรกิจและเฟิร์สต์คลาสในเส้นทางไกลอย่าง ยุโรป-อเมริกา อยู่แล้ว
เอาแค่ในปัจจุบันก็พบว่าตั๋วเฟิร์สต์คลาสในบางเส้นทางนั้น มีราคาสูงถึง 200,000 บาท ซึ่งมาจากความต้องการซื้อที่สูงมาก..
ไม่แน่ว่าการปรับราคาในครั้งนี้ เราอาจจะได้เห็นราคาตั๋วในบางเส้นทางแพงไปมากกว่านี้อีกก็ได้..
แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา สถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ได้เบาบางลงอย่างมาก ส่งผลให้การท่องเที่ยวของประเทศไทยฟื้นตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ยกตัวอย่างเช่น จำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยของสายการบินไทยสมาย ที่เพิ่มขึ้นมาจาก 269 - 4,929 คนต่อวัน ในช่วงเดือนเมษายน – เดือนตุลาคม 2564
มาเป็น 12,568 - 12,257 คนต่อวัน ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา..
แต่อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าปัญหาราคาพลังงานกำลังกดดันต้นทุนของสายการบินอย่างหนัก
เพราะล่าสุดการบินไทยยังได้มีการเปิดเผยว่า ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นนั้น กระทบโดยตรงต่อโครงสร้างต้นทุนของการบินไทย ที่จากเดิมต้นทุนด้านพลังงานจะอยู่ที่ 30% ของค่าใช้รวมของกิจการ กลายเป็น 40% ของค่าใช้รวมของกิจการ..
จึงทำให้การบินไทยต้องมีการประกาศปรับขึ้นค่าธรรมเนียมน้ำมันเชื้อเพลิงเป็น 150 ดอลลาร์สหรัฐต่อเที่ยว ให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายของกิจการ
ส่งผลมาถึงราคาตั๋วเครื่องบิน ที่จะต้องปรับตัวให้สูงขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้..
โดยการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมน้ำมันเชื้อเพลิงในครั้งนี้ นับเป็นการปรับราคาครั้งที่ 2 ในรอบปีนี้
ซึ่งก่อนหน้านี้ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ได้มีการกำหนดเพดานของค่าธรรมเนียมน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับการขนส่งทางอากาศไว้ที่ 130 ดอลลาร์สหรัฐต่อเที่ยว
แต่ด้วยราคาพลังงานในตลาดโลกยังคงพุ่งสูงต่อเนื่อง จึงทำให้ กพท. ต้องอนุญาตให้การบินไทยปรับเพดานค่าธรรมเนียมน้ำมันเชื้อเพลิงเป็น 150 ดอลลาร์สหรัฐต่อเที่ยว และจะเริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 11 ก.ค 2565 ที่จะถึงนี้อีกด้วย
น่าสนใจว่า ปกติแล้วธุรกิจสายการบินจะมีการกำหนดราคาตั๋วตามหลัก ดีมานต์-ซัปพลาย หรือก็คือถ้าเส้นทางไหนมีคนต้องการตั๋วเยอะ ราคาตั๋วก็จะสูงขึ้นแบบอัติโนมัติ
เดิมทีแล้ว การบินไทยก็มีฐานลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง และส่วนใหญ่มักจะชอบซื้อตั๋วในชั้นธุรกิจและเฟิร์สต์คลาสในเส้นทางไกลอย่าง ยุโรป-อเมริกา อยู่แล้ว
เอาแค่ในปัจจุบันก็พบว่าตั๋วเฟิร์สต์คลาสในบางเส้นทางนั้น มีราคาสูงถึง 200,000 บาท ซึ่งมาจากความต้องการซื้อที่สูงมาก..
ไม่แน่ว่าการปรับราคาในครั้งนี้ เราอาจจะได้เห็นราคาตั๋วในบางเส้นทางแพงไปมากกว่านี้อีกก็ได้..
อ้างอิง : https://siamrath.co.th/n/362081